สินเชื่อที่อยู่อาศัย

ความฝันสูงสุดของมนุษย์เงินเดือนทั้งหลาย หรือผู้ที่ทำอาชีพอิสระหลายๆคน นั้นก็คือ อยากมีบ้านเป็นของตนเองสักหลัง ไม่ว่าจะเป็นหลังเล็ก หลังใหญ่ หรือแม้แต่คอนโดห้องหนึ่งก็ได้ ซึ่งหนึ่งในวิธีทำให้ฝันเป็นจริงก็คือ การกู้ซื้อบ้านกับสถาบันการเงินนั่นเอง เพราะเหตุใดบางคนให้ข้อมูลครบถ้วนหมดแล้ว ประวัติหนี้เสียไม่มี แต่กลับขอสินเชื่อไม่ผ่านซะอย่างนั้น แล้วทำอย่างไรจึงจะผ่าน มีขั้นตอนไหนที่ต้องแก้ไข หรือมีอะไรบ้างที่ต้องเตรียมพร้อมก่อนการของยื่นสินเชื่อบ้าน

ประกาศอสังหาริมทรัพย์ใหม่ บ้าน บ้าน รายการล่าสุด บ้านเดี่ยว บ้านเดี่ยว รายการล่าสุด ทาวน์เฮ้าส์ ทาวน์เฮ้าส์ รายการล่าสุด ทาวน์โฮม ทาวน์โฮม รายการล่าสุด คอนโด คอนโด รายการล่าสุด อาคารพาณิชย์ อาคารพาณิชย์ รายการล่าสุด อพาร์ทเม้นท์ อพาร์ทเม้นท์ รายการล่าสุด สำนักงาน สำนักงาน รายการล่าสุด โฮมออฟฟิศ โฮมออฟฟิศ รายการล่าสุด ธุรกิจ ธุรกิจ รายการล่าสุด โรงงาน โรงงาน รายการล่าสุด คลังสินค้า คลังสินค้า รายการล่าสุด โกดัง โกดัง รายการล่าสุด ที่ดิน ที่ดิน รายการล่าสุด ลงประกาศฟรี ผู้รับเหมา รายการล่าสุด ผู้รับเหมา ลงประกาศฟรี ผู้รับเหมา ข่าวประชาสัมพันธ์ รายการล่าสุด ข่าวประชาสัมพันธ์ พรีวิวโครงการใหม่ รายการล่าสุด พรีวิวโครงการใหม่ ตกแต่งที่อยู่อาศัย รายการล่าสุด ตกแต่งที่อยู่อาศัย สาระควรรู้ ที่อยู่อาศัย รายการล่าสุด สาระควรรู้ ที่อยู่อาศัย ฮวงจุ้ย ที่อยู่อาศัย รายการล่าสุด ฮวงจุ้ย ที่อยู่อาศัย สินเชื่อ ที่อยู่อาศัย รายการล่าสุด สินเชื่อ ที่อยู่อาศัย SME รายการล่าสุด SME สถานที่ท่องเที่ยว รายการล่าสุด สถานที่ท่องเที่ยว

สินเชื่อซื้อบ้าน ไม่ผ่าน!! สาเหตุใดบ้างที่มักจะเป็นคำตอบจากธนาคาร

          สินเชื่อซื้อบ้าน ไม่ผ่าน สาเหตุที่กู้ซื้อบ้านไม่ผ่าน เพราะอะไร ต้องแก้ไขตรงไหน และควรทำอย่างไรเพื่อให้การกู้ซื้อบ้านผ่าน

