สินเชื่อที่อยู่อาศัย

คนเหล่านั้น มีรักกันได้ ก็ย่อมมีเลิกกันได้ ซึ่งไม่ใช่เรื่องใหญ่อะไร ถือเป็นเรื่องปกติด้วยซ้ำสำหรับในยุคปัจจุบัน แต่จะทำอย่างไรดีหล่ะ? ในเมื่อตอนที่ยังรักกัน ได้ทำสัญญากู้ร่วมซื้อบ้านด้วยกันไว้ และดันเกิดเหตุความรักไม่สมหวัง จำต้องแยกทางกัน ทั้งๆ ที่มีสัญญากู้ร่วมด้วยกันอยู่

ประกาศอสังหาริมทรัพย์ใหม่ บ้าน บ้าน รายการล่าสุด บ้านเดี่ยว บ้านเดี่ยว รายการล่าสุด ทาวน์เฮ้าส์ ทาวน์เฮ้าส์ รายการล่าสุด ทาวน์โฮม ทาวน์โฮม รายการล่าสุด คอนโด คอนโด รายการล่าสุด อาคารพาณิชย์ อาคารพาณิชย์ รายการล่าสุด อพาร์ทเม้นท์ อพาร์ทเม้นท์ รายการล่าสุด สำนักงาน สำนักงาน รายการล่าสุด โฮมออฟฟิศ โฮมออฟฟิศ รายการล่าสุด ธุรกิจ ธุรกิจ รายการล่าสุด โรงงาน โรงงาน รายการล่าสุด คลังสินค้า คลังสินค้า รายการล่าสุด โกดัง โกดัง รายการล่าสุด ที่ดิน ที่ดิน รายการล่าสุด ลงประกาศฟรี ผู้รับเหมา รายการล่าสุด ผู้รับเหมา ลงประกาศฟรี ผู้รับเหมา ข่าวประชาสัมพันธ์ รายการล่าสุด ข่าวประชาสัมพันธ์ พรีวิวโครงการใหม่ รายการล่าสุด พรีวิวโครงการใหม่ ตกแต่งที่อยู่อาศัย รายการล่าสุด ตกแต่งที่อยู่อาศัย สาระควรรู้ ที่อยู่อาศัย รายการล่าสุด สาระควรรู้ ที่อยู่อาศัย ฮวงจุ้ย ที่อยู่อาศัย รายการล่าสุด ฮวงจุ้ย ที่อยู่อาศัย สินเชื่อ ที่อยู่อาศัย รายการล่าสุด สินเชื่อ ที่อยู่อาศัย SME รายการล่าสุด SME สถานที่ท่องเที่ยว รายการล่าสุด สถานที่ท่องเที่ยว

ทำอย่างไรดี? กับปัญหากู้ร่วมซื้อบ้านของคู่รักที่แยกทางกัน

วิธีจัดการกับปัญหาการกู้ร่วมซื้อบ้านของคู่รักที่จะแยกทางกัน

     คนเหล่านั้น มีรักกันได้ ก็ย่อมมีเลิกกันได้ ซึ่งไม่ใช่เรื่องใหญ่อะไร ถือเป็นเรื่องปกติด้วยซ้ำสำหรับในยุคปัจจุบัน แต่จะทำอย่างไรดีหล่ะ? ในเมื่อตอนที่ยังรักกัน ได้ทำสัญญากู้ร่วมซื้อบ้านด้วยกันไว้ และดันเกิดเหตุความรักไม่สมหวัง จำต้องแยกทางกัน ทั้งๆ ที่มีสัญญากู้ร่วมด้วยกันอยู่

ดังนั้น วันนี้เราจะพาไปดูวิธีจัดการกับปัญหาการกู้ร่วมซื้อบ้านของคู่รักที่จะแยกทางกัน ตามไปดูกันได้เลย

 

