สินเชื่อที่อยู่อาศัย

แน่นอนว่า "การขอสินเชื่อ" สิ่งที่ผู้ขอสินเชื่อ หรือผู้กู้นั้น ควรคำนึงถึง คือความสามารถในการผ่อนชำระหนี้ ซึ่งจะต้องประเมินสภาพทางการเงินของตัวเอง ว่ามีความสามารถในการชำระหนี้ โดยไม่กระทบการใช้ชีวิตการเป็นอยู่ ในชีวิตประจำวนได้หรือไม่ และเมื่อเราประเมินแล้วเห็นว่ามีความสามารถมากพอ การเลือกประเภทสินเชื่อ และสถาบันการเงินเงินที่เราจะไปขอสินเชื่อก็ถือว่าเป็นสิ่งสำคัญอีกส่วนหนึ่งที่เรามองข้ามไม่ได้เช่นกัน

ประกาศอสังหาริมทรัพย์ใหม่ บ้าน บ้าน รายการล่าสุด บ้านเดี่ยว บ้านเดี่ยว รายการล่าสุด ทาวน์เฮ้าส์ ทาวน์เฮ้าส์ รายการล่าสุด ทาวน์โฮม ทาวน์โฮม รายการล่าสุด คอนโด คอนโด รายการล่าสุด อาคารพาณิชย์ อาคารพาณิชย์ รายการล่าสุด อพาร์ทเม้นท์ อพาร์ทเม้นท์ รายการล่าสุด สำนักงาน สำนักงาน รายการล่าสุด โฮมออฟฟิศ โฮมออฟฟิศ รายการล่าสุด ธุรกิจ ธุรกิจ รายการล่าสุด โรงงาน โรงงาน รายการล่าสุด คลังสินค้า คลังสินค้า รายการล่าสุด โกดัง โกดัง รายการล่าสุด ที่ดิน ที่ดิน รายการล่าสุด ลงประกาศฟรี ผู้รับเหมา รายการล่าสุด ผู้รับเหมา ลงประกาศฟรี ผู้รับเหมา ข่าวประชาสัมพันธ์ รายการล่าสุด ข่าวประชาสัมพันธ์ พรีวิวโครงการใหม่ รายการล่าสุด พรีวิวโครงการใหม่ ตกแต่งที่อยู่อาศัย รายการล่าสุด ตกแต่งที่อยู่อาศัย สาระควรรู้ ที่อยู่อาศัย รายการล่าสุด สาระควรรู้ ที่อยู่อาศัย ฮวงจุ้ย ที่อยู่อาศัย รายการล่าสุด ฮวงจุ้ย ที่อยู่อาศัย สินเชื่อ ที่อยู่อาศัย รายการล่าสุด สินเชื่อ ที่อยู่อาศัย SME รายการล่าสุด SME สถานที่ท่องเที่ยว รายการล่าสุด สถานที่ท่องเที่ยว

ต้องรู้อะไรบ้าง? กับสิ่งที่ควรรู้ก่อนขอสินเชื่อ

รู้ไว้ก่อนกู้ กับสิ่งที่ควรรู้ไว้ก่อนขอสินเชื่อ

          แน่นอนว่า "การขอสินเชื่อ" สิ่งที่ผู้ขอสินเชื่อ หรือผู้กู้นั้น ควรคำนึงถึง คือความสามารถในการผ่อนชำระหนี้ ซึ่งจะต้องประเมินสภาพทางการเงินของตัวเอง ว่ามีความสามารถในการชำระหนี้ โดยไม่กระทบการใช้ชีวิตการเป็นอยู่ ในชีวิตประจำวนได้หรือไม่ และเมื่อเราประเมินแล้วเห็นว่ามีความสามารถมากพอ การเลือกประเภทสินเชื่อ และสถาบันการเงินเงินที่เราจะไปขอสินเชื่อก็ถือว่าเป็นสิ่งสำคัญอีกส่วนหนึ่งที่เรามองข้ามไม่ได้เช่นกัน

          ดังนั้นเราจำเป็นที่จะต้องศึกษารายละเอียด และข้อเสนอต่างๆ ให้ดี รวมถึงทำความเข้าใจกับกระบวนของการขอสินเชื่อให้ละเอียด วันนี้เราเลยจะพาไปดูกับสิ่งที่ควรรู้ไว้ก่อนการขอสินเชื่อกันครับ

   เอกสารที่ใช้ในการขอสินเชื่อ 

          การเตรียมเอกสารหลักฐานประกอบคำขอสินเชื่อนั้นอาจแตกต่างกันไปตามประเภทของสินเชื่อ ซึ่งเอกสารประกอบคำขอสินเชื่อแบ่งได้เป็น 3 กลุ่มหลัก คือ

          เอกสารประจำตัว เช่น สำเนาบัตรประจำตัวประชาชน หรือสำเนาบัตรข้าราชการ/รัฐวิสาหกิจ สำเนาทะเบียนบ้าน สำเนาทะเบียนสมรส ทะเบียนหย่า หรือใบมรณบัตร สำเนาหลักฐานการเปลี่ยนชื่อ สกุล (ถ้ามี) กรณีนิติบุคคล อาจใช้สำเนาทะเบียนการค้า หนังสือรับรองการจดทะเบียนนิติบุคคล

เอกสารเกี่ยวกับรายได้ ได้แก่

  • ผู้มีรายได้ประจำ ใบรับรองเงินเดือน หรือหลักฐานการรับ/จ่ายเงินเดือนจากนายจ้าง สมุดบัญชีเงินฝากธนาคาร
  • ผู้มีอาชีพอิสระ กรณีเป็นสัญญาจ้าง อาจใช้สำเนาสัญญาว่าจ้างและหลักฐานการจ่ายเงินค่าจ้าง กรณีเป็นแพทย์ ทนายความ ผู้สอบบัญชี วิศวกร สถาปนิก ควรแสดงใบอนุญาตประกอบวิชาชีพด้วยบัญชีเงินฝาก พร้อมใบแจ้งยอดบัญชี หรือสเตทเมนต์ (statement) ของบัญชีเงินฝากของตนเองหรือของกิจการย้อนหลังอย่างน้อย 6 เดือน หลักฐานรายได้หรือทรัพย์สินอื่นๆ เช่น ใบหุ้น พันธบัตรรัฐบาล บัญชีเงินฝากธนาคาร
  • นิติบุคคล ได้แก่ สำเนางบการเงินปีล่าสุด และย้อนหลังไม่น้อยกว่า 3 ปี สำเนาแสดงรายการภาษีเงินได้ประจำปี สำเนาเอกสารสิทธิในทรัพย์สินที่เสนอเป็นหลักประกัน และแผนที่แสดงที่ตั้งสถานประกอบการ

          เอกสารอื่น ๆ  เช่น  สำเนาสัญญาจะซื้อจะขาย หรือสัญญามัดจำ สำเนาโฉนดที่ดิน หรือสำเนาหนังสือแสดงกรรมสิทธิ์ สัญญากู้เงิน และสัญญาจำนองจากสถาบันการเงินเดิม ในกรณีมีผู้กู้ร่วม จะต้องมีหลักฐานประจำตัว และหลักฐานรายได้ของผู้กู้ร่วม ในกรณีที่ขอสินเชื่อเพื่อธุรกิจ สิ่งที่จำเป็นคือแผนธุรกิจ เช่น แผนธุรกิจของ SMEs แผนโครงการที่ต้องการดำเนินการ

 

   การค้ำประกันและหลักประกัน 

          การค้ำประกันและหลักประกันเป็นปัจจัยหนึ่งที่ผู้ให้สินเชื่ออาจใช้ประกอบการพิจารณาให้สินเชื่อ เพื่อให้มั่นใจว่าหากผู้ขอสินเชื่อชำระหนี้ไม่ได้ สถาบันการเงินยังมีทางที่จะได้เงินคืน เช่น สามารถยึดหลักประกันมาขายทอดตลาดเพื่อชำระหนี้ที่ค้างอยู่ หรือให้ผู้ค้ำประกันชำระหนี้แทน โดยหลักทรัพย์ที่นิยมนำมาเป็นหลักประกัน เช่น เงินฝาก พันธบัตรรัฐบาล ตั๋วเงิน หุ้นกู้ และอสังหาริมทรัพย์ ในกรณีสินเชื่อที่มีบุคคลค้ำประกัน สถาบันการเงินก็จะพิจารณาถึงความสามารถในการชำระหนี้ของผู้ค้ำประกันประกอบด้วย

   เกณฑ์ที่สถาบันการเงินใช้พิจารณาสินเชื่อ 

          ในการพิจารณาอนุมัติสินเชื่อจะขึ้นอยู่กับนโยบายและหลักเกณฑ์ของผู้ให้สินเชื่อแต่ละราย โดยทั่วไปแล้วมีปัจจัยหลัก ๆ ที่ใช้ประกอบการพิจารณา คือ

  • นโยบายสินเชื่อของผู้ให้สินเชื่อ เช่น ผู้ให้สินเชื่อบางรายอาจกำหนดว่าผู้ยื่นขอสินเชื่อต้องไม่มีประวัติการค้างชำระในช่วง 12 เดือนย้อนหลัง หรืองดให้สินเชื่อแก่ลูกค้าใหม่ในกลุ่มอาชีพหรือกลุ่มอุตสาหกรรมที่มีความเสี่ยงสูง
  • วัตถุประสงค์ในการขอสินเชื่อ เช่น ใช้เป็นเงินทุนหมุนเวียนในการทำธุรกิจ หรือลงทุนขยายโรงงาน ซึ่งจะเป็นข้อมูลประกอบการพิจารณาความสามารถในการชำระหนี้ในอนาคต
  • คุณลักษณะและความสามารถในการชำระหนี้ของผู้ขอสินเชื่อ ซึ่งสถาบันการเงินส่วนใหญ่จะใช้หลัก 5 Cs ประกอบด้วย
    • Character คือ คุณลักษณะและความน่าเชื่อถือของผู้ขอสินเชื่อ วินัยในการใช้และการชำระสินเชื่อในอดีต ซึ่งบอกถึงความสามารถในการใช้หนี้และการบริหารจัดการสินเชื่อ เช่น ในกรณีบุคคลธรรมดาอาจพิจารณาอายุ อาชีพ สถานะภาพสมรส ส่วนกรณีผู้ขอสินเชื่อประกอบธุรกิจอาจพิจารณาประเภทของธุรกิจ ประวัติของผู้บริหาร ระยะเวลาในการดำเนินธุรกิจ
    • Capacity คือ ความสามารถในการจ่ายชำระหนี้คืนได้ตามระยะเวลาที่กำหนดไว้ รวมถึงความมั่นคงของรายได้ที่จะนำมาชำระหนี้ในอนาคต เช่น รายได้ในปัจจุบัน ภาระหนี้สินที่มีอยู่ ประวัติการชำระยอดการใช้จ่ายผ่านบัตรเครดิตและสินเชื่ออื่น ๆ
    • Capital คือ เงินทุน สินทรัพย์ หรือเงินฝากของผู้ขอสินเชื่อ เพื่อเป็นหลักประกันการให้กู้ยืม ซึ่งจำเป็นอย่างยิ่งในสินเชื่อธุรกิจ แม้ว่าสินทรัพย์เหล่านี้จะไม่ใช่แหล่งเงินสำหรับชำระหนี้ แต่จะเป็นแหล่งเงินสำรองสำหรับการชำระหนี้ของผู้ขอสินเชื่อในกรณีที่เกิดปัญหาไม่สามารถชำระหนี้ได้
    • Collateral คือ ผู้ค้ำประกันหรือหลักประกันที่ผู้ขอสินเชื่อนำมาจำนำ หรือจำนองเพื่อให้สถาบันการเงินมีความมั่นใจและลดความเสี่ยงหากผู้ขอสินเชื่อไม่ชำระหนี้ตามกำหนด ซึ่งสามารถให้ผู้ค้ำประกันชำระหนี้แทนหรือนำหลักประกันมาขายทอดตลาดได้ตามที่กฎหมายกำหนด
    • Conditions คือ ปัจจัยภายนอกที่มีผลกระทบต่อรายได้ของผู้ขอสินเชื่อ เช่น เศรษฐกิจ เงินเฟ้อ ความมั่นคงในรายได้และการงาน ปัญหาสงคราม สิ่งแวดล้อม ที่มีผลกระทบต่อความเป็นไปได้ของโครงการลงทุนหรือรายได้ของผู้ขอสินเชื่อ ซึ่งจะมีผลต่อความสามารถในการชำระหนี้ในอนาคต

สิทธิของผู้ขอสินเชื่อจากสถาบันการเงินกรณีไม่ได้รับอนุมัติหรือถูกปฏิเสธสินเชื่อจากสถาบันการเงิน*

          หากผู้ขอสินเชื่อถูกปฏิเสธสินเชื่อจากสถาบันการเงิน ผู้ขอสินเชื่อสามารถขอทราบเหตุผลของการไม่อนุมัติสินเชื่อจากสถาบันการเงินเป็นลายลักษณ์อักษรได้ ทั้งนี้ เพื่อให้ผู้ขอสินเชื่อมีข้อมูลที่สามารถนำมาใช้ปรับปรุงศักยภาพ และสามารถขอสินเชื่อได้ใหม่ในอนาคต โดยตัวอย่างคำชี้แจง เช่น รายได้ไม่เพียงพอต่อการชำระหนี้ มูลหนี้คงค้างสูงเกินไป นอกจากนั้น ในกรณีการขอสินเชื่อเพื่อการประกอบธุรกิจ หากถูกปฏิเสธสินเชื่อ ก็สามารถขอรับคืนเอกสารสำคัญที่เคยยื่นไว้เพื่อประกอบการพิจารณาสินเชื่อได้ เช่น งบการเงิน แผนประกอบธุรกิจ รายละเอียดหลักประกัน โดยสถาบันการเงินจะต้องคืนให้ภายในเวลาอันควร

