สาระควรรู้ทั่วไป

อย่างไรก็ตาม ก่อนจะรีไฟแนนซ์ต้องลองคำนวนอะไรหลาย ๆ อย่างด้วยตนเองก่อนนะคะ ว่าคุ้มค่ากับการที่จะรีไฟแนนซ์หรือไม่ ในกรณีของเรา ถือว่าคุ้มค่ามากค่ะ เพราะดอกเบี้ยถูกลงครึ่งต่อครึ่งเลย

ประกาศอสังหาริมทรัพย์ใหม่ บ้าน บ้าน รายการล่าสุด บ้านเดี่ยว บ้านเดี่ยว รายการล่าสุด ทาวน์เฮ้าส์ ทาวน์เฮ้าส์ รายการล่าสุด ทาวน์โฮม ทาวน์โฮม รายการล่าสุด คอนโด คอนโด รายการล่าสุด อาคารพาณิชย์ อาคารพาณิชย์ รายการล่าสุด อพาร์ทเม้นท์ อพาร์ทเม้นท์ รายการล่าสุด สำนักงาน สำนักงาน รายการล่าสุด โฮมออฟฟิศ โฮมออฟฟิศ รายการล่าสุด ธุรกิจ ธุรกิจ รายการล่าสุด โรงงาน โรงงาน รายการล่าสุด คลังสินค้า คลังสินค้า รายการล่าสุด โกดัง โกดัง รายการล่าสุด ที่ดิน ที่ดิน รายการล่าสุด ลงประกาศฟรี ผู้รับเหมา รายการล่าสุด ผู้รับเหมา ลงประกาศฟรี ผู้รับเหมา ข่าวประชาสัมพันธ์ รายการล่าสุด ข่าวประชาสัมพันธ์ พรีวิวโครงการใหม่ รายการล่าสุด พรีวิวโครงการใหม่ ตกแต่งที่อยู่อาศัย รายการล่าสุด ตกแต่งที่อยู่อาศัย สาระควรรู้ ที่อยู่อาศัย รายการล่าสุด สาระควรรู้ ที่อยู่อาศัย ฮวงจุ้ย ที่อยู่อาศัย รายการล่าสุด ฮวงจุ้ย ที่อยู่อาศัย สินเชื่อ ที่อยู่อาศัย รายการล่าสุด สินเชื่อ ที่อยู่อาศัย SME รายการล่าสุด SME สถานที่ท่องเที่ยว รายการล่าสุด สถานที่ท่องเที่ยว

ขั้นตอนการรีไฟแนนซ์

อย่างไรก็ตาม ก่อนจะรีไฟแนนซ์ต้องลองคำนวนอะไรหลาย ๆ อย่างด้วยตนเองก่อนนะคะ ว่าคุ้มค่ากับการที่จะรีไฟแนนซ์หรือไม่ ในกรณีของเรา ถือว่าคุ้มค่ามากค่ะ เพราะดอกเบี้ยถูกลงครึ่งต่อครึ่งเลย

1) ติดต่อขอ Statement สรุปยอดหนี้เงินกู้กับธนาคาร A (เก่า)
- ซึ่งทางธนาคารจะประเมินยอดหนี้ให้คร่าว ๆ โดยประมาณยอดเงินต้น+ดอกเบี้ยที่ต้องชำระไว้ให้ 1 เดือนหลังจากที่ไปติดต่อ
**อาจจะมีค่าใช้จ่ายหรือไม่ก็ได้ ขึ้นอยู่กับนโยบายของธนาคารนั้น ๆ ค่ะ แต่ของเราไม่เสียนะคะ**

2) นำเอกสารสรุปยอดหนี้ที่ได้มา ไปทำเรื่องยื่นกู้กับธนาคาร B (ใหม่)
- ซึ่งเราต้องดำเนินการทุกอย่างเหมือนยื่นกู้ใหม่เลยค่ะ จากนั้นรอการติดต่อกลับของทางธนาคารค่ะ
**ถ้าหากธนาคารติดต่อกลับมาล่าช้า สามารถโทรไปสอบถามความคืบหน้าได้นะคะ**

3) ขั้นตอนต่อไป เขาจะส่งเจ้าหน้าที่มาประเมินทรัพย์สิน
- เราก็นัดวันที่ทั้งเราและเขาสะดวกได้เลยนะคะ ตรงนี้จะมีค่าใช้จ่ายในการประเมินด้วย
**การยื่นกู้เพื่อไถ่ถอน จะประเมินเพียงรอบเดียวค่ะ**

4) รอผลว่า "อนุมัติ" หรือ "ไม่อนุมัติ" ถ้าอนุมัติแล้วล่ะก็ไปข้อต่อไปกันเลยค่ะ

5) ติดต่อธนาคาร A เพื่อนัดวันไถ่ถอน
- บอกเหตุผลไปด้วยว่า ย้ายไปธนาคารใหม่ ทางธนาคาร A จะให้เรานัดทำเรื่องที่สำนักงานที่ดินได้ตั้งแต่วันไหน (โดยปกติก็ประมาณ 4-5 วันทำการหลังจากที่เราติดต่อขอไถ่ถอน) ให้เราเลือกวัน แล้วจากนั้น ธนาคาร A จะสรุปยอดหนี้ให้อีกครั้ง พร้อมทั้งแจ้งชื่อผู้รับมอบอำนาจของทางธนาคาร ที่จะไปทำนิติกรรมที่สำนักงานที่ดินค่ะ
**ยอดหนี้ตรงนี้ จะเป็นเงินต้น+ดอกเบี้ยจนถึงวันไถ่ถอน เราต้องนำยอดหนี้ตรงนี้ ไปแจ้งทางธนาคาร B อีกครั้งค่ะ**

6) ติดต่อธนาคาร B เพื่อนัดวันทำสัญญา+โอนทรัพย์สินที่ใช้จำนอง (ต้องเป็นวันเดียวกันกับที่นัดกับธนาคาร A)

7) วันนัด ทำสัญญาเงินกู้ที่ธนาคาร B จ่ายค่าเสียหายต่าง ๆ ให้เรียบร้อย
**บางธนาคารก็จะนำสัญญาไปให้เราเซ็นที่สำนักงานที่ดินเลย แต่ของเราต้องไปทำที่สาขาค่ะ**
**ถ้ายอดกู้สูงกว่าราคาไถ่ถอน ธนาคารใหม่จะออกเช็คให้เรา 2 ใบ ใบนึงจ่ายให้กับธนาคารเก่า อีกใบเข้ากระเป๋าเราค่ะ แต่ถ้ายอดกู้ต่ำกว่า เราต้องเตรียมเงินสดไปตอนไปทำเรื่องที่สำนักงานที่ดินด้วยนะคะ**

8) ไปทำเรื่องโอนที่ ณ สำนักงานที่ดิน ในเขตที่ทรัพย์สิน (อสังหาริมทรัพย์น้อย ๆ) ของเราตั้งอยู่ค่ะ ซึ่งจะมีค่าใช้จ่ายเกิดขึ้นด้วยนