สาระควรรู้ทั่วไป

เป็นเหตุการณ์ที่สร้างความเสียหายให้กับสิ่งก่อสร้างพร้อมกับทรัพย์สินเป็นจำนวนมาก เนื่องจากเป็นเหตุที่ไม่ได้เกิดขึ้นบ่อยนัก ดังนั้นหลายคนจึงไม่ได้มีการป้องกันหรือเตรียมตัวมาก่อนล่วงหน้า โดยเฉพาะการปกป้องทรัพย์สิน อย่างเช่น บ้าน และอสังหาริมทรัพย์ ที่ต้องเผชิญกับความเสียหายจากแผ่นดินไหวโดยตรง ดังนั้นก็เลยขอนำวิธีรับมือแผ่นดินไหว ทั้งการเตรียมตัวและจัดการบ้าน ในช่วงแผ่นดินไหวและหลังจากแผ่นดินไหวมาฝากกันค่ะ

ประกาศอสังหาริมทรัพย์ใหม่ บ้าน บ้าน รายการล่าสุด บ้านเดี่ยว บ้านเดี่ยว รายการล่าสุด ทาวน์เฮ้าส์ ทาวน์เฮ้าส์ รายการล่าสุด ทาวน์โฮม ทาวน์โฮม รายการล่าสุด คอนโด คอนโด รายการล่าสุด อาคารพาณิชย์ อาคารพาณิชย์ รายการล่าสุด อพาร์ทเม้นท์ อพาร์ทเม้นท์ รายการล่าสุด สำนักงาน สำนักงาน รายการล่าสุด โฮมออฟฟิศ โฮมออฟฟิศ รายการล่าสุด ธุรกิจ ธุรกิจ รายการล่าสุด โรงงาน โรงงาน รายการล่าสุด คลังสินค้า คลังสินค้า รายการล่าสุด โกดัง โกดัง รายการล่าสุด ที่ดิน ที่ดิน รายการล่าสุด ลงประกาศฟรี ผู้รับเหมา รายการล่าสุด ผู้รับเหมา ลงประกาศฟรี ผู้รับเหมา ข่าวประชาสัมพันธ์ รายการล่าสุด ข่าวประชาสัมพันธ์ พรีวิวโครงการใหม่ รายการล่าสุด พรีวิวโครงการใหม่ ตกแต่งที่อยู่อาศัย รายการล่าสุด ตกแต่งที่อยู่อาศัย สาระควรรู้ ที่อยู่อาศัย รายการล่าสุด สาระควรรู้ ที่อยู่อาศัย ฮวงจุ้ย ที่อยู่อาศัย รายการล่าสุด ฮวงจุ้ย ที่อยู่อาศัย สินเชื่อ ที่อยู่อาศัย รายการล่าสุด สินเชื่อ ที่อยู่อาศัย SME รายการล่าสุด SME สถานที่ท่องเที่ยว รายการล่าสุด สถานที่ท่องเที่ยว

วิธีป้องกันบ้าน รับมือเมื่อเกิดเหตุการณ์แผ่นดินไหว

เป็นเหตุการณ์ที่สร้างความเสียหายให้กับสิ่งก่อสร้างพร้อมกับทรัพย์สินเป็นจำนวนมาก เนื่องจากเป็นเหตุที่ไม่ได้เกิดขึ้นบ่อยนัก ดังนั้นหลายคนจึงไม่ได้มีการป้องกันหรือเตรียมตัวมาก่อนล่วงหน้า โดยเฉพาะการปกป้องทรัพย์สิน อย่างเช่น บ้าน และอสังหาริมทรัพย์ ที่ต้องเผชิญกับความเสียหายจากแผ่นดินไหวโดยตรง ดังนั้นก็เลยขอนำวิธีรับมือแผ่นดินไหว ทั้งการเตรียมตัวและจัดการบ้าน ในช่วงแผ่นดินไหวและหลังจากแผ่นดินไหวมาฝากกันค่ะ

การปฏิบัติตัวเพื่อป้องกันความเสียหายก่อนเกิดแผ่นดินไหว
 
           1. ควรจะยึดเฟอร์นิเจอร์ที่มีความสูงและมีน้ำหนักมาก อย่างเช่น ชั้นวางหนังสือ หรือชั้นวางโทรทัศน์ เอาไว้กับผนังให้แน่นหนา ส่วนอุปกรณ์ไฟฟ้า อย่างเช่น ตู้เย็น คอมพิวเตอร์ ไมโครเวฟ ให้มัดติดกับผนังด้วยสายหนังหรือเทปไนลอน
 
           2. ควรล็อกกลอนประตูตู้เก็บของหรือชั้นวางหนังสือให้เรียบร้อย โดยเฉพาะตู้ที่อยู่เหนือศีรษะ เพื่อป้องกันไม่ให้สิ่งของที่อยู่ด้านในตกหล่นลงมา ระหว่างที่เกิดเหตุแผ่นดินไหว
 
