สาระควรรู้ทั่วไป

ความผันผวนของเศรษฐกิจบ้านเราที่ดีๆ ร้ายๆ สลับเปลี่ยนหมุนเวียนไปอยู่ตลอดเวลานับเป็นสาเหตุสำคัญที่ทำให้คนจำนวนมากจำต้องเผชิญปัญหา "กระแสรายได้มีไม่พอที่จะผ่อนชำระค่างวดบ้าน" ไปตามๆ กัน

ประกาศอสังหาริมทรัพย์ใหม่ บ้าน บ้าน รายการล่าสุด บ้านเดี่ยว บ้านเดี่ยว รายการล่าสุด ทาวน์เฮ้าส์ ทาวน์เฮ้าส์ รายการล่าสุด ทาวน์โฮม ทาวน์โฮม รายการล่าสุด คอนโด คอนโด รายการล่าสุด อาคารพาณิชย์ อาคารพาณิชย์ รายการล่าสุด อพาร์ทเม้นท์ อพาร์ทเม้นท์ รายการล่าสุด สำนักงาน สำนักงาน รายการล่าสุด โฮมออฟฟิศ โฮมออฟฟิศ รายการล่าสุด ธุรกิจ ธุรกิจ รายการล่าสุด โรงงาน โรงงาน รายการล่าสุด คลังสินค้า คลังสินค้า รายการล่าสุด โกดัง โกดัง รายการล่าสุด ที่ดิน ที่ดิน รายการล่าสุด ลงประกาศฟรี ผู้รับเหมา รายการล่าสุด ผู้รับเหมา ลงประกาศฟรี ผู้รับเหมา ข่าวประชาสัมพันธ์ รายการล่าสุด ข่าวประชาสัมพันธ์ พรีวิวโครงการใหม่ รายการล่าสุด พรีวิวโครงการใหม่ ตกแต่งที่อยู่อาศัย รายการล่าสุด ตกแต่งที่อยู่อาศัย สาระควรรู้ ที่อยู่อาศัย รายการล่าสุด สาระควรรู้ ที่อยู่อาศัย ฮวงจุ้ย ที่อยู่อาศัย รายการล่าสุด ฮวงจุ้ย ที่อยู่อาศัย สินเชื่อ ที่อยู่อาศัย รายการล่าสุด สินเชื่อ ที่อยู่อาศัย SME รายการล่าสุด SME สถานที่ท่องเที่ยว รายการล่าสุด สถานที่ท่องเที่ยว

13 ทางออก หากผ่อนบ้านไม่ไหว ต้องเตรียมตัวยังไง ขั้นตอนทำอย่างไร?

ความผันผวนของเศรษฐกิจบ้านเราที่ดีๆ ร้ายๆ สลับเปลี่ยนหมุนเวียนไปอยู่ตลอดเวลานับเป็นสาเหตุสำคัญที่ทำให้คนจำนวนมากจำต้องเผชิญปัญหา "กระแสรายได้มีไม่พอที่จะผ่อนชำระค่างวดบ้าน" ไปตามๆ กัน

           ซึ่งปัญหาลักษณะนี้หากปล่อยปละละเลย หรือแก้ไขอย่างไม่ถูกต้องแล้ว ก็จะมีผลทำให้ลุกลามกลายเป็นปัญหาใหญ่โตรุนแรงขึ้นได้ อาจเลวร้ายจนถึงขั้นต้องถูกฟ้องร้องและสูญเสียบ้านอยู่อาศัยไปในที่สุดและยังเป็นตัวกระตุ้นให้เกิดปัญหาอื่นๆ ในครอบครัวตามมาอีกนานัปการ 

            ที่จริงแล้วการผ่อนบ้านไม่ไหวเป็นปัญหาระยะสั้นชั่วครั้งชั่วคราว ที่ไม่ใช่ปัญหาเลวร้ายแต่ประการใด เป็นเพียงปัญหาปกติที่เกิดขึ้นกับใครก็ได้ 

            เพียงทว่าผู้โชคร้ายที่ตกอยู่ในภาวการณ์ดังกล่าวจะต้องรีบรักษาและเยียวยาให้ได้อย่างทันท่วงทีเท่านั้น ก็จะสามารถผ่อนหนักเป็นเบา และหลุดรอดจากห้วงเวลาที่เกิดวิกฤติการณ์ได้