*ไม่ใช้บังคับกับ Non-bank ที่เป็นผู้ให้บริการสินเชื่อส่วนบุคคล และสินเชื่อบัตรเครดิต

 

   การติดตามทวงถามหนี้ 

          "ก่อหนี้เท่าที่จำเป็นและจ่ายไหว" และ "เป็นหนี้ต้องชำระ" เป็นกฎเหล็กที่ลูกหนี้ควรปฏิบัติ แต่เมื่อถึงกำหนดชำระหนี้แล้วลูกหนี้กลับไม่ยอมจ่ายหนี้ เจ้าหนี้ก็มีสิทธิ์ที่จะทวงเงินคืนหรือจ้างตัวแทนที่เป็นผู้ประกอบธุรกิจทวงหนี้ ซึ่งต้องปฏิบัติตามพระราชบัญญัติการทวงถามหนี้ พ.ศ. 2558​​ เช่น ​

  • ห้ามทวงถามหนี้กับบุคคลอื่นที่ไม่ใช่ลูกหนี้ และห้ามเปิดเผยข้อมูลการเป็นหนี้ของลูกหนี้ให้ผู้อื่นทราบ เว้นแต่เป็นบุคคลซึ่งลูกหนี้ระบุไว้
  • กรณีเป็นผู้รับมอบอำนาจให้ดำเนินการทวงหนี้ ต้องแสดงตัวตนต่อลูกหนี้โดยแจ้งชื่อ นามสกุล ชื่อหน่วยงานของตนและของเจ้าหนี้ รวมทั้งจำนวนหนี้ และถ้าเป็นการทวงหนี้ต่อหน้าให้แสดงหลักฐานการมอบอำนาจให้ทวงถามหนี้ด้วย​​
  • กรณีทวงหนี้และขอรับชำระหนี้ด้วย ต้องแสดงหลักฐานการรับมอบอำนาจให้รับชำระหนี้ และเมื่อ ลูกหนี้ชำระหนี้แล้วต้องออกหลักฐานให้ด้วย
  • ให้ติดต่อกับลูกหนี้ตามสถานที่ที่ระบุไว้ หากไม่สามารถติดต่อได้ สามารถติดต่อที่ภูมิลำเนา ถิ่นที่อยู่ หรือสถานที่ทำงานของลูกหนี้ได้ ในวันจันทร์ - วันศุกร์ เวลา 08.00 – 00 น. และวันหยุดราชการ เวลา 08.00 – 18.00 น. ซึ่งต้องติดต่อในจำนวนครั้งที่เหมาะสม
  • ห้ามติดต่อลูกหนี้โดยวิธีที่สื่อให้ทราบว่าเป็นการทวงหนี้ เช่น ใช้ไปรษณียบัตร เอกสารเปิดผนึก โทรสาร หรือสิ่งอื่นใดที่สื่อว่าเป็นการทวงหนี้อย่างชัดเจน รวมทั้งการใช้ข้อความ เครื่องหมาย สัญลักษณ์ หรือชื่อทางธุรกิจของผู้ทวงถามหนี้บนซองจดหมายที่ทำให้เข้าใจได้ว่าเป็นการติดต่อเพื่อการทวงถามหนี้
  • ห้ามข่มขู่ ดูหมิ่น ใช้ความรุนแรงที่ก่อให้เกิดความเสียหายแก่ร่างกาย ชื่อเสียง และทรัพย์สิน
  • ห้ามทวงถามหนี้ในลักษณะที่เป็นเท็จหรือทำให้เกิดความเข้าใจผิด เช่น ใช้สัญลักษณ์ที่ทำให้เข้าใจผิดว่าเป็นการกระทำของศาล หน่วยงานของรัฐ สำนักงานกฎหมาย บริษัทข้อมูลเครดิต รวมทั้งแสดงข้อความที่ทำให้เชื่อว่าจะถูกดำเนินคดี หรือถูกยึดหรืออายัดทรัพย์หรือเงินเดือน
  • ห้ามทวงหนี้ในลักษณะที่ไม่เป็นธรรม เช่น เรียกเก็บค่าธรรมเนียมหรือค่าใช้จ่ายเกินกว่าอัตราที่กำหนดชักจูงให้ลูกหนี้ออกเช็คทั้งที่รู้อยู่ว่าลูกหนี้ไม่สามารถชำระได้

          เห็นไหมว่า การขอสินเชื่อในแต่ละครั้ง ข้อมูล รายละเอียดต่างๆ ของสัญญา ถือเป็นสิ่งที่สำคัญ ดังนั้นการที่เราเตรียมพร้อม ศึกษาข้อมูลต่างๆ ก่อนทำการยื่นขอสินเชื่อ จะทำให้เราพร้อมที่จะรับมือกับสิ่งต่างๆ ในระหว่างการยื่นกู้ได้ อีกทั้งยังเป็นการสร้างความมั่นใจให้กับตัวเราในระหว่างการยื่นกู้ได้อีกด้วย


ขอบคุณข้อมูลจาก บริษัท ข้อมูลเครดิตแห่งชาติ จำกัด
  • บนดอยหนาวไหม? 12 ข้อที่ควรจะระวัง ซื้อคอนโดไม่ให้ติดดอย
  • การขายฝาก - จำนอง มีความต่างกันอย่างไร ขายฝากแล้วใช้ทำสัญญากับธนาคารได้ไหม?
  • เตรียมตัวก่อนซื้อบ้าน มีอะไรบ้างที่คุณยังไม่รู้
  • เทคนิคซื้อคอนโดหลังแรก ก่อนอายุ 30 สำหรับคนเป็นพนักงานเงินเดือน
  • ธอส. จัดให้ หมดกังวลเรื่องบ้าน กับ "สินเชื่อบ้านสุขสันต์ Refinance in" ปี 2562
  • เช็คข้อมูลให้พร้อม ก่อนจะขอกู้ซื้อบ้าน ควรเช็คเรื่องใดบ้างที่อาจทำให้การกู้บ้านไม่ผ่าน
  • จะทำอย่างไรดี!!? ถ้าหากตกงาน แต่ดันมีหนี้บ้านติดตัว
  • ซื้อบ้านหลังแรกให้ได้ความคุ้มค่า และการเลือกสินเชื่อที่ดีควรทำอย่างไร
  • รู้ก่อนทำสัญญา "สัญญาเช่าบ้าน"
  • 3 เรื่องต้องรู้ ก่อนรีไฟแนนซ์บ้าน แนะสูตรคำนวณแบบประหยัดดอกเบี้ย หนีดอกเบี้ยสุดโหด
  • สินเชื่อ SME ต่อยอดธุรกิจ กู้เงินเปิดร้าน วงเงินกู้ 3 เท่า สูงสุด 20 ล้าน
  • สินเชื่อบ้าน รีไฟแนนซ์ จากธนาคารกรุงไทย ตัวช่วยของคนอยากมีบ้าน
  • ผ่อนบ้านจัดเต็มกับกรุงไทย ผ่อนนาน 40 ปี ดอกเบี้ยคงที่ 6 เดือน
  • ออมสินให้วงเงินกู้สูงสุด 3 ล้าน ใช้เป็นเงินทุนร้านสำหรับพ่อค้าแม่ขาย อาชีพอิสระ ผ่อนยาว 10 ปี
  • สมัครกู้เงินออนไลน์? ออมสินให้กู้ด่วน 200,000 บาท จริงหรือไม่
  • ต้องรู้อะไรบ้าง? กับสิ่งที่ควรรู้ก่อนขอสินเชื่อ

    แน่นอนว่า "การขอสินเชื่อ" สิ่งที่ผู้ขอสินเชื่อ หรือผู้กู้นั้น ควรคำนึงถึง คือความสามารถในการผ่อนชำระหนี้ ซึ่งจะต้องประเมินสภาพทางการเงินของตัวเอง ว่ามีความสามารถในการชำระหนี้ โดยไม่กระทบการใช้ชีวิตการเป็นอยู่ ในชีวิตประจำวนได้หรือไม่ และเมื่อเราประเมินแล้วเห็นว่ามีความสามารถมากพอ การเลือกประเภทสินเชื่อ และสถาบันการเงินเงินที่เราจะไปขอสินเชื่อก็ถือว่าเป็นสิ่งสำคัญอีกส่วนหนึ่งที่เรามองข้ามไม่ได้เช่นกัน

    © สงวนลิขสิทธิ์ 2567 บริษัท ไทยโฮมทาวน์ จำกัด
    @thaihometown Scroll