สินเชื่อที่อยู่อาศัย

สินเชื่อบ้าน คือเงินกู้ระยะยาวที่กู้ยืมจากสถาบันการเงินหรือธนาคาร เพื่อซื้อหรือสร้างที่อยู่อาศัยไม่ว่าจะเป็นบ้าน ทาวเฮาส์ ทาวโฮม คอนโด หรืออาคารพาณิชย์ โดยใช้ที่อยู่อาศัยนั้นเป็นหลักประกันในการจำนองให้แก่ธนาคารผู้ให้สินเชื่อ ซึ่งเป็นสิ่งที่หลายๆ คนต้องเจออย่างเลี่ยงไม่ได้ โดยเฉพาะมนุษย์เงินเดือน

ประกาศอสังหาริมทรัพย์ใหม่ บ้าน บ้าน รายการล่าสุด บ้านเดี่ยว บ้านเดี่ยว รายการล่าสุด ทาวน์เฮ้าส์ ทาวน์เฮ้าส์ รายการล่าสุด ทาวน์โฮม ทาวน์โฮม รายการล่าสุด คอนโด คอนโด รายการล่าสุด อาคารพาณิชย์ อาคารพาณิชย์ รายการล่าสุด อพาร์ทเม้นท์ อพาร์ทเม้นท์ รายการล่าสุด สำนักงาน สำนักงาน รายการล่าสุด โฮมออฟฟิศ โฮมออฟฟิศ รายการล่าสุด ธุรกิจ ธุรกิจ รายการล่าสุด โรงงาน โรงงาน รายการล่าสุด คลังสินค้า คลังสินค้า รายการล่าสุด โกดัง โกดัง รายการล่าสุด ที่ดิน ที่ดิน รายการล่าสุด ลงประกาศฟรี ผู้รับเหมา รายการล่าสุด ผู้รับเหมา ลงประกาศฟรี ผู้รับเหมา ข่าวประชาสัมพันธ์ รายการล่าสุด ข่าวประชาสัมพันธ์ พรีวิวโครงการใหม่ รายการล่าสุด พรีวิวโครงการใหม่ ตกแต่งที่อยู่อาศัย รายการล่าสุด ตกแต่งที่อยู่อาศัย สาระควรรู้ ที่อยู่อาศัย รายการล่าสุด สาระควรรู้ ที่อยู่อาศัย ฮวงจุ้ย ที่อยู่อาศัย รายการล่าสุด ฮวงจุ้ย ที่อยู่อาศัย สินเชื่อ ที่อยู่อาศัย รายการล่าสุด สินเชื่อ ที่อยู่อาศัย SME รายการล่าสุด SME สถานที่ท่องเที่ยว รายการล่าสุด สถานที่ท่องเที่ยว

13 เหตุผลที่ทำให้ธนาคารปฏิเสธการให้กู้สินเชื่อบ้าน

     สินเชื่อบ้าน คือเงินกู้ระยะยาวที่กู้ยืมจากสถาบันการเงินหรือธนาคาร เพื่อซื้อหรือสร้างที่อยู่อาศัยไม่ว่าจะเป็นบ้าน ทาวเฮาส์ ทาวโฮม คอนโด หรืออาคารพาณิชย์ โดยใช้ที่อยู่อาศัยนั้นเป็นหลักประกันในการจำนองให้แก่ธนาคารผู้ให้สินเชื่อ ซึ่งเป็นสิ่งที่หลายๆ คนต้องเจออย่างเลี่ยงไม่ได้ โดยเฉพาะมนุษย์เงินเดือน     

     ซึ่งมนุษย์เงินเดือนหลายๆ คนคงกำลังปวดหัวกับเรื่องการขอกู้สินเชื่อบ้านกับธนาคารอยู่ใช่ไหม ว่าเป็นเพราะอะไร ทำไมฉันถึงกู้ไม่ผ่าน คนอื่นยังกู้ผ่านเลย เหตุผลง่ายๆก็คือ มันไม่ใช่ว่าใครก็กู้ได้ ทั้งนี้ก็ต้องขึ้นอยู่กับคุณบัติต่างๆ ซึ่งมีหลายเหตุผลอย่างมากที่ส่งผลให้ผู้กู้นั้นไม่สามารถกู้สินเชื่อบ้านได้ ซึ่งวันนี้ Thaihometown ได้รวบรวมมาแล้วมามีเหตุผลอะไรบ้างที่ส่งผลให้กู้สินเชื่อบ้านไม่ผ่าน ส่วนจะมีอะไรบ้างนั้น เราไปตามอ่านกันได้เลย