การกู้ร่วม

"การกู้ร่วม" เพื่อที่จะซื้อบ้าน เป็นอีกวิธีหนึ่งของการขอสินเชื่อ ที่จะทำให้เราสามารถขอกู้เงินจากธนาคารได้ง่ายขึ้น อาจจะได้วงเงินที่มากขึ้นกว่าเดิม และการชำระหนี้ ดอกเบี้ยต่างๆ ก็จะมีเรา และผู้ที่กู้ร่วมกับเรา ที่จะช่วยกันในการชำระ แต่บ้าน และทรัพย์สินนั้น ก็จะไม่ได้มีเพียงแค่เราคนเดียวเท่านั้น ที่เป็นเจ้าของ ซึ่งจริงๆ แล้ว ก็ถือเป็นจุดที่ละเอียดอ่อน ใครกันบ้างที่จะไปอยากมีบ้าน ที่เป็นเจ้าของร่วมกับคนอื่นที่ไม่ได้เกี่ยวข้องกับเราโดยตรง จึงทำให้เกิดเงื่อนไขที่ทางสถาบันการเงินต่างๆ ได้กำหนดเงื่อนไขไว้ ไม่ใช่ว่าเราจะสามารถนำใครก็ได้มาเป็นผู้กู้ร่วม เพราะผู้กู้ร่วมจะต้องมีสายเลือดเดียวกัน หรือมีความสัมพันธ์ทางเครือญาติ ซึ่งจะมีเงื่อนไขดังต่อไปนี้

  • เป็นผู้ที่มีนามสกุลเดียวกัน อาจเป็นสามี-ภรรยากัน เป็นพี่น้องกัน เป็นพ่อแม่กับลูก หรือเป็นญาติกันที่มีนามสกุลเดียวกัน
  • เป็นพี่น้องท้องเดียวกันแต่คนละนามสกุลก็สามารถกู้ร่วมกันได้ แต่ต้องแสดงทะเบียนบ้านหรือสูติบัตรระบุว่ามีพ่อแม่คนเดียวกัน
  • เป็นแฟนกันโดยที่ไม่ได้แต่งงาน เป็นพี่น้องร่วมสาบาน นับถือกันเป็นญาติพี่น้องไม่สามารถกู้ร่วมกันได้

อันที่จริง การระบุเงื่อนไขของผู้กู้ร่วม ว่าจะต้องเป็นผู้ที่มีความสัมพันธ์กับเรา ก็เพื่อป้องกันความเสี่ยงในอนาคต ทั้งต่อตัวผู้กู้ และตัวของทางธนาคารเองด้วย

วิธีจัดการปัญหาการกู้ร่วมซื้อบ้านของคู่รักที่จะแยกทางกัน

แน่นอนว่าการเกิดปัญหาเกิดปัญหากันระหว่างคู่รัก จนทำให้เป็นหตุที่ต้องแยกทางกัน และจบเรื่องราวความรักนั้นเป็นเรื่องปกติ แต่ถ้าเกิดมีสัญญากู้ร่วมซื้อบ้านด้วยกันไว้ ก็จำเป็นต้องเคลียร์ให้ลงตัว เพราะสัญญากู้เหล่านี้ไม่ได้จบลงตามไปด้วย

โดยทั่วไป มีวิธีแก้ปัญหาการกู้ร่วม 3 วิธีดังนี้

1. ถอดถอนชื่อผู้กู้ร่วม

ปัญหาหลักของวิธีนี้ คือ การตกลงกันให้ได้ว่าใครจะเป็นเจ้าของกรรมสิทธิ์ของบ้านหลังนี้ และอีกฝ่ายต้องยินยอมโอนกรรมสิทธิ์ เพราะหากฝ่ายใดฝ่ายหนึ่งไม่ยอม ก็ไม่สามารถถอดถอนชื่อผู้กู้ร่วมได้ แต่หากเจรจากันได้ ก็นัดหมายกันไปที่กรมที่ดินเพื่อขอโอนเปลี่ยนชื่อ โดยฝ่ายที่กู้ต่อก็ต้องผ่อนบ้านเพียงลำพัง ทั้งนี้หากผู้กู้มีประวัติการชำระหนี้ที่ไม่ดีหรือรายได้ไม่เพียงพอ ทางธนาคารอาจจะไม่อนุมัติให้ถอดถอนชื่อผู้กู้ร่วม เพราะธนาคารจะมีความเสี่ยงเพิ่ม

 

2. รีไฟแนนซ์จากกู้ร่วมเป็นกู้คนเดียว

อีกหนึ่งทางออกในกรณีที่ธนาคารเก่าไม่อนุมัติการถอดถอนชื่อผู้กู้ร่วม คือ การรีไฟแนนซ์ไปธนาคารใหม่เพื่อขอกู้คนเดียว โดยทั่วไปธนาคารจะอนุมัติให้กู้คนเดียวแต่ต้องมีการประเมินว่าผู้กู้มีความสามารถในการชำระหนี้หรือไม่ โดยมีเงื่อนไขดังนี้

