สินเชื่อที่อยู่อาศัย

รีไฟแนนซ์บ้าน มีที่มาเริ่มต้นจากการที่เรากู้ยืมเงินกับธนาคารเพื่อซื้อทรัพย์สินในที่นี้คือบ้านและ เรามีสัญญาผูกพันกับธนาคารว่าต้องผ่อนชำระหนี้ดังกล่าวให้หมดภายในกี่ปี โดยสัญญาดังกล่าวมีหลักทรัพย์กรณีนี้คือบ้านเป็นหลักทรัพย์ค้ำประกันๆแต่ละธนาคารก็จะมีอัตราดอกเบี้ยให้กับลูกค้าในตอนเริ่มต้นขอใช้บริการซึ่งส่วนใหญ่ จะล่อใจให้ลูกค้าเข้ามาใช้บริการสินเชื่อบ้าน ด้วยอัตราดอกเบี้ยต่ำ ๆในปี ที่ 1-3 โดยหลังจากนั้นก็จะเป็นดอกเบี้ยแบบลอยตัว หรือ MLR- แล้วแต่กรณี เนื่องจากธนาคารมีต้นทุน ไม่สามารถจะให้อัตราดอกเบี้ยต่ำ ไปตลอดอายุสัญญาได้

ประกาศอสังหาริมทรัพย์ใหม่ บ้าน บ้าน รายการล่าสุด บ้านเดี่ยว บ้านเดี่ยว รายการล่าสุด ทาวน์เฮ้าส์ ทาวน์เฮ้าส์ รายการล่าสุด ทาวน์โฮม ทาวน์โฮม รายการล่าสุด คอนโด คอนโด รายการล่าสุด อาคารพาณิชย์ อาคารพาณิชย์ รายการล่าสุด อพาร์ทเม้นท์ อพาร์ทเม้นท์ รายการล่าสุด สำนักงาน สำนักงาน รายการล่าสุด โฮมออฟฟิศ โฮมออฟฟิศ รายการล่าสุด ธุรกิจ ธุรกิจ รายการล่าสุด โรงงาน โรงงาน รายการล่าสุด คลังสินค้า คลังสินค้า รายการล่าสุด โกดัง โกดัง รายการล่าสุด ที่ดิน ที่ดิน รายการล่าสุด ลงประกาศฟรี ผู้รับเหมา รายการล่าสุด ผู้รับเหมา ลงประกาศฟรี ผู้รับเหมา ข่าวประชาสัมพันธ์ รายการล่าสุด ข่าวประชาสัมพันธ์ พรีวิวโครงการใหม่ รายการล่าสุด พรีวิวโครงการใหม่ ตกแต่งที่อยู่อาศัย รายการล่าสุด ตกแต่งที่อยู่อาศัย สาระควรรู้ ที่อยู่อาศัย รายการล่าสุด สาระควรรู้ ที่อยู่อาศัย ฮวงจุ้ย ที่อยู่อาศัย รายการล่าสุด ฮวงจุ้ย ที่อยู่อาศัย สินเชื่อ ที่อยู่อาศัย รายการล่าสุด สินเชื่อ ที่อยู่อาศัย SME รายการล่าสุด SME สถานที่ท่องเที่ยว รายการล่าสุด สถานที่ท่องเที่ยว

รีไฟแนนซ์บ้าน อย่าเชื่อ! ข้อมูลจากธนาคารทั้งหมด ต้องคำนวณให้ดีเพื่อให้มีเงินเหลือ

รีไฟแนนซ์บ้านคืออะไร ?

รีไฟแนนซ์บ้าน มีที่มาเริ่มต้นจากการที่เรากู้ยืมเงินกับธนาคารเพื่อซื้อทรัพย์สินในที่นี้คือบ้านและ เรามีสัญญาผูกพันกับธนาคารว่าต้องผ่อนชำระหนี้ดังกล่าวให้หมดภายในกี่ปี โดยสัญญาดังกล่าวมีหลักทรัพย์กรณีนี้คือบ้านเป็นหลักทรัพย์ค้ำประกันๆแต่ละธนาคารก็จะมีอัตราดอกเบี้ยให้กับลูกค้าในตอนเริ่มต้นขอใช้บริการซึ่งส่วนใหญ่ จะล่อใจให้ลูกค้าเข้ามาใช้บริการสินเชื่อบ้าน ด้วยอัตราดอกเบี้ยต่ำ ๆในปี ที่ 1-3 โดยหลังจากนั้นก็จะเป็นดอกเบี้ยแบบลอยตัว หรือ MLR- แล้วแต่กรณี เนื่องจากธนาคารมีต้นทุน ไม่สามารถจะให้อัตราดอกเบี้ยต่ำ ไปตลอดอายุสัญญาได้


ดังนั้นเมื่อสิ้นระยะของดอกเบี้ยโปรโมชั่น และเข้าสู่ดอกเบี้ยในอัตราปกติ จะทำให้เราต้องมีภาระผ่อนชำระสูงขึ้นบางครั้งสูงขึ้น 1-2% (เช่นวงเงินกู้ 3 ล้านบาท 2% ต่อปีก็คือ 60,000 บาท หรือคิดเป็นภาระผ่อนชำระเพิ่มขึ้นถึง 5,000 บาท/เดือน) เป็นภาระของผู้ผ่อนชำระ หนทางที่จะแก้ปัญหานี้คือ ย้ายธนาคารไปสู่ธนาคารที่มีดอกเบี้ยต่ำ เหมือนน้ำที่ไหลจากที่สูงสู่ที่ต่ำ ดอกเบี้ยต่ำอยู่ไหนก็จะไหลกันไปทางนั้น การย้ายวงเงินผ่อนชำระนี้เองเรียกว่าการ รี ("ทำซ้ำ")ไฟแนนซ์("การเงิน") คือการรีไฟแนนซ์ (Refinance) นั่นเอง 

นอกจากการสินเชื่อบ้านแบบย้ายธนาคาร (รีไฟแนนซ์) แล้วยังมีสินเชื่อบ้านสำหรับคนมีบ้านแบบใดอีกบ้าง สินเชื่อที่เกี่ยวกับบ้านมีสองลักษณะคือสินเชื่อสำหรับผู้ที่มีบ้านแล้ว และสินเชื่อสำหรับคนที่ยังไม่มีบ้าน 

ซึ่งประกอบด้วยสินเชื่อดังต่อไปนี้คือ 

 1. กรณีต้องการซื้อบ้านใหม่ 
     - สินเชื่อสำหรับซื้อบ้านใหม่ (จากโครงการหรือไม่ใช่โครงการแต่ต้องเป็นบ้านสร้างใหม่) 
     - สินเชื่อสำหรับปลูกสร้างบ้านบนที่ดินเปล่า

 2. กรณีต้องการซื้อบ้านมือสอง
     - สินเชื่ือสำหรับซื้อบ้านมือสอง
     - สินเชื่ือสำหรับซื้อบ้านมือสองพร้อมก่อสร้างหรือตกแต่้งเพิ่มเติม

3. กรณีมีบ้านอยู่แล้ว(ยังมีภาระผ่อนชำระ)
     - รีไฟแนนซ์บ้านหลังเดิม(ย้่ายธนาคารไม่มีกู้เพิ่ม)
     - รีไฟแนนซ์บ้านหลังเดิมพร้อมกู้เพิ่ม(ย้่ายธนาคารมีกู้เพิ่ม)
     - กู้เพิ่มจากธนาคารเดิมเพื่ออุปโภคบริโภค(ไม่ย้ายธนาคาร)

 4. กรณีมีบ้านอยู่แล้ว(ปลอดภาระผ่อนชำระ)
     - บ้านปลอดภาระแล้วนำไปค้ำประกันเงินกู้(รีไฟแนนซ์)เพื่อการอุปโภคบริโภค ( Cash To Home )

 

จุดประสงค์ในการรีไฟแนนซ์บ้าน

จุดประสงค์ในการรีไฟแนนซ์บ้านเป็นไปในสามลักษณะคือ

1. กรณียังผ่อนชำระรีไฟแนนซ์บ้านเืพื่อให้มีภาระผ่อนชำระน้อยลง (ไม่กู้เพิ่ม) หลังจากที่ครบ วาระดอกเบี้ยโปรโมชั่น อาจจะ 1 หรือ 3 ปี แล้วแต่โปรโมชั่นที่คุณรับมาจากธนาคาร เพราะหลังจากนั้นอัตราดอกเบี้ยมักเป็นไปในลักษณะลอยตัว (MLR) หรือ ลอยตัวแล้วมีส่วนลด คือ MLR- ซึง MLR แต่ละธนาคารก็จะไม่เ่ท่ากัน ผู้ที่ต้องการจะรีไฟแนนซ์ก็ต้องมาตรวจสอบดูส่วนต่าง ระหว่างการใช้ดอกเบี้ยอยู่กับธนาคารเดิม กับ ค่าใช้จ่ายหลังจากรีไฟแนนซ์ไปยังธนาคารใหม่ว่ามีส่วนลดให้มากพอที่จะทำเรื่องไฟแนนซ์ไปหรือไม่ซึ่งทุกปี แต่ละธนาคารก็จะแ้ข่งขันกันออกโปรโมชั่นดอกเบี้ย ดึงลูกค้ากันเอง เราก็ต้องมาคอยตรวจสอบว่าที่ไหนดี่ที่สุด เทียบกับที่เราใช้อยู่ บวกลบ แล้วมีกำไรคุ้มค่าก็ดำเนินการย้ายไปได้เลย 

2. กรณียังผ่อนชำระรีไฟแนนซ์บ้านเพื่อนำส่วนต่างออกมาใช้จ่าย(กู้เพิ่มจากวงเงินเดิม) แบบที่สอง อาจจะทำให้ภาระผ่อนชำระในส่วนของบ้านเพิ่มขึ้น แต่ก็เป็นแนวทางในการหาเงินทุนหมุนเวียน ในกิจการของคุณ หรือ ่ถ้ากรณีคุณนำส่วนต่างที่ได้จากการรีไฟแนนซ์บ้านไปชำระหนี้ในส่วนอื่น เช่น ไปปิดบัตรเครดิตซึี่งอัตราดอกเบี้ยกว่า 25-28% เทียบกับดอกเบี้ยบ้านทถูกกว่า ก็เป็นแนวทางที่น่าสนใจ (แต่คงไม่มีวิธีใดดีไปกว่าไม่เป็นหนี้บัตรเครดิต(ซึ่งดอกเบี้ยแพงที่สุดในระบบ)เลย ) 

3. คือกรณีบ้านไม่มีภาระแ้ล้ว รีไฟแนนซ์บ้านวิธีนี้จะได้ต้นทุนถูกที่สุด ประมาณ 4-5% แตกต่างจากกรณีเรามีภาระผ่อนชำระอยู่แล้วขอกู้เพิ่ม ส่วนกู้เพิ่มมักถูกคิดอัตราดอกเบี้ยอุปโภคบริโภค ซึ่งอยู่ประมาณ 12-15%

ขั้นตอนการรีไฟแนนซ์บ้าน

จะเริ่มต้นอย่างไร

1. กรณียังผ่อนชำระต้องการรีไฟแนนซ์บ้านเืพื่อให้มีภาระผ่อนชำระน้อยลง (ไม่กู้เพิ่ม)
กรณีนี้ท่านเพียงตรวจสอบกับธนาคารว่าที่ใดให้ อัตราดอกเบี้ยต่ำที่สุด ในเงื่อนไขที่ดีที่สุด ก็ยื่นเอกสารกับธนาคารนั้นได้เลย 

2. กรณียังผ่อนชำระรีไฟแนนซ์บ้านเพื่อนำส่วนต่างออกมาใช้จ่าย(กู้เพิ่มจากวงเงินเดิม)


กรณีนี้ท่านมีภาระต้องดำเนินการอย่างน้อยสองประการคือ

1. ตรวจสอบอัตราดอกเบี้ยและ เงื่อนไขที่ดีที่สุด จากธนาคาร 
2. ยื่นเอกสารกับธนาคารเป้าหมายอย่างน้อย 3 แห่งขึ้นไปหรือมากกว่า
3. เลื่อกเอาธนาคารที่ให้วงเงินสูงที่สุด


ทำไมต้องยื่นหลายธนาคาร

สมมติว่าธนาคารที่ท่านยื่น ให้เงื่อนไขว่าให้กู้ยืมได้ ไม่เกิน 110%ของราคาประเมิน ปัญหาคือ แต่ละธนาคารมีการประเมินราคาหลักทรัพย์แตกต่างกันเนื่องจากใช้บริษัทประเมินราคาคนละบริษัท ดังนั้น ราคาตั้งตั้นที่จะใช้คิดก็แตกต่างกัน (จากประสบการณ์ผู้เขียนเคยยื่นพร้อมกันประมาณ 5 ธนาคาร ผลลัพท์คือ ราคาประเมินธนาคารที่สูงที่สุดกับต่ำที่สุดแตกต่้างกันเกือบ 20%) นั่นจึงเป็นเหตุผลว่าทำไมต้องยื่นหลายๆ ที่ พร้อม ๆ กัน
 

เกี่ยวกับบริษัทประเมินราคาบ้าน ใครเป็นผู้ประเมินราคาทรัพย์สินของท่าน

คำตอบคือบางธนาคารใช้ บริษัทประเมินราคาทรัพย์สินที่ได้รับความเห็นชอบจาก กลต (สำนักงานคณะกรรมการกำกับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์) บางธนาคารใช้บริษัทประเมินราคาซึ่งเป็นบริษัทลูกของธนาคาร
 

รีไฟแนนซ์จะได้วงเงินเท่าไร

ท่านจะทราบต่อเมื่อบริษัทประเมินราคาได้ทำการประเมินราคาทรัพย์สินของท่านแล้วโดยทั่วไปใช้เวลาประมาณ 7-15 วันนับแต่วันที่ท่านยื่น ขอรีไฟแนนซ์

"ค่าใช้จ่ายในการประเมินราคาทรัพย์สินประมาณ 2,500 บาท แล้วแต่ๆ ละธนาคาร"

เอกสารในการยื่นรีไฟแนนซ์บ้าน

1. สำเนาบัตรประชาชน/รัฐวิสาหกิจ/ข้าราชการพร้อมฉบับจริง
2. สำเนาทะเบียนบ้าน ทุกหน้า ทุกคนพร้อมฉบับจริง
3. สำเนาทะเบียนสมรส/ใบหย่า/ในมรณะบัตร/ใบแจ้งความแยกกันอยู่ พร้อมฉบับจริง
4. สำเนาบัตรประชาชนและสำเนาทะเบียนบ้านของคู่สมรสพร้อมฉบับจริง
5. สำเนาใบเปลี่ยนชื่อ-นามสกุล(ถ้ามี)พร้อมฉบับจริง
6. ใบรับรองเงินเดือน (ฉบับจริง) หรือ หนังสือผ่านสิทธิสวัสดิการข้อตกลง (ฉบับจริง)
7. สลิปเงินเดือนหรือหลักฐานการรับรองเงินเดือนปัจจุบัน 3 เดือน ย้อนหลัง(ฉบับจริง )
8. สำเนาบัญชีเงินฝากแสดงรายการย้อนหลัง 6 เดือน หลักฐานแสดงฐานะการเงินอื่น ๆ พร้อมฉบับจริง หรือ Statement พร้อมรับรอง
9. สำเนาทะเบียนการค้า/ทะเบียนบริษัท/ห้างหุ้นส่วนฯ(ภงต.90, 91, ทวิ 50, หนังสือหักภาษี ณ ที่จ่าย) *กรณีประกอบธุรกิจ
10. หลักฐานการเสียภาษีเงินได้พร้อมใบเสร็จตัวจริงจากกรมสรรพากร ย้อนหลัง 6 เดือน *กรณีประกอบธุรกิจ
11. รูปถ่ายกิจการ จำนวน 3-4 รูป *กรณีประกอบธุรกิจ
12. สำเนาในประกอบวิชาชีพ, ในอนุญาตประกอบการ *กรณีประกอบอาชีพส่วนตัว
13. ใบเสร็จการผ่อนชำระย้อนหลัง 24 เดือน(กรณีไถ่ถอน)
14.  สำเนาโฉนดที่ดิน/นส.3ก/หนังสือกรรมสิทธิ์ห้องชุด/อช.2(2ชุด) พร้อมรับรองจาก สนง.ที่ดิน


ปัญหาเกี่ยวกับการยื่นกู้ และ ตัวผู้ยื่นกู้

ถาม : สมมติผ่อนชำระประมาณเดือนละ 10,000 บาทผุ้กู้ต้องมีรายได้อย่างน้อยเท่าไร
ตอบ : มือหักภาระผ่อนชำระทุกอย่างแล้ว ผู้กู้ควรจะมีเงินเหลืออย่างน้อย 30% ของยอดผ่อนชำระ

ถาม : รายได้คนเดียวไม่พอกู้ ทำอย่างไร
ตอบ : กู้ร่วมได้ครับ พ่อ แม่ พี่น้อง สามีภรรยา ครับ( หากเป็นกรณีซื้อรถกู้ร่วมได้เฉพาะ พ่อแม่ สามีภรรยา )

ประกันประเภทต่างๆที่ขายควบคู่กับสินเชื่อบ้าน

1. อัคคีภัย เป็นความคุ้มครองพื้นฐานของลูกค้าสินเชื่อบ้าน
2. คุ้มครองวงเงินกู้ คือประกันชีวิตที่คุ้มครองลูกค้าธนาคารกรณีเสียชีวิต หรือ ทุพพลภาพ บริษัทประกันจะเป็นผู้ปลดภาระหนี้นั้นๆ
3. คุ้มครองการชดเชยรายได้ เป็นความคุ้มครองเพิ่มเติมชดเชยรายได้ให้แก่ผู้กู้กรณีไม่เสียชีวิตแต่ต้องหยุดทำงาน
4. คุ้มครองการว่างงาน คุ้มครองทั้งกรณีว่างงานและเสียชีวิต

 

ยอดผ่อนชำระต่อเดือน และ ต้องมีรายได้เท่าไรจึงจะกู้ได้

วิธีคิดค่าผ่อนชำระต่อเดือน

สมมติว่า บ้านราคา 1,000,000 บาท ผ่อนชำระ 30 ปี ดอกเบี้ย 6.5% / ปี
1. คิดดอกเบี้ยต่อเดือน = 1,000,000 x 6.5%=65,000 บาท / ปี หรือ เท่ากับ 65,000 / 12 = 5,416 บาท / เดือน
2. คิดเงินต้นต่อเดือน = 1,000,000/30 ปี = 33,333 / ปี หรือ 33,333 / 12 =2,777 / เดือน
3. รวมอัตราผ่อนชำระต่อเดือน = 5,416+2,777= 8,193 / เดือน
4. ผู้กู้ต้องมีเงินเหลืออย่างน้อย 30% หลังจากผ่อนชำระบ้านดังนั้นต้องมีรายได้อย่างน้อย = (8,193 x 30%= 2,457)+8,193= 10,650 บาท

คิดง่าย ๆก็ประมาณ 100 เท่าของรายได้ต่อเดือน ครับผม นั่นคือ เงินเดือน10,000 บาท กู้ซื้อบ้านราคา 1,000,000 บาทได้ครับ 

ประโยชน์ของการรีไฟแนน์บ้าน

1. ทำให้เราได้ดอกเบี้ยที่ถูกลงนั่นลง ภาระผ่อนชำระน้อยลง
2. กรณีที่รีไฟแนนซ์บ้านเพื่อต้องการเงินส่วนต่าง สามารถนำเงินส่วนต่างไปหมุนเวียนใช้จ่ายหรือหมุนเวียนในธุรกิจ
3. ในภาวะดอกเบี้ยสูง สามารถรีไฟแนนซ์ไปแบบดอกเบี้ยคงที่ตลอดอายุสัญญาป้องกันความเสี่ยงเรื่องอัตราดอกเบี้ยที่ควบคุมไม่ได้


ข้อควรระวังในการรีไฟแนนซ์บ้าน

1. ควรคำนวนค่าใช้จ่ายทั้งหมดในการรีไฟแนนซ์ให้ดี ฉะนั้นการรีไฟแนนซ์อาจจะไม่คุ้มค่า
2. MLR แต่ละธนาคารไม่เท่ากัน การเปรียบเทียบดอกเบี้ยหลังหมดโปรโมชั่นเช่น MLR-1 ของแต่ละธนาคารจึงไม่เท่ากัน
3. บางธนาคารท่านสามารถต่อรองดอกเบี้ยหลังหมดโปรโมชั่นได้ นั่นคือท่านอาจจะไม่จำเป็นต้องรีไฟแนนซ์ก็ได้
4. ค่าใช้จ่ายในการรีไฟแนนซ์บางธนาคาร มีโปรโมชั่นเช่น ฟรีจดจำนอง ( แต่จะรวมอยู่ในดอกเบี้ย ) เหมาะสำหรับท่านที่ไม่สะดวกเตรียมค่าจดจำนอง(1%)ในวันที่ต้องโอนกรรมสิทธิ์
5. ประกันภัยประกันชีวิตประเภทต่างๆที่ธนาคารขายคู่กับสินเชื่อเป็นเรื่องที่สามารถต่อรองได้ควรเลือกที่เหมาะสมกับท่าน
6. การรีไฟแนนซ์การระยะดอกเบียโปรโมชั่นปกติจะประมาณ 3%แต่บางธนาคารสูงถึง 5% ท่านต้องตรวจสอบให้ถี่ถ้วนการเลือกใช้

 

สรุปวิธีการที่รีไฟแนนซ์เงินเหลือ

1. ตรวจสอบต้นทุนการรีไฟแนนซ์เช่น ค่าปรับกรณีการรีไฟแนนซ์ก่อนกำหนด (3%) ค่าจำนอง หรือ ค่า ประกันภัยประกันชีวิต
2. ตรวจสอบดอกเบี้ยโปรโมชั่นที่จะย้ายไปใช้บริการว่า อยู่ในอัตราที่ดีที่สุดในระบบหรือไม่
3. ตวจสอบธนาคารดังกล่าวสามารถยื่นกู้ได้เกินกว่า หนี้เดิมหรือไม่ ถ้าได้ๆ มากแค่ไหน อัตราดอกเบี้ยส่วนที่เกินจากหนี้เดิมอยู่อัตราเท่าใด
4. เมื่อทราบต้นทุนแล้ว ก็มาถึงการประเมินราคาสินทรัพย์(บ้าน) ยื่นกู้กับธนาคารที่ ใช้บริการประเมินราคาที่ให้ราคาประเมินทรัพย์สินของท่านอย่างยุติธรรมบางธนาคารใช้บริษัทประเมินของตนเองบางธนาคารใช้ประเมินนอก
5. ทราบต้นทุน ทราบ ราคาประเมิน ทราบเงื่อนไขการยื่นกู้เกินหนี้เดิมแล้ว สิ่งสุดท้ายคือ ความสามารถในการผ่้อนชำระของท่าน รายได้ของท่านต้องเพียงพอที่จะชำระค่าสินเชื่อ ทั้งหมดที่ท่านประสงค์ที่จะยื่นกู้ ทั้งหมดนี้ คือ ส่วนที่ต้องคำนึง ถึง และตรวจสอบอย่างถี่่ถ้วนก่อนการยื่นกู้ก็จะทำให้ท่านได้เงื่อนไขที่ดี และ ได้อัตราดอกเบี้ยเหมาะสม พร้อมกับ วงเงินส่วนเกินทีนำมาหมุนเวียนได้ต่อไป

 

คำแนะนำ

สิ่งสำคัญของการทีี่เราต้องมีภาระหนี้สินในระยะยาวคืออัตราดอกเบี้ย ถ้าดอกเบี้ยของท่านไม่ได้เป็นแบบคงที่ตลอดอายุสัญญาท่านควรจะคอยตรวจสอบอัตราดอกเบี้ยในท้องตลาดอย่างสม่ำเสมอ และควรติดตามแนวโน้มในระยะ 2-3 ปี ว่าอัตราดอกเบี้ยจะเป็นอย่างไร หากมีแนวโน้มสูงขึ้นมากๆ การรีไฟแนนซ์ถึงแม้ต้องมีอัตราค่าปรับในการรีไฟแนนซ์ก่อนกำหนด บางครั้งก็คุ้มค่า

