สินเชื่อที่อยู่อาศัย

คนซื้อบ้านส่วนใหญ่ซื้อบ้านด้วยเงินกู้จากธนาคาร เมื่อถึงเวลาที่ต้องทำเรื่องยื่นกู้กับธนาคารเราก็มักอยากรู้ว่าจะกู้ได้เท่าไหร่ กู้ได้เต็มเท่ากับมูลค่าหรือราคาบ้านที่ซื้อ หรือถ้าต้องควักเองก็ขอให้เป็นเงินก้อนเล็กๆ ก็พอ อัตราส่วนการให้สินเชื่อต่อมูลค่าบ้านหรือที่อยู่อาศัยนี้ในทางการเงินเรียกว่า Loan to Value หรือ LTV นั่นเอง

ประกาศอสังหาริมทรัพย์ใหม่ บ้าน บ้าน รายการล่าสุด บ้านเดี่ยว บ้านเดี่ยว รายการล่าสุด ทาวน์เฮ้าส์ ทาวน์เฮ้าส์ รายการล่าสุด ทาวน์โฮม ทาวน์โฮม รายการล่าสุด คอนโด คอนโด รายการล่าสุด อาคารพาณิชย์ อาคารพาณิชย์ รายการล่าสุด อพาร์ทเม้นท์ อพาร์ทเม้นท์ รายการล่าสุด สำนักงาน สำนักงาน รายการล่าสุด โฮมออฟฟิศ โฮมออฟฟิศ รายการล่าสุด ธุรกิจ ธุรกิจ รายการล่าสุด โรงงาน โรงงาน รายการล่าสุด คลังสินค้า คลังสินค้า รายการล่าสุด โกดัง โกดัง รายการล่าสุด ที่ดิน ที่ดิน รายการล่าสุด ลงประกาศฟรี ผู้รับเหมา รายการล่าสุด ผู้รับเหมา ลงประกาศฟรี ผู้รับเหมา ข่าวประชาสัมพันธ์ รายการล่าสุด ข่าวประชาสัมพันธ์ พรีวิวโครงการใหม่ รายการล่าสุด พรีวิวโครงการใหม่ ตกแต่งที่อยู่อาศัย รายการล่าสุด ตกแต่งที่อยู่อาศัย สาระควรรู้ ที่อยู่อาศัย รายการล่าสุด สาระควรรู้ ที่อยู่อาศัย ฮวงจุ้ย ที่อยู่อาศัย รายการล่าสุด ฮวงจุ้ย ที่อยู่อาศัย สินเชื่อ ที่อยู่อาศัย รายการล่าสุด สินเชื่อ ที่อยู่อาศัย SME รายการล่าสุด SME สถานที่ท่องเที่ยว รายการล่าสุด สถานที่ท่องเที่ยว

สินเชื่อบ้าน และวงเงินกู้ ธนาคารมีหลักเกณฑ์พิจารณาอย่างไร?

คนซื้อบ้านส่วนใหญ่ซื้อบ้านด้วยเงินกู้จากธนาคาร เมื่อถึงเวลาที่ต้องทำเรื่องยื่นกู้กับธนาคารเราก็มักอยากรู้ว่าจะกู้ได้เท่าไหร่ กู้ได้เต็มเท่ากับมูลค่าหรือราคาบ้านที่ซื้อ หรือถ้าต้องควักเองก็ขอให้เป็นเงินก้อนเล็กๆ ก็พอ อัตราส่วนการให้สินเชื่อต่อมูลค่าบ้านหรือที่อยู่อาศัยนี้ในทางการเงินเรียกว่า Loan to Value หรือ LTV นั่นเอง

ปกติธนาคารหรือสถาบันการเงินมักให้สินเชื่อเพื่อซื้อที่อยู่อาศัยในสัดส่วน LTV อยู่ที่ 80% เช่น บ้านราคา 1,000,000 บาท ธนาคารจะให้กู้เพียง 800,000 บาท ดังนั้นอีก 200,000 บาทเราต้องจ่ายเอง ซึ่งก็คือเงินที่ต้องดาวน์ให้กับโครงการนั่นเอง

อย่างไรก็ตามการกำหนดวงเงิน LTV ธนาคารก็ต้องดูหลายอย่าง

1.  ความสามารถในการชำระหนี้ของผู้ซื้อ 

ด้วยการดูรายได้ของผู้กู้และผู้กู้ร่วม ซึ่งทั่วไปจะให้กู้ประมาณ40-50 เท่าของรายได้ แต่ก็ขึ้นอยู่กับลักษณะอาชีพ และความมั่นคงของรายได้ด้วยเช่น ช้าราชการ ก็มีโอกาสได้วงเงินกู้สูงกว่าผู้กู้ที่ทำงานอิสระ

