ข่าวประชาสัมพันธ์

การครอบครองปรปักษ์ ถูกระบุไว้ในประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1382 ระบุว่า บุคคลใดครอบครองทรัพย์สินของผู้อื่นไว้โดยความสงบและโดยเปิดเผยด้วยเจตนาเป็นเจ้าของ ถ้าเป็นอสังหาริมทรัพย์ได้ครอบครองติดต่อกันเป็นเวลา 10 ปี ถ้าเป็นสังหาริมทรัพย์ได้ครอบครองติดต่อกันเป็นเวลา 5 ปีไซร้ ท่านว่าบุคคลนั้นได้กรรมสิทธิ์

ประกาศอสังหาริมทรัพย์ใหม่ บ้าน บ้าน รายการล่าสุด บ้านเดี่ยว บ้านเดี่ยว รายการล่าสุด ทาวน์เฮ้าส์ ทาวน์เฮ้าส์ รายการล่าสุด ทาวน์โฮม ทาวน์โฮม รายการล่าสุด คอนโด คอนโด รายการล่าสุด อาคารพาณิชย์ อาคารพาณิชย์ รายการล่าสุด อพาร์ทเม้นท์ อพาร์ทเม้นท์ รายการล่าสุด สำนักงาน สำนักงาน รายการล่าสุด โฮมออฟฟิศ โฮมออฟฟิศ รายการล่าสุด ธุรกิจ ธุรกิจ รายการล่าสุด โรงงาน โรงงาน รายการล่าสุด คลังสินค้า คลังสินค้า รายการล่าสุด โกดัง โกดัง รายการล่าสุด ที่ดิน ที่ดิน รายการล่าสุด ลงประกาศฟรี ผู้รับเหมา รายการล่าสุด ผู้รับเหมา ลงประกาศฟรี ผู้รับเหมา ข่าวประชาสัมพันธ์ รายการล่าสุด ข่าวประชาสัมพันธ์ พรีวิวโครงการใหม่ รายการล่าสุด พรีวิวโครงการใหม่ ตกแต่งที่อยู่อาศัย รายการล่าสุด ตกแต่งที่อยู่อาศัย สาระควรรู้ ที่อยู่อาศัย รายการล่าสุด สาระควรรู้ ที่อยู่อาศัย ฮวงจุ้ย ที่อยู่อาศัย รายการล่าสุด ฮวงจุ้ย ที่อยู่อาศัย สินเชื่อ ที่อยู่อาศัย รายการล่าสุด สินเชื่อ ที่อยู่อาศัย SME รายการล่าสุด SME สถานที่ท่องเที่ยว รายการล่าสุด สถานที่ท่องเที่ยว

เรื่องต้องรู้ กฎหมายครอบครองปรปักษ์ เพื่อไม่ให้สูญเสียกรรมสิทธิ์ ทรัพย์สินของตัวเอง โดยไม่รู้ตัว!

เปิดอ่าน 10,632 ครั้ง

รู้จักกฎหมาย "ครอบครองปรปักษ์" เดิมถูกตราขึ้นเพื่อให้ผู้ที่มีที่ดินจำนวนมาก หรือมีที่ดินแต่ไม่ได้ดูแล และปล่อยให้รกร้าง เป็นน่าเสียดาย หากมีผู้ต้องการที่ดินเข้ามาทำประโยชน์เป็นเวลานานกว่า 10 ปี โดยที่เจ้าของที่ดินก็ไม่ได้ทักท้วงหรือขับไล่ ก็จะทำให้ผู้นั้นได้กรรมสิทธิ์ครอบครองปรปักษ์ เนื่องจากกฎหมายต้องการให้ประชาชนใช้ที่ดินเพื่อทำประโยชน์นั่นเอง 

จากกรณีที่มีคดีเพื่อนบ้าน บุกยึดบ้านร้างที่เจ้าของซื้อทิ้งไว้ โดยอ้างว่าใช้สิทธิ์ครอบครองปรปักษ์ ซึ่งเป็นข่าวต่อนเองมาตั้งแต่ปลายปี 2566 ที่ล่าสุด แม้ศาลจะยังไม่ตัดสินคดีนี้ แต่ก็พบว่าเพื่อนบ้านกลับมายึดบ้านรอบที่ 2

