สินเชื่อที่อยู่อาศัย

ประเด็นร้อนสัปดาห์นี้ที่ไม่ควรพลาด...กับเรื่องการอนุมัติสินเชื่อกู้บ้านที่เข้มขึ้นของแบงก์ต่างๆ บวกกับเปิดปัญหาที่ทำให้ "กู้ไม่ผ่าน" และแนวทางแก้ไขที่ผู้ประกอบการต้องร่วมมือช่วยผู้ซื้อ พร้อมเผยเกณฑ์ใหม่แบงก์ดู "ความมั่นคงของรายได้ในอนาคต" อุปสรรค์เบรกสินเชื่อบ้าน เรื่องความเข้มงวดในการปล่อยกู้สินเชื่อที่อยู่อาศัยให้กับ "คนซื้อบ้าน" ของบรรดาสถาบันการเงินเป็นประเด็นร้อนแรงมาตั้งแต่เมื่อปีที่ผ่านมา พูดถึงกันหนาหูว่า "แบงก์เข้มมาก มียอดรีเจคเพิ่มขึ้นทุกวัน" บางโครงการมีสูงถึง 25% และคาดว่าจนถึงปีนี้ความเข้มในการสกรีนลูกค้ายังไม่ผ่อนคลายลง

ประกาศอสังหาริมทรัพย์ใหม่ บ้าน บ้าน รายการล่าสุด บ้านเดี่ยว บ้านเดี่ยว รายการล่าสุด ทาวน์เฮ้าส์ ทาวน์เฮ้าส์ รายการล่าสุด ทาวน์โฮม ทาวน์โฮม รายการล่าสุด คอนโด คอนโด รายการล่าสุด อาคารพาณิชย์ อาคารพาณิชย์ รายการล่าสุด อพาร์ทเม้นท์ อพาร์ทเม้นท์ รายการล่าสุด สำนักงาน สำนักงาน รายการล่าสุด โฮมออฟฟิศ โฮมออฟฟิศ รายการล่าสุด ธุรกิจ ธุรกิจ รายการล่าสุด โรงงาน โรงงาน รายการล่าสุด คลังสินค้า คลังสินค้า รายการล่าสุด โกดัง โกดัง รายการล่าสุด ที่ดิน ที่ดิน รายการล่าสุด ลงประกาศฟรี ผู้รับเหมา รายการล่าสุด ผู้รับเหมา ลงประกาศฟรี ผู้รับเหมา ข่าวประชาสัมพันธ์ รายการล่าสุด ข่าวประชาสัมพันธ์ พรีวิวโครงการใหม่ รายการล่าสุด พรีวิวโครงการใหม่ ตกแต่งที่อยู่อาศัย รายการล่าสุด ตกแต่งที่อยู่อาศัย สาระควรรู้ ที่อยู่อาศัย รายการล่าสุด สาระควรรู้ ที่อยู่อาศัย ฮวงจุ้ย ที่อยู่อาศัย รายการล่าสุด ฮวงจุ้ย ที่อยู่อาศัย สินเชื่อ ที่อยู่อาศัย รายการล่าสุด สินเชื่อ ที่อยู่อาศัย SME รายการล่าสุด SME สถานที่ท่องเที่ยว รายการล่าสุด สถานที่ท่องเที่ยว

ทำไงดี? ขอกู้ซื้อบ้านยากขึ้น แบงก์เข้มงวดให้สินเชื่อ

      การอนุมัติสินเชื่อกู้บ้านที่เข้มขึ้นของแบงก์ต่างๆ บวกกับเปิดปัญหาที่ทำให้ “กู้ไม่ผ่าน” และแนวทางแก้ไขที่ผู้ประกอบการต้องร่วมมือช่วยผู้ซื้อ พร้อมเผยเกณฑ์ใหม่แบงก์ดู “ความมั่นคงของรายได้ในอนาคต” อุปสรรค์เบรกสินเชื่อบ้าน เรื่องความเข้มงวดในการปล่อยกู้สินเชื่อที่อยู่อาศัยให้กับ “คนซื้อบ้าน” ของบรรดาสถาบันการเงินเป็นประเด็นร้อนแรงมาตั้งแต่เมื่อปีที่ผ่านมา พูดถึงกันหนาหูว่า “แบงก์เข้มมาก มียอดรีเจคเพิ่มขึ้นทุกวัน” บางโครงการมีสูงถึง 25% และคาดว่าจนถึงปีนี้ความเข้มในการสกรีนลูกค้ายังไม่ผ่อนคลายลง

         สำหรับประเด็นนี้ เป็นเรื่องน่าเห็นใจทั้ง “ฝ่ายแบงก์” และ “ฝ่ายผู้บริโภค” เอง เพราะแม้ว่าบรรดาแบงก์จะอยากปล่อยสินเชื่อกู้บ้านมากเท่าไร แต่หากไม่ระมัดระวังในการปล่อย ก็มีโอกาสเจอกับหนี้สูญในอนาคต และส่งผลกระทบต่อภาพรวม
 
         ทางฝั่งผู้บริโภคที่ต้องการซื้อที่อยู่อาศัย และคำนวณเงินในกระเป๋ามาแล้วว่า “ผ่อนได้” แต่ประวัติทางการเงินยังไม่ถึงเกณฑ์ที่แบงก์จะอนุมัติ ก็เท่ากับปิดหนทางได้บ้านหลังใหม่
 
         เมื่อสถานการณ์เป็นเช่นนี้ หากผู้ประกอบการปล่อยให้แบงก์ ตีกลับการขอสินเชื่อกู้บ้านในสัดส่วนที่สูงขึ้น ก็ย่อมส่งผลกระทบต่อการขายที่อยู่อาศัย สะเทือนถึงรายได้ที่ตั้งเป้าไว้ จึงเป็นเหตุผลที่ผู้ประกอบการต้องลุกขึ้นมาเจรจากับแบงก์ และหาหนทางช่วยผู้บริโภค

          ก่อนหน้านี้ ผู้ประกอบการคงช่วยสกรีนประวัติทางการเงินของลูกค้าก่อนส่งเข้าแบงก์เป็นทุนเดิมแล้ว หากมาถึงช่วงปลายปีนี้ไปจนถึงปีหน้า เชื่อว่าผู้ประกอบการต้องกระโดดลงไปดูรายละเอียดในเรื่องนี้มากขึ้น เพื่อช่วยสร้างโอกาสให้ลูกค้า “กู้ผ่าน” ได้มากขึ้น โดยจากการพูดคุยกับผู้ประกอบการจากหลายค่าย ไม่ว่าจะรายเล็ก หรือรายใหญ่ ต่างพูดเป็นเสียงเดียวกันว่า “ต้องดูว่าลูกค้าติดปัญหาส่วนไหน ถ้าติดเรื่องเครดิตบูโร มีหนี้ค้างไว้ให้เคลียร์ หรือแนะนำก่อนเลยว่ามีหนี้อย่างอื่นค้างอยู่หรือไม่ ถ้ามี หาทางเคลียร์หนี้ส่วนนั้นให้เรียบร้อยก่อนทำเรื่องกู้ โอกาสจะกู้ผ่านก็มีสูง” แต่ดูเหมือนรายละเอียดในการแนะนำลูกค้าจะเพิ่มมากขึ้น โดยเฉพาะเรื่องการให้ลูกค้าเคลียร์หนี้เก่าให้เรียบร้อยก่อนขอกู้ เพราะหากเข้าขั้นตอนการขอกู้แล้ว ถูกตีกลับจะเสียเวลาในการทำเรื่องใหม่ ทำให้ผู้ประกอบการเริ่มใช้วิธีคุยกับเจ้าหน้าที่ระดับปฏิบัติการของแบงก์เพื่อหาแนวทาง “พบกันครึ่งทาง” ระหว่างแบงก์กับผู้กู้
 
          ด้วยการให้เจ้าหน้าที่ตรวจสอบในเบื้องต้นก่อน หากเห็นจุดที่ทำให้มีโอกาสกู้ไม่ผ่าน ก็ให้แจ้งกับทางผู้ประกอบการก่อนส่งเรื่องอนุมัติ เพื่อแจ้งให้ลูกค้าเร่งดำเนินการแก้ไขจุดดังกล่าวก่อนจะส่งเรื่องไปยังฝ่ายอนุมัติ ซึ่งจะช่วยลดเวลาในการขอกู้ลงไม่เช่นนั้นแล้ว หากส่งเรื่องไปถึงฝ่ายอนุมัติทันที โดยไม่ตรวจสอบก่อน ก็จะถูกตีกลับด้วยคุณสมบัติยังไม่ผ่านเกณฑ์การขอสินเชื่อได้ เท่ากับว่า ลูกค้าต้องเริ่มต้นดำเนินการขอกู้ใหม่ทั้งหมด ซึ่งจะทำให้ระยะเวลาในการยื่นกู้เนิ่นนานไปอีก


โดยปัจจุบันปัญหาที่ผู้ประกอบการพบเจอมากที่สุด และพยายามให้ลูกค้าแก้ไข คือ
 
1. รายได้ไม่ผ่านเกณฑ์การขอกู้ได้ ผู้ประกอบการ เสนอให้ลูกค้าแก้ไขด้วยการหาผู้กู้ร่วม เพิ่มขึ้นอีก 1-2 คน เพื่อให้มีโอกาสในการขอกู้ได้มากขึ้น หรือแสดงหลักทรัพย์ประเภทอื่นๆ บัญชีทางการเงินต่างๆ ให้กับธนาคาร

2. รายได้ไม่แน่นอน ส่วนใหญ่เป็นกลุ่มประกอบอาชีพอิสระ ผู้ประกอบการ เสนอให้ลูกค้าแก้ไขด้วยการ ฝากรายได้เข้าบัญชีธนาคารเป็นประจำ เพื่อสร้างประวัติทางรายได้ให้ธนาคารได้เห็นอย่างน้อย 6 เดือน
 
3. มีหนี้คงค้าง ไม่ได้ชำระ ทำให้ติดเครดิตบูโร ผู้ประกอบการ เสนอให้ลูกค้าแก้ไขด้วยการ เร่งเคลียร์หนี้ให้เรียบร้อย และหากในขั้นตอนการขอกู้ ยังติดเครดิตบูโรหนี้ดังกล่าวอยู่ให้แสดงหลักฐานยืนยันการชำระหนี้แล้วให้กับเจ้าหน้าที่สินเชื่อได้รับรู้ เพื่อแสดงให้เห็นว่าหนี้ดังกล่าวได้รับการชำระแล้ว

4. มีหนี้ปัจจุบันจากสินเชื่อธุรกรรมอื่นๆ สูงเกินกว่าที่จะมีความสามารถในการกู้ซื้อบ้านได้อีก เช่น สินเชื่อรถยนต์ สินเชื่อบัตรเครคิด สินเชื่อส่วนบุคคลต่างๆ ในส่วนนี้เป็นประเด็นสำคัญเช่นกัน และเข้าใจได้ว่า ผู้บริโภคที่ติดภาระในส่วนอื่นอยู่แล้วยากจะหาทางเคลียร์หนี้ในส่วนนี้ได้ภายในระยะเวลาอันรวดเร็ว ผู้ประกอบการ จะเสนอให้ลูกค้าแก้ไขด้วยการหาผู้กู้ร่วม

รายได้อนาคตหด...ปัญหาใหม่กู้ไม่ผ่าน

        ประเด็นปัญหาที่กล่าวมาแล้วนั้น ถือว่าเป็นปัญหาพื้นฐานที่เจอกันทุกยุคทุกสมัย แต่ประเด็นปัญหาใหม่ที่ห่างหายไปจากตลาดสินเชื่อบ้านนานกำลังจะกลับมาอีกครั้ง “รายได้อนาคตหด” หรือความมั่นคงของอาชีพที่ก่อให้เกิดรายได้ เป็นปัญหาสำหรับการขอกู้ต่างๆ จนเมื่อสภาพเศรษฐกิจฟื้นตัวและเข้ารูปเข้ารอย เกณฑ์ดังกล่าวก็ถูกผ่อนปรน

        ล่าสุด เริ่มมีการพูดถึงรายได้ในอนาคตของบางอาชีพที่อาจไม่มีความแน่นอน โดยแม้กระทั่งยักษ์ใหญ่สินเชื่อบ้านอย่าง “ธอส.” ยังยอมรับว่าต้องพิจารณามากขึ้น โดยนายขรรค์ ประจวบเหมาะ กรรมการผู้จัดการใหญ่ ธนาคารอาคารสงเคราะห์ (ธอส.) เปิดเผยว่า ลูกค้าที่ทำงานในธุรกิจภาคส่งออกที่ออร์เดอร์ลดลง หรือภาคการท่องเที่ยวถ้านักท่องเที่ยวลดลง อาจมีผลกระทบในด้านรายได้ที่ลดลง เป็นผลให้ผู้ที่ทำงานอยู่ในธุรกิจเหล่านี้ต้องถูกพิจารณาอนุมัติสินเชื่อมากขึ้น

        นอกจากนี้ ในส่วนของธุรกิจอื่นๆ ที่มีแนวโน้มว่าจะมีรายได้ไม่มั่นคง ธอส.ก็ต้องพิจารณาสินเชื่ออย่างรอบคอบด้วยเช่นกัน โดยยอมรับว่ามีความเข้มงวดในการอนุมัติสินเชื่อมากขึ้น เนื่องจากเป็นธนาคารของรัฐ หากมีปัญหาสินเชื่อแล้วมีหนี้เสียก็ต้องนำเงินภาษีของประชาชนมาพยุง

        ส่วนยอดการรีเจคสินเชื่อของธอส. ขึ้นอยู่กับว่า โครงการใดได้สกรีนลูกค้ามาก่อนบ้าง หากตรวจสอบประวัติทางการเงินมาก่อน ยอดรีเจคก็จะไม่เกิน 5% แต่หากไม่ได้สกรีนประวัติทางการเงินลูกค้ามาก่อน ยอดรีเจคอาจสูงถึง 10-15%

        " พิษเศรษฐกิจระดับโลกฉุดเศรษฐกิจในประเทศจนคาดการณ์กันว่าในปี 2552 อาจมีคนต้องว่างงานเป็นจำนวนมาก และนั่นคือที่มาของ “เกณฑ์ใหม่” ที่ต้องพูดถึงความมั่นคงทางรายได้ในอนาคตของผู้กู้ กลายเป็นอีกหนึ่งอุปสรรค์ใหญ่ของการอนุมัติสินเชื่อ ขอกู้บ้าน และขายบ้านให้ได้เงิน "


ขอบคุณข้อมูลจาก หนังสือพิมพ์กรุงเทพธุรกิจ
  • 3 สินเชื่อบ้านสุดคุ้ม ปี 64 จาก ธอส. กู้ 1 ล้าน* ผ่อนเพียง 3,400 บ.
  • Credit Scoring คืออะไร? ปัจจัยที่ไม่ควรมองข้าม สำหรับผู้ยื่นกู้
  • เปลี่ยนบ้านเป็นเงินก้อน ด้วยสินเชื่อ "GSB บ้านแลกเงิน" วงเงินสูงสุด 10 ล้าน*
  • สินเชื่อ "บัตรกดเงินสด ทีทีบี บ้านแลกเงิน" ทางเลือกใหม่ของคนมีบ้าน วงเงินสำรองพร้อมใช้ มีไว้อุ่นใจกว่า
  • เทคนิคซื้อคอนโดหลังแรก ก่อนอายุ 30 สำหรับคนเป็นพนักงานเงินเดือน
  • รู้หรือไม่?...มนุษย์เงินเดือนก็สามารถกู้-ผ่อนบ้านได้สบายๆ
  • วิธีเตรียมตัวให้พร้อมก่อนขอสินเชื่อ หากประเมินรายได้เท่านี้ ขอกู้บ้านได้สูงสุดกี่บาท
  • บ้าน ธอส.เพื่อสานสุข ปี 65 ให้วงเงิน 3 ล้าน สานฝันคุณให้เป็นจริง
  • ออมสิน ฉลองครบรอบ 108 ปี เปิดตัวเงินฝากเผื่อเรียกพิเศษ ดอกเบี้ยสูงสุด 10.80% ต่อปี
  • 3 เรื่องต้องรู้ ก่อนรีไฟแนนซ์บ้าน แนะสูตรคำนวณแบบประหยัดดอกเบี้ย หนีดอกเบี้ยสุดโหด
  • สินเชื่อ SME ต่อยอดธุรกิจ กู้เงินเปิดร้าน วงเงินกู้ 3 เท่า สูงสุด 20 ล้าน
  • สินเชื่อบ้าน รีไฟแนนซ์ จากธนาคารกรุงไทย ตัวช่วยของคนอยากมีบ้าน
  • ผ่อนบ้านจัดเต็มกับกรุงไทย ผ่อนนาน 40 ปี ดอกเบี้ยคงที่ 6 เดือน
  • ออมสินให้วงเงินกู้สูงสุด 3 ล้าน ใช้เป็นเงินทุนร้านสำหรับพ่อค้าแม่ขาย อาชีพอิสระ ผ่อนยาว 10 ปี
  • สมัครกู้เงินออนไลน์? ออมสินให้กู้ด่วน 200,000 บาท จริงหรือไม่
  • ทำไงดี? ขอกู้ซื้อบ้านยากขึ้น แบงก์เข้มงวดให้สินเชื่อ

    ประเด็นร้อนสัปดาห์นี้ที่ไม่ควรพลาด...กับเรื่องการอนุมัติสินเชื่อกู้บ้านที่เข้มขึ้นของแบงก์ต่างๆ บวกกับเปิดปัญหาที่ทำให้ "กู้ไม่ผ่าน" และแนวทางแก้ไขที่ผู้ประกอบการต้องร่วมมือช่วยผู้ซื้อ พร้อมเผยเกณฑ์ใหม่แบงก์ดู "ความมั่นคงของรายได้ในอนาคต" อุปสรรค์เบรกสินเชื่อบ้าน เรื่องความเข้มงวดในการปล่อยกู้สินเชื่อที่อยู่อาศัยให้กับ "คนซื้อบ้าน" ของบรรดาสถาบันการเงินเป็นประเด็นร้อนแรงมาตั้งแต่เมื่อปีที่ผ่านมา พูดถึงกันหนาหูว่า "แบงก์เข้มมาก มียอดรีเจคเพิ่มขึ้นทุกวัน" บางโครงการมีสูงถึง 25% และคาดว่าจนถึงปีนี้ความเข้มในการสกรีนลูกค้ายังไม่ผ่อนคลายลง

    © สงวนลิขสิทธิ์ 2567 บริษัท ไทยโฮมทาวน์ จำกัด
    @thaihometown Scroll