 

1.คุณสมบัติส่วนตัวไม่ผ่าน

     นับว่าเป็นเรื่องที่ใกล้ตัวที่สุดและเป็นสิ่งแรกที่เราควรจะพิจารณาก่อนที่ทำจะทำการขอสินเชื่อบ้าน เพราะส่วนใหญ่ทุกธนาคารจะกำหนดคุณสมบัติส่วนตัวของผู้กู้ไว้ตรงกันอยู่แล้ว โดยผู้กู้ต้องมีอายุ 20 ปีบริบูรณ์ขึ้นไปจึงจะทำการกู้สินเชื่อได้ และอายุไม่มากไปกว่าช่วงอายุที่พ้นจากวัยทำงานแล้วคือ 60-65 ปี เว้นแต่กรณีที่มีกฎหมายกำหนดเป็นรายหน่วยงานที่มีอายุมากกว่า 65 ปีแล้วสามารถกู้ได้ เช่น มีอาชีพทำงานในตำแหน่งข้าราชการอัยการ หรือผู้พิพากษาเป็นต้น

 

2.เอกสารสำคัญไม่ครบถ้วน

     นับว่าเป็นอีกหนึ่งเรื่องใกล้ตัวที่ไม่ควรมองข้าม เพราะขั้นตอนการส่งเอกสารนั้นนับว่าเป็นขั้นตอนแรกๆ ที่ผู้กู้จะต้องทำในการขอสินเชื่อบ้าน ดังนั้นควรตรวจสอบเอกสารให้ครบถ้วนตามที่สบาบันการเงินกำหนด ทั้งนี้ควรตรวจสอบความเรียบร้อยของบเอกสารด้วย เช่นเอกสารที่ยื่นกู้ต้องมีการอัพเดทอย่างสม่ำเสมอ หากเอกสารไม่มีการอัพเดทจะทำให้ขาดความหน้าเชื่อถือไปนั่นเอง โดยเอกสารทางการเงินที่ดีต้องมีการอัพเดทสม่ำเสมอและย้อนหลังไม่เกิน 3 เดือนโดยเฉพาะหนังสือรับรองเงินเดือน สำเนาบัญชีย้อนหลัง 3 เดือนล่าสุด หรือเสาเนาเอกสารเกี่ยวกับเครดิตต่างๆ ก็ควรจะมีการขอมาใหม่ เพื่อให้เป็นข้อมูลล่าสุดจึงจะที่ดีสุด

 

3.การเปลี่ยนงานบ่อย

     สำหรับเรื่องงานก็มีความสำคัญในลำดับต้นๆ เช่นกัน เพราะยิ่งเราเปลี่ยนงานมากเท่าไหร่ นั่นหมายถึงเราไม่สามารถการันตีความมั่นคงของรายได้ ธนาคารมีสิทธิ์พิจราณาไม่ให้กู้ได้ เพราะไม่มีอะไรมาการันตีถึงความมั่นคง อยู่ๆคุณจะว่างงานตอนไหนก็ไม่รู้ ทางธนาคารจึงไม่อยากแบกรับความเสี่ยงนี้ ทางที่ดีควรมีความมั่นคงในงานก่อนแล้วค่อยยื่นกู้ และควรพึงระลึกไว้เสมอว่าอย่าเปลี่ยนงานในช่วงเวลาที่กู้อยู่เด็ดขาด

 

4.สภาวะทางเศรษฐกิจไม่ดี

     เป็นอีกหนึ่งสิ่งที่เชื่อมโยงกับเรื่องความมั่นคงของอาชีพ โดยเฉพาะอาชีพที่ขึ้นอยู่กับเศรษฐกิจเช่น คนที่ทำอาชีพค้าขาย ขายตรง และ เซลล์แมน เป็นต้น เพราะกลุ่มอาชีพนี้มีโอกาสที่ทางธนาคารจะไม่อนุมัติเงินกู้ เนื่องจากสภาวะเศรษฐกิจไม่ดีจะส่งผลให้พวกเขาขาดรายได้ที่มั่นคง หรืออาจจะไม่สามารถสร้างรายได้ได้เลย ดังนั้นธนาคารจึงไม่รับความเสี่ยงนี้ เพราะสภาวะทางเศรษฐกิจไม่ดีก็ส่งผลโดยตรงต่อธนาคารด้วยเช่นกัน