โดยบริเวณหน้าบ้านดังกล่าว ยังมีประกาศติดไว้ ระบุข้อความด้วยว่ “บ้านหลังนี้ ข้าพเจ้าได้กรรมสิทธิ์ โดยการครอบครองปรปักษ์ตามกฎหมาย บุคคลใดเข้ามากระทำการใดๆในบ้านและที่ดินและบ้านหลังนี้ ถือว่ามีความผิดฐานบุกรุก จึงประกาศให้ทราบโดยทั่วกัน”

“การครอบครองปรปักษ์” ถูกระบุไว้ในประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1382 ระบุว่า “บุคคลใดครอบครองทรัพย์สินของผู้อื่นไว้โดยความสงบและโดยเปิดเผยด้วยเจตนาเป็นเจ้าของ ถ้าเป็นอสังหาริมทรัพย์ได้ครอบครองติดต่อกันเป็นเวลา 10 ปี ถ้าเป็นสังหาริมทรัพย์ได้ครอบครองติดต่อกันเป็นเวลา 5 ปีไซร้ ท่านว่าบุคคลนั้นได้กรรมสิทธิ์”

การครอบครองปรปักษ์ คืออะไร

การครอบครองปรปักษ์ คืออะไร

การครอบครองปรปักษ์ คือข้อกฎหมายที่เกี่ยวข้องกับอสังหาริมทรัพย์ และมักจะก่อให้เกิดข้อพิพาทอยู่เสมอ โดยการครอบครองปรปักษ์ถูกบัญญัติไว้ในประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1382 ระบุว่า “บุคคลใดครอบครองทรัพย์สินของผู้อื่นไว้โดยความสงบและโดยเปิดเผยด้วยเจตนาเป็นเจ้าของ ถ้าเป็นอสังหาริมทรัพย์ได้ครอบครองติดต่อกันเป็นเวลา 10 ปี ถ้าเป็นสังหาริมทรัพย์ได้ครอบครองติดต่อกันเป็นเวลา 5 ปี ท่านว่าบุคคลนั้นได้กรรมสิทธิ์” 

ดังนั้น เจ้าของบ้านและที่ดินควรพึงระวังและตรวจตราทรัพย์สินของตัวเองอยู่เสมอ เพราะถ้าเจ้าของปล่อยที่ดินหรืออสังหาทิ้งไว้เปล่า ๆ แม้จะมีโฉนดเป็นเจ้าของอยู่แล้ว ก็ไม่ได้แปลว่าที่ดินของเราจะปลอดภัย ไม่มีคนเข้ามาจับจองเป็นของตัวเอง 

 ข้อควรรู้ก่อนที่ดินตกไปเป็นของคนอื่น

 1. การครอบครองปรปักษ์ต้องเป็นที่ดินที่มีเอกสารสิทธิ์เท่านั้น เช่น โฉนด โฉนดตราจอง หรือเอกสารกรรมสิทธิ์ประเภทอื่น ที่ดินที่มีเพียงสิทธิครอบครองจะไม่สามารถครอบครองปรปักษ์ แม้จะครอบครองนานแค่ไหนก็ไม่ได้กรรมสิทธิ์ 

 2. หากเป็นผู้เช่า ไม่ถือว่าเป็นการครอบครองปรปักษ์ เพราะเป็นการทำสัญญาเช่าอาศัยหรือใช้ประโยชน์ในที่ดิน  

 3. การครอบครองนั้นต้องทำโดยเปิดเผยและสงบ หรือเป็นการครอบครองที่ไม่ได้มีการข่มขู่ ใช้กำลัง หลอกลวง และไม่มีใครหวงห้ามกีดกันในการแสดงความเป็นเจ้าของหรือฟ้องร้องขับไล่ 

 4. ผู้ครอบครองปรปักษ์ครบ 10 ปี ได้กรรมสิทธิ์ที่ดินตามมาตรา 1382 แล้ว แม้ศาลจะยังไม่ได้มีคำสั่งว่าผู้ครอบครองได้กรรมสิทธิ์ หากมีบุคคลใดโต้แย้งสิทธิของผู้ครอบครองเกี่ยวกับที่ดินดังกล่าว ผู้ครอบครองมีอำนาจฟ้องได้ (อย่างไรก็ตามเพื่อความสมบูรณ์ในผลของกฎหมายควรดำเนินการร้องศาลเพื่อจดทะเบียนสิทธิ์) 

