สาระควรรู้ทั่วไป

บ้านที่เราซื้อมาใหม่ หรืออยู่อาศัยมาพักหนึ่งแล้ว เรามักต้องการต่อเติมเปลี่ยนแปลง เพื่อให้เหมาะสมกับสภาพการใช้งานหรือเปลี่ยนบรรยากาศของบ้าน หากปรับเปลี่ยนสุ่มสี่สุ่มห้าอาจมีความผิดตั้งแต่ถูกปรับจนถึงจำคุกได้ เพราะกฎหมายกำหนดไว้ว่าการดัดแปลงอาคารโดยมิได้รับอนุญาต มีโทษจำคุกไม่เกิน 3 เดือน หรือปรับไม่เกิน 60,000 บาท หรือทั้งจำทั้งปรับ

ประกาศอสังหาริมทรัพย์ใหม่ บ้าน บ้าน รายการล่าสุด บ้านเดี่ยว บ้านเดี่ยว รายการล่าสุด ทาวน์เฮ้าส์ ทาวน์เฮ้าส์ รายการล่าสุด ทาวน์โฮม ทาวน์โฮม รายการล่าสุด คอนโด คอนโด รายการล่าสุด อาคารพาณิชย์ อาคารพาณิชย์ รายการล่าสุด อพาร์ทเม้นท์ อพาร์ทเม้นท์ รายการล่าสุด สำนักงาน สำนักงาน รายการล่าสุด โฮมออฟฟิศ โฮมออฟฟิศ รายการล่าสุด ธุรกิจ ธุรกิจ รายการล่าสุด โรงงาน โรงงาน รายการล่าสุด คลังสินค้า คลังสินค้า รายการล่าสุด โกดัง โกดัง รายการล่าสุด ที่ดิน ที่ดิน รายการล่าสุด ลงประกาศฟรี ผู้รับเหมา รายการล่าสุด ผู้รับเหมา ลงประกาศฟรี ผู้รับเหมา ข่าวประชาสัมพันธ์ รายการล่าสุด ข่าวประชาสัมพันธ์ พรีวิวโครงการใหม่ รายการล่าสุด พรีวิวโครงการใหม่ ตกแต่งที่อยู่อาศัย รายการล่าสุด ตกแต่งที่อยู่อาศัย สาระควรรู้ ที่อยู่อาศัย รายการล่าสุด สาระควรรู้ ที่อยู่อาศัย ฮวงจุ้ย ที่อยู่อาศัย รายการล่าสุด ฮวงจุ้ย ที่อยู่อาศัย สินเชื่อ ที่อยู่อาศัย รายการล่าสุด สินเชื่อ ที่อยู่อาศัย SME รายการล่าสุด SME สถานที่ท่องเที่ยว รายการล่าสุด สถานที่ท่องเที่ยว

การต่อเติมบ้าน ทำอย่างไรให้ถูกกฎหมาย จะไม่โดนย้อนหลัง

บ้านที่เราซื้อมาใหม่ หรืออยู่อาศัยมาพักหนึ่งแล้ว เรามักต้องการต่อเติมเปลี่ยนแปลง เพื่อให้เหมาะสมกับสภาพการใช้งานหรือเปลี่ยนบรรยากาศของบ้าน หากปรับเปลี่ยนสุ่มสี่สุ่มห้าอาจมีความผิดตั้งแต่ถูกปรับจนถึงจำคุกได้ เพราะกฎหมายกำหนดไว้ว่าการดัดแปลงอาคารโดยมิได้รับอนุญาต มีโทษจำคุกไม่เกิน 3 เดือน หรือปรับไม่เกิน 60,000 บาท หรือทั้งจำทั้งปรับ

ดังนั้น การก่อสร้างดัดแปลงใดๆ เราควรมีความรู้เกี่ยวกับกฎหมายไว้บ้าง ซึ่งตามพระราชบัญญัติควบคุมอาคาร กฎหมายหลักในการควบคุมการก่อสร้างอาคารกำหนดให้ผู้ที่จะก่อสร้าง ดัดแปลง หรือเคลื่อนย้ายอาคารต้องได้รับใบอนุญาตจากเจ้าพนักงานท้องถิ่นก่อน หรือให้แจ้งต่อเจ้าพนักงานท้องถิ่นพร้อมทั้งดำเนินการตามมาตรา 39 ทวิ ก็เป็นอันใช้ได้