 

5.แหล่งที่มาของรายได้ไม่ชัดเจน

     เป็นอีกหนึ่งเรื่องที่มีความเกี่ยวข้องกับเรื่องงาน นั่นคือเรื่องของรายได้ ปัญหานี้มักจะไม่เกิดกับข้าราชการ หรือพนักงานบริษัทที่ทำงานในระยะยาว เพราะมีหลักฐานการรับเงินที่ชัดเจน ทั้งสลิปเงินเดือนและเงินเข้าบัญชีธนาคาร (Statement เดินบัญชี) ที่สามารถตรวจสอบได้ แต่บางกลุ่มอาชีพจะต้องแบกรับความเสี่ยงนี้ เช่นคนที่ทำอาชีพอิสระ หรือ ค้าขาย ที่ไม่ได้จดทะเบียนการค้า ไม่ได้ทำบิล หรือไม่มีการอัพเดทเงินในบัญชี ทำให้ Statement เดินบัญชี ไม่มีความเคลื่อนไหว ทำให้ธนาคารทำการตรวจสอบได้ยาก ส่งผลให้ไม่สามารถกู้ได้

6.เคยผ่านการกู้ร่วมมาแล้ว

     การกู้ร่วมเป็นสาเหตุหลักที่เจอบ่อยที่สุด เพราะเกิดจากการที่ตัวผู้กู้ไปกู้ร่วมซื้อบ้านหรือคอนโดกับผู้อื่นมาแล้ว เมื่อถึงคราวที่จะยื่นกู้ซื่อบ้านหรือคอนโดเป็นของตัวเอง โดยที่ตัวเองเป็นผู้กู้หลัก ซึ่งการกู้ร่วมนั้นเป็นส่วนหนึ่งที่ทำให้ความสามารถในการกู้ของเราลดลงทันที อีกหนึ่งกรณีสำหรับการกู้ร่วมก็คือ ในเรื่องของความสัมพันธ์ การมีผู้กู้ร่วมต้องเกี่ยวข้องกันโดยเป็น บิดามารดาและบุตร สามี-ภรยา หรือพี่น้องที่เกี่ยวข้องกับการอยู่อาศัย เพราะถ้าหากกู้ร่วมโดยเกี่ยวข้องกันนอกเหนือจากนี้ ก็จะถูกธนาคารปฏิเสธสินเชื่อ

 

7.ค้ำประกันให้กับคนอื่น

     กรณีนี้จะคล้ายกับการกู้ร่วมในกรณีแรก เพราะเป็นกรณีที่เกิดจากคนอื่นไ ที่ไม่ใช่ตัวเรา ในกรณีที่เราไปค้ำประกันให้กับบุคคลอื่น และผู้กู้รายนั้นค้างชำระ แล้วเราไปขอสินเชื่อกับธนาคารเดียวกันที่เป็นผู้ค้ำประกันไว้ ก็อาจมีผลต่อการยื่นกู้ ดังนั้นถ้าจะค้ำประกันให้ใครต้องรู้ด้วยว่าทำไว้กับธนาคารไหน หรือทางที่ดีไม่ควรค้ำประกันให้ใครโดยไม่จำเป็น 

 

8.ประวัติการชำระหนี้ไม่ดี

     เรื่องนี้ก็นับว่าเป็นเรื่องที่สำคัญเช่นกัน หากมองมุมกลับว่ามีคนมายืมเงินเราแต่บุคคลนั้นเป็นบุคคลประเภทที่ว่ายืมเงินไปทั่วและไม่เคยคืนเจ้าของเลย เป็นเราเราจะอยากให้ยืมไหม เช่นเดียวกันครับทางธนาคารก็ไม่อยากให้เงินกู้กับผู้กู้ที่มีประวัติการชำระหนี้ไม่ดี ในกรณีที่ธนาคารไม่อนุมัติเงินกู้ก็คือ ผู้กู้ติดเครดิตบูโร หรือมีประวัติผิดนัดการชำระหนี้ ในกรณีที่ผู้กู้มีประวัติการผิดชำระหนี้ ให้แสดงหลักฐานการปรับปรุงหนี้ และชำระหนี้เสร็จสิ้นก่อนวันพิจารณาสินเชื่อ

 

