สาระควรรู้ทั่วไป

ส่วนต่อเติม เป็นส่วนที่เราต้องใส่ใจเรื่องระบบโครงสร้างที่รองรับน้ำหนักของส่วนต่อเติมอย่างเหมาะสม ซึ่งควรสัมพันธ์กับลักษณะการใช้งานพื้นที่ส่วนต่อเติม ความพร้อมของหน้างาน (ขนาดที่ดินบริเวณส่วนต่อเติม การเข้าถึง) และงบประมาณที่ตั้งไว้ โดยรูปแบบของระบบโครงสร้างที่รองรับนั้นจะมีทั้งระบบที่ไม่มีโครงสร้างใต้ดินรองรับ และ ระบบที่มีโครงสร้างใต้ดินรองรับ

ประกาศอสังหาริมทรัพย์ใหม่ บ้าน บ้าน รายการล่าสุด บ้านเดี่ยว บ้านเดี่ยว รายการล่าสุด ทาวน์เฮ้าส์ ทาวน์เฮ้าส์ รายการล่าสุด ทาวน์โฮม ทาวน์โฮม รายการล่าสุด คอนโด คอนโด รายการล่าสุด อาคารพาณิชย์ อาคารพาณิชย์ รายการล่าสุด อพาร์ทเม้นท์ อพาร์ทเม้นท์ รายการล่าสุด สำนักงาน สำนักงาน รายการล่าสุด โฮมออฟฟิศ โฮมออฟฟิศ รายการล่าสุด ธุรกิจ ธุรกิจ รายการล่าสุด โรงงาน โรงงาน รายการล่าสุด คลังสินค้า คลังสินค้า รายการล่าสุด โกดัง โกดัง รายการล่าสุด ที่ดิน ที่ดิน รายการล่าสุด ลงประกาศฟรี ผู้รับเหมา รายการล่าสุด ผู้รับเหมา ลงประกาศฟรี ผู้รับเหมา ข่าวประชาสัมพันธ์ รายการล่าสุด ข่าวประชาสัมพันธ์ พรีวิวโครงการใหม่ รายการล่าสุด พรีวิวโครงการใหม่ ตกแต่งที่อยู่อาศัย รายการล่าสุด ตกแต่งที่อยู่อาศัย สาระควรรู้ ที่อยู่อาศัย รายการล่าสุด สาระควรรู้ ที่อยู่อาศัย ฮวงจุ้ย ที่อยู่อาศัย รายการล่าสุด ฮวงจุ้ย ที่อยู่อาศัย สินเชื่อ ที่อยู่อาศัย รายการล่าสุด สินเชื่อ ที่อยู่อาศัย SME รายการล่าสุด SME สถานที่ท่องเที่ยว รายการล่าสุด สถานที่ท่องเที่ยว

รู้จักกับระบบโครงสร้างรองรับส่วนต่อเติม

     ส่วนต่อเติม เป็นส่วนที่เราต้องใส่ใจเรื่องระบบโครงสร้างที่รองรับน้ำหนักของส่วนต่อเติมอย่างเหมาะสม ซึ่งควรสัมพันธ์กับลักษณะการใช้งานพื้นที่ส่วนต่อเติม ความพร้อมของหน้างาน (ขนาดที่ดินบริเวณส่วนต่อเติม การเข้าถึง) และงบประมาณที่ตั้งไว้ โดยรูปแบบของระบบโครงสร้างที่รองรับนั้นจะมีทั้งระบบที่ไม่มีโครงสร้างใต้ดินรองรับ และ ระบบที่มีโครงสร้างใต้ดินรองรับ

 


 
     1. ระบบที่ไม่มีโครงสร้างใต้ดินรองรับ

     ส่วนใหญ่จะมีรูปแบบเป็นพื้นคอนกรีตวางบนดิน (Slab on Ground) เป็นการหล่อพื้นคอนกรีตเสริมเหล็กที่หน้างาน โดยบดอัดดินและถมทรายพร้อมบดอัดให้แน่นก่อนทำการตั้งแบบและหล่อพื้น  เหมาะสำหรับการต่อเติมลานซักล้าง พื้นถนนรอบบ้าน ลานอเนกประสงค์ ที่จอดรถ หรือห้องเก็บของที่น้ำหนักโดยรวมไม่มากนัก ถึงแม้วิธีนี้จะทำได้ง่าย และช่วยประหยัดงบประมาณในการก่อสร้างได้ดี แต่เนื่องจากเป็นการถ่ายน้ำหนักโครงสร้างลงสู่พื้นดินโดยตรงโดยไม่มีเสาเข็มรองรับ จึงทรุดได้ง่ายตามการยุบตัวของดิน และถ้าบดอัดดินไม่ดีแล้วดินเกิดการยุบตัวที่ไม่เท่ากันจะส่งผลให้พื้นเกิดการแตกร้าวได้ง่าย จึงควรตบอัดดินและทรายให้แน่นและมีความสม่ำเสมอกันทั้งผืน

 

     2. ระบบที่มีโครงสร้างใต้ดินรองรับ สามารถแบ่งได้เป็น


     2.1 ฐานเข็มแบบปูพรม

     เป็นการหล่อพื้นคอนกรีตเสริมเหล็กบนเสาเข็ม ใต้ดินที่วางกระจายตำแหน่งทั่วพื้นที่ ตามขนาดพื้นที่ของส่วนต่อเติม โดยมักจะมีระยะห่างระหว่างเสาเข็มเท่ากันทั้งในแกน X และแกน Y เพื่อรับน้ำหนักและกระจายแรงสู่ดินอย่างสม่ำเสมอ เปรียบเสมือนฐานรากขนาดใหญ่หนึ่งชุดที่มีเสาเข็มรองรับหลายต้น โดยสำหรับส่วนต่อเติมมักใช้เสาเข็มสั้นที่มีความยาวไม่เกิน 6 เมตร จึงช่วยชะลอการทรุดตัว และลดการแตกร้าวที่พื้นได้ดีกว่าระบบพื้นคอนกรีตวางบนดิน เหมาะสำหรับการต่อเติมโรงจอดรถ บ่อน้ำ สระว่ายน้ำ บ่อเลี้ยงปลา พื้นที่วางถังเก็บน้ำ

     *ฐานเข็มแบบปูพรมไม่เหมาะกับพื้นที่ที่มีถังบำบัด ถังดักไขมัน หรือถังเก็บน้ำใต้ดินฝังอยู่ก่อนแล้ว เพราะอาจทำให้เสาเข็มวางกระจายได้ไม่สม่ำเสมอ

 

     2.2 ฐานเข็มเดี่ยว ฐานเข็มกลุ่ม 

     จะประกอบด้วย เสาเข็ม ฐานราก ตอม่อ คานคอดิน และพื้น (พื้นคอนกรีตหล่อในที่ แผ่นพื้นคอนกรีตสำเร็จรูป ระบบพื้นโครงเบา) สำหรับฐานเข็มเดี่ยวจะมีเสาเข็มเพียงต้นเดียวต่อฐานราก ส่วนฐานเข็มกลุ่ม จะมีเสาเข็มหลายต้นต่อฐานราก โดยเสาเข็มที่ใช้สามารถเป็นได้ทั้งเสาเข็มสั้นและเสาเข็มที่ยาวลึกถึงชั้นดินแข็ง ขึ้นอยู่กับลักษณะการใช้งาน พื้นที่หน้างาน และงบประมาณ (เสาเข็มสั้นจะประหยัดงบประมาณในส่วนเสาเข็มได้มากกว่าเสาเข็มยาวลึกถึงชั้นดินแข็งประมาณ 5-6 เท่า) เหมาะสำหรับงานต่อเติมครัวหลังบ้าน (ที่มักมีถังบำบัดสำเร็จรูปและถังดักไขมันฝังในดินไว้แล้ว) ระเบียงนั่งเล่นพักผ่อน อาคารตั้งแต่ 1 ชั้นขึ้นไป (ห้องนอน ห้องอเนกประสงค์) ฯลฯ

     เพื่อลดปัญหาต่างๆ ที่เกิดจากการทรุดตัวของส่วนต่อเติม ไม่ว่าจะเป็นรอยร้าวแยกตัว หรือน้ำฝนรั่วซึม การเลือกใช้เสาเข็มยาวลึกเท่ากับเสาเข็มของบ้านเดิม จึงเป็นทางเลือกที่ดีกว่า อย่างไรก็ตาม เนื่องจากข้อจำกัดของพื้นที่หน้างานส่วนใหญ่หรือเพราะงบประมาณที่จำกัด จึงทำให้จำเป็นต้องเลือกใช้เสาเข็มสั้น ซึ่งควรเตรียมความพร้อมเผื่อการทรุดตัว โดยเฉพาะบริเวณรอยต่อในส่วนต่างๆ ทั้งนี้ บางพื้นที่ซึ่งมีสภาพดินแข็งในระดับดินชั้นบน จะสามารถเลือกใช้ฐานรากแผ่ได้โดยไม่จำเป็นต้องลงเสาเข็ม