  • หลัก 13 ข้อสำคัญของการยื่นสินเชื่อให้ผ่าน
  • เงินเดือน 15,000 อยากจะผ่อน บ้าน-รถยนต์ ต้องคำนวณอย่างไร จะได้วงเงินเท่าไหร่
  • ขั้นตอนเตรียมตัวเพื่อยื่นขอ สินเชื่อบ้าน ให้โอกาศผ่านมีสูง ต้องทำอย่างไรบ้าง ?
  • สินเชื่อบ้านใหม่ ธนาคารธนชาต บริการที่ให้คุณได้เป็นเจ้าของบ้านคุณภาพในโครงการต่าง ๆ
  • รีไฟแนนซ์ ลดวงเงินผ่อนบ้าน สู้ดอกเบี้ยลอยตัวไม่ไหว
  • บัตรเครดิตเป็นสาเหตุ กู้ซื้อบ้านไม่ผ่าน จริงหรือไม่?
  • สิ่งที่ควรรู้เบื้องต้น หากคิดว่าจะต้องซื้อบ้านเป็นของตัวเอง
  • เทคนิคการขอสินเชื่อบ้าน แบบเข้าใจง่ายๆ ข้อมูลครบช่วยเพิ่มโอกาศให้แบงค์อนุมัติง่ายขึ้น
  • รีไฟแนนซ์บ้าน 2561 ธนาคารไหนดี คุ้มค่าสุด รวมมาให้แล้ว
  • สินเชื่อ SME ต่อยอดธุรกิจ กู้เงินเปิดร้าน วงเงินกู้ 3 เท่า สูงสุด 20 ล้าน
  • สินเชื่อบ้าน รีไฟแนนซ์ จากธนาคารกรุงไทย ตัวช่วยของคนอยากมีบ้าน
  • ผ่อนบ้านจัดเต็มกับกรุงไทย ผ่อนนาน 40 ปี ดอกเบี้ยคงที่ 6 เดือน
  • ออมสินให้วงเงินกู้สูงสุด 3 ล้าน ใช้เป็นเงินทุนร้านสำหรับพ่อค้าแม่ขาย อาชีพอิสระ ผ่อนยาว 10 ปี
  • สมัครกู้เงินออนไลน์? ออมสินให้กู้ด่วน 200,000 บาท จริงหรือไม่
  • ออมสินปรับลดเงินงวด สินเชื่อ "ผ่อนบ้านดี มีเฮ" สำหรับลูกค้าสินเชื่อเคหะปัจจุบัน ถึง 30 ก.ย. นี้
  • รีไฟแนนซ์บ้าน อย่าเชื่อ! ข้อมูลจากธนาคารทั้งหมด ต้องคำนวณให้ดีเพื่อให้มีเงินเหลือ

    รีไฟแนนซ์บ้าน มีที่มาเริ่มต้นจากการที่เรากู้ยืมเงินกับธนาคารเพื่อซื้อทรัพย์สินในที่นี้คือบ้านและ เรามีสัญญาผูกพันกับธนาคารว่าต้องผ่อนชำระหนี้ดังกล่าวให้หมดภายในกี่ปี โดยสัญญาดังกล่าวมีหลักทรัพย์กรณีนี้คือบ้านเป็นหลักทรัพย์ค้ำประกันๆแต่ละธนาคารก็จะมีอัตราดอกเบี้ยให้กับลูกค้าในตอนเริ่มต้นขอใช้บริการซึ่งส่วนใหญ่ จะล่อใจให้ลูกค้าเข้ามาใช้บริการสินเชื่อบ้าน ด้วยอัตราดอกเบี้ยต่ำ ๆในปี ที่ 1-3 โดยหลังจากนั้นก็จะเป็นดอกเบี้ยแบบลอยตัว หรือ MLR- แล้วแต่กรณี เนื่องจากธนาคารมีต้นทุน ไม่สามารถจะให้อัตราดอกเบี้ยต่ำ ไปตลอดอายุสัญญาได้

    © สงวนลิขสิทธิ์ 2567 บริษัท ไทยโฮมทาวน์ จำกัด
    @thaihometown Scroll