           3. นำสิ่งของที่มีน้ำหนักมาก แตกง่าย สารเคมีที่ติดไฟง่าย อย่างเช่น สีทาบ้าน สเปรย์ สารทำความสะอาด เก็บเอาไว้ที่ชั้นด้านล่างสุดของตู้เก็บของ
 
           4. เตรียมตัวเคลื่อนย้ายสู่สถานที่ปลอดภัย อย่างเช่น ใต้โต๊ะ หรือที่โล่งแจ้ง เป็นต้น

การปฏิบัติตัวเมื่อเกิดเหตุแผ่นดินไหวขณะอยู่ในบ้าน
 
           1. ถ้าคุณไม่ได้อยู่ใกล้กับโต๊ะ ควรก้มตัวลงกับพื้นบริเวณใกล้ ๆ กับผนังภายใน และใช้แขนป้องกันหัวกับคอ พร้อมทั้งหลีกเลี่ยงผนังด้านนอก บริเวณที่ใกล้กับหน้าต่างเฟอร์นิเจอร์ทรงสูง ของใหญ่ ตู้เก็บของหนัก กระจก และสิ่งของที่แขวนบนผนังกับเพดาน
 
           2. ในกรณีที่อยู่บนเตียงควรรออยู่บริเวณนั้นและใช้หมอนป้องกันหัวเอาไว้ และควรสวมรองเท้าก่อนทุกครั้งหากจะเคลื่อนย้ายออกจากสถานที่ดังกล่าว เพื่อป้องกันการเกิดบาดแผลที่อาจจะเกิดจากสิ่งของที่แตกหักระหว่างทาง
 
           3. สำหรับคนที่อยู่ในอาคาร ก็ให้ก้มตัวและใช้แขนป้องกันหัวของคุณ และหลีกเลี่ยงบริเวณที่ใกล้กับหน้าต่างเช่นเดียวกัน ที่สำคัญห้ามใช้ลิฟต์โดยเด็ดขาด และไม่ต้องตกใจหากระบบสปริงเกอร์กับสัญญาณเตือนภัยจะทำงานโดยอัตโนมัติ

การปฏิบัติตัวเมื่อเกิดเหตุแผ่นดินไหวขณะอยู่นอกบ้าน
 
           1. สำหรับคนที่อยู่นอกบ้านควรเคลื่อนย้ายไปยังที่โล่งแจ้งทันที โดยหลีกเลี่ยงบริเวณที่มีอาคาร บ้านเรือน สายไฟ ต้นไม้ และอื่น ๆ ที่อาจก่อให้เกิดอันตรายกับชีวิตและทรัพย์สิน 
 
           2. ในกรณีที่อยู่ใกล้กับตึกสูง ควรเคลื่อนตัวสู่ที่โล่งแจ้งทันที เนื่องจากหน้าต่าง และของตกแต่งหน้าอาคารมักจะเป็นสิ่งแรกที่พังลงมาเมื่อเกิดเหตุแผ่นดินไหว ดังนั้นบริเวณดังกล่าวจึงถือว่าเป็นจุดอันตรายที่ควรหลีกเลี่ยงอย่างยิ่ง
 
           3. หากคุณกำลังขับรถ ควรขับรถเข้าข้างทางจอด และเซตเบรกทันที โดยพยายามหลีกเลี่ยงการจอดรถบนสะพาน พื้นที่ใกล้สายไฟ ป้ายบอกทางหรือสัญลักษณ์จราจรต่าง ๆ ต้นไม้ และสิ่งอาจตกหล่นใส่รถของคุณ ที่สำคัญควรอยู่ในรถจนกระทั่งแผ่นดินไหวสงบ ถ้าหากมีสายไฟตกใส่รถของคุณ ควรอยู่ในรถจนกว่าเจ้าหน้าที่จะเคลื่อนย้ายสายไฟออกจากตัวรถ

การปฏิบัติตัวในบ้านหลังเกิดเหตุแผ่นดินไหว
 
          หลังจากแผ่นดินไหวสงบแล้ว ก็ไม่ควรวางใจและเดินเข้าสู่ตัวบ้านจนกว่าจะแน่ใจแล้วว่า บ้านของคุณปลอดภัย จากนั้นก่อนจะเคลื่อนย้ายสิ่งของใด ๆ ภายในบ้านควรตรวจสอบความเรียบร้อยของอุปกรณ์ต่าง ๆ เสียก่อน โดยเริ่มจากการตรวจเช็กและระมัดระวังเรื่องต่อไปนี้ 
 