              ลองตรวจดูรายละเอียดการเปลี่ยนแปลงต่อเติมบ้านของเรากันก่อนดีกว่าครับ ว่าเข้าข่ายเป็นการดัดแปลงอาคารหรือไม่ ซึ่งกฎหมายบอกว่าการกระทำดังต่อไปนี้ (ตามกฎกระทรวง ฉบับที่ 11) ไม่ถือเป็นการดัดแปลงอาคาร คือ

การเปลี่ยนโครงสร้างของอาคารโดยใช้วัสดุขนาด จำนวน และชนิดเดียวกับของเดิม เว้นแต่การเปลี่ยนโครงสร้างของอาคารที่เป็นคอนกรีตเสริมเหล็ก คอนกรีตอัดแรง หรือเหล็กโครงสร้างรูปพรรณ

         ข้อนี้หมายถึงสิ่งที่เราเรียกกันว่าโครงสร้างของอาคาร อาทิ เสา คาน ตงที่เป็นไม้ เป็นต้น หากโครงสร้างอาคารเหล่านี้มีอาการชำรุด เช่นปลวกขึ้น ทำให้ไม้ผุ เราจำเป็นต้องเปลี่ยนโครงสร้างเหล่านั้นใหม่ การใช้ไม้เช่นเดิม จำนวนและขนาดเท่าเดิมก็ไม่ถือเป็นการดัดแปลงอาคาร

         แต่หากโครงสร้างเหล่านี้เป็นคอนกรีตเสริมเหล็ก คอนกรีตอัดแรง หรือเหล็กโครงสร้างรูปพรรณเกิดเป็นสนิมผุกร่อน ถ้าต้องเปลี่ยนใหม่ก็ต้องขออนุญาตก่อนครับ แม้จะใช้วัสดุอุปกรณ์ ขนาด จำนวนเท่ากันก็ตาม 

การเปลี่ยนส่วนต่างๆของอาคารที่ไม่เป็นโครงสร้างของอาคาร โดยใช้วัสดุชนิดเดียวกับของเดิมหรือวัสดุชนิดอื่น ซึ่งเป็นการเพิ่มน้ำหนักให้แก่โครงสร้างของอาคารเดิมส่วนหนึ่งส่วนใดเกินร้อยละสิบ

           ข้อนี้หมายถึงส่วนที่ไม่ใช่โครงสร้างอาคาร เช่น พื้น ผนัง เป็นต้น ที่เคยเป็นพื้นปาร์เก้ อยากเปลี่ยนเป็นพื้นหินอ่อน หินแกรนิต อย่างนี้ก็ต้องคำนวณน้ำหนักดูด้วยว่าเพิ่มขึ้นกว่าเดิมเกินร้อยละสิบหรือไม่ ไม่เกินก็ไม่เป็นไร แต่หากเกินก็ต้องยื่นขออนุญาต ปัญหาอยู่ที่ว่าถ้าคำนวณน้ำหนักด้วยตนเองไม่เป็น ก็ควรให้วิศวกรเป็นผู้คำนวณให้ เพราะหากน้ำหนักเพิ่มขึ้นมากก็จะทำให้โครงสร้างอาคารต้องรับน้ำหนักเพิ่มมากขึ้นตามไปด้วย อย่างนี้อันตรายครับ 

การเปลี่ยนแปลง การต่อเติม การเพิ่ม การลด หรือการขยายซึ่งลักษณะขอบเขต แบบ รูปทรง สัดส่วน น้ำหนัก เนื้อที่ส่วนต่างๆของอาคารที่ไม่เป็นโครงสร้างของอาคาร ซึ่งไม่เป็นการเพิ่มน้ำหนักให้กับโครงสร้างของอาคารเดิมส่วนหนึ่งส่วนใดเกินร้อยละสิบ