          ความฝันสูงสุดของมนุษย์เงินเดือนทั้งหลาย หรือผู้ที่ทำอาชีพอิสระหลายๆคน นั้นก็คือ อยากมีบ้านเป็นของตนเองสักหลัง ไม่ว่าจะเป็นหลังเล็ก หลังใหญ่ หรือแม้แต่คอนโดห้องหนึ่งก็ได้ ซึ่งหนึ่งในวิธีทำให้ฝันเป็นจริงก็คือ การกู้ซื้อบ้านกับสถาบันการเงินนั่นเอง เพราะเหตุใดบางคนให้ข้อมูลครบถ้วนหมดแล้ว ประวัติหนี้เสียไม่มี แต่กลับขอสินเชื่อไม่ผ่านซะอย่างนั้น แล้วทำอย่างไรจึงจะผ่าน มีขั้นตอนไหนที่ต้องแก้ไข หรือมีอะไรบ้างที่ต้องเตรียมพร้อมก่อนการของยื่นสินเชื่อบ้าน 

          ในบางคนถึงแม้จะมีภาระสินเชื่ออื่นๆอยู่ เช่นบัตรเครดิต ผ่อนรถ เป็นต้น แต่ถ้ามีประวัติการผ่อนชำระที่ดี ตรงตามงวดทุกครั้ง ทางสถาบันการเงินก็จะมีความเชื่อมั่นเพิ่มขึ้นว่าถ้าให้สินเชื่อเราแล้ว เราจะสามารถผ่อนชำระได้ และที่สำคัญควรจะเช็คเครดิตบูโรของตัวเองก่อน หากไม่ทราบสถานะตัวเองในเครดิตบูโรก็ขอตรวจสอบได้เมื่อมีปัญหาจะได้แก้ไขได้นะคะ ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับเงื่อนไขของแต่ละธนาคารหรือสถาบันการเงิน ลองไปดูสามาเหตุที่พบบ่อยๆกันดีกว่าว่ามีอะไรบ้าง


สำหรับสาเหตุที่กู้ซื้อบ้านไม่ผ่าน อาจมีเหตุผลหลายประการ เช่น

      นโยบายการปล่อยสินเชื่อของสถาบันการเงินหรือผู้ประกอบการแต่ละแห่งที่แตกต่างกัน
   
   ภาระหนี้ที่มีอยู่ และความสามารถในการชำระหนี้ของผู้ขอสินเชื่อ
   
   หลักประกันความเสี่ยงของผู้ขอสินเชื่อ เช่น หลักทรัพย์ค้ำประกัน/ผู้ค้ำประกัน
   
   โอกาสในการผิดนัดชำระหนี้มากหรือน้อย
   
   ประวัติการชำระหนี้ที่ผ่านมาของลูกหนี้

การตรวจสอบความสามารถชำระหนี้

crying 1. สำรวจความสามารถในการผ่อนชำระหนี้
        
          ปกติแล้วการผ่อนชำระหนี้ ไม่ควรเกิน 1 ใน 3 ของรายได้ในแต่ละเดือน เช่น ถ้าผู้ขอสินเชื่อมีรายได้ 12,000 บาทต่อเดือน จะสามารถผ่อนหนี้ได้ประมาณ 4,000 บาท


crying 2. ตรวจสอบภาระหนี้เดิมรวมกับหนี้ที่จะขอใหม่ ว่ามีเยอะหรือไม่
        
          โดยนำยอดการผ่อนชำระหนี้เดิมและยอดหนี้ที่จะขอใหม่ต่อเดือนมารวมกัน แล้วดูว่ามีสัดส่วนเกินกว่า 1 ใน 3 ของรายได้ต่อเดือนหรือไม่ 

ตัวอย่าง

          ผู้ขอสินเชื่อต้องการกู้เงิน 100,000 บาท ระยะเวลาชำระหนี้คืน 5 ปี ผ่อนชำระหนี้ (เงินต้นรวมดอกเบี้ย) ประมาณเดือนละ 1,667 บาท นอกจากนี้ ผู้ขอกู้ยังมียอดหนี้เดิมที่ต้องผ่อนชำระต่อเดือนอีก 1,700 บาท ดังนั้นเมื่อคำนวณภาระหนี้ทั้งสิ้นที่ต้องผ่อนต่อเดือนยังไม่เกิน 4,000 บาท ถือว่าผู้ขอกู้ยังมีความสามารถในการชำระหนี้ได้

          อย่างไรก็ดี หากพบว่า รายได้สุทธิของคุณไม่เพียงพอที่จะกู้ คุณอาจจะหา "ผู้กู้ร่วม" มาช่วยทำให้ความสามารถในการผ่อนชำระมีมากขึ้น หรืออาจจะลดภาระหนี้ของคุณ เช่น ไปปิดบัญชีบัตรเครดิต บัญชีเงินกู้สหกรณ์ หรือไม่ก็ลดขนาดและราคาของบ้านลงมาให้สอดคล้องกับความสามารถในการผ่อนชำระ

ปัญหาพื้นฐานที่พบบ่อยๆ

ปัญหาของการมีบัตรเครดิตหลายใบ

          เพราะสิ่งเหล่านี้จะส่งผลให้กำลังซื้อบ้านลดลง เนื่องจากธนาคารจะนำวงเงินจากบัตรเครดิตทุกใบมาคิดรวมเป็นภาระหนี้สิน ถึงแม้ว่าบัตรนั้นจะไม่ได้ใช้ก็ตาม ดังนั้นทางที่ดี เก็บไว้แต่บัตรเครดิตที่จำเป็นๆดีกว่า ใบไหนไม่ใช้ก็ควรปิด เพราะเราจะมีภาระหนี้รวมแล้วได้ไม่เกิน 40% ของรายได้ทั้งหมด
 

ปัญหาจากการผ่อนสินค้าผ่านบัตรเครดิตต่างๆ

          ถ้าบัตรเครดิตถูกใช้ในการผ่อนสินค้า ควรรีบผ่อนให้หมดแล้วปิดทันที เพราะถ้ายังติดผ่อนบัตรอยู่ ก็จะถูกนำมาคิดรวมเวลาพิจารณาสินเชื่อด้วยเช่นกัน
 

ปัญหาไม่ตรวจเช็คเครดิตบูโร

          เมื่อเรายื่นกู้ทางธนาคารจะเช็คประวัติเครดิตบูโรทันที ซึ่งเครดิตบูโรจะเก็บรวบรวมข้อมูลการชำระสินเชื่อหรือบัตรเครดิตทั้งยอดคงค้าง และการผิดประวัติชำระหนี้ ทางที่ดีควรเช็คก่อนยื่นกู้จะดีกว่า
 

ปัญหาติดผ่อนรถยนต์คันแรก

          ส่วนใหญ่แล้วปัญหาของการกู้ไม่ผ่านคือ ผู้กู้มีภาระผ่อนรถยนต์คันแรกอยู่ ดังนั้นก่อนยื่นกู้ควร Pre-approve กับสถาบันการเงิน ว่าเรายังมีความสามารถในการชำหระหนี้ได้อีกหรือเปล่า
 

ปัญหาการไม่ออมเงิน

          การออมเงินเป็นการสร้างเครดิตที่ดีให้กับตัวเอง เพื่อที่ทางธนาคารจะมั่นใจได้ว่าเรามีวินัยทางการเงิน ดังนั้นใน บัญชีควรจะมีเงินออมเป็นบัญชีฝากประจำประมาณ 1-2 ปี
 

ปัญหาของผู้กู้ร่วม

          ถ้าคิดจะหาผู้กู้ร่วมควรจะหาผู้กู้ร่วมที่มีเครดิตดีๆ มีอาชีพมั่นคง เช่น ข้าราชการ , พนักงานรัฐวิสาหกิจ , แพทย์ , อัยการ ทำให้เรามีโอกาสได้รับสินเชื่อได้ง่ายมากขึ้น