นอกจากนี้ธนาคารยังกำหนดว่า "เงินงวดที่จะต้องผ่อนชำระรายเดือน" นั้นต้องไม่เกินร้อยละ 40 ของรายได้รวมของครอบครัว ซึ่งในกรณีนี้ผู้กู้ที่มีรายได้น้อยก็มักจะกู้ได้ในสัดส่วนของเงินงวดต่อรายได้รวมต่ำกว่าผู้กู้ที่มีรายได้สูง เช่น ถ้ามีรายได้เดือนละ 10,000 บาท แบงก์อาจให้ผ่อนได้แค่เดือนละประมาณ2,500-3,000 บาท (เท่ากับ 25-30% ของรายได้) แต่ถ้ารายได้ 50,000 บาท ธนาคารอาจยอมให้ผ่อนได้ถึงเดือนละ 15,000-20,000 บาท (เท่ากับ 30-40%) ก็ได้ 

2.  คุณภาพของหลักประกันหรืออสังหาฯ 
 
ที่เรานำมาจำนองเป็นหลักประกันนั้น ธนาคารจะดูความเหมาะสม เช่น ถ้าเป็นบ้านหรือคอนโดฯ ก็ต้องสร้างเสร็จอย่างน้อย 90% ถึงจะกู้ได้ ถ้าเป็นการกู้ร่วมผู้กู้ร่วมต้องมีชื่อเป็นผู้ถือกรรมสิทธิ์ด้วยทุกคน หรือเป็นบ้านที่มีถนนสาธารณะเข้าถึง รถยนต์สามารถเข้าออกได้ ฯลฯ 
 
อีกทั้งยังหมายถึง “มูลค่าตลาดของหลักประกัน” ที่มักเกี่ยวข้องกับทำเลที่ตั้งหรือประเภทของโครงการ (ถ้าเป็นบ้านเดี่ยวสัดส่วนวงเงินจะค่อนข้างสูง รองลงมาเห็นคอนโดฯ อาคารพาณิชย์) และ “เจ้าของโครงการหรือตัวผู้ประกอบการ” โดยหากเป็นผู้ประกอบการรายใหญ่มีชื่อเสียง ผู้ซื้อโครงการนั้นก็มีโอกาสกู้ได้สัดส่วนที่สูงกว่าโครงการของผู้ประกอบการรายย่อย เป็นต้น 
 
ปกติวงเงินกู้ที่แบงก์อนุมัติมักต่ำกว่ามูลค่าตลาดของหลักประกันเสมอ แต่ก็มักมีข้อยกเว้นสำหรับโครงการของผู้ประกอบการรายใหญ่เกรดเอ วงเงินให้กู้อาจเต็มหรือเท่ากับมูลค่าตลาดของหลักประกันก็ได้ อย่างไรก็ตามยิ่งสัดส่วนเงินกู้ต่อหลักประกันยิ่งต่ำ แบงก์ก็ยิ่งมีความเสี่ยงน้อย ดังนั้นผู้กู้อาจได้สิทธิพิเศษ เช่น ดอกเบี้ยต่ำกว่าผู้กู้ที่กู้วงเงินสูงๆ เป็นต้น

ดังนั้นในการที่เรากู้ยืมเงินเพื่อซื้อบ้านจากโครงการต่างๆ เราก็อาจได้รับ LTV ไม่เท่ากัน หรือในกรณีที่คนหลายคนซื้อบ้านในโครงการเดียวกัน ก็อาจได้รับ LTV ที่ไม่เท่ากันด้วยเช่นกัน

นอกจาก LTV จะเป็นสิ่งที่สถาบันการเงินพิจารณาในการปล่อยสินเชื่อแล้วหน่วยงานกำกับดูแลสถาบันการเงินในหลายประเทศไม่ว่าจะเป็น เกาหลีใต้ จีน ฮ่องกงมาเลเซีย สิงคโปร์ รวมทั้งประเทศไทย เป็นต้น ก็นำเอา LTV มาเป็นเครื่องมืออย่างหนึ่งในการป้องกันความเสี่ยงของสถาบันการเงินและป้องกันปัญหาราคาสินทรัพย์สูงเกินความเป็นจริงหรือที่เรียกกันว่าภาวะฟองสบู่ (Asset Bubble) ในแต่ละประเทศด้วย

 