9.มีหนี้สินล้นตัว

     กรณีนี้จะเกิดกับบุคคลที่มีภาระหนี้เยอะ เช่นมีการผ่อนบ้าน ผ่อนบัตรเครดิตอยู่ แต่จะทำการกู้บ้านอีก ทางธนาคารจะมองว่าผู้กู้รายนี้มีภาระหนี้สินที่เกินตัว และมีสิธิ์ที่จะไม่อนุมัติเงินกู้ให้กับผู้กู้รายนี้ ทั้งนี้ก็ขึ้นอยู่กับรายได้ของผู้กู้ด้วย โดยธนาคารมักจะกำหนดว่าต้องมีภาระหนี้สินไม่เกิน 40% ของรายได้ ถ้าใครมีภาระหนี้สินไม่เกิน 40% ของรายได้ก็มีโอกาสที่จะกู้ผ่าน

10.หลักทรัพย์ไม่สมเหตุสมผล

     ทั้งนี้การกู้สินเชื่อบ้านจะต้องมีหลักประกันความเสี่ยงในการชำระหนี้ พื่อเพิ่มความมั่นใจให้แก่สถาบันการเงินผู้ปล่อยสินเชื่อ ยกตัวอย่างเช่น มีบ้าน หรือรถยนต์เป็นหลักทรัพย์ค้ำประกัน ทั้งนี้หลักทรัพย์ที่จะนำมาเป็นหลักประกันความเสี่ยงในการชำระหนี้ต้องมีความสมเหตุผมผลกับวงเงินกู้ด้วย ทั้งนี้ก็อยู่ที่ดุลพินิจและกฎระเบียบของแต่ละธนาคาร

 

11.การเลือกซื้อบ้านในราคาที่สูงเกินไป

     นับเป็นอีกหนึ่งเหตุผลที่มีความคล้ายคลึงกับหลักทรัพย์ไม่สมเหตุสมผล แต่ในเรื่องนี้จะขึ้อยู่กับรายได้ของผู้กู้ โดยผู้กู้จะต้องเลือกบ้านที่สามารถผ่อนชำระได้แบบไม่เกินตัว ทั้งนี้การผ่อนจะต้องอยู่ในเกณฑ์ 1 ใน 3 ของรายได้เช่น เงินเดือน 15,000 จะต้องผ่อนชำระในอัตราไม่เกิน 5,000 ต่อเดือน ทำให้ต้องเลือกบ้านที่มีอัตราการผ่อนประมาณนี้ แต่กรณีนี้แก้ง่ายมากนั่นคือการหาผู้กู้ร่วมนั่นเอง โดยการกู้ร่วมก็จะมีเกณฑ์ที่ตั้งไว้เช่นกัน ให้ย้อนกลับไปอ่านในข้อ 5

 

12.ติดแบล๊คลิสต์

     กรณีจะค่อนข้างหนักกว่า ประวัติการชำระหนี้ไม่ไดี เพรามันเลยจุดนั้นมาแล้ว เป็นผลพวกโดยการผิดชำระหนี้แต่ไม่มีการชดใช้ โจึงมีการถูกฟ้องร้องดำเนินคดีเพื่อบังคับจำนอง หรือการเป็นบุคคลที่ต้องเอาใส่ใจ คือบุคคลที่ถูกแจ้งข้อหาในการทุจริต หลอกลวงประชาชน บุคคลเหล่านี้ทำให้ธนาคารปฏิเสธสินเชื่อ

 

13.ไม่ผ่านกฎเกณฑ์เบื้องต้นของสถาบันการเงิน

     จากสถานการณ์ทางการเงินที่แต่ละสถาบันการเงินวิเคราะห์และคาดการณ์ออกมาจะนำไปสู่การตั้งนโยบายทางการเงินต่างๆ และลงไปสู่เงื่อนไขการให้สินเชื่อ ซึ่งแต่ละธนาคารจะมีกฎเกณฑ์การขอสินเชื่อที่ต่างกัน ผู้กู้ควรเลือกหาสถาบันการเงินที่มีเงื่อนไขสอดคล้องกับความต้องการของผู้ขอสินเชื่อ หรือ สามารถผ่านเกณฑ์ของสถาบันการเงินนั้นๆ ได้ ก็จะทำให้ผู้กู้สามารถขอกู้สินเชื่อบ้านได้นั่นเอง  

 