 5. หากเจ้าของที่ดินอนุญาตให้ใช้ประโยชน์อย่างเป็นลายลักษณ์อักษร จะไม่ถือว่าเป็นการครอบครองปรปักษ์ 

 6. ผู้ซื้อที่อยู่ระหว่างทำสัญญาซื้อขาย ไม่นับเป็นการครอบครองปรปักษ์ 

การได้กรรมสิทธิ์ที่ดินโดยการครอบครองปรปักษ์

 การได้กรรมสิทธิ์ที่ดินโดยการครอบครองปรปักษ์ มีหลักเกณฑ์ตามกฎหมาย ดังนี้

 1. ต้องเป็นการครอบครองทรัพย์สินของผู้อื่น โดยมีการเข้าไปยึดถือใช้ประโยชน์ในทรัพย์สินของผู้อื่น จะเป็นใครก็ได้ แต่ต้องไม่ใช่ที่ดินของผู้ครอบครองปรปักษ์เอง เพราะการครอบครองปรปักษ์จะเกิดขึ้นได้ก็แต่เฉพาะในที่ดินของผู้อื่นเท่านั้น

 2. ทรัพย์สินที่ครอบครองต้องเป็นทรัพย์ที่มีกรรมสิทธิ์ ถ้าเป็นที่ดินก็ต้องเป็นที่ดินมีโฉนดเท่านั้น และหากที่ดินดังกล่าวทางราชการเพิ่งจะออกโฉนดที่ดิน ระยะเวลาที่ครอบครองก่อนที่ดินจะออกโฉนดจะไม่นำมานับรวมเพื่อได้สิทธิ์ ที่ดินมีการออกโฉนดเมื่อใดก็เริ่มนับตั้งแต่บัดนั้นเป็นต้นไปจนครบ 10 ปีจึงจะได้กรรมสิทธิ์ ส่วนที่ดินมือเปล่า ได้แก่ ที่ดินตาม ส.ค.1 หรือ น.ส.3 หรือ น.ส. 3 ก. หรือไม่มีหลักฐานใดเลย จะมีได้เพียงสิทธิครอบครองเท่านั้น 

 3. ต้องเป็นการครอบครองโดยความสงบ คือครอบครองอยู่ได้โดยไม่ได้ถูกกำจัดให้ออกไป หรือถูกฟ้องร้องมีคดีความกัน หรือโต้เถียงกรรมสิทธิ์กัน เช่น ต่างฝ่ายต่างหวงห้ามต่อกันโดยอ้างว่าตนเป็นเจ้าของจะถือว่าเป็นการครอบครองโดยความสงบไม่ได้

 4. ต้องเป็นการครอบครองโดยเปิดเผย คือ ไม่ได้มีการปิดบังอำพราง หรือซ่อนเร้นเข้ายึดถือครอบครองทรัพย์สินของผู้อื่น เช่น สร้างฐานรากของโรงเรือนซึ่งเป็นส่วนที่ฝังอยู่ใต้ดินรุกล้ำเข้าไปในที่ดินของผู้อื่น โดยมีเจตนาเพื่อซ่อนเร้นปกปิดการกระทำที่ไม่ชอบของตน ไม่อาจถือว่าครอบครองที่ดินส่วนที่รุกล้ำโดยเปิดเผย ตามมาตรา 1382 

 5. ต้องเป็นการครอบครองด้วยเจตนาเป็นเจ้าของ คือ การยึดถือครอบครองทรัพย์สินของผู้อื่นนั้น มิใช่เพียงแต่ยึดถือครอบครองเพื่อตนเองอย่างสิทธิครอบครองเท่านั้น แต่จะต้องมีการยึดถือครอบครองด้วยเจตนาเป็นเจ้าของทรัพย์สินนั้นด้วย เช่น ต้องมีการทำประโยชน์ใช้สอยทรัพย์สินนั้น , มีการขัดขวางห้ามบุคคลอื่นเข้ามายุ่งเกี่ยวข้องกับทรัพย์สินนั้น และไม่เป็นการครอบครองโดยอาศัยสิทธิ หรือยอมรับอำนาจกรรมสิทธิ์ของเจ้าของทรัพย์นั้นด้วย