 

    สุดท้ายแล้ว ไม่ว่าจะเลือกระบบโครงสร้างที่รองรับส่วนต่อเติมรูปแบบใดก็ตาม สิ่งสำคัญคือควรแยกโครงสร้างส่วนต่อเติมออกจากตัวบ้านหลัก เพื่อลดปัญหาการดึงรั้งบ้านเดิมที่อาจทำให้เกิดความเสียหายได้ โดยปรึกษาวิศวกรหรือผู้เชี่ยวชาญเพื่อออกแบบโครงสร้างให้เหมาะสมกับการใช้งานและสภาพพื้นดิน และควรปฏิบัติตามกฎหมายควบคุมอาคารว่าด้วยเรื่องการต่อเติมหรือดัดแปลงบ้านเพื่อให้ไม่มีปัญหาในอนาคต


  • ตราช้าง แนะเคล็ดลับคลายร้อนให้บ้าน รับซัมเมอร์นี้
  • Trick ! เตรียมห้องให้พร้อม รับมือวันหยุดสงกรานต์
  • 5 วิธีอยู่อย่างไรให้รอด หลังคลังเก็บภาษีที่ดินและสิ่งปลูกสร้าง 100%
  • คิดจะเก็บเงินซื้อบ้าน อย่าลืมเผื่อค่าใช้จ่ายเหล่านี้
  • 5 เทคนิคขับรถคู่ใจลุยน้ำยังไง ลดค่าซ่อม บำรุง ในหน้าฝน
  • พฤติกรรม เสี่ยงที่เป็นสาเหตุทำให้ตู้เย็นพัง ชำรุด และมีอายุการใช้งานสั้นกว่าอายุการใช้งานจริง
  • 6 แนวทางให้บ้านเย็นสบาย แถมช่วยประหยัดค่าไฟ
  • 7 สิ่งที่ต้องทำ เพื่อเปลี่ยนคอนโดฯ มือสองให้เหมือนใหม่
  • 14 วิธีจัดห้องสำหรับคอนโด พื้นที่เล็กๆ ทำให้ดูดีได้
  • ระเบียบข้อบังคับจราจร การจอดรถในพื้นที่สาธารณะ ส่วนกลางหมู่บ้าน
  • เลือกอิฐแบบไหน อิฐมอญ อิฐมวลเบา อิฐบล็อก เหมาะกับสร้างบ้าน ประหยัดงบมากที่สุด
  • เช็คสิทธิ ทะเบียนราษฎร "เจ้าของบ้าน" กับ "เจ้าบ้าน" ในทะเบียนบ้าน ใครสิทธิเหนือกว่า หน้าที่ต่างกันอย...
  • เคล็ดไม่ลับ 10 วิธีซักผ้าสีตก คราบสีฝังแน่นอย่าทิ้ง ทำให้เสื้อกลับมาใส่ได้อีกครั้งดีกว่า
  • ข้อควรรู้ ซื้อบ้าน และที่ดินในโครงการจัดสรร เรื่องใดที่ควรทำหลังโอนกรรมสิทธิ์ที่ดิน
  • แอร์ยี่ห้อไหนประหยัดไฟ 2567 ลดการใช้พลังงาน ช่วยประหยัดไฟได้ดี
  • รู้จักกับระบบโครงสร้างรองรับส่วนต่อเติม

    ส่วนต่อเติม เป็นส่วนที่เราต้องใส่ใจเรื่องระบบโครงสร้างที่รองรับน้ำหนักของส่วนต่อเติมอย่างเหมาะสม ซึ่งควรสัมพันธ์กับลักษณะการใช้งานพื้นที่ส่วนต่อเติม ความพร้อมของหน้างาน (ขนาดที่ดินบริเวณส่วนต่อเติม การเข้าถึง) และงบประมาณที่ตั้งไว้ โดยรูปแบบของระบบโครงสร้างที่รองรับนั้นจะมีทั้งระบบที่ไม่มีโครงสร้างใต้ดินรองรับ และ ระบบที่มีโครงสร้างใต้ดินรองรับ

    © สงวนลิขสิทธิ์ 2567 บริษัท ไทยโฮมทาวน์ จำกัด
    @thaihometown Scroll