           เป็นที่น่าเสียดายว่าการถูกยึดบ้านหรือถูกฟ้องล้มละลายของคนจำนวนมากล้วนเกิดขึ้นจากสาเหตุจากความรู้เท่าไม่ถึงการณ์เป็นสำคัญ จากการไม่ได้ดูแลจัดการปัญหาอย่างถูกต้องตั้งแต่เริ่มแรก ทำให้ปัญหาลุกลามใหญ่โตกลายเป็นวิกฤติการณ์จนยากเกินกว่าที่จะเยียวยาได้ในที่สุด 

            ปกติเวลาคนทั่วไปเผชิญกับปัญหาผ่อนค่างวดบ้านไม่ได้ สิ่งที่นิยมกระทำกันก็คือหยุดส่งค่างวดไปเฉย ๆ พร้อมๆ กับการหนีหายไม่ติดต่อกับสถาบันการเงิน 

            การจัดการปัญหาลักษณะนี้เป็นแนวทางแก้ไขปัญหาที่ผิดพลาดเป็นอย่างยิ่ง เพราะเป็นการซ้ำเติมให้สภาพปัญหายิ่งเลวเพิ่มขึ้นไปเรื่อยๆ 

            แนวทางแก้ไขปัญหาที่ถูกต้อง ก็คือจะต้องรีบเจรจาขอผ่อนผันและประนอมหนี้กับสถาบันการเงินผู้ปล่อยกู้ให้ได้ เพื่อปรับแต่งเงื่อนไขข้อผูกพันรายจ่ายค่างวดบ้านใหม่เป็นการชั่วคราว ให้เกิดสมดุลระหว่างรายรับและรายจ่ายของครอบครัวขึ้นอันจะมีผลทำให้สามารถยืนหยัดฝ่าฟันจนกระทั่งวิกฤติการณ์ผ่านพ้นไปได้ 

โดยทั่วไปแล้วคนที่เผชิญกับปัญหาผ่อนค่างวดบ้านไม่ได้มีตั้งแต่ปัญหาเล็กน้อยจนถึงขั้นปัญหาขั้นรุนแรง
หนทางในการเจรจาเพื่อขอผ่อนผันและประนอมหนี้ กับสถาบันการเงินมี 
13 หนทางด้วยกัน คือ 

1. ขอผ่อนผันชำระยอดหนี้ค้างชำระ โดยลูกหนี้อาจขอผ่อนชำระคืนยอดหนี้ที่ค้างได้นานสูงสุด 36 เดือน ติดต่อกันโดยทำได้ใน 3 ลักษณะ คือ ลักษณะแรกเป็นการขอเฉลี่ยหนี้ที่ค้างชำระทั้งหมดออกเป็นงวด ๆ งวดละเท่า ๆ กัน และผ่อนชำระคืนติดต่อกันทุกเดือน ลักษณะที่สองเป็นการชำระหนี้ที่ค้างทั้งหมดในเวลาที่ตกลง ( ไม่เป็นงวด ) หรือลักษณะสุดท้ายเป็นการขอชำระหนี้ที่ค้างเป็นเงินก้อนเป็นงวดๆ ตามเวลาที่ตกลง 

2. ขอขยายเวลาชำระหนี้ ลูกหนี้สามารถขอขยายระยะเวลากู้เงินต่อไปได้ถึง 30 ปี นับจากปัจจุบัน เพื่อลดเงินงวดให้น้อยลง ซึ่งเงื่อนไขโดยทั่วไปก็คืออายุของผู้กู้เมื่อรวมกับระยะเวลาที่ขอขยายแล้วจะต้องไม่เกิน 70 ปี และดอกเบี้ยที่ค้างชำระทั้งหมด (ถ้ามี) ลูกหนี้จะต้องชำระให้หมดเสียก่อน 