  • ธนาคารจะตรวจสอบข้อมูลต่าง ๆ เช่น หน้าที่การงาน รายได้ แหล่งที่มาของรายได้ ภาระหนี้สิน และความมั่นคงของงาน เป็นต้น โดยเฉพาะพฤติกรรมการผ่อนชำระหนี้ตรงเวลากับธนาคารเก่า
  • ธนาคารจะพิจารณารายได้ว่าต้องมีรายได้ที่มากพอคนเดียวที่จะผ่อนชำระบ้านหลังนี้ในแต่ละเดือน หากประเมินรายได้แล้วผู้กู้มีความสามารถในการผ่อนชำระ ทางธนาคารก็จะอนุมัติสินเชื่อ แต่ถ้าเป็นไปในทางตรงข้าม ธนาคารก็จะไม่อนุมัติในการขอกู้คนเดียว ต่อให้มีประวัติการผ่อนชำระหนี้ธนาคารเก่าตรงเวลาก็ตาม
  • ผู้กู้ต้องไม่ติดเครดิตบูโร เช่น ในกรณีที่มีบัตรเครดิตหลายใบและมีวงเงินรวมกันทุกบัตรสูงกว่ารายได้เป็นจำนวนมาก ทางธนาคารจะประเมินว่าเป็นภาระหนี้สินที่มีมากเกินความจำเป็น ทำให้ผู้กู้มีโอกาสติดเครดิตบูโร ทั้งนี้ธนาคารจะไม่อนุมัติการรีไฟแนนซ์
  • เมื่อธนาคารอนุมัติการรีไฟแนนซ์เรียบร้อย ในวันที่จดจำนองรีไฟแนนซ์ใหม่ ต้องตามตัวผู้กู้ร่วมมาเซ็นยินยอมโอนบ้าน ทั้งนี้ปัญหาที่มักจะพบ คือ ไม่สามารถติดต่ออีกฝ่ายได้ หรืออีกกรณี คือ ผู้กู้ร่วมบางคนอาจมีข้อเสนอมาแลกเปลี่ยนจึงจะเซ็นยินยอมให้

3. ประกาศขาย

หากทั้งสองฝ่ายไม่ต้องการบ้านหลังนี้ การขายบ้านถือเป็นวิธีที่ปิดการกู้ร่วมและจบปัญหาได้ง่ายโดยทั้งสองฝ่ายไม่ต้องรับภาระในการผ่อนบ้านต่อ และมีขั้นตอนในการเตรียมตัวขายบ้านที่ควรรู้ ได้แก่

  • เตรียมพร้อมก่อนขายบ้าน เช็กความเรียบร้อยของบ้านว่าอยู่ในสภาพพร้อมขายหรือไม่ และต้องตรวจหาจุดที่ต้องซ่อมแซม ปรับปรุง และทำความสะอาด ทั้งนี้บ้านที่ขายต้องพร้อมเข้าอยู่ เพราะผู้ซื้อบ้านส่วนใหญ่ต้องการบ้านที่มีสภาพสมบูรณ์
  • ตรวจสอบค่าใช้จ่ายต่าง ๆ เพื่อประกอบการตั้งราคาขาย เช่น ค่าธรรมเนียมการโอนบ้าน จึงจำเป็นต้องตรวจสอบค่าใช้จ่ายที่จะเกิดขึ้นระหว่างปิดการขาย เพื่อจะได้ตั้งราคาขึ้นมาให้เหมาะสมและไม่ขาดทุน เพราะหากไม่รู้ค่าใช้จ่ายต่าง ๆ และตั้งราคาต่ำเกินไป แม้ว่าจะสามารถขายบ้านได้เร็วขึ้นกว่าการตั้งราคาสูง แต่ก็จะสูญเสียรายได้ส่วนที่ไม่ควรเสีย แต่ถ้าตั้งราคาสูงเกินไปก็จะทำให้ขายบ้านได้ยาก ดังนั้นควรตั้งราคาให้เหมาะสมกับค่าใช้จ่ายที่เกิดขึ้น
  • ฝากขายบ้านกับเว็บไซต์ที่เชื่อถือได้ เพื่อให้ได้ปิดการขายเร็ว โดยควรเลือกจากเว็บไซต์ที่สามารถใช้งานและค้นหาได้ง่ายไม่ซับซ้อน แบ่งหมวดหมู่การค้นหาชัดเจน เช่น ประเภทอสังหาริมทรัพย์ ทำเล ราคา เป็นต้น รวมไปถึงครอบคลุมอสังหาริมทรัพย์ประเภทต่าง ๆ ไม่ว่าจะเป็น บ้าน ทาวน์โฮม คอนโด เป็นต้น