ปัญหาการเลือกซื้อที่อยู่อาศัยไม่เหมาะกับกำลังซื้อ

          ซึ่งการเลือกซื้อบ้านเราควรจะดูด้วยว่า มีความสามารถในการชำระหนี้ได้แค่ไหน ไม่ใช่ซื้อบ้านตามความอยากได้ เพราะถ้าผ่อนไม่ไหวจะเป็นปัญหาใหญ่ตามมาอีก

มีหนี้บัตรเครดิตอยู่ สามารถขอกู้สินเชื่ออื่นได้อีกหรือไม่

          ถ้าหากคุณชำระค่าบัตรเครดิตตรงเวลาสม่ำเสมอ ย่อมไม่มีปัญหา ส่วนใหญ่จะพิจารณาอนุมัติให้ แต่ก็ควรที่จะเคลียร์หนี้ต่างๆ ให้หมดหรือให้อยู่ในระดับที่ไม่เป็นอุปสรรคต่อการพิจารณาขอสินเชื่อ เพราะทุกสถาบันการเงินจะดูประวัติการชำระหนี้ที่ผ่านมาของเราด้วย 

          ซึ่งถึงแม้เราจะมีภาระสินเชื่ออยู่ แต่ถ้ามีประวัติการผ่อนชำระที่ดี ตรงตามงวดทุกครั้ง ทางสถาบันการเงินก็จะมีความเชื่อมั่นเพิ่มขึ้นว่าถ้าให้สินเชื่อเราแล้ว เราจะสามารถผ่อนชำระได้ และที่สำคัญควรจะเช็คเครดิตบูโรของตัวเองก่อน หากไม่ทราบสถานะตัวเองในเครดิตบูโรก็ขอตรวจสอบได้เมื่อมีปัญหาจะได้แก้ไขได้นะคะ ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับเงื่อนไขของแต่ละธนาคารหรือสถาบันการเงิน

 

วิธีการจัดการกับหนี้บัตรเครดิต

mail “หยุดจ่ายขั้นต่ำ”

          การจ่ายขั้นต่ำเป็นต้นเหตุแห่งมูลหนี้ทุกคนอาจไม่คาดคิดว่ามันจะร้ายแรงขนาดนี้ เพราะหากเราจ่ายเงินเต็มจำนวนเวลาที่บิลเรียกเก็บเงินจากการใช้จ่ายผ่านบัตรเครดิตส่งมาถึงเรา เราจะไม่เสียดอกเบี้ยจากการที่มีเงินคงค้างกับทางบริษัทบัตรเครดิต หากเราเลือกที่จะจ่ายขั้นต่ำ บริษัทบัตรเครดิตจะเริ่มคิด “ดอกเบี้ยรายวัน” กับเราทันที ดอกเบี้ยรายวันเป็นจุดเริ่มต้นของบาดแผลที่จะทำให้เลือดเราไหลไม่หยุด ดังนั้นต้องรีบปิดบาดแผลทางการเงินด้วยการหยุดจ่ายขั้นต่ำ และพยายามชำระหนี้สินที่มันงอกเงยออกมาให้หมดในเร็ววัน

mail​ “ทยอยชำระหนี้”

          เมื่อเราได้เริ่มต้นด้วยการหยุดจ่ายขั้นต่ำแล้ว ขั้นตอนต่อมาก็คือ เราต้องทยอยชำระหนี้สินคงค้างให้หมด ด้วยการพยายามลดค่าใช้จ่ายที่ไม่จำเป็น และนำเงินที่เราไม่ได้ใช้จ่ายกับสิ่งที่เกินจำเป็นมาชำระหนี้ ทยอยชำระให้หมดโดยเร็ว และต้องอดทนอย่าก่อหนี้ใหม่ๆ เพิ่มขึ้นมาอีก

mail​ “ซื้อด้วยเงินสด”

          หลายคนอาจจะติดใจการซื้อของ ซื้อสินค้า บริการ จ่ายค่าอาหารตามร้านอาหารด้วยบัตรเครดิต หากเราสามารถบริหารจัดการเงินที่ต้องจ่ายตอนบิลเรียกเก็บเงินมาด้วยเงินสด แบบนี้ก็ไม่มีปัญหา แต่หากเราเริ่มมีปัญหาติดขัด ต้องจ่ายขั้นต่ำแล้ว แบบนี้ครั้งต่อๆ ไปในการซื้อสินค้าบริการควรจ่ายด้วยเงินสด เวลาที่เราจ่ายด้วยเงินสดๆ เงินในกระเป๋าของเราจะลดไปทันที ทำให้เราสะดุดใจ และไม่กล้าจับจ่ายมากเกินจำนวนเงินที่เราหามาได้ เมื่อเราเริ่มซื้อของด้วยเงินสด เราจะสังเกตเห็นความเปลี่ยนแปลง บิลที่ต้องจ่ายปลายเดือนจะน้อยลง วิธีการนี้ถือเป็นยาสมานแผลชั้นดีที่จะไม่ทำให้เราเพลิดเพลินกับการจ่ายด้วยเครดิตมากจนเกินไป

mail​ “ทำบัญชีจับจ่ายส่วนบุคคล”

          การทำบัญชีจับจ่ายบุคคลจะช่วยให้เรา “มองเห็นปัญหา” ก่อนที่ปัญหาจะเกิดขึ้น วิธีการทำบัญชีจับจ่ายส่วนบุคคลแบบง่ายๆ ก็คือการบันทึกรายรับ รายจ่าย แบบง่ายๆ ด้วยการเก็บบิลค่าใช้จ่ายในแต่ละเดือนเอาไว้ และมาบันทึกเมื่อสิ้นสุดเดือน หากเรามีรายรับทางเดียวก็คือเงินจากงานประจำเราก็สามารถบันทึกเอาไว้ในส่วนของ “รายรับ” และเราควรแยกส่วนของรายจ่ายหลักๆ จะเป็น ค่ากิน ค่าที่พัก (ค่าบ้าน) ค่าเดินทาง และค่าท่องเที่ยว ทำแบบนี้เราจะมองเห็นชัดเจนว่าเราหมดค่าใช้จ่ายไปกับอะไรบ้าง และสามารถวางแผนตัดค่าใช้จ่ายที่ไม่จำเป็นออกไปได้

mail​ “วางแผนทางการเงินส่วนบุคคล”

          หลังจากที่เราเริ่มปิดปากแผลทางการเงิน หยุดจ่ายขั้นต่ำ ทยอยชำระหนี้ หยุดเลือดที่กำลังไหลได้สำเร็จ และเริ่มทำบัญชีส่วนบุคคล การป้องกันไม่ให้เกิดบาดแผลทางการเงินก็เป็นสิ่งที่เราไม่ควรมองข้ามนะ การป้องกันไม่ให้เกิดแผลอีกเราต้อง “วางแผนทางการเงินส่วนบุคคล” การวางแผนการเงินส่วนบุคคลนั้นไม่ยาก เราควรแบ่งเงินที่เป็นรายได้ของเราออกเป็นส่วนๆ ได้แก่ เงินใช้จ่าย กับ เงินเก็บออม และแบ่งเงินเก็บออมเป็นเงินสำรองที่ต้องฝากธนาคารเอาไว้ห้ามนำออกมาใช้ กับเงินอีกส่วนที่เก็บออมเพื่อไปลงทุนต่อยอดให้งอกเงย ทำได้แบบนี้ “หนี้สินกวนใจ” ก็จะหายไปไม่กลับมาหาเราอีกเลย

mail​ “รักษาวินัยทางการเงินอย่างเคร่งครัด”

          เมื่อเราทำทุกขั้นตอนมาจนถึงขั้นตอนสุดท้ายแล้ว ชีวิตทางการเงินของเราจะเริ่มดีขึ้นเรื่อยๆ บาดแผลเริ่มสมานกัน เลือดหยุดไหลแล้ว แต่ทุกสิ่งทุกอย่างที่ทำมาจะหมดความหมายทันทีหากเรากลับไปก่อหนี้สินใหม่ๆ อีก ปากแผลจะถูกเปิดออก เลือดจะกลับมาไหลอีกครั้ง ดังนั้นเราต้องรักษาวินัยทางการเงินอย่างเคร่งครัด ในขั้นตอนสุดท้ายนี้ถือว่า “สำคัญที่สุด” หากเราไม่อยากกลับไปเป็นหนี้อีกอย่าลืม “รักษาวินัยทางการเงินอย่างเคร่งครัด” นะ

 

การพิจารณาให้สินเชื่อของสถาบันการเงิน จะมีเกณฑ์การพิจารณา

crying 1. ความสามารถในการชำระหนี้

          ทางสถาบันการเงินจะวิเคราะห์ว่า เราจะสามารถชำระหนี้ได้หรือไม่ โดยจะพิจารณาจากรายได้ของผู้กู้และหรือผู้กู้ร่วมเป็นหลัก ซึ่งจะพิจารณาให้กู้ประมาณ 30-40 เท่าของรายได้ วงเงินที่ให้จะมากหรือน้อยขึ้นอยู่กับความมั่นคงของอาชีพ และรายได้ด้วย เช่น หากเป็นข้าราชการ พนักงานรัฐวิสาหกิจ หรือลูกจ้างบริษัทเอกชนที่มีกิจการมั่นคงก็จะได้รับการอนุมัติเงินกู้สูงถึง 40 เท่าของเงินเดือน นอกจากนี้ธนาคารยังพิจาณาเรื่อง สัดส่วนเงินงวดต่อรายได้สุทธิประกอบด้วย คือต้องไม่เกิน 33% ธนาคารจะให้กู้ในอัตราที่เงินผ่อนต่อเดือนไม่เกิน 33% ต่อรายได้สุทธิต่อเดือน
 

crying 2. พิจารณาจากหลักประกันเงินกู้

          ทางสถาบันการเงินจะนำหลักประกันเงินกู้มาวิเคราะห์ทรัพย์สินที่นำมาเป็นหลักประกันด้วย โดยจะมีการพิจารณาใน 2 ประเด็น คือ ความเหมาะสมของหลักประกันและมูลค่าของหลักประกัน ซึ่งทางสถาบันการเงินจะใช้ประกอบการพิจารณาถึงความเสี่ยงที่เกิดขึ้นหากปล่อยเงินกู้ไปแล้ว
 

crying 3. คุณสมบัติอื่นของผู้กู้

          นอกจากสถาบันการเงินจะวิเคราะห์เงื่อนไขการอนุมัติให้กู้จากรายได้ และหลักประกันเงินกู้ที่วางไว้แล้ว ก็อาจใช้คุณสมบัติอื่นของผู้กู้ประกอบการพิจารณาด้วย เช่น อายุของผู้กู้ ซึ่งหากนำมารวมกับจำนวนปีที่ขอกู้แล้วจะต้องไม่เกิน 70 ปี และผู้กู้ร่วมที่ไม่ใช่คู่สมรส บิดามารดา พี่น้อง หรือบุตรแล้ว จะมีผู้กู้ร่วมอื่นได้อีกไม่เกิน 1 คน ซึ่งจะต้องถือกรรมสิทธิ์ร่วมในทรัพย์ที่จำนองด้วย โดยการกู้ร่วมก็เป็นอีกวิธีที่ทำให้เรามีความสามารถในการขอสินเชื่อเพิ่มขึ้นได้ ซึ่งถึงแม้เราจะมีภาระผ่อนสินเชื่ออื่นๆ อยู่ แต่ถ้าเราหาผู้มากู้ร่วมที่มีประวัติการขอสินเชื่อยังไม่เคยมีหนี้มาก่อนก็จะทำให้เครดิตเราดีขึ้นได้นะคะ