 6. ระยะเวลาในการได้กรรมสิทธิ์ ต้องเป็นการครอบครองโดยความสงบ และโดยเปิดเผย ด้วยเจตนาเป็นเจ้าของ ถ้าเป็นอสังหาริมทรัพย์ เช่น ที่ดินและทรัพย์อันติดอยู่กับที่ดินมีลักษณะเป็นการถาวรหรือประกอบเป็นอันเดียวกับที่ดินนั้นและหมายความรวมถึงทรัพยสิทธิอันเกี่ยวกับที่ดิน หรือทรัพย์อันติดอยู่กับที่ดิน หรือประกอบเป็นอันเดียวกับที่ดินนั้นด้วย ต้องครอบครองติดต่อกันเป็นเวลา 10 ปี ถ้าเป็นสังหาริมทรัพย์ เช่น ทรัพย์สินอื่นที่ไม่ใช่อสังหาริมทรัพย์ ต้องครอบครองติดต่อกันเป็นเวลา 5 ปี จึงจะได้กรรมสิทธิ์ มีคำกล่าวติดตลกกันว่าแย่งครอบครองไม้ขีดไฟต้องใช้เวลาถึง 5 ปี จึงได้กรรมสิทธิ์ แต่แย่งครอบครองที่ดินมือเปล่าใช้เวลาเพียงแค่ 1 ปี ก็ได้ไปซึ่งสิทธิครอบครองแล้ว

 7. ประการสุดท้ายแม้กฎหมายจะไม่ได้กำหนดเงื่อนไขว่าผู้ครอบครองจะต้องกระทำด้วยความสุจริตก็ตาม แต่การใช้สิทธิแห่งตนบุคคลทุกคนต้องกระทำโดยสุจริต การใช้สิทธิทางศาลจึงต้องมาด้วยมือที่สะอาด การแย่งการครอบครองที่มีเจตนาไม่สุจริต เช่น ลักทรัพย์ บุกรุก ฉ้อโกง ฯลฯ อันมีพฤติกรรมเป็นการแย่งกรรมสิทธิ์ทรัพย์สินของผู้อื่นโดยผิดศีลธรรมหรือผิดกฎหมาย ก็จะไม่ได้กรรมสิทธิ์ และไม่ได้รับความคุ้มครองตามกฎหมาย

เจ้าของที่ดิน ทำอย่างไร ไม่ให้เป็นการครอบครองปรปักษ์

 เจ้าของที่ดิน ทำอย่างไร ไม่ให้เป็นการครอบครองปรปักษ์

 1. หมั่นไปดูที่ดินเป็ฯประจำ อย่างน้อยปีละ 1 ครั้ง

 2. ถามไถ่ชาวบ้านละแวกใกล้เคียงว่ามีใครมาใช้ที่ดินของเราหรือไม่

 3. ตรวจหลักหมุดให้อยู่ที่เดิม/มีการเคลื่อนย้าย/ชำรุดหรือไม่

 4. ถ้าหลักหมุดหาย/ถูกย้าย ให้แจ้งความดำเนินคดี

 5. ควรรังวัดที่ดินอย่างน้อยทุก 5 ปี เพื่อตรวจสอบที่ดินว่าเพิ่มหรือลดลงหรือไม่

 6. ถ้าพบผู้อื่นเข้ามาครอบครอง/อยู๋อาศัย ควรให้ทำสัญญาเช่า/จะซื้อจะขาย/ขับไล่/โต้แย้งทันที

 7. ควรติดป้าย/ล้อมรั้วที่ดินไว้ เพื่อแสดงว่าที่ดินมีเจ้าของ และกำหนดเขตแดนที่แน่นอน

 8. สังเกตว่ามีรอยทางเดินผ่าน/ทางรถวิ่งผ่านประจำหรือไม่

 9. เสียภาษีตามกฎหมายกับกรมที่ดินหรือหน่วยงานราชการ

ข้อยกเว้นที่ไม่ใช่ การครอบครองปรปักษ์

 ข้อยกเว้นที่ไม่ใช่ การครอบครองปรปักษ์

 1. ต้องเป็นที่ดินที่มีเอกสารสิทธิเท่านั้น หากเป็นที่ดินประเภทอื่นๆที่มีเพียงสิทธิครอบครอง 

