
ตามที่คณะรัฐมนตรี (ครม.) ได้เห็นชอบมาตรการ “Easy E-Receipt” หรือ “e-Refund” เดิม ซึ่งเป็นการให้นำค่าใช้จ่ายจากการซื้อสินค้า หรือค่าบริการ โดยจะต้องมีใบกำกับภาษีในรูปแบบอิเล็กทรอนิกส์ผ่านระบบ e-Tax Invoice & e-Receipt ใช้จ่ายให้แก่ผู้มิใช่ผู้ประกอบการจดทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่มก็ได้ คือ ค่าหนังสือ หนังสือพิมพ์ นิตยสาร ค่าบริการหนังสือ หนังสือพิมพ์ และนิตยสารที่อยู่ในรูปของข้อมูลอิเล็กทรอนิกส์ ค่าสินค้าหนึ่งตำบลหนึ่งผลิตภัณฑ์ ที่ได้ลงทะเบียนกับกรมการพัฒนาชุมชน
โดยกรณีซื้อสินค้าหรือรับบริการจากผู้มิใช่ผู้ประกอบการจดทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่ม ต้องได้รับใบรับในรูปแบบอิเล็กทรอนิกส์ผ่านระบบ e-Tax Invoice & e-Receipt ของกรมสรรพากร ทั้งนี้ มาตรการดังกล่าวเป็นการสนับสนุนการบริโภคในประเทศ สนับสนุนผู้ประกอบการที่อยู่ในระบบภาษีให้ใช้ระบบภาษีอิเล็กทรอนิกส์ รวมถึงส่งเสริมการผลิตสินค้าท้องถิ่นและการอ่าน ส่งเสริมให้ผู้ประกอบการเข้าสู่ระบบภาษี และการใช้ระบบภาษีอิเล็กทรอนิกส์ โดยมีรายละเอียด ดังนี้
1. ใช้สิทธิหักลดหย่อน ค่าซื้อสินค้า หรือค่าบริการ ไม่เกิน 50,000 บาท
กำหนดให้ผู้มีเงินได้ซึ่งมีหน้าที่เสียภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาหักลดหย่อนค่าซื้อสินค้าหรือค่าบริการเท่าที่ได้จ่ายเป็นค่าซื้อสินค้าหรือค่าบริการสำหรับการซื้อสินค้าหรือการรับบริการในราชอาณาจักรให้กับผู้ประกอบการจดทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่ม
- ตั้งแต่วันที่ 1 มกราคม 2567 ถึงวันที่ 15 กุมภาพันธ์ 2567
- ตามจำนวนที่จ่ายจริง แต่ไม่เกิน 50,000 บาท
2. สินค้าค่าบริการ ที่ไม่สามารถใช้สิทธิหักลดหย่อนได้

โดยจะต้องมีใบกำกับภาษีเต็มรูปแบบ ในรูปแบบอิเล็กทรอนิกส์ผ่านระบบ e-Tax Invoice & e-Receipt ของกรมสรรพากรนั้น ตามมาตรการมีการกำหนดสินค้าและบริการที่ไม่สามารถใช้สิทธิลดหย่อนภาษีตามมาตรการได้ทั้งสิ้น 6 รายการด้วยกัน ดังนี้
- ค่าซื้อสุรา เบียร์ และไวน์
- ค่าซื้อยาสูบ
- ค่าซื้อรถยนต์ รถจักรยานยนต์ และเรือ
- ค่าน้ำมันและก๊าซสำหรับเติมยานพาหนะ
- ค่าสาธารณูปโภค ค่าน้ำประปา ค่าไฟฟ้า ค่าบริการสัญญาณโทรศัพท์ ค่าบริการสัญญาณอินเทอร์เน็ต และค่าบริการสำหรับบริการที่มีข้อตกลงการให้บริการระยะยาว ซึ่งเริ่มต้นก่อนวันที่ 1 มกราคม 2567 หรือสิ้นสุดหลังวันที่ 15 กุมภาพันธ์ 2567 แม้ว่าจะจ่ายค่าบริการระหว่างวันที่ 1 มกราคม 2567 ถึงวันที่ 15 กุมภาพันธ์ 2567 ก็ตาม
- ค่าเบี้ยประกันวินาศภัย โดยหลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขอื่น ๆ เป็นไปตามที่อธิบดีกรมสรรพากรประกาศกำหนด
โดยจะต้องมีใบกำกับภาษีในรูปแบบอิเล็กทรอนิกส์ผ่านระบบ e-Tax Invoice & e-Receipt เว้นแต่ค่าซื้อสินค้าหรือค่าบริการดังต่อไปนี้ จะจ่ายให้แก่ผู้มิใช่ผู้ประกอบการจดทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่มก็ได้ คือ ค่าหนังสือ หนังสือพิมพ์ นิตยสาร ค่าบริการหนังสือ หนังสือพิมพ์ และนิตยสารที่อยู่ในรูปของข้อมูลอิเล็กทรอนิกส์ ค่าสินค้าหนึ่งตำบลหนึ่งผลิตภัณฑ์ ที่ได้ลงทะเบียนกับกรมการพัฒนาชุมชน โดยกรณีซื้อสินค้าหรือรับบริการจากผู้มิใช่ผู้ประกอบการจดทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่ม ต้องได้รับใบรับในรูปแบบอิเล็กทรอนิกส์ผ่านระบบ e-Tax Invoice & e-Receipt ของกรมสรรพากร
สินค้าใช้สิทธิ Easy E-Receipt ไม่จำเป็นต้องอยู่ในระบบภาษีมูลค่าเพิ่ม