  • เปิดเงื่อนไข ออมสิน ปล่อยกู้ 5 หมื่น รอบ2 ชี้ กู้ 1 หมื่น ไม้ต้องค่ำประกัน
  • สินเชื่อบ้านธนาคารออมสิน การขอสินเชื่อบ้าน
  • ขอสินเชื่อบ้าน มี 4 เรื่องหลักที่ทำให้โดนธนาคารปฏิเสธการให้สินเชื่อ
  • กู้ซื้อบ้านจะผ่านรึเปล่า ! ผ่อนต่อจะรอดไหม !
  • ใครมีหนี้ "กู้บ้าน-รถ-บัตรเครดิต" ต้องรู้ แบงก์ชาติ ชี้เป้าพักหนี้ ทุกธนาคาร
  • การขอสินเชื่อบ้านกรุงศรีฯ เพื่อซื้อคอนโดมิเนียม ดูข้อมูลก่อนการตัดสินใจ
  • พบกับ สินเชื่อดีๆจาก กรุงศรีโฮมฟอร์แคช "เปลี่ยนบ้านเป็นเงิน"
  • "สินเชื่อวิมานเมฆ" จาก ธอส. กับ 6 เหตุผลดีๆ สำหรับคนอยากมีบ้าน
  • Did you know สินเชื่อบ้านแลกเงิน สำคัญอย่างไร?
  • 3 เรื่องต้องรู้ ก่อนรีไฟแนนซ์บ้าน แนะสูตรคำนวณแบบประหยัดดอกเบี้ย หนีดอกเบี้ยสุดโหด
  • สินเชื่อ SME ต่อยอดธุรกิจ กู้เงินเปิดร้าน วงเงินกู้ 3 เท่า สูงสุด 20 ล้าน
  • สินเชื่อบ้าน รีไฟแนนซ์ จากธนาคารกรุงไทย ตัวช่วยของคนอยากมีบ้าน
  • ผ่อนบ้านจัดเต็มกับกรุงไทย ผ่อนนาน 40 ปี ดอกเบี้ยคงที่ 6 เดือน
  • ออมสินให้วงเงินกู้สูงสุด 3 ล้าน ใช้เป็นเงินทุนร้านสำหรับพ่อค้าแม่ขาย อาชีพอิสระ ผ่อนยาว 10 ปี
  • สมัครกู้เงินออนไลน์? ออมสินให้กู้ด่วน 200,000 บาท จริงหรือไม่
  • สินเชื่อซื้อบ้าน ไม่ผ่าน!! สาเหตุใดบ้างที่มักจะเป็นคำตอบจากธนาคาร

    ความฝันสูงสุดของมนุษย์เงินเดือนทั้งหลาย หรือผู้ที่ทำอาชีพอิสระหลายๆคน นั้นก็คือ อยากมีบ้านเป็นของตนเองสักหลัง ไม่ว่าจะเป็นหลังเล็ก หลังใหญ่ หรือแม้แต่คอนโดห้องหนึ่งก็ได้ ซึ่งหนึ่งในวิธีทำให้ฝันเป็นจริงก็คือ การกู้ซื้อบ้านกับสถาบันการเงินนั่นเอง เพราะเหตุใดบางคนให้ข้อมูลครบถ้วนหมดแล้ว ประวัติหนี้เสียไม่มี แต่กลับขอสินเชื่อไม่ผ่านซะอย่างนั้น แล้วทำอย่างไรจึงจะผ่าน มีขั้นตอนไหนที่ต้องแก้ไข หรือมีอะไรบ้างที่ต้องเตรียมพร้อมก่อนการของยื่นสินเชื่อบ้าน

    © สงวนลิขสิทธิ์ 2567 บริษัท ไทยโฮมทาวน์ จำกัด
    @thaihometown Scroll