สินเชื่อที่อยู่อาศัย

สินเชื่อซื้อบ้าน ไม่ผ่าน!! สาเหตุใดบ้างที่มักจะเป็นคำตอบจากธนาคาร

ความฝันสูงสุดของมนุษย์เงินเดือนทั้งหลาย หรือผู้ที่ทำอาชีพอิสระหลายๆคน นั้นก็คือ อยากมีบ้านเป็นของตนเองสักหลัง ไม่ว่าจะเป็นหลังเล็ก หลังใหญ่ หรือแม้แต่คอนโดห้องหนึ่งก็ได้ ซึ่งหนึ่งในวิธีทำให้ฝันเป็นจริงก็คือ การกู้ซื้อบ้านกับสถาบันการเงินนั่นเอง เพราะเหตุใดบางคนให้ข้อมูลครบถ้วนหมดแล้ว ประวัติหนี้เสียไม่มี แต่กลับขอสินเชื่อไม่ผ่านซะอย่างนั้น แล้วทำอย่างไรจึงจะผ่าน มีขั้นตอนไหนที่ต้องแก้ไข หรือมีอะไรบ้างที่ต้องเตรียมพร้อมก่อนการของยื่นสินเชื่อบ้าน

สินเชื่อซื้อบ้าน ไม่ผ่าน!! สาเหตุใดบ้างที่มักจะเป็นคำตอบจากธนาคาร

          สินเชื่อซื้อบ้าน ไม่ผ่าน สาเหตุที่กู้ซื้อบ้านไม่ผ่าน เพราะอะไร ต้องแก้ไขตรงไหน และควรทำอย่างไรเพื่อให้การกู้ซื้อบ้านผ่าน

          ความฝันสูงสุดของมนุษย์เงินเดือนทั้งหลาย หรือผู้ที่ทำอาชีพอิสระหลายๆคน นั้นก็คือ อยากมีบ้านเป็นของตนเองสักหลัง ไม่ว่าจะเป็นหลังเล็ก หลังใหญ่ หรือแม้แต่คอนโดห้องหนึ่งก็ได้ ซึ่งหนึ่งในวิธีทำให้ฝันเป็นจริงก็คือ การกู้ซื้อบ้านกับสถาบันการเงินนั่นเอง เพราะเหตุใดบางคนให้ข้อมูลครบถ้วนหมดแล้ว ประวัติหนี้เสียไม่มี แต่กลับขอสินเชื่อไม่ผ่านซะอย่างนั้น แล้วทำอย่างไรจึงจะผ่าน มีขั้นตอนไหนที่ต้องแก้ไข หรือมีอะไรบ้างที่ต้องเตรียมพร้อมก่อนการของยื่นสินเชื่อบ้าน 

          ในบางคนถึงแม้จะมีภาระสินเชื่ออื่นๆอยู่ เช่นบัตรเครดิต ผ่อนรถ เป็นต้น แต่ถ้ามีประวัติการผ่อนชำระที่ดี ตรงตามงวดทุกครั้ง ทางสถาบันการเงินก็จะมีความเชื่อมั่นเพิ่มขึ้นว่าถ้าให้สินเชื่อเราแล้ว เราจะสามารถผ่อนชำระได้ และที่สำคัญควรจะเช็คเครดิตบูโรของตัวเองก่อน หากไม่ทราบสถานะตัวเองในเครดิตบูโรก็ขอตรวจสอบได้เมื่อมีปัญหาจะได้แก้ไขได้นะคะ ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับเงื่อนไขของแต่ละธนาคารหรือสถาบันการเงิน ลองไปดูสามาเหตุที่พบบ่อยๆกันดีกว่าว่ามีอะไรบ้าง