           1. กองไฟ - หากมีกองไฟเล็ก ๆ เกิดขึ้นภายในบ้านของคุณหรือเพื่อนบ้าน ควรเคลื่อนย้ายกองไฟออกจากบ้าน และโทรศัพท์ขอความช่วยเหลือทันที แต่ทั้งนี้ผู้ที่สามารถช่วยเหลือได้อาจไม่สามารถเดินทางมาที่บ้านของคุณหรือเพื่อนบ้านได้ ในกรณีที่สะพายหรือถนนชำรุด เพราะเหตุแผ่นดินไหว ดังนั้นจึงควรแก้ปัญหาเฉพาะหน้าเท่าที่ทำได้ไปก่อน ระหว่างรอความช่วยเหลือ
 
           2. สายไฟ - หากภายในบ้านของคุณมีความเสียหาย อันเกิดจากเหตุแผ่นดินไหว ควรปิดสวิตช์เบรกเกอร์หลักของบ้าน ถอดปลั๊กเครื่องใช้ไฟฟ้าทุกชนิด และไม่ควรใช้งานเครื่องใช้ไฟฟ้าใด ๆ จนกว่าจะซ่อมเสียส่วนที่ชำรุดจนเสร็จเรียบร้อย ที่สำคัญควรตรวจสอบด้วยว่า มีท่อประปาแตกหักหรือชำรุดบ้างหรือไม่ หากมีควรรีบจัดการซ่อมแซม เพื่อป้องกันปัญหาไฟช็อต
 
           3. สิ่งของในตู้ - ระมัดระวังของหนักที่อาจจะตกลงมา หลังจากที่คุณเปิดประตูตู้เก็บของหรือตู้เสื้อผ้า
 
           4. แก๊ส - ควรปิดแก๊สทันที หากสงสัยว่าท่อส่งแก๊สรั่วไหล แต่ไม่ควรปิดแก๊สด้วยตัวเอง ในกรณีที่คุณเห็นว่า ถังแก๊ส เกิดความเสียหาย และที่สำคัญไม่ควรใช้สิ่งของใด ๆ ที่ก่อให้เกิดประกายไฟ หรือเครื่องใช้ไฟฟ้าจนกว่าจะแน่ใจว่า ทำการซ่อมแซมแก๊สเรียบร้อยแล้ว
 
           5. สิ่งของต่าง ๆ - ก่อนอื่นควรตรวจเช็กสารเคมีที่รั่วไหล สายไฟฟ้า และท่อประปาเสียก่อนว่ามีจุดรั่วไหลหรือไม่ ไม่เช่นนั้นอาจเกิดไฟช็อตได้ หากภายในบ้านมีสิ่งของตกแตกควรใช้อุปกรณ์ป้องกันส่วนตัว อย่างเช่น ถุงมือยาง ในการเก็บและทำความสะอาดบ้าน ที่สำคัญควรเพิ่มความระมัดระวังให้มากขึ้นด้วย แต่เมื่อไหร่ก็ตามที่ไม่แน่ใจหรือสงสัยว่า อาจจะมีอันตราย ควรออกจากบ้านและรอความช่วยเหลือจากเจ้าหน้าที่ผู้เชี่ยวชาญมาช่วยเก็บกวาด
 
           6. ผนังชำรุด - พยายามออกห่างจากผนังที่ชำรุดจากเหตุแผ่นดินไหว เพราะโครงสร้างของบริเวณนี้ไม่แข็งแรง และอาจแตกหักหรือหล่นลงมาได้ในระหว่างเกิดอาฟเตอร์ช็อก
 
           7. งดทำอาหาร - ในระหว่างนี้ควรงดใช้เตาอบ แก๊ส หรือก่อถ่านสำหรับปิ้งย่างอาหารภายในบ้าน

การเตรียมตัวรับมือแผ่นดินไหวครั้งต่อไป
 
           1. บอกตำแหน่งจุดที่ปลอดภัยภายในบ้านให้สมาชิกทุกคนรับทราบ อย่างเช่น ใต้โต๊ะหรือข้างผนัง พร้อมกับวิธีป้องกันตัวจากสิ่งของและกำหนดสถานที่นัดพบของสมาชิก ในกรณีที่มีเหตุให้สมาชิกต้องแยกย้ายกันไป
 
           2. เตรียมเบอร์โทรศัพท์ฉุกเฉินเอาไว้ให้พร้อม และตรวจสอบให้แน่ใจด้วยว่า เบอร์โทรศัพท์ที่ได้มาเป็นเบอร์โทรศัพท์ที่ยังเปิดให้บริการอยู่
 
           3. สอนสมาชิกภายในบ้านให้รู้จักการปฐมพยาบาลเบื้องต้น พร้อมกับวิธีปิดสวิตช์เบรกเกอร์ แก๊ส ท่อน้ำประปา และสิ่งของที่ก่อให้เกิดอันตรายด้วยวิธีที่ถูกต้อง
 
