
รถไฟฟ้าสายสีชมพู เปิดใช้บริการฟรี วันที่ 18 พฤศจิกายน 2566 นี้
รถไฟฟ้าสายสีชมพู ช่วงแคราย-มีนบุรี ประกาศเปิดให้ทดลองใช้บริการฟรีวันที่ 18 พฤศจิกายน 2566 ระยะทางวิ่งยาว 30 สถานี คิดค่าโดยสารเริ่มต้นที่ราคา 15 บาท
กรมการขนส่งทางรางประกาศให้คนไทยสามารถขึ้นงาน รถไฟฟ้าสายสีชมพู เป็นเวลา 1 เดือน ตั้งแต่วันที่ 18 พฤศจิกายน – 18 ธันวาคม 2566 เวลา 06.00-20.00 น. ก่อนเปิดใช้งานเต็มรูปแบบในปลายปี 2566 โดยรถไฟฟ้าสายสีชมพูได้รับสัปทานจาก NBM บริษัทลูกของ BTS ก่อสร้างรถไฟฟ้ารางเดี่ยวที่ชื่อว่า “Monorail” ถือเป็นโครงการรถไฟฟ้าที่ก่อสร้างมาอย่างยาวนานครอบคลุมหลายสถานีนอกเมือง
เริ่มต้นจากศูนย์ราชการนนทบุรี – มีนบุรี มีระยะทางกว่า 34.5 กิโลเมตร ประกอบด้วย 30 สถานีหลักกับอีก 2 สถานีต่อขยาย และเปลี่ยนสายได้ถึง 4 สาย ฉะนั้นก่อนเปิดใช้บริการพาไปเล็งเส้นทางพร้อมกันเลย

แนวเส้นทางรถไฟฟ้าสายสีชมพู และเส้นทางผ่านสถานที่ต่างๆ
ระบบขนส่งมวลชนสายสีชมพูฯ เป็นระบบขนส่งมวลชนสายรองประเภทรถไฟฟ้ารางเดี่ยว (Straddle Monorail) มีลักษณะเป็นโครงสร้างยกระดับตลอดแนวเส้นทาง มีจุดประสงค์เพื่อเชื่อมต่อการเดินทางระหว่างเขตมีนบุรีและจังหวัดนนทบุรี โดยแนวเส้นทางเริ่มต้นบนถนนรัตนาธิเบศร์บริเวณระหว่าง ศูนย์ราชการนนทบุรีและแยกแคราย ซึ่งสามารถเชื่อมต่อกับแนวเส้นทางรถไฟฟ้าสายสีม่วง (บางใหญ่ – บางซื่อ) บริเวณสถานีศูนย์ราชการนนทบุรี จากนั้นจะวิ่งเลี้ยวซ้ายบริเวณแยกแครายเข้าถนนติวานนท์ วิ่งตามถนนติวานนท์จนถึงแยกปากเกร็ด เลี้ยวขวาเข้าถนนแจ้งวัฒนะผ่านเมืองทองธานี ผ่านศูนย์ราชการ ผ่านทางแยกหลักสี่ เชื่อมต่อระบบรถไฟฟ้าชานเมืองสายสีแดงที่สถานีหลักสี่ ลอดใต้ทางยกระดับอุตราภิมุข (ดอนเมืองโทลเวย์) และผ่านวงเวียนอนุสาวรีย์พิทักษ์รัฐธรรมนูญ
โดยมีสถานีวัดพระศรีมหาธาตุเป็นสถานีเชื่อมต่อ (Interchange Station) เพื่อเปลี่ยนถ่ายผู้โดยสารระหว่างรถไฟฟ้าสาย สีเขียว ช่วงหมอชิต - สะพานใหม่ จากนั้นแนวเส้นทางจะวิ่งตามถนนรามอินทรา ยกระดับข้ามทางพิเศษฉลองรัชบริเวณแยกวัชรพล จนถึงแยกมีนบุรีแล้ววิ่งเข้าเมืองมีนบุรีตามถนนสีหบุรานุกิจ จากนั้นจะข้ามคลองสามวาและเลี้ยวขวาข้ามคลองแสนแสบผ่านพื้นที่ว่างและข้ามเข้าถนนรามคำแหง (สุขาภิบาล 3 ) จนสิ้นสุดบริเวณทางแยกร่มเกล้า ซึ่งสามารถเชื่อมต่อกับรถไฟฟ้าสายสีส้ม ช่วงตลิ่งชัน – มีนบุรี ที่สถานีมีนบุรี มีความยาวของแนวเส้นทางทั้งสิ้นประมาณ 34.5 กิโลเมตร

ทำความรู้จัก โครงการรถไฟฟ้าสายสีชมพู
สำหรับโครงการ รถไฟฟ้ามหานคร สายสีชมพู เป็นรถไฟฟ้าระบบโมโนเรลสายที่ 2 ของประเทศไทย เชื่อมต่อการเดินทางของประชาชนในพื้นที่กรุงเทพมหานคร ฝั่งตะวันออก ฝั่งเหนือ และจังหวัดนนทบุรี เข้าสู่พื้นที่ใจกลางเมืองได้โดยสะดวก
โดยโครงการมีระยะทางรวม 34.5 กิโลเมตร เป็นโครงสร้างทางวิ่งยกระดับตลอดสาย มีสถานีให้บริการทั้งสิ้น 30 สถานี เริ่มจากสถานีศูนย์ราชการนนทบุรี สิ้นสุดที่สถานีมีนบุรี โดยมีศูนย์ซ่อมบำรุงฯ และจุดจอดแล้วจร (Park and ride) บริเวณสถานีมีนบุรี พร้อมทั้งมีจุดเชื่อมต่อกับรถไฟฟ้า 4 สายหลัก ได้แก่
- สถานีมีนบุรี เชื่อมต่อรถไฟฟ้ามหานคร สายสีส้ม ช่วงศูนย์วัฒนธรรมแห่งประเทศไทย-มีนบุรี (สุวินทวงศ์)
- สถานีหลักสี่ เชื่อมต่อรถไฟฟ้าสายสีแดง ช่วงบางซื่อ-รังสิต
- สถานีวัดพระศรีมหาธาตุ เชื่อมต่อรถไฟฟ้าสายสีเขียว ช่วงหมอชิต-สะพานใหม่-คูคต
- สถานีศูนย์ราชการนนทบุรี เชื่อมต่อรถไฟฟ้ามหานคร สายฉลองรัชธรรม (MRT สายสีม่วง)
ส่วนโครงการรถไฟฟ้ามหานคร สายสีชมพู ส่วนต่อขยาย ช่วงสถานีศรีรัช-เมืองทองธานีนั้น เชื่อมต่อโครงการรถไฟฟ้ามหานคร สายสีชมพูที่สถานีเมืองทองธานี (PK10) โดยสถานีรถไฟฟ้าส่วนต่อขยายฯ ประกอบไปด้วย สถานีอิมแพ็ค เมืองทองธานี (MT01) และสถานีทะเลสาบเมืองทองธานี (MT02) มีระยะทางโดยประมาณ 3 กิโลเมตร

อัพเดทรายชื่อ ที่ตั้งสถานี รถไฟฟ้าสายสีชมพู ล่าสุด
เปิดเส้นทางการเดินรถไฟฟ้าสายสีชมพู เริ่นต้นที่ศูนย์ราชการนนทบุรี – มีนบุรี รวมทั้งหมด 30 สถานี มีรายละเอียดดังนี้
- PK01 สถานีศูนย์ราชการนนทบุรี สถานีต้นทางริมถนนรัตนาธิเบศร์ บริเวณหน้าศูนย์ราชการจังหวัดนนทบุรีและบริษัท ไทยคม จำกัด (มหาชน) เป็นสถานีเชื่อมต่อกับรถไฟฟ้าสายฉลองรัชธรรม (สายสีม่วง) ช่วงบางใหญ่-บางซื่อ
- PK02 สถานีแคราย บนถนนติวานนท์ บริเวณด้านหน้าสถาบันทรวงอก
- PK03 สถานีสนามบินน้ำ บนถนนติวานนท์ใกล้กับสามแยกสนามบินน้ำ
- PK04 สถานีสามัคคี บนถนนติวานนท์ ใกล้ทางแยกเข้าถนนสามัคคี ระหว่างคลองบางตลาดกับถนนสามัคคี
- PK05 สถานีกรมชลประทาน บนถนนติวานนท์ ใกล้กับโรงเรียนชลประทานวิทยา
- PK06 สถานีแยกปากเกร็ด บริเวณหัวมุมทางแยกปากเกร็ด ก่อนเข้าสู่ถนนแจ้งวัฒนะ
- PK07 สถานีเลี่ยงเมืองปากเกร็ด บนถนนแจ้งวัฒนะ บริเวณหน้าห้างบิ๊กซี และโฮมโปร ก่อนถึงทางแยกเลี่ยงเมืองปากเกร็ด
- PK08 สถานีแจ้งวัฒนะ-ปากเกร็ด 28 บนถนนแจ้งวัฒนะ ใกล้กับห้างสรรพสินค้าเซ็นทรัลแจ้งวัฒนะ บริเวณซอยแจ้งวัฒนะ-ปากเกร็ด 28
- PK09 สถานีศรีรัช บนถนนแจ้งวัฒนะ บริเวณซอยแจ้งวัฒนะ-ปากเกร็ด 35 ก่อนถึงทางด่วนศรีรัช ใกล้กับหมู่บ้านเมืองทองธานี
- PK10 สถานีเมืองทองธานี บนถนนแจ้งวัฒนะ บริเวณหน้าสำนักงานซ่อมบำรุงกรมทางหลวงและห้างแม็คโคร สาขาแจ้งวัฒนะ
- PK11 สถานีแจ้งวัฒนะ 14 บนถนนแจ้งวัฒนะ ระหว่างบิ๊กซีแจ้งวัฒนะและซอยแจ้งวัฒนะ 14
- PK12 สถานีศูนย์ราชการเฉลิมพระเกียรติ บนถนนแจ้งวัฒนะ บริเวณหน้ากรมการกงศุล ใกล้กับศูนย์ราชการเฉลิมพระเกียรติ 80 พรรษา
- PK13 สถานีโทรคมนาคมแห่งชาติ บนถนนแจ้งวัฒนะ ระหว่างซอยแจ้งวัฒนะ 5 และซอยแจ้งวัฒนะ 7
- PK14 สถานีหลักสี่ บริเวณจุดตัดถนนแจ้งวัฒนะและถนนวิภาวดีรังสิต สามารถเชื่อมต่อกับโครงการระบบรถไฟฟ้าสายสีแดง ช่วงบางซื่อ-รังสิต
- PK15 สถานีราชภัฏพระนคร สถานีสุดท้ายบนถนนแจ้งวัฒนะ บริเวณด้านหน้ามหาวิทยาลัยราชภัฏพระนคร
- PK16 สถานีวัดพระศรีมหาธาตุ บริเวณวงเวียนอนุสาวรีย์พิทักษ์รัฐธรรมนูญ สามารถเชื่อมต่อกับโครงการรถไฟฟ้าสายสีเขียว ช่วงหมอชิต-สะพานใหม่-คูคต
- PK17 สถานีรามอินทรา 3 สถานีแรกบนถนนรามอินทรา บริเวณหน้าโครงการลุมพินี รามอินทรา-หลักสี่ และศูนย์พัฒนากีฬากองทัพบก
- PK18 สถานีลาดปลาเค้า บนถนนรามอินทราระหว่างซอยรามอินทรา 21 และซอยรามอินทรา 23 ใกล้กับห้างสรรพสินค้าบิ๊กซีเอ็กซ์ตร้า
- PK19 สถานีรามอินทรา กม.4 บนถนนรามอินทรา ระหว่างซอยรามอินทรา 33 และซอยรามอินทรา 37
- PK20 สถานีมัยลาภ บนถนนรามอินทราหน้าปากซอยรามอินทรา 41 ใกล้กับสามแยกมัยลาภ
- PK21 สถานีวัชรพล บนถนนรามอินทรา ถัดจากทางพิเศษฉลองรัช บริเวณซอยรามอินทรา 59 และซอยรามอินทรา 61
- PK22 สถานีรามอินทรา กม.6บนถนนรามอินทรา ช่วงระหว่างซอยรามอินทรา 40 และซอยรามอินทรา 42
- PK23 สถานีคู้บอน บนถนนรามอินทราช่วงระหว่างซอยรามอินทรา 69 และซอยรามอินทรา 46
- PK24 สถานีรามอินทรา กม.9บนถนนรามอินทรา ใกล้กับโรงพยาบาลสินแพทย์ ช่วงระหว่างซอยรามอินทรา 54 และซอยรามอินทรา 56
- PK25 สถานีวงแหวนรามอินทราบนถนนรามอินทราถัดจากถนนวงแหวนรอบนอกฝั่งตะวันออก ใกล้ศูนย์การค้าแฟชั่นไอส์แลนด์ และ The Promenade
- PK26 สถานีนพรัตน์บนถนนรามอินทรา ใกล้ซอยรามอินทรา 103/1 และโรงพยาบาลนพรัตน์
- PK27 สถานีบางชัน บนถนนบริเวณซอยรามอินทรา 113 และซอยรามอินทรา 115
- PK28 สถานีเศรษฐบุตรบำเพ็ญ บนถนนรามอินทราใกล้กับโรงเรียนเศรษฐบุตรบำเพ็ญ ระหว่างซอยรามอินทรา 121 และ ซอยรามอินทรา 123
- PK29 สถานีตลาดมีนบุรี สถานีแรกบนถนนสีหบุรานุกิจ บริเวณหน้าตลาดนัดจตุจักร 2
- PK30 สถานีมีนบุรี ริมถนนรามคำแหง บริเวณศูนย์ซ่อมบำรุงของระบบขนส่งมวลชนสายสีชมพูฯ ใกล้กับถนนรามคำแหง เป็นสถานีปลายทางของโครงการ และสามารถเชื่อมต่อกับโครงการรถไฟฟ้าสายสีส้ม ช่วงตลิ่งชัน-มีนบุรี
อัตราค่าโดยสารรถไฟฟ้าสายสีชมพู
สำหรับอัตราค่าโดยสารจะเริ่มต้นที่ 14 บาท สูงสุด 42 บาท และจะปรับเปลี่ยนตามดัชนีราคาผู้บริโภค (CPI) โดยจะใช้ CPI 3 เดือนก่อนวันที่เริ่มให้บริการ คาดว่ารถไฟฟ้าสายสีมพู จะมีค่าโดยสาร เริ่มต้น 15 บาท สูงสุด 45 บาท เฉลี่ยกิโลเมตรละ 1.22 บาท
แต่อย่างไรก็ตามอัตราค่าโดยสารอาจมีการเปลี่ยนแปลงได้ เนื่องจากในปีเดียวกันก็มีการคาดการณ์ค่าโดยสายของรถไฟฟ้าสายสีเหลืองจะอยู่ในช่วง 14-42 บาท แต่เมื่อโครงการรถไฟฟ้าสายสีเหลืองเปิดตัวจริง อัตราค่าโดยสารกลับปรับตัวขึ้นเป็น 15-45 บาท โดยคิดอัตราค่าบริการตามระยะทาง

รถไฟฟ้าสายสีชมพูเชื่อมต่อกับรถไฟฟ้าอื่น ๆ อีก 6 สาย
เส้นทางรถไฟฟ้าสายสีชมพูมีจุดเริ่มต้นอยู่ที่สถานีศูนย์ราชการนนทบุรี วิ่งในทิศตะวันออกเข้าสู่กรุงเทพเหนือโซนหลักสี่-รังสิต และวิ่งไปทางทิศตะวันออกเพื่อไปสู่เขตมีนบุรีที่เป็นปลายทางในเฟสแรก ระหว่างทางมีจุดเชื่อมต่อกับรถไฟฟ้าสายอื่น ๆ ถึง 3 สายในปัจจุบัน และ 3 สายในอนาคต รวมทั้งสิ้น 6 สายสำคัญที่จะเชื่อมการคมนาคมในกรุงเทพสมบูรณ์แบบยิ่งขึ้น
โครงการรถไฟฟ้าสายสีชมพูมีจุดเชื่อมต่อกับรถไฟฟ้าสายอื่น ๆ ถึง 6 สาย แบ่งเป็นสายที่เปิดให้บริการแล้วในปัจจุบัน 3 สาย และ สายในอนาคตอีก 3 สาย ดังนี้
- เส้นทางรถไฟฟ้าที่เปิดให้บริการแล้วในปัจจุบัน
- รถไฟฟ้ามหานครสายฉลองรัชธรรม (บางใหญ่-เตาปูน-ราษฎร์บูรณะ) หรือรถไฟฟ้า MRT สายสีม่วง สถานีศูนย์ราชการนนทบุรี
- รถไฟฟ้าชานเมืองสายธานีรัถยา หรือรถไฟฟ้าสายสีแดงเข้ม สถานีหลักสี่
- รถไฟฟ้าบีทีเอสสายสุขุมวิทช่วงห้าแยกลาดพร้าว-คูคต สถานีวัดพระศรีมหาธาตุ (เป็นสถานีร่วมระหว่างรถไฟฟ้าสายสีชมพูและรถไฟฟ้าบีทีเอส)
- เส้นทางรถไฟฟ้าที่เปิดให้บริการในอนาคต
- รถไฟฟ้าสายสีน้ำตาล สถานีศูนย์ราชการนนทบุรี
- รถไฟฟ้าสายสีเทา สถานีวัชรพล