         ข้อนี้ไม่แตกต่างจากข้อสองมากนัก เพราะเป็นการเปลี่ยนแบบ เปลี่ยนสไตล์ของพื้นที่เล็กๆน้อยๆภายในบ้านและไม่ก่อให้เกิดน้ำหนักเพิ่มแต่ประการใด อาทิ การเปลี่ยนแบบประตู หน้าต่าง เปลี่ยนลายกระเบื้อง ฝ้า เพดาน กรณีนี้ไม่ต้องยื่นขออนุญาต หรือหากการเปลี่ยนอุปกรณ์ชิ้นนั้นๆ มีน้ำหนักเพิ่มขึ้นมาบ้าง แต่ไม่เกินร้อยละสิบของน้ำหนักเดิมก็ไม่จำเป็นต้องยื่นขออนุญาตแต่อย่างใด เปลี่ยนอย่างนี้ไม่ผิดกฎหมายครับ 

การลดหรือขยายเนื้อที่ของพื้นที่ชั้นใดชั้นหนึ่งให้มีเนื้อที่น้อยลงหรือมากขึ้นรวมกันไม่เกิน 5 ตารางเมตร โดยไม่ลดหรือเพิ่มจำนวนเสาหรือคาน

            ยกตัวอย่างเช่น เดิมพื้นบ้านเป็นพื้นเรียบๆอยู่แล้ว เราไปเจาะเป็นช่องเพื่อระบายอากาศหรืออะไรก็แล้วแต่ อย่างนี้ไม่ต้องยื่นขออนุญาตครับ

การลดหรือการขยายเนื้อที่ของหลังคาให้มีเนื้อที่มากขึ้นรวมกันไม่เกิน 5 ตารางเมตร โดยไม่ลดหรือเพิ่มจำนวนเสาหรือคาน

              ยกตัวอย่างเช่น การทำหลังคาคลุมดาดฟ้าโดยยื่นจากเดิมออกไปโดยรวมแล้วเป็นการเพิ่มเนื้อที่ออกไปไม่เกิน 5 ตารางเมตร และไม่ทำให้คานและเสาเดิมต้องรับน้ำหนักเพิ่มเกินกว่าร้อยละสิบจากเดิม อย่างนี้ก็ไม่ต้องยื่นขออนุญาตครับ

             มีข้อแนะนำอื่นๆอีกที่ต้องดูประกอบเพิ่มเติม อาทิ การเปลี่ยนแปลงแก้ไขบ้านจากแบบเดิมเป็นแบบใหม่ เช่น การเปลี่ยนผนังบ้านตามข้อ 2 นั้น จะต้องไม่ขัดกับกฎกระทรวงหรือข้อบัญญัติอื่นๆด้วย กล่าวคือ หากของเดิมที่กฎกระทรวงกำหนดไว้ให้ต้องสร้างเป็นผนังกันไฟ แต่ไปเปลี่ยนเป็นผนังธรรมดา อย่างนี้ผิด

            หรือตามข้อที่ 3 ด้านที่เป็นผนังทึบของอาคารชั้น 3 ห่างจากเขตที่ดินของผู้อื่นไม่ถึงสามเมตร แต่กลับไปเจาะทำประตูหน้าต่าง หรือที่ระบายลมด้านนั้นก็ไม่ได้ เพราะผิดข้อบัญญัติ หรือในกรณีข้อที่ 5 จะทำหลังคาคลุมพื้นชั้นล่าง แม้ว่าเนื้อที่จะเพิ่มขึ้นไม่ถึง 5 ตารางเมตร แต่ถ้าหลังคานั้นทำให้ที่ดินที่เป็นที่ว่างปราศจากสิ่งปกคลุมลดน้อยลงไปกว่าร้อยละ 30 ก็ถือเป็นการขัดข้อบัญญัติ ทำไม่ได้

            ท้ายที่สุด คงต้องตอบคำถามจากหัวเรื่องอีกครั้งหนึ่งที่ว่า ต่อเติมบ้านอย่างไรให้ถูกกฎหมาย ก็คือว่า พิจารณาว่าเข้าองค์ประกอบข้างต้นหรือไม่ อย่างน้อยหากเข้าข่ายกับหลักเกณฑ์ดังกล่าว แล้วต้องยื่นขออนุญาตจากเจ้าพนักงานท้องถิ่น ก็ถือว่าได้ทำถูกต้องตามกฎหมายเบื้องต้นแล้วครับ ส่วนรายละเอียดการดัดแปลง ก่อสร้างอื่นๆ คงต้องพิจารณากันเป็นกรณีๆไป