           4. เตรียมสิ่งของกับอาหารที่จำเป็นเอาไว้ให้พร้อม และเพียงพอกับจำนวนสมาชิกภายในบ้าน
 
          แน่นอนว่าเมื่อเกิดเหตุแผ่นดินไหว เราไม่สามารถป้องกันไม่ให้เกิดความเสียหายต่อชีวิตและทรัพย์สินได้ แต่ทั้งนี้คุณสามารถทำให้ความเสียหายเหล่านั้นลดน้อยลงได้ หากมีการเตรียมตัวที่ดี และมีการป้องกันไว้ล่วงหน้า โดยเริ่มจากตัวคุณก่อน แล้วค่อยอธิบายให้สมาชิกที่เหลือฟัง ก่อนจะจัดการกับสิ่งของต่าง ๆ ในบ้านของคุณ จะได้ปลอดภัยทั้งผู้อาศัยและบ้านของคุณนะคะ


ขอบคุณข้อมูลจาก กระปุกดอทคอม
  • หอมจริงๆ !!! กับ 5 สิ่ง ที่ดับกลิ่นในตู้เย็นได้แบบชัวร์ๆ
  • 3 เคล็ดลับ เติมเต็มบ้านให้ลงตัวทั้ง "ทำงาน" และ "ความบันเทิง" ด้วยอุปกรณ์อัจฉริยะจากซัมซุง
  • 10 วิธี ป้องกันกิ้งกือเข้าบ้าน อย่าเข้ามานะเจ้ากิ้งกือ !!
  • 5 วิธีรับมือ เปลี่ยนคอนโดยังไงให้น่าอยู่มากขึ้น และอยู่ได้แบบสตองตอบโจทย์ไลฟ์สไตล์คนเมือง
  • 10 อันดับ เครื่องใช้ไฟฟ้า "จอมกินไฟ" ข้อมูลจากการไฟฟ้า มีอะไรบ้าง
  • ประมาณราคางานซ่อมแซมที่อยู่อาศัย ราคาประมาณตามมาตรฐานงานโดยทั่วไป
  • 10 ข้อดีของประตูอะลูมิเนียมที่ทำให้ใครต่อใครต้องใช้กัน
  • ปัญหาจอดรถบนที่สาธารณะ ในโครงการบ้านทาวน์เฮ้าส์ แก้ยังไงดี ?
  • 20 คำถามต้องรู้ไว้ หากต้องรับมือ " ภาษีที่ดินและสิ่งปลูกสร้าง "
  • เลือกอิฐแบบไหน อิฐมอญ อิฐมวลเบา อิฐบล็อก เหมาะกับสร้างบ้าน ประหยัดงบมากที่สุด
  • เช็คสิทธิ ทะเบียนราษฎร "เจ้าของบ้าน" กับ "เจ้าบ้าน" ในทะเบียนบ้าน ใครสิทธิเหนือกว่า หน้าที่ต่างกันอย...
  • เคล็ดไม่ลับ 10 วิธีซักผ้าสีตก คราบสีฝังแน่นอย่าทิ้ง ทำให้เสื้อกลับมาใส่ได้อีกครั้งดีกว่า
  • ข้อควรรู้ ซื้อบ้าน และที่ดินในโครงการจัดสรร เรื่องใดที่ควรทำหลังโอนกรรมสิทธิ์ที่ดิน
  • แอร์ยี่ห้อไหนประหยัดไฟ 2567 ลดการใช้พลังงาน ช่วยประหยัดไฟได้ดี
  • วิธีเลือกเครื่องกรองน้ำ ใช้เครื่องกรองระบบไหนดี ตรวจสอบไส้กรองหลังการใช้งานอย่างไร
  • วิธีป้องกันบ้าน รับมือเมื่อเกิดเหตุการณ์แผ่นดินไหว

    เป็นเหตุการณ์ที่สร้างความเสียหายให้กับสิ่งก่อสร้างพร้อมกับทรัพย์สินเป็นจำนวนมาก เนื่องจากเป็นเหตุที่ไม่ได้เกิดขึ้นบ่อยนัก ดังนั้นหลายคนจึงไม่ได้มีการป้องกันหรือเตรียมตัวมาก่อนล่วงหน้า โดยเฉพาะการปกป้องทรัพย์สิน อย่างเช่น บ้าน และอสังหาริมทรัพย์ ที่ต้องเผชิญกับความเสียหายจากแผ่นดินไหวโดยตรง ดังนั้นก็เลยขอนำวิธีรับมือแผ่นดินไหว ทั้งการเตรียมตัวและจัดการบ้าน ในช่วงแผ่นดินไหวและหลังจากแผ่นดินไหวมาฝากกันค่ะ

    © สงวนลิขสิทธิ์ 2567 บริษัท ไทยโฮมทาวน์ จำกัด
    @thaihometown Scroll