หลังจากที่ขายบ้านเป็นที่เรียบร้อยแล้ว ส่วนแบ่งของกำไรที่ได้จากการขายจะต้องมาดูว่าบ้านหลังนี้มีมาก่อนการจดทะเบียนสมรสหรือไม่ เพราะหากบ้านนี้มีมาก่อนจดทะเบียนสมรส กำไรที่ได้จากการขายบ้านต้องเป็นของเจ้าของบ้าน แต่หากเป็นการซื้อบ้านร่วมกันและได้มาภายหลังจดทะเบียนจะถือว่าเป็นสินสมรส ดังนั้นกำไรที่ได้จากการขายบ้านจะถูกแบ่งกันคนละครึ่ง

 

การจากลา การแยกทางกัน ไม่ใช่เรื่องผิดอะไรของการที่คู่รักสักคู่หนึ่งนั้น จะหมดรักให้แก่กัน แต่ในเมื่อมีสัญญากู้ร่วมด้วยกันแล้ว ก็ควรจะจัดการกับสัญญานั้นๆ ให้จบ ถึงแม้จะเลิกลากันไปแล้ว แต่สัญญานั้นยังคงอยู่ ซึ่งการจัดการปัญหานั้น ก็สามารถทำตามข้อที่กล่าวมาข้างต้นได้เลย

  • กู้ซื้อบ้าน กู้ให้ผ่าน ต้องทำยังไงบ้าง?
  • การขอตรวจสอบข้อมูลเครดิตสำหรับบุคคลเจ้าของข้อมูล กรณีถูกปฏิเสธการให้สินเชื่อ
  • ทำไมธนาคารคิดอัตราดอกเบี้ยเงินกู้เท่ากัน แต่เงินงวดจึงต่างกัน ?
  • บสย.เปิด 6 โครงการค้ำสินเชื่อสู้โควิด
  • เทคนิคการขอสินเชื่อบ้าน แบบเข้าใจง่ายๆ ข้อมูลครบช่วยเพิ่มโอกาศให้แบงค์อนุมัติง่ายขึ้น
  • ปลดหนี้บ้านก่อนกำหนด ต้องคำนึงถึงผลที่ได้ และผลเสียที่อาจจะไม่คุ้มสำหรับใครบางคน
  • ธนาคารกรุงไทย ร่วมมือ KTC ผ่อนบ้านผ่านบัตรเครดิต รายแรกของไทย
  • 10 อย่าง ที่ต้องรู้ !! ก่อนซื้อบ้าน ถ้าไม่อยากเจ็บหนาาา
  • ยื่นกู้ซื้อบ้านกับธนาคาร ได้วงเงินเกินราคาที่ซื้อขาย เป็นไปได้ไหม มีวิธีทำอย่างไร?
  • 3 เรื่องต้องรู้ ก่อนรีไฟแนนซ์บ้าน แนะสูตรคำนวณแบบประหยัดดอกเบี้ย หนีดอกเบี้ยสุดโหด
  • สินเชื่อ SME ต่อยอดธุรกิจ กู้เงินเปิดร้าน วงเงินกู้ 3 เท่า สูงสุด 20 ล้าน
  • สินเชื่อบ้าน รีไฟแนนซ์ จากธนาคารกรุงไทย ตัวช่วยของคนอยากมีบ้าน
  • ผ่อนบ้านจัดเต็มกับกรุงไทย ผ่อนนาน 40 ปี ดอกเบี้ยคงที่ 6 เดือน
  • ออมสินให้วงเงินกู้สูงสุด 3 ล้าน ใช้เป็นเงินทุนร้านสำหรับพ่อค้าแม่ขาย อาชีพอิสระ ผ่อนยาว 10 ปี
  • สมัครกู้เงินออนไลน์? ออมสินให้กู้ด่วน 200,000 บาท จริงหรือไม่
  • ทำอย่างไรดี? กับปัญหากู้ร่วมซื้อบ้านของคู่รักที่แยกทางกัน

    คนเหล่านั้น มีรักกันได้ ก็ย่อมมีเลิกกันได้ ซึ่งไม่ใช่เรื่องใหญ่อะไร ถือเป็นเรื่องปกติด้วยซ้ำสำหรับในยุคปัจจุบัน แต่จะทำอย่างไรดีหล่ะ? ในเมื่อตอนที่ยังรักกัน ได้ทำสัญญากู้ร่วมซื้อบ้านด้วยกันไว้ และดันเกิดเหตุความรักไม่สมหวัง จำต้องแยกทางกัน ทั้งๆ ที่มีสัญญากู้ร่วมด้วยกันอยู่

    © สงวนลิขสิทธิ์ 2567 บริษัท ไทยโฮมทาวน์ จำกัด
    @thaihometown Scroll