            และถ้าถามต่อกันอีกสักข้อว่า ที่ต่อเติมครัวด้านหลังทาวน์เฮ้าส์ที่นิยมทำกันอยู่ทุกบ้านเข้าข่ายดัดแปลงไหม ต้องตอบว่าเข้าข่ายแน่นอน ฉะนั้น ปฏิบัติตามกฎหมายไว้ก่อนเป็นดีที่สุด


ขอบคุณข้อมูลจาก www.freesplans.com
  • 5 แอพพลิเคชั่นสุดเจ๋งที่คนรักบ้านไม่ควรพลาด เพื่อตอบโจทย์ทุกชีวิตคนเมืองในยุคไทยแลนด์ 4.0
  • แกๆ เช็คของก่อนใช้ยัง !! 7 น้ำยาทำความสะอาดหมดอายุหรือยังน่า ?
  • วิธีทำความสะอาดเตาอบ สะอาดดูเหมือนใหม่ ใช้งานได้อย่างยาวนาน
  • เตรียมความพร้อมก่อนเดินทางช่วง " ปีใหม่ " เช็ครถให้ชัวร์ก่อนเดินทาง
  • 5 เคล็ดลับดีๆ จัดการกลิ่นในห้องครัว
  • หมดปัญหาถังเก็บน้ำใต้ดินรั่วซึม โดยการเปลี่ยนมาใช้ถังบนดิน!!
  • 10 ไอเดียใช้หนังสือพิมพ์เก่าๆ ให้ได้ประโยชน์คุ้มค่า
  • 14 อุปกรณ์ครัวที่คุณแม่บ้านต้องรีบกำจัดออกจากครัวโดยด่วนที่สุด
  • 8 ทริคขจัดฝ้าบนกระจกให้หายวิ๊ง ไม่เหลือคราบการเกิดซ้ำ
  • ระเบียบข้อบังคับจราจร การจอดรถในพื้นที่สาธารณะ ส่วนกลางหมู่บ้าน
  • เลือกอิฐแบบไหน อิฐมอญ อิฐมวลเบา อิฐบล็อก เหมาะกับสร้างบ้าน ประหยัดงบมากที่สุด
  • เช็คสิทธิ ทะเบียนราษฎร "เจ้าของบ้าน" กับ "เจ้าบ้าน" ในทะเบียนบ้าน ใครสิทธิเหนือกว่า หน้าที่ต่างกันอย...
  • เคล็ดไม่ลับ 10 วิธีซักผ้าสีตก คราบสีฝังแน่นอย่าทิ้ง ทำให้เสื้อกลับมาใส่ได้อีกครั้งดีกว่า
  • ข้อควรรู้ ซื้อบ้าน และที่ดินในโครงการจัดสรร เรื่องใดที่ควรทำหลังโอนกรรมสิทธิ์ที่ดิน
  • แอร์ยี่ห้อไหนประหยัดไฟ 2567 ลดการใช้พลังงาน ช่วยประหยัดไฟได้ดี
  • การต่อเติมบ้าน ทำอย่างไรให้ถูกกฎหมาย จะไม่โดนย้อนหลัง

    บ้านที่เราซื้อมาใหม่ หรืออยู่อาศัยมาพักหนึ่งแล้ว เรามักต้องการต่อเติมเปลี่ยนแปลง เพื่อให้เหมาะสมกับสภาพการใช้งานหรือเปลี่ยนบรรยากาศของบ้าน หากปรับเปลี่ยนสุ่มสี่สุ่มห้าอาจมีความผิดตั้งแต่ถูกปรับจนถึงจำคุกได้ เพราะกฎหมายกำหนดไว้ว่าการดัดแปลงอาคารโดยมิได้รับอนุญาต มีโทษจำคุกไม่เกิน 3 เดือน หรือปรับไม่เกิน 60,000 บาท หรือทั้งจำทั้งปรับ

    © สงวนลิขสิทธิ์ 2567 บริษัท ไทยโฮมทาวน์ จำกัด
    @thaihometown Scroll