มีสินค้า และบริการที่สามารถใช้สิทธิได้ จำนวน 3 รายการ ดังนี้
- ค่าหนังสือ หนังสือพิมพ์ นิตยสาร
- ค่าบริการหนังสือ หนังสือพิมพ์ และนิตยสารที่อยู่ในรูปของข้อมูลอิเล็กทรอนิกส์ผ่านระบบอินเทอร์เน็ต
- ค่าสินค้าหนึ่งตำบลหนึ่งผลิตภัณฑ์ซึ่งเป็นสินค้าที่ได้ลงทะเบียนกับกรมการพัฒนาชุมชนแล้ว

โดยกรณีซื้อสินค้าหรือรับบริการดังกล่าวจากผู้มิใช่ผู้ประกอบการจดทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่ม ต้องได้รับใบรับในรูปแบบใบรับอิเล็กทรอนิกส์ผ่านระบบ e-Tax Invoice & e-Receipt ของกรมสรรพากร ดังนั้นการลดหย่อนภาษี 50,000 บาท จะได้รับเงินภาษีเท่าใดขึ้นอยู่กับบุคคลนั้นๆ จ่ายภาษีในอัตราใด
กรณีเป็นผู้เสียภาษีอัตราสูงสุด 35% เป็นผู้มีรายได้ปีละมากกว่า 5 ล้านบาท
- ใช้สิทธิลดหย่อนเต็มที่ 50,000 บาท ก็จะได้เงินคืนภาษีสูงสุดถึง 17,500 บาท
- ใช้สิทธิลดหย่อนแค่ 10,000 บาท ก็จะได้คืนภาษี 3,500 บาท
กรณีเป็นผู้เสียภาษีอัตรา 20% เป็นผู้มีรายได้ปีละ 750,000-1,000,000 บาท
- ใช้สิทธิลดหย่อนเต็มที่ 50,000 บาท จะได้เงินคืนภาษีสูงสุด 10,000 บาท
- ใช้สิทธิลดหย่อนแค่ 10,000 บาท ก็จะได้คืนภาษี 2,000 บาท
กรณีเป็นผู้ภาษีในอัตราต่ำสุด 5% เป็นผู้มีรายได้ปีละ 150,000 -300,000 บาท
- ใช้สิทธิเงินคืนภาษี สูงสุด 2,500 บาท
- ใช้สิทธิลดหย่อนเต็มเพดานที่ 50,000 บาท และจะได้เงินคืน 500 บาท
- ใช้สิทธิลดหย่อนเพียง 10,000 บาท จะได้เงินคืน 500 บาท

ทั้งนี้ผู้ประกอบการนิติบุคคล (ไม่จำกัดรายได้) สามารถจัดทำใบกำกับภาษีอิเล็กทรอนิกส์หรือใบรับอิเล็กทรอนิกส์ ผ่านระบบบริการ e-Tax Invoice & e-Receipt โดยมีขั้นตอนการยื่นคำขอใบกำกับภาษี ดังนี้
ขั้นตอนขอใบกำกับภาษีอิเล็กทรอนิกส์ e-Tax Invoice & e-Receipt
1.เข้าเว็บไซต์กรมสรรพากร (www.rd.go.th) เพื่อยื่นคำขอ
2.ดาวน์โหลดโปรแกรม Ultimate Sign & Viewer Free และติดตั้งลงเครื่องคอมพิวเตอร์
3.เชื่อมต่ออุปกรณ์ Token หรือ HSM ที่จัดเก็บใบรับรองอิเล็กทรอนิกส์กับเครื่องคอมพิวเตอร์
4.กรอกเลขประจำตัวผู้เสียภาษีอากรและตรวจสอบข้อมูล
5.ลงลายมือชื่อใน บ.อ.01 และข้อตกลง
6.ตรวจสอบอีเมล และสร้างบัญชีผู้ใช้งาน
7.ตรวจสอบรายชื่อผู้ได้รับอนุมัติ บ.อ.01 ได้ที่เว็บไซต์กรมสรรพากร
ขั้นตอนขอทำใบภาษี และใบรับอิเล็กทรอนิกส์ e-Tax Invoice by Email
1.เข้าเว็บไซต์กรมสรรพากร www.rd.go.th เพื่อยื่นคำขอ
2.กรอกเลขประจำตัวผู้เสียภาษีอากรและตรวจสอบข้อมูล พิมพ์เอกสาร ก.อ.01 เพื่อลงนาม
3.สแกน ก.อ.01 และเอกสารเกี่ยวข้องเพื่ออัปโหลดเอกสาร
4.กรมสรรพากรตรวจสอบความถูกต้องและจัดส่งเอกสารยืนยันทางไปรษณีย์ พร้อมรหัสยืนยัน (Activate Code)
5.ยืนยันตัวตนผ่านทางเว็บไซต์ และกำหนดรหัสผ่านภายใน 15 วันทำการ
6.แจ้งอีเมลที่ประสงค์จะใช้ในการส่งใบกำกับภาษีและใบรับ
7.ตรวจสอบรายชื่อผู้ได้รับอนุมัติ ก.อ.01 ได้ที่เว็บไซต์กรมสรรพากร
ผู้ประกอบการสามารถดูรายละเอียดเพิ่มเติม และศึกษารายละเอียด
ลงทะเบียนได้ที่ https://etax.rd.go.th หรือสายด่วน โทร.1161