3. ขอกู้เพิ่มเพื่อชำระดอกเบี้ยที่ค้างชำระ เป็นกรณีที่ลูกหนี้ไม่สามารถชำระดอกเบี้ยที่ค้างทั้งหมดได้ ลูกหนี้สามารถขอกู้เพิ่มเพื่อชำระดอกเบี้ยที่ค้างชำระพร้อมกับขยายระยะเวลากู้เงินได้ โดยเงื่อนไขโดยทั่วไปก็คือในระยะเวลา 3 เดือน ก่อนการขอกู้เพิ่ม ลูกหนี้จะต้องชำระเงินงวดอย่างสม่ำเสมอ และเมื่อนำวงเงินที่ขอกู้เพิ่มรวมกับเงินต้นคงเหลือแล้ว เงินงวดใหม่ต้องมากกว่าไม่เกินร้อยละ 25 ของเงินงวดเดิม 

4. ขอชำระแต่ดอกเบี้ยประจำเดือน ในบางช่วงเวลาลูกหนี้อาจขอผ่อนชำระแต่ดอกเบี้ยประจำเดือนได้ ปกติเงื่อนไขแบบนี้จะให้เฉพาะกับลูกหนี้ที่มีประวัติการชำระคืนที่ดีเท่านั้น และระยะเวลาผ่อนชำระจะให้ได้นานสูงสุดไม่เกิน 12 เดือน และขอดำเนินการได้ครั้งเดียว 

5. ขอชำระต่ำกว่าเงินงวดปกติ ปกติเงื่อนไขการขอผ่อนผันแบบนี้ มักกำหนดให้จำนวนเงินที่ชำระต่ำกว่าเงินงวดปกตินั้น ต้องมากกว่าดอกเบี้ยประจำเดือนอย่างน้อย 500 บาท ระยะเวลาผ่อนชำระได้นานสูงสุดไม่เกิน 2 ปี และขอดำเนินการได้ครั้งเดียว 

6. ขอลดอัตราดอกเบี้ยเป็นกรณีพิเศษ เป็นการขอผ่อนผันในกรณีที่ลูกหนี้ถูกปรับอัตราดอกเบี้ยเงินกู้เพิ่มขึ้นจากอัตราปกติ ลูกหนี้สามารถแจ้งขอลดอัตราดอกเบี้ยในวันที่ชำระเงินได้หากลูกหนี้ได้ชำระเงินตามเงื่อนไข คือชำระหนี้ที่ค้างทั้งหมดในวันเดียว (รวมทั้งดอกเบี้ยที่ค้างทั้งหมดด้วย) หรือชำระหนี้ที่ค้างเป็นเงินก้อนครั้งเดียวเท่ากับ 3 งวด 

7. ขอโอนบ้านให้กับสถาบันการเงินเป็นการชั่วคราว แล้วซื้อคืนภายหลัง ปกติสถาบันการเงินจะรับโอนหลักประกัน โดยหักกลบลบหนี้ในจำนวนไม่เกิน 90 % ของมูลค่าหลักประกัน หากมีหนี้ส่วนที่เกิน ลูกหนี้จะต้องชำระให้เสร็จสิ้นภายในวันที่โอน โดยหลักประกันจะต้องอยู่ในเขตกรุงเทพมหานครและปริมณฑล หรือในเขตเทศบาลของจังหวัดอื่นเท่านั้น สถาบันการเงินจะคิดค่าเช่าในอัตราเดือนละ 0.4 – 0.6 % ของมูลค่าหลักประกัน ทำสัญญา 1 ปี เมื่อครบกำหนด 1 ปี แล้วจะต่อสัญญาจากพฤติกรรมการอยู่อาศัยและการปฏิบัติตามสัญญาเช่า ผู้เช่าต้องวางเงินประกันค่าเสียหายในวงเงินค่าเช่า 1 เดือน พร้อมทั้งชำระค่าเช่าล่วงหน้า 1 เดือน ภายใน 3 ปี นับตั้งแต่วันทำสัญญาเช่า เมื่อผู้เช่ารายใดมีความประสงค์ที่จะขอซื้อคืน สถาบันการเงินจะขายคืนให้ ราคาที่ขายคืนปกติจะพิจารณาจากยอดหนี้คงเหลือที่ใช้หักกลบลบหนี้กับหลักประกัน ทั้งนี้ในการซื้อคืนของลูกหนี้ผู้เช่าอยู่อาศัยสามารถขอสินเชื่อได้ด้วย 

8. ขอให้สถาบันการเงินชะลอฟ้อง เงื่อนไขโดยทั่วไปก็คือลูกหนี้จะต้องชำระเงินติดต่อกันให้ทันงวดภายใน 6 เดือน แล้วผ่อนชำระต่อตามสัญญาเดิม หรือขอชำระแต่ดอกเบี้ยประจำเดือน โดยไม่ผิดนัดเป็นเวลาไม่เกิน 12 เดือน เมื่อครบกำหนดตามระยะเวลาที่ขอผ่อนผันแล้ว หากลูกหนี้ชำระหนี้ตามข้อตกลงโดยไม่ขาดส่ง สถาบันการเงินก็จะคำนวณเงินงวดใหม่ที่ลูกหนี้ต้องชำระต่อไป 

9. ขอให้สถาบันการเงินถอนฟ้อง เงื่อนไขในการขอประนอมหนี้แบบนี้ก็คือลูกหนี้ที่ถูกฟ้องจะต้องมาติดต่อชำระหนี้ทันงวดและไม่มีดอกเบี้ยค้าง พร้อมทั้งชำระค่าธรรมเนียมศาลและค่าใช้จ่ายครบถ้วน 

10. ขอให้ชะลอการขายทอดตลาด ลูกหนี้ที่สถาบันการเงินยึดทรัพย์แล้วรอการขายทอดตลาด อาจเจรจาขอให้ชะลอการขายไว้ก่อนได้ โดยลูกหนี้จะต้องชำระค่าธรรมเนียมศาลค่าใช้จ่ายต่างๆ ในชั้นฟ้องคดีและบังคับคดี รวมทั้งค่าพาหนะในการเดินทางของทนายความไปเลื่อนการขายตามที่จ่ายจริงให้ครบถ้วน แล้วให้ลูกหนี้ชำระหนี้ติดต่อกันไม่น้อยกว่า 6 งวด โดยหนี้ที่เหลือต้องไม่เกินร้อยละ 80 ของราคาประเมินหลักประกันใหม่ แล้วให้ลูกหนี้ทำสัญญากู้ใหม่ 

11. ขอยอมความกับสถาบันการเงิน ลูกหนี้ที่ถูกฟ้องคดีแล้ว ลูกหนี้อาจขอยอมความกับสถาบันการเงินได้โดยลูกหนี้จะต้องชำระค่าธรรมเนียมศาล ค่าใช้จ่ายในการดำเนินคดี และค่าทนายความให้ครบถ้วน โดยเงื่อนไขของการขอยอมความที่สำคัญ ก็คือลูกหนี้จะต้องชำระหนี้ทั้งหมดและไถ่ถอนจำนองภายในระยะเวลาที่กำหนด หรือขอกำหนดเงินงวดผ่อนชำระใหม่ให้มีการแบ่งเบาภาระการผ่อนชำระในระยะ 1 – 2 ปี แรกของการผ่อนชำระเวลาที่เหลือจนชำระหนี้เสร็จสิ้น 

12. ขอชะลอการยึดทรัพย์ ลูกหนี้ที่ถูกศาลพิพากษาแล้ว ลูกหนี้อาจขอให้ชะลอการยึดทรัพย์ได้ โดยลูกหนี้จะต้องชำระค่าธรรมเนียมศาล ค่าใช้จ่ายในการดำเนินคดี ค่าทนายความ รวมถึงค่าพาหนะในการเดินทางของทนายความไปเลื่อนคดีตามที่จ่ายจริง และค่าใช้จ่ายต่างๆ ในการบังคับคดีให้ครบถ้วน ทั้งนี้ลูกหนี้จะต้องชำระหนี้ทั้งหมดและไถ่ถอนจำนองภายในเวลาไม่เกิน 3 เดือน โดยต้องชำระหนี้บางส่วนก่อนตามจำนวนที่ตกลง โดยถ้าราคาประเมินหลักประกันสูงกว่ายอดหนี้เกินร้อยละ 80 ลูกหนี้อาจทำสัญญากู้ใหม่ได้ เมื่อได้ชำระหนี้ตามข้อตกลงกับสถาบันการเงินติดต่อกันแล้วไม่น้อยกว่า 6 งวด 

13. ขอเปลี่ยนตัวลูกหนี้ตามสัญญากู้ใหม่ กู้เพิ่ม หรือเปลี่ยนแปลงเงื่อนไขในสัญญา โดยเงื่อนไขปกติก็ คือ ลูกหนี้จะต้องชำระค่าธรรมเนียมศาลค่าใช้จ่ายต่างๆ ในชั้นฟ้องคดีและชั้นบังคับคดีให้หมดเสียก่อน และลูกหนี้เดิมจะต้องปฏิบัติตามขั้นตอนที่ได้ขอประนอมหนี้ไว้ จากนั้นจึงค่อยให้ผู้กู้รายเดิมหรือผู้กู้รายใหม่ ยื่นคำขอกู้ต่อไป


ขอบคุณข้อมูลจาก www.nfe.go.th, นิตยสารบ้านพร้อมอยู่
  • 8 เรื่องที่ควรรู้ ก่อนทำการว่าจ้างผู้รับเหมาให้ทำบ้าน
  • อย่าทรมาณสายตาด้วยการทิ้งของ 9 สิ่งไว้เฉยๆ ควรทำความสะอาดทุกวัน ไม่งั้นโรคถามหาแน่นอน
  • จัดบ้านอย่างไร ให้พร้อมดูบอลโลก 2018 ได้แบบยาวๆ
  • 7 สิ่งในบ้านที่อาจทำให้บ้านของคุณดูไม่มีราคา
  • พื้นไม้เทียม "ลามิเนต" สวยงามเหมือนไม้จริง ทนทานมากกว่า แต่มีอันตรายต่อร่างกายจริงหรือ ?
  • ใครเบื่อยกมือขึ้น! ซัมซุงแนะนำ 5 กิจกรรมคลายเหงาสำหรับชาวอยู่บ้าน วางงานหนัก พักสมอง แล้วมาลองเล่น
  • 7 วิธีเตรียมพร้อม..ก่อนทิ้งบ้านไปเที่ยงสงกรานต์
  • ระวัง! ภัยจะมาเคาะประตูบ้าน เมื่อ "ผู้สูงอายุ" อยู่บ้านคนเดียว
  • 10 ประเภทหลังคา สะท้อนแดดได้ดี ช่วยลดอุณหภูมิในบ้านในช่วงหน้าร้อนได้
  • รัฐเวนคืนที่ดิน ต้องแจ้งสิทธิรับเงินรายได้ ภาษีที่ต้องจ่ายอะไรบ้าง
  • สาววัยเกษียณ ตั้งกระทู้ถาม สู้ราคาบ้านกรุงเทพไม่ไหว มีงบ 2-3 ล้าน ไปอยู่จังหวัดไหนดี แห่แชร์ชี้พิกัดเพียบ
  • ทาวน์โฮมดีไซน์จบปัญหา จอดรถขวางหน้าบ้าน พื้นที่จัดเต็มแบบจุกๆ สำหรับคนรถเยอะ
  • เผยเคล็ดลับ แม่บ้านใช้ "ฝาหม้อ" ทำความสะอาดโซฟา ไวรัล 80 ล้านวิวของจริงไม่จกตา
  • เช็ค! โฉนดที่ดิน กับ โฉนดเพื่อการเกษตร ต่างกันอย่างไร ข้อควรรู้ก่อนเปลี่ยน ส.ป.ก เป็นโฉนดเพื่อการเกษตร
  • ทริคง่ายๆ! ปลูกถั่วงอกทานเอง เลือกได้หลายวิธี สะอาดปลอดสารพิษ อุดมด้วยคุณค่าทางอาหาร
  • 13 ทางออก หากผ่อนบ้านไม่ไหว ต้องเตรียมตัวยังไง ขั้นตอนทำอย่างไร?

    ความผันผวนของเศรษฐกิจบ้านเราที่ดีๆ ร้ายๆ สลับเปลี่ยนหมุนเวียนไปอยู่ตลอดเวลานับเป็นสาเหตุสำคัญที่ทำให้คนจำนวนมากจำต้องเผชิญปัญหา "กระแสรายได้มีไม่พอที่จะผ่อนชำระค่างวดบ้าน" ไปตามๆ กัน

    © สงวนลิขสิทธิ์ 2567 บริษัท ไทยโฮมทาวน์ จำกัด
    @thaihometown Scroll