" ขอให้จำไว้เสมอว่า ก่อนที่จะซื้อบ้านหรือคอนโด ขอให้นึกถึงเงินเก็บในกระเป๋าของคุณก่อน อย่าลืมว่ายิ่งคุณกู้น้อยเท่าไรคุณกู้จะเป็นหนี้น้อยเท่านั้น กู้น้อยก็ผ่อนน้อยไม่ต้องแบกภาระจ่ายดอกเบี้ยไปอีก 20 ปีเป็นอย่างต่ำ ที่สำคัญเมื่อจำเป็นต้องกู้ขอให้นึกถึงความสามารถในการชำระในแต่ละเดือนของคุณไว้ด้วย เพราะถ้าเมื่อใดที่คุณไม่สามารถผ่อนชำระได้ตามที่สถาบันการเงินกำหนด คุณอาจจะต้องยอมปล่อยวิมานของคุณหลุดลอยไปแบบไม่ได้อะไรคืนมา "


ขอบคุณข้อมูลจาก ไทยโฮมทาวน์ จัดทำรวมรวมข้อมูล
  • เปลี่ยนบ้านเป็นเงินกับ SCB ฟรีค่าจำนอง ค่าประเมิน บ้านอยู่ครบ ไม่ต้องขาย
  • 10 เทคนิค ช่วยต่อเวลาให้บ้านไม่ถูกยึดจากธนาคาร
  • ปัจจัยหลักสำคัญที่สุด!! มีผลในการยื่นขอ "สินเชื่อบ้าน" รู้ไว้ก่อนดีกว่า จะได้ไม่เสียเวลาเตรียมเอกสาร
  • ธอส.ปล่อยเงินกู้ รายได้ไม่ถึง 15,000/ด. กู้ซื้อบ้านได้ 1.5 ล้าน กับโครงการบ้าน ธอส.เพื่อสานรัก ปี 2558
  • รายได้ไม่ถึง 15,000 ต่อเดือน ก็มีบ้านได้แล้ว กับสินเชื่อ "โครงการบ้าน ธอส.เพื่อสานรัก ปี 2557
  • "ธนาคารกรุงเทพ" ออกมาตรการช่วยเหลือลูกค้า วิกฤตโควิด-19
  • กู้เงินซื้อบ้าน ธนาคารอนุมัติให้ผ่าน ไม่ได้หมายความว่าจะมีความสามารถผ่อนชำระได้ในทุกๆเดือน
  • ออมสินปล่อย "เงินกู้ฉุกเฉิน" 1 หมื่น และ 5 หมื่น ดอกเบี้ยต่ำ ไม่ต้องใช้คนค้ำ
  • สินเชื่อบ้าน ไม่ได้ทำงานประจำขอสินเชื่อได้ไหม?
  • 3 เรื่องต้องรู้ ก่อนรีไฟแนนซ์บ้าน แนะสูตรคำนวณแบบประหยัดดอกเบี้ย หนีดอกเบี้ยสุดโหด
  • สินเชื่อ SME ต่อยอดธุรกิจ กู้เงินเปิดร้าน วงเงินกู้ 3 เท่า สูงสุด 20 ล้าน
  • สินเชื่อบ้าน รีไฟแนนซ์ จากธนาคารกรุงไทย ตัวช่วยของคนอยากมีบ้าน
  • ผ่อนบ้านจัดเต็มกับกรุงไทย ผ่อนนาน 40 ปี ดอกเบี้ยคงที่ 6 เดือน
  • ออมสินให้วงเงินกู้สูงสุด 3 ล้าน ใช้เป็นเงินทุนร้านสำหรับพ่อค้าแม่ขาย อาชีพอิสระ ผ่อนยาว 10 ปี
  • สมัครกู้เงินออนไลน์? ออมสินให้กู้ด่วน 200,000 บาท จริงหรือไม่
  • สินเชื่อบ้าน และวงเงินกู้ ธนาคารมีหลักเกณฑ์พิจารณาอย่างไร?

    คนซื้อบ้านส่วนใหญ่ซื้อบ้านด้วยเงินกู้จากธนาคาร เมื่อถึงเวลาที่ต้องทำเรื่องยื่นกู้กับธนาคารเราก็มักอยากรู้ว่าจะกู้ได้เท่าไหร่ กู้ได้เต็มเท่ากับมูลค่าหรือราคาบ้านที่ซื้อ หรือถ้าต้องควักเองก็ขอให้เป็นเงินก้อนเล็กๆ ก็พอ อัตราส่วนการให้สินเชื่อต่อมูลค่าบ้านหรือที่อยู่อาศัยนี้ในทางการเงินเรียกว่า Loan to Value หรือ LTV นั่นเอง

    © สงวนลิขสิทธิ์ 2567 บริษัท ไทยโฮมทาวน์ จำกัด
    @thaihometown Scroll