     ทั้งหมดที่ก็คือสาเหตุหลักๆ ที่ทำให้ธนาคารนั้นสามารถปฏิเสธการยื่นกู้สินเชื่อบ้านของเราได้ ดังนั้นเมื่อรู้อย่างนี้แล้วก็ควรที่จะเตรียมตัวให้พร้อมก่อนที่จะยื่นกู้ จะได้ไม่เกิดปัญหาตามมาภายหลังนะครับ ทั้งนี้ก็ต้องขึ้นอยู่กับสถาบันการเงินด้วยว่า ในช่วงเวลาที่เรายื่นกู้นั้น ทางสถาบันการเงินมีนโยบายในการปล่อยเงินกู้หรือเปล่า เพราะถ้าหากธนาคารไม่มีนโยบายปล่อยเงินกู้ในช่วงเวลาดังกล่าว ต่อให้เราพร้อมแค่ไหนก็ไม่สามารถกู้ได้เช่นกัน 

  • กู้เงินซื้อบ้านต้องทำอย่างไร? เลือกธนาคารไหนดี?
  • รู้ไว้ก่อนกู้ซื้อคอนโดมือสอง รวมถึงปัจจัยการให้วงเงิน
  • ธ.ออมสิน ช่วยเหลือน้ำท่วมภาคใต้ ออกมาตรการให้พักชำระหนี้ 3 เดือน พร้อมให้กู้ฉุกเฉินไม่คิดดอกเบี้ย 1 ปี
  • สินเชื่อบ้านทีเอ็มบีรีไฟแนนซ์ TMB Refinance ปรับเปลี่ยนภาระการผ่อนบ้านให้เบาลงได้
  • ขอสินเชื่อบ้านจากธนาคาร แบบไหนที่ผ่านง่าย วงเงินเกิน 90% ได้ไหม เหตุผลของธนาคารเป็นอย่างไร
  • สินเชื่อติดตั้งแผงโซลาร์ สำหรับบ้าน และโรงงาน เพื่อชีวิตที่ OK
  • สินเชื่อกรุงไทย สินเชื่อที่อยู่อาศัยบุคลากรภาครัฐ
  • บัตรเครดิตเป็นสาเหตุ กู้ซื้อบ้านไม่ผ่าน จริงหรือไม่?
  • "​​สินเชื่อเพื่อที่อยู่อาศัย​" ควรทำความเข้าใจ และต้องรู้เรื่องใดบ้าง?
  • 3 เรื่องต้องรู้ ก่อนรีไฟแนนซ์บ้าน แนะสูตรคำนวณแบบประหยัดดอกเบี้ย หนีดอกเบี้ยสุดโหด
  • สินเชื่อ SME ต่อยอดธุรกิจ กู้เงินเปิดร้าน วงเงินกู้ 3 เท่า สูงสุด 20 ล้าน
  • สินเชื่อบ้าน รีไฟแนนซ์ จากธนาคารกรุงไทย ตัวช่วยของคนอยากมีบ้าน
  • ผ่อนบ้านจัดเต็มกับกรุงไทย ผ่อนนาน 40 ปี ดอกเบี้ยคงที่ 6 เดือน
  • ออมสินให้วงเงินกู้สูงสุด 3 ล้าน ใช้เป็นเงินทุนร้านสำหรับพ่อค้าแม่ขาย อาชีพอิสระ ผ่อนยาว 10 ปี
  • สมัครกู้เงินออนไลน์? ออมสินให้กู้ด่วน 200,000 บาท จริงหรือไม่
  • 13 เหตุผลที่ทำให้ธนาคารปฏิเสธการให้กู้สินเชื่อบ้าน

    สินเชื่อบ้าน คือเงินกู้ระยะยาวที่กู้ยืมจากสถาบันการเงินหรือธนาคาร เพื่อซื้อหรือสร้างที่อยู่อาศัยไม่ว่าจะเป็นบ้าน ทาวเฮาส์ ทาวโฮม คอนโด หรืออาคารพาณิชย์ โดยใช้ที่อยู่อาศัยนั้นเป็นหลักประกันในการจำนองให้แก่ธนาคารผู้ให้สินเชื่อ ซึ่งเป็นสิ่งที่หลายๆ คนต้องเจออย่างเลี่ยงไม่ได้ โดยเฉพาะมนุษย์เงินเดือน

    © สงวนลิขสิทธิ์ 2567 บริษัท ไทยโฮมทาวน์ จำกัด
    @thaihometown Scroll