เช่น ส.ค.1 (ใบแจ้งการครอบครองที่ดิน) หรือ น.ส.3 หรือ น.ส.3 ก. (หนังสือรับรองการทำประโยชน์) 

หรือที่ดินมือเปล่าไม่สามารถครอบครองปรปักษ์ได้ และที่ดินของรัฐก็ไม่ได้เช่นกัน

 2. หากเป็นผู้เช่า ไม่ถือว่าเป็นการครอบครองปรปักษ์ เพราะเป็นการทำสัญญาเช่าอาศัยหรือใช้ประโยชน์ในที่ดิน+

 3. ไม่นับผู้ซื้อที่อยู่ระหว่างรอทำสัญญาซื้อขาย เพราะการที่ผู้ซื้อครอบครองที่ดินตามสัญญาซื้อขาย 

ถือว่าเป็นการครอบครองแทนผู้ขายจนกว่าจะโอนกรรมสิทธิ์ ไม่ได้กรรมสิทธิ์โดยการครอบครองปรปักษ์

 4. หากเจ้าของที่ดินอนุญาตให้ใช้ประโยชน์อย่างเป็นลายลักษณ์อักษรไม่ถือว่าเป็นการครอบครองปรปักษ์

 5. หากมีการโอนกรรมสิทธิ์ระหว่างนั้นจะไม่ถือว่าครบ 10 ปี โดยผู้รับโอนได้กรรมสิทธิ์มาโดยสุจริตและเสียค่าตอบแทน 

มีผลให้การครอบครองปรปักษ์ก่อนหน้านี้สิ้นผลไป ต้องเริ่มนับระยะเวลาครอบครองใหม่

 

                                

 

      ผู้ที่ครอบครองครบตามเงื่อนไขทั้งห้าข้อดังกล่าวก็จะได้กรรมสิทธิ์และถ้าอสังหาริมทรัพย์ที่ครอบครองเป็นที่ดิน ผู้ที่เข้าครอบครองต้องโดยสุจริต ต้องเข้าไปใช้ประโยชน์โดยเปิดเผย ไม่ได้แอบบุกรุกเข้ามาในที่ดิน หรือฉ้อโกงที่ดินคนอื่นมา และต้องครอบครองทรัพย์สินที่คนอื่นมีกรรมสิทธิ์เท่านั้น เช่นโฉนดที่ดิน โฉนดแผนที่ ตราจองที่ตราว่า “ได้ทำประโยชน์แล้ว” จึงจะเป็นผู้มีสิทธิได้กรรมสิทธิ์จากการครอบครองปรปักษ์

หากปฏิบัติครบตามเงื่อนไขตามมาตรา 1382 ต้องไปแสดงสิทธิที่ศาล โดยทำคำร้องขอให้ศาลมีคำสั่งว่า ที่ดิน โฉนดเลขที่….ตกเป็นกรรมสิทธิ์ของผู้ร้อง เมื่อได้รับคำสั่งศาลแล้ว ก็นำคำสั่งศาลไปเปลี่ยนแปลงโฉนดที่ดินต่อไป

  • เมเจอร์ ดีเวลลอปเม้นท์ เสริมแกร่งแนวราบ เดินหน้าบาลานซ์พอร์ตตามแผน ปั้นแบรนด์ใหม่ "มิลฟอร์ด" มูลค่า 1,700 ล้า...
  • เช็กเงื่อนไขลงทะเบียน เงินดิจิทัลวอลเล็ต ผู้ได้รับสิทธิ์ ลงทะเบียนผ่านแอปฯ ไหนได้ อัพเดตล่าสุด 24 ก.ค. 67
  • ลลิลครบรอบ 38 ปี เกิดอยากจะแจก สิงหาคมนี้ เครื่องใช้ไฟฟ้า+เฟอร์ฯ สูงสุด 500,000 บาท* เล่นใหญ่สุดในรอบปี!
  • 9 อัตลักษณ์แห่งความภาคภูมิใจ สู่การรังสรรค์บริบทใหม่ของ โรงแรมดุสิตธานี กรุงเทพ ที่พร้อมเผยให้คนทั่วโลกยลโฉม ณ Dusit Cen...
  • ‘เอสซีจี ไฮม์’ เผย 3 แบบบ้านใหม่สไตล์โมเดิร์น ชูเทคโนโลยีตอบโจทย์คนรักสุขภาพ เสิร์ฟโปรแรงฉลองเปิดสาขาใหม่ย่านบางนา...
  • ข่าวดี ไทยแอร์เอเชีย เอ็กซ์ พร้อมกลับมาให้บริการที่สนามบินดอนเมือง ทุกเที่ยวบิน เริ่ม 1 ต.ค. นี้
  • "แลกเก่าเพื่อโลกใหม่" นำสินค้าเก่าที่ไม่ใช้แล้ว มาแลกเป็นสินค้าใหม่ ส่วนลดสูงสุด 10,000 บาท ที่โฮมโปร และเมกาโ...
  • อนันดาฯ เร่งเครื่องกระตุ้นตลาดบ้านเดี่ยว ทาวน์โฮมพร้อมอยู่ อัดโปรโมชั่นต่อเนื่อง "บ้านอนันดา Joy โปร ปัง" รับส...
  • กลุ่ม SMEs อสังหาฯ เดินหน้าปรับตัว ตั้งการ์ดสู้วิกฤต วอนทุกภาคส่วนร่วมขับเคลื่อนเศรษฐกิจ ป้องกันก่อนเกิดเหตุลุกลาม
  • REAL ASSET รุกตลาดบ้านเดี่ยวหรู เจาะกลุ่ม Mid – High ส่ง 1st Brand New Luxury House โครงการแรก "VIVALDI BANGNA&quo...
  • The Residences at Dusit Central Park ถ่ายทอดประสบการณ์การอยู่อาศัยเหนือระดับผ่าน Exclusive Workshops for Peaceful and Pr...
  • เมเจอร์ ดีเวลลอปเม้นท์ ชวนลูกบ้านค้นหาอัตลักษณ์แห่งตัวตน ผ่านรสสัมผัสของกาแฟ กับ "Exquisite Brew Revelry : A Sensor...
  • สรุปปิดงาน Smart SME EXPO 2024 เจรจาธุรกิจเฉียด 300 คู่ ยอดสินเชื่อพุ่ง 881.92 ลบ. หนุนยอดสะพัดกว่า 1,263 ลบ.
  • LIV-24 เปิดตัวเทคโนโลยีอัจฉริยะ Vehicle Fleet Management เสริมประสิทธิภาพการขนส่งภาคอุตสาหกรรม ด้วยการศูนย์สั่งการแบบเรี...
  • เปิดแล้ว! ราคาตั๋วรถไฟ "กรุงเทพอภิวัฒน์-เวียงจันทน์" ซื้อตั๋วล่วงหน้าได้ 180 วัน เริ่มเดินขบวนแรก 19 ก.ค.นี้
  • การทางพิเศษ เสนอสร้างทางด่วนอุโมงค์ 2 ชั้น ลึกเท่าตึก 10 ชั้น ผ่านถนน "แคราย-เกษตร" ภาคประชาชนรวมตัวค้าน
  • นิปปอนเพนต์ ชู GREEN PLAN สู่วาระขับเคลื่อนองค์กร มุ่งเป้าพันธกิจ Net Zero ปี 2050 พร้อม 40 แบรนด์เพิ่มกรีน การันตีด้วย ...
  • เรื่องต้องรู้ กฎหมายครอบครองปรปักษ์ เพื่อไม่ให้สูญเสียกรรมสิทธิ์ ทรัพย์สินของตัวเอง โดยไม่รู้ตัว!

    การครอบครองปรปักษ์ ถูกระบุไว้ในประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1382 ระบุว่า บุคคลใดครอบครองทรัพย์สินของผู้อื่นไว้โดยความสงบและโดยเปิดเผยด้วยเจตนาเป็นเจ้าของ ถ้าเป็นอสังหาริมทรัพย์ได้ครอบครองติดต่อกันเป็นเวลา 10 ปี ถ้าเป็นสังหาริมทรัพย์ได้ครอบครองติดต่อกันเป็นเวลา 5 ปีไซร้ ท่านว่าบุคคลนั้นได้กรรมสิทธิ์

    @thaihometown Scroll