สำหรับสาเหตุที่กู้ซื้อบ้านไม่ผ่าน อาจมีเหตุผลหลายประการ เช่น

      นโยบายการปล่อยสินเชื่อของสถาบันการเงินหรือผู้ประกอบการแต่ละแห่งที่แตกต่างกัน
   
   ภาระหนี้ที่มีอยู่ และความสามารถในการชำระหนี้ของผู้ขอสินเชื่อ
   
   หลักประกันความเสี่ยงของผู้ขอสินเชื่อ เช่น หลักทรัพย์ค้ำประกัน/ผู้ค้ำประกัน
   
   โอกาสในการผิดนัดชำระหนี้มากหรือน้อย
   
   ประวัติการชำระหนี้ที่ผ่านมาของลูกหนี้

การตรวจสอบความสามารถชำระหนี้

crying 1. สำรวจความสามารถในการผ่อนชำระหนี้
        
          ปกติแล้วการผ่อนชำระหนี้ ไม่ควรเกิน 1 ใน 3 ของรายได้ในแต่ละเดือน เช่น ถ้าผู้ขอสินเชื่อมีรายได้ 12,000 บาทต่อเดือน จะสามารถผ่อนหนี้ได้ประมาณ 4,000 บาท


crying 2. ตรวจสอบภาระหนี้เดิมรวมกับหนี้ที่จะขอใหม่ ว่ามีเยอะหรือไม่
        
          โดยนำยอดการผ่อนชำระหนี้เดิมและยอดหนี้ที่จะขอใหม่ต่อเดือนมารวมกัน แล้วดูว่ามีสัดส่วนเกินกว่า 1 ใน 3 ของรายได้ต่อเดือนหรือไม่ 

ตัวอย่าง

          ผู้ขอสินเชื่อต้องการกู้เงิน 100,000 บาท ระยะเวลาชำระหนี้คืน 5 ปี ผ่อนชำระหนี้ (เงินต้นรวมดอกเบี้ย) ประมาณเดือนละ 1,667 บาท นอกจากนี้ ผู้ขอกู้ยังมียอดหนี้เดิมที่ต้องผ่อนชำระต่อเดือนอีก 1,700 บาท ดังนั้นเมื่อคำนวณภาระหนี้ทั้งสิ้นที่ต้องผ่อนต่อเดือนยังไม่เกิน 4,000 บาท ถือว่าผู้ขอกู้ยังมีความสามารถในการชำระหนี้ได้

          อย่างไรก็ดี หากพบว่า รายได้สุทธิของคุณไม่เพียงพอที่จะกู้ คุณอาจจะหา "ผู้กู้ร่วม" มาช่วยทำให้ความสามารถในการผ่อนชำระมีมากขึ้น หรืออาจจะลดภาระหนี้ของคุณ เช่น ไปปิดบัญชีบัตรเครดิต บัญชีเงินกู้สหกรณ์ หรือไม่ก็ลดขนาดและราคาของบ้านลงมาให้สอดคล้องกับความสามารถในการผ่อนชำระ

ปัญหาพื้นฐานที่พบบ่อยๆ

ปัญหาของการมีบัตรเครดิตหลายใบ

          เพราะสิ่งเหล่านี้จะส่งผลให้กำลังซื้อบ้านลดลง เนื่องจากธนาคารจะนำวงเงินจากบัตรเครดิตทุกใบมาคิดรวมเป็นภาระหนี้สิน ถึงแม้ว่าบัตรนั้นจะไม่ได้ใช้ก็ตาม ดังนั้นทางที่ดี เก็บไว้แต่บัตรเครดิตที่จำเป็นๆดีกว่า ใบไหนไม่ใช้ก็ควรปิด เพราะเราจะมีภาระหนี้รวมแล้วได้ไม่เกิน 40% ของรายได้ทั้งหมด
 

ปัญหาจากการผ่อนสินค้าผ่านบัตรเครดิตต่างๆ

          ถ้าบัตรเครดิตถูกใช้ในการผ่อนสินค้า ควรรีบผ่อนให้หมดแล้วปิดทันที เพราะถ้ายังติดผ่อนบัตรอยู่ ก็จะถูกนำมาคิดรวมเวลาพิจารณาสินเชื่อด้วยเช่นกัน
 

ปัญหาไม่ตรวจเช็คเครดิตบูโร

          เมื่อเรายื่นกู้ทางธนาคารจะเช็คประวัติเครดิตบูโรทันที ซึ่งเครดิตบูโรจะเก็บรวบรวมข้อมูลการชำระสินเชื่อหรือบัตรเครดิตทั้งยอดคงค้าง และการผิดประวัติชำระหนี้ ทางที่ดีควรเช็คก่อนยื่นกู้จะดีกว่า
 

ปัญหาติดผ่อนรถยนต์คันแรก

          ส่วนใหญ่แล้วปัญหาของการกู้ไม่ผ่านคือ ผู้กู้มีภาระผ่อนรถยนต์คันแรกอยู่ ดังนั้นก่อนยื่นกู้ควร Pre-approve กับสถาบันการเงิน ว่าเรายังมีความสามารถในการชำหระหนี้ได้อีกหรือเปล่า
 

ปัญหาการไม่ออมเงิน

          การออมเงินเป็นการสร้างเครดิตที่ดีให้กับตัวเอง เพื่อที่ทางธนาคารจะมั่นใจได้ว่าเรามีวินัยทางการเงิน ดังนั้นใน บัญชีควรจะมีเงินออมเป็นบัญชีฝากประจำประมาณ 1-2 ปี
 

ปัญหาของผู้กู้ร่วม

          ถ้าคิดจะหาผู้กู้ร่วมควรจะหาผู้กู้ร่วมที่มีเครดิตดีๆ มีอาชีพมั่นคง เช่น ข้าราชการ , พนักงานรัฐวิสาหกิจ , แพทย์ , อัยการ ทำให้เรามีโอกาสได้รับสินเชื่อได้ง่ายมากขึ้น


ปัญหาการเลือกซื้อที่อยู่อาศัยไม่เหมาะกับกำลังซื้อ

          ซึ่งการเลือกซื้อบ้านเราควรจะดูด้วยว่า มีความสามารถในการชำระหนี้ได้แค่ไหน ไม่ใช่ซื้อบ้านตามความอยากได้ เพราะถ้าผ่อนไม่ไหวจะเป็นปัญหาใหญ่ตามมาอีก

มีหนี้บัตรเครดิตอยู่ สามารถขอกู้สินเชื่ออื่นได้อีกหรือไม่

          ถ้าหากคุณชำระค่าบัตรเครดิตตรงเวลาสม่ำเสมอ ย่อมไม่มีปัญหา ส่วนใหญ่จะพิจารณาอนุมัติให้ แต่ก็ควรที่จะเคลียร์หนี้ต่างๆ ให้หมดหรือให้อยู่ในระดับที่ไม่เป็นอุปสรรคต่อการพิจารณาขอสินเชื่อ เพราะทุกสถาบันการเงินจะดูประวัติการชำระหนี้ที่ผ่านมาของเราด้วย 

          ซึ่งถึงแม้เราจะมีภาระสินเชื่ออยู่ แต่ถ้ามีประวัติการผ่อนชำระที่ดี ตรงตามงวดทุกครั้ง ทางสถาบันการเงินก็จะมีความเชื่อมั่นเพิ่มขึ้นว่าถ้าให้สินเชื่อเราแล้ว เราจะสามารถผ่อนชำระได้ และที่สำคัญควรจะเช็คเครดิตบูโรของตัวเองก่อน หากไม่ทราบสถานะตัวเองในเครดิตบูโรก็ขอตรวจสอบได้เมื่อมีปัญหาจะได้แก้ไขได้นะคะ ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับเงื่อนไขของแต่ละธนาคารหรือสถาบันการเงิน

 

วิธีการจัดการกับหนี้บัตรเครดิต

mail “หยุดจ่ายขั้นต่ำ”

          การจ่ายขั้นต่ำเป็นต้นเหตุแห่งมูลหนี้ทุกคนอาจไม่คาดคิดว่ามันจะร้ายแรงขนาดนี้ เพราะหากเราจ่ายเงินเต็มจำนวนเวลาที่บิลเรียกเก็บเงินจากการใช้จ่ายผ่านบัตรเครดิตส่งมาถึงเรา เราจะไม่เสียดอกเบี้ยจากการที่มีเงินคงค้างกับทางบริษัทบัตรเครดิต หากเราเลือกที่จะจ่ายขั้นต่ำ บริษัทบัตรเครดิตจะเริ่มคิด “ดอกเบี้ยรายวัน” กับเราทันที ดอกเบี้ยรายวันเป็นจุดเริ่มต้นของบาดแผลที่จะทำให้เลือดเราไหลไม่หยุด ดังนั้นต้องรีบปิดบาดแผลทางการเงินด้วยการหยุดจ่ายขั้นต่ำ และพยายามชำระหนี้สินที่มันงอกเงยออกมาให้หมดในเร็ววัน

mail​ “ทยอยชำระหนี้”

          เมื่อเราได้เริ่มต้นด้วยการหยุดจ่ายขั้นต่ำแล้ว ขั้นตอนต่อมาก็คือ เราต้องทยอยชำระหนี้สินคงค้างให้หมด ด้วยการพยายามลดค่าใช้จ่ายที่ไม่จำเป็น และนำเงินที่เราไม่ได้ใช้จ่ายกับสิ่งที่เกินจำเป็นมาชำระหนี้ ทยอยชำระให้หมดโดยเร็ว และต้องอดทนอย่าก่อหนี้ใหม่ๆ เพิ่มขึ้นมาอีก

mail​ “ซื้อด้วยเงินสด”

          หลายคนอาจจะติดใจการซื้อของ ซื้อสินค้า บริการ จ่ายค่าอาหารตามร้านอาหารด้วยบัตรเครดิต หากเราสามารถบริหารจัดการเงินที่ต้องจ่ายตอนบิลเรียกเก็บเงินมาด้วยเงินสด แบบนี้ก็ไม่มีปัญหา แต่หากเราเริ่มมีปัญหาติดขัด ต้องจ่ายขั้นต่ำแล้ว แบบนี้ครั้งต่อๆ ไปในการซื้อสินค้าบริการควรจ่ายด้วยเงินสด เวลาที่เราจ่ายด้วยเงินสดๆ เงินในกระเป๋าของเราจะลดไปทันที ทำให้เราสะดุดใจ และไม่กล้าจับจ่ายมากเกินจำนวนเงินที่เราหามาได้ เมื่อเราเริ่มซื้อของด้วยเงินสด เราจะสังเกตเห็นความเปลี่ยนแปลง บิลที่ต้องจ่ายปลายเดือนจะน้อยลง วิธีการนี้ถือเป็นยาสมานแผลชั้นดีที่จะไม่ทำให้เราเพลิดเพลินกับการจ่ายด้วยเครดิตมากจนเกินไป

mail​ “ทำบัญชีจับจ่ายส่วนบุคคล”

          การทำบัญชีจับจ่ายบุคคลจะช่วยให้เรา “มองเห็นปัญหา” ก่อนที่ปัญหาจะเกิดขึ้น วิธีการทำบัญชีจับจ่ายส่วนบุคคลแบบง่ายๆ ก็คือการบันทึกรายรับ รายจ่าย แบบง่ายๆ ด้วยการเก็บบิลค่าใช้จ่ายในแต่ละเดือนเอาไว้ และมาบันทึกเมื่อสิ้นสุดเดือน หากเรามีรายรับทางเดียวก็คือเงินจากงานประจำเราก็สามารถบันทึกเอาไว้ในส่วนของ “รายรับ” และเราควรแยกส่วนของรายจ่ายหลักๆ จะเป็น ค่ากิน ค่าที่พัก (ค่าบ้าน) ค่าเดินทาง และค่าท่องเที่ยว ทำแบบนี้เราจะมองเห็นชัดเจนว่าเราหมดค่าใช้จ่ายไปกับอะไรบ้าง และสามารถวางแผนตัดค่าใช้จ่ายที่ไม่จำเป็นออกไปได้

mail​ “วางแผนทางการเงินส่วนบุคคล”

          หลังจากที่เราเริ่มปิดปากแผลทางการเงิน หยุดจ่ายขั้นต่ำ ทยอยชำระหนี้ หยุดเลือดที่กำลังไหลได้สำเร็จ และเริ่มทำบัญชีส่วนบุคคล การป้องกันไม่ให้เกิดบาดแผลทางการเงินก็เป็นสิ่งที่เราไม่ควรมองข้ามนะ การป้องกันไม่ให้เกิดแผลอีกเราต้อง “วางแผนทางการเงินส่วนบุคคล” การวางแผนการเงินส่วนบุคคลนั้นไม่ยาก เราควรแบ่งเงินที่เป็นรายได้ของเราออกเป็นส่วนๆ ได้แก่ เงินใช้จ่าย กับ เงินเก็บออม และแบ่งเงินเก็บออมเป็นเงินสำรองที่ต้องฝากธนาคารเอาไว้ห้ามนำออกมาใช้ กับเงินอีกส่วนที่เก็บออมเพื่อไปลงทุนต่อยอดให้งอกเงย ทำได้แบบนี้ “หนี้สินกวนใจ” ก็จะหายไปไม่กลับมาหาเราอีกเลย

mail​ “รักษาวินัยทางการเงินอย่างเคร่งครัด”

          เมื่อเราทำทุกขั้นตอนมาจนถึงขั้นตอนสุดท้ายแล้ว ชีวิตทางการเงินของเราจะเริ่มดีขึ้นเรื่อยๆ บาดแผลเริ่มสมานกัน เลือดหยุดไหลแล้ว แต่ทุกสิ่งทุกอย่างที่ทำมาจะหมดความหมายทันทีหากเรากลับไปก่อหนี้สินใหม่ๆ อีก ปากแผลจะถูกเปิดออก เลือดจะกลับมาไหลอีกครั้ง ดังนั้นเราต้องรักษาวินัยทางการเงินอย่างเคร่งครัด ในขั้นตอนสุดท้ายนี้ถือว่า “สำคัญที่สุด” หากเราไม่อยากกลับไปเป็นหนี้อีกอย่าลืม “รักษาวินัยทางการเงินอย่างเคร่งครัด” นะ

 

การพิจารณาให้สินเชื่อของสถาบันการเงิน จะมีเกณฑ์การพิจารณา

crying 1. ความสามารถในการชำระหนี้

          ทางสถาบันการเงินจะวิเคราะห์ว่า เราจะสามารถชำระหนี้ได้หรือไม่ โดยจะพิจารณาจากรายได้ของผู้กู้และหรือผู้กู้ร่วมเป็นหลัก ซึ่งจะพิจารณาให้กู้ประมาณ 30-40 เท่าของรายได้ วงเงินที่ให้จะมากหรือน้อยขึ้นอยู่กับความมั่นคงของอาชีพ และรายได้ด้วย เช่น หากเป็นข้าราชการ พนักงานรัฐวิสาหกิจ หรือลูกจ้างบริษัทเอกชนที่มีกิจการมั่นคงก็จะได้รับการอนุมัติเงินกู้สูงถึง 40 เท่าของเงินเดือน นอกจากนี้ธนาคารยังพิจาณาเรื่อง สัดส่วนเงินงวดต่อรายได้สุทธิประกอบด้วย คือต้องไม่เกิน 33% ธนาคารจะให้กู้ในอัตราที่เงินผ่อนต่อเดือนไม่เกิน 33% ต่อรายได้สุทธิต่อเดือน
 

crying 2. พิจารณาจากหลักประกันเงินกู้

          ทางสถาบันการเงินจะนำหลักประกันเงินกู้มาวิเคราะห์ทรัพย์สินที่นำมาเป็นหลักประกันด้วย โดยจะมีการพิจารณาใน 2 ประเด็น คือ ความเหมาะสมของหลักประกันและมูลค่าของหลักประกัน ซึ่งทางสถาบันการเงินจะใช้ประกอบการพิจารณาถึงความเสี่ยงที่เกิดขึ้นหากปล่อยเงินกู้ไปแล้ว
 

crying 3. คุณสมบัติอื่นของผู้กู้

          นอกจากสถาบันการเงินจะวิเคราะห์เงื่อนไขการอนุมัติให้กู้จากรายได้ และหลักประกันเงินกู้ที่วางไว้แล้ว ก็อาจใช้คุณสมบัติอื่นของผู้กู้ประกอบการพิจารณาด้วย เช่น อายุของผู้กู้ ซึ่งหากนำมารวมกับจำนวนปีที่ขอกู้แล้วจะต้องไม่เกิน 70 ปี และผู้กู้ร่วมที่ไม่ใช่คู่สมรส บิดามารดา พี่น้อง หรือบุตรแล้ว จะมีผู้กู้ร่วมอื่นได้อีกไม่เกิน 1 คน ซึ่งจะต้องถือกรรมสิทธิ์ร่วมในทรัพย์ที่จำนองด้วย โดยการกู้ร่วมก็เป็นอีกวิธีที่ทำให้เรามีความสามารถในการขอสินเชื่อเพิ่มขึ้นได้ ซึ่งถึงแม้เราจะมีภาระผ่อนสินเชื่ออื่นๆ อยู่ แต่ถ้าเราหาผู้มากู้ร่วมที่มีประวัติการขอสินเชื่อยังไม่เคยมีหนี้มาก่อนก็จะทำให้เครดิตเราดีขึ้นได้นะคะ

  • กู้ซื้อบ้าน เงินเดือนเท่าไหร่ กู้ได้เท่าไหร่ ผ่อนเท่าไหร่?
  • กรุงศรีรีไฟแนนซ์บ้าน สินเชื่อบ้านจากธนาคารกรุงศรี
  • ขอกู้ธนาคารซื้อบ้าน ยื่นไปแล้วไม่ผ่าน สาเหตุเพราะอะไรมาดูกัน
  • สินเชื่อบ้านมือสอง ธ.กรุงศรี เติมฝันให้มีบ้านได้เร็วขึ้น
  • ยูโอบี โฮมโลน ตอบโจทย์เรื่องสินเชื่อบ้านรีไฟแนนซ์ ดอกเบีี้ย 3.33% นาน 3 ปี ฟรี!! ค่าจดจำนอง วันนี้-31 ต.ค.60
  • เปลี่ยนบ้านเป็นเงินก้อน ด้วยสินเชื่อ "GSB บ้านแลกเงิน" วงเงินสูงสุด 10 ล้าน*
  • สินเชื่อบ้าน ธอส. – กบข. 2558 เพื่อที่อยู่อาศัยข้าราชการ ครั้งที่ 11 ดอกเบี้ยบ้าน 0%
  • ใหม่ ! สินเชื่อบ้านซุปเปอร์เซฟวิ่ง ไม่ต้องโปะ เงินกู้หมดเร็ว
  • 5 หลักฐานสำคัญในการขอกู้สินเชื่อบ้านหลังแรก
  • สินเชื่อบ้าน รีไฟแนนซ์ จากธนาคารกรุงไทย ตัวช่วยของคนอยากมีบ้าน
  • ผ่อนบ้านจัดเต็มกับกรุงไทย ผ่อนนาน 40 ปี ดอกเบี้ยคงที่ 6 เดือน
  • ออมสินให้วงเงินกู้สูงสุด 3 ล้าน ใช้เป็นเงินทุนร้านสำหรับพ่อค้าแม่ขาย อาชีพอิสระ ผ่อนยาว 10 ปี
  • สมัครกู้เงินออนไลน์? ออมสินให้กู้ด่วน 200,000 บาท จริงหรือไม่
  • ออมสินปรับลดเงินงวด สินเชื่อ "ผ่อนบ้านดี มีเฮ" สำหรับลูกค้าสินเชื่อเคหะปัจจุบัน ถึง 30 ก.ย. นี้
  • สินเชื่อ "บัตรกดเงินสด ทีทีบี บ้านแลกเงิน" ทางเลือกใหม่ของคนมีบ้าน วงเงินสำรองพร้อมใช้ มีไว้อุ่นใจกว่า
  • สินเชื่อซื้อบ้าน ไม่ผ่าน!! สาเหตุใดบ้างที่มักจะเป็นคำตอบจากธนาคาร

    ความฝันสูงสุดของมนุษย์เงินเดือนทั้งหลาย หรือผู้ที่ทำอาชีพอิสระหลายๆคน นั้นก็คือ อยากมีบ้านเป็นของตนเองสักหลัง ไม่ว่าจะเป็นหลังเล็ก หลังใหญ่ หรือแม้แต่คอนโดห้องหนึ่งก็ได้ ซึ่งหนึ่งในวิธีทำให้ฝันเป็นจริงก็คือ การกู้ซื้อบ้านกับสถาบันการเงินนั่นเอง เพราะเหตุใดบางคนให้ข้อมูลครบถ้วนหมดแล้ว ประวัติหนี้เสียไม่มี แต่กลับขอสินเชื่อไม่ผ่านซะอย่างนั้น แล้วทำอย่างไรจึงจะผ่าน มีขั้นตอนไหนที่ต้องแก้ไข หรือมีอะไรบ้างที่ต้องเตรียมพร้อมก่อนการของยื่นสินเชื่อบ้าน

    © สงวนลิขสิทธิ์ 2567 บริษัท ไทยโฮมทาวน์ จำกัด
    @thaihometown Scroll