สินเชื่อที่อยู่อาศัย

การรีไฟแนนซ์บ้านถือเป็นทางเลือกที่น่าสนใจสำหรับคนที่ผ่อนบ้านจนถึงช่วงใกล้หมด "โปรโมชั่นดอกเบี้ย" การรีไฟแนนซ์กับแหล่งเงินกู้ใหม่ๆ ที่มีดอกเบี้ยที่ต่ำลงกว่าเดิม ที่จูงใจให้เราเลือกใช้จากธนาคารต่างๆ แต่เราจะรีไฟแนนซ์อย่างไรให้คุ้มค่ามากที่สุด มาดูกันเลยดีกว่า

ประกาศอสังหาริมทรัพย์ใหม่ บ้าน บ้าน รายการล่าสุด บ้านเดี่ยว บ้านเดี่ยว รายการล่าสุด ทาวน์เฮ้าส์ ทาวน์เฮ้าส์ รายการล่าสุด ทาวน์โฮม ทาวน์โฮม รายการล่าสุด คอนโด คอนโด รายการล่าสุด อาคารพาณิชย์ อาคารพาณิชย์ รายการล่าสุด อพาร์ทเม้นท์ อพาร์ทเม้นท์ รายการล่าสุด สำนักงาน สำนักงาน รายการล่าสุด โฮมออฟฟิศ โฮมออฟฟิศ รายการล่าสุด ธุรกิจ ธุรกิจ รายการล่าสุด โรงงาน โรงงาน รายการล่าสุด คลังสินค้า คลังสินค้า รายการล่าสุด โกดัง โกดัง รายการล่าสุด ที่ดิน ที่ดิน รายการล่าสุด ลงประกาศฟรี ผู้รับเหมา รายการล่าสุด ผู้รับเหมา ลงประกาศฟรี ผู้รับเหมา ข่าวประชาสัมพันธ์ รายการล่าสุด ข่าวประชาสัมพันธ์ พรีวิวโครงการใหม่ รายการล่าสุด พรีวิวโครงการใหม่ ตกแต่งที่อยู่อาศัย รายการล่าสุด ตกแต่งที่อยู่อาศัย สาระควรรู้ ที่อยู่อาศัย รายการล่าสุด สาระควรรู้ ที่อยู่อาศัย ฮวงจุ้ย ที่อยู่อาศัย รายการล่าสุด ฮวงจุ้ย ที่อยู่อาศัย สินเชื่อ ที่อยู่อาศัย รายการล่าสุด สินเชื่อ ที่อยู่อาศัย SME รายการล่าสุด SME สถานที่ท่องเที่ยว รายการล่าสุด สถานที่ท่องเที่ยว

รีไฟแนนซ์บ้านอย่างไรให้คุ้มค่ามากที่สุด

     อัตราดอกเบี้ยในช่วง 1 -3 ปีแรก จะเป็นช่วงที่ธนาคารต่างๆ จะกำหนดดอกเบี้ยไว้ต่ำ จะเป็นช่วงที่เรียกว่า "โปรโมชั่นดอกเบี้ย" ทำให้เราผ่อนเงินต้นได้มาก ในขณะที่ดอกเบี้ยน้อย แต่เมื่อผ่านช่วงเวลาดังกล่าว จะเข้าสู่ช่วงอัตราดอกเบี้ยลอยตัว เราจะเห็นบิลค่างวดของเรามีเงินที่ต้องจ่ายมากขึ้น ซึ่งบางทีดอกเบี้ยสุงขึ้นกว่าเงินต้นด้วยซ้ำ

     การรีไฟแนนซ์บ้านถือเป็นทางเลือกที่น่าสนใจสำหรับคนที่ผ่อนบ้านจนถึงช่วงใกล้หมด "โปรโมชั่นดอกเบี้ย" การรีไฟแนนซ์กับแหล่งเงินกู้ใหม่ๆ ที่มีดอกเบี้ยที่ต่ำลงกว่าเดิม ที่จูงใจให้เราเลือกใช้จากธนาคารต่างๆ แต่เราจะรีไฟแนนซ์อย่างไรให้คุ้มค่ามากที่สุด มาดูกันเลยดีกว่า

 

มองหาดอกเบี้ยที่ต่ำลงกว่าเดิม

        การรีไฟแนนซ์ที่จะเห็นผลคุ้มค่าต่อการย้ายแหล่งกู้เงินใหม่ เราต้องมองหาดอกเบี้ยที่ต่ำลงกว่าเดิม ยิ่งมากยิ่งดี โดยเราสามารถเทียบจากอัตราดอกเบี้ยในการผ่อนชำระระหว่างวาระดอกเบี้ยโปรโมชันในช่วง 1-3 ปี ของที่ใหม่ กับอัตราดอกเบี้ยหลังจากวาระดอกเบี้ยโปรโมชันหมดลง เพราะหลังจากนั้นอัตราดอกเบี้ยจะเป็นไปในลักษณะลอยตัว หรือ MLR หรือ ลอยตัวแล้วมีตัวลบ คือ MLR- ซึ่งอัตราดอกเบี้ย MLR ของแต่ละธนาคารจะไม่เท่ากัน

        ดังนั้นผู้ต้องการรีไฟแนนซ์ก็ต้องตรวจสอบดูส่วนต่างดอกเบี้ย ระหว่างการใช้ดอกเบี้ยอยู่กับธนาคารเดิม กับ ค่าใช้จ่ายหลังรีไฟแนนซ์ไปยังธนาคารใหม่ว่ามีส่วนลดให้มากพอที่จะทำเรื่องไฟแนนซ์ไปหรือไม่ ซึ่งในทุกๆ ปี ธนาคารต่างๆ จะแข่งกันออกโปรโมชันใหม่ๆ อัตราดอกเบี้ยที่จูงใจมากขึ้นเพื่อดึงดูดลูกค้า หน้าที่ของเราคือต้องคอยตรวจสอบว่าอัตราดอกเบี้ยที่ไหนดีที่สุด โดยเทียบกับที่เราใช้บริการอยู่ ถ้าบวกลบแล้วคุ้มค่าก็ดำเนินการย้ายเลยได้ทันที

ศึกษาค่าใช้จ่ายในการรีไฟแนนซ์ก่อน

          การรีไฟแนนซ์บ้านเราจะต้องรู้ค่าใช้จ่ายโดยรวมทั้งหมดเสียก่อน ควรคำนวณตัวเลขในอนาคตล่วงหน้าก่อนรีไฟแนนซ์ทุกครั้ง ยิ่งทำละเอียดเท่าไรก็ยิ่งดีต่อเราเท่านั้น แต่สิ่งที่เรามองข้ามไม่ได้เลย ก็คือ การศึกษาค่าใช้จ่ายในการรีไฟแนนซ์บ้านดังต่อไปนี้

1. กรณีที่เรารีไฟแนนซ์บ้าน กับธนาคารเดิมโดยยังไม่ครบกำหนด 3 ปี จะมีค่าปรับราวๆ 0-3% ของวงเงินกู้ ขึ้นอยู่กับนโยบายของแต่ละธนาคาร ดังนั้นเราไม่ควรรีบรีไฟแนนซ์ก่อนครบ 3 ปี จะช่วยลดค่าใช้จ่ายตรงนี้ลงไปได้มากทีเดียว อย่าลืมว่า 3% ของเงินหลักล้าน ค่อนข้างมากพอตัวอยู่

2. ในปัจจุบันอัตราดอกเบี้ย MLR ของแต่ละธนาคารจะไม่เกิน 7-8% ดังนั้นเราจึงควรใส่ใจกับ MLR- หรือตัวลบ ที่ต่อท้ายอัตราดอกเบี้ยให้ดี ยิ่งลบมากยิ่งดี

3. ค่าใช้จ่ายในการประเมินราคาสินทรัพย์ใหม่ของแต่ละธนาคารจะไม่เท่ากัน โดยปกติแล้วจะอยู่ราวๆ 0.25-2% ของราคาสินทรัพย์ที่นำมาประเมิน แต่ในกรณีที่เราสามารถรีไฟแนนซ์กับธนาคารเดิมค่าใช้จ่ายในส่วนนี้อาจไม่มี ทำให้ประหยัดค่าใช้จ่ายได้อีกทาง

         1. ค่าธรรมเนียมในการปล่อยกู้ใหม่ ธนาคารส่วนใหญ่จะคิดประมาณ 0-3% ของวงเงินกู้ และเช่นเดียวกันหากเรารีไฟแนนซ์กับธนาคารเดิม ค่าใช้จ่ายส่วนนี้อาจไม่นำมาคิด

         2. ค่าอากรแสตมป์ คิดเท่ากันทุกธนาคารที่ 0.05% ของวงเงินกู้ใหม่

         3. ค่าจดจำนองที่ดิน คิดเป็น 1% ของวงเงินที่ขอกู้เท่ากันทุกธนาคาร โดยค่าใช้จ่ายในส่วนนี้จะจ่ายให้กับกรมที่ดิน แต่ไม่ต้องจ่ายหากเรารีไฟแนนซ์กับธนาคารเดิม เนื่องจากไม่ต้องไปจดจำนองใหม่นั่นเอง

          4. ค่าทำประกัน หรือค่าบริการอื่นๆ แล้วแต่นโยบายของแต่ละธนาคาร ส่วนใหญ่จะเป็นค่าประกันอัคคีภัย

          สรุปง่ายๆ ว่า ค่าใช้จ่ายในการรีไฟแนนซ์บ้านใหม่ทั้งหมดจะมีค่าใช้จ่ายเฉลี่ยอยู่ราวๆ 2-3% ของวงเงินกู้ โดยค่าเฉลี่ยนี้อาจสูงได้ถึง 4.3% ของวงเงินรีไฟแนนซ์ ในบางกรณีเราสามารถประหยัดค่าธรรมเนียมในการจดจำนองใหม่ (1%) ได้ถ้าเราเลือกที่จะรีไฟแนนซ์กับธนาคารเดิม ค่าใช้จ่ายบางข้อเป็นค่าคงที่สำหรับทุกธนาคาร และบางข้อคิดเป็นมูลค่าน้อยมากเมื่อเทียบกับวงเงินกู้ เราไม่ควรเอามาใช้เป็นปัจจัยหลักในการตัดสินใจรีไฟแนนซ์

 

กรณีรีไฟแนนซ์แล้วมีแถมพ่วงด้วยสินเชื่อส่วนบุคคล

          บางกรณีเมื่อเราขอรีไฟแนนซ์ใหม่ ธนาคารจะเสนอสินเชื่อต่อเติมบ้านมาให้เราด้วย กรณีนี้เราต้องพิจารณาให้ดีก่อนตัดสินใจรับเงินก้อนส่วนต่างจากวงเงินรีไฟแนนซ์เดิม เนื่องจากวงเงินก้อนใหม่ที่เติมเข้ามามักจะเป็นวงเงินในส่วนของสินเชื่อส่วนบุคคลที่มีอัตราดอกเบี้ยสูงกว่าสินเชื่อประเภทที่อยู่อาศัย หากเราต้องการรีไฟแนนซ์เพื่อลดดอกเบี้ยจ่าย กรณีนี้อาจผิดวัตถุประสงค์ที่เราตั้งเอาไว้ตั้งแต่ต้น

 

     อย่างไรก็ตามหากเรามีความจำเป็นจริงๆ เราก็สามารถตอบรับเงินก้อนที่เติมเข้ามาก้อนนี้เอาไว้ได้ แต่เราต้องคำนึงอยู่เสมอว่าเราต้องนำเงินก้อนนี้ไปใช้เพราะจำเป้น และก่อให้เกิดประโยชน์จริงๆ จะทำให้เราใช้เงินได้อย่างมีประสิทธิภาพ


ขอบคุณข้อมูลจาก ธนาคารออมสิน
  • ซื้อบ้านด้วยเงินสด มีข้อดีอะไร และขั้นตอนอย่างไรบ้าง?
  • เศรษฐกิจไม่ดี อยากเก็บเงินซื้อบ้านเงินสด รอนานราคาเปลี่ยนไม่คุ้ม
  • 3 เหตุผลหลัก ธนาคารอนุมัติเงิน "กู้ซื้อบ้าน"
  • ขั้นตอนยื่นกู้ "ซื้อคอนโด" ข้อแนะนำการเตรียมตัวสำหรับมนุษย์เงินเดือน
  • เคล็ดลับการกู้ซื้อบ้านแบบสบายๆ สไตล์มนุษย์เงินเดือน
  • ทำไม? สินเชื่อถึงไม่อนุมัติ เครดิตไม่ดีเหรอ เครดิตดีอยากได้ต้องอย่างไร
  • บัตรเครดิต มีผลทำให้กู้ซื้อบ้านไม่ผ่าน จริงหรือ?
  • ขอสินเชื่อบ้าน ทำไมธนาคารต้องให้เราทำประกันด้วย ไม่ทำแล้วจะกู้บ้านไม่ผ่านจริงหรือ
  • สินเชื่อเคหะ ธนาคารออมสิน
  • สินเชื่อ SME ต่อยอดธุรกิจ กู้เงินเปิดร้าน วงเงินกู้ 3 เท่า สูงสุด 20 ล้าน
  • สินเชื่อบ้าน รีไฟแนนซ์ จากธนาคารกรุงไทย ตัวช่วยของคนอยากมีบ้าน
  • ผ่อนบ้านจัดเต็มกับกรุงไทย ผ่อนนาน 40 ปี ดอกเบี้ยคงที่ 6 เดือน
  • ออมสินให้วงเงินกู้สูงสุด 3 ล้าน ใช้เป็นเงินทุนร้านสำหรับพ่อค้าแม่ขาย อาชีพอิสระ ผ่อนยาว 10 ปี
  • สมัครกู้เงินออนไลน์? ออมสินให้กู้ด่วน 200,000 บาท จริงหรือไม่
  • ออมสินปรับลดเงินงวด สินเชื่อ "ผ่อนบ้านดี มีเฮ" สำหรับลูกค้าสินเชื่อเคหะปัจจุบัน ถึง 30 ก.ย. นี้
  • รีไฟแนนซ์บ้านอย่างไรให้คุ้มค่ามากที่สุด

    การรีไฟแนนซ์บ้านถือเป็นทางเลือกที่น่าสนใจสำหรับคนที่ผ่อนบ้านจนถึงช่วงใกล้หมด "โปรโมชั่นดอกเบี้ย" การรีไฟแนนซ์กับแหล่งเงินกู้ใหม่ๆ ที่มีดอกเบี้ยที่ต่ำลงกว่าเดิม ที่จูงใจให้เราเลือกใช้จากธนาคารต่างๆ แต่เราจะรีไฟแนนซ์อย่างไรให้คุ้มค่ามากที่สุด มาดูกันเลยดีกว่า

    © สงวนลิขสิทธิ์ 2567 บริษัท ไทยโฮมทาวน์ จำกัด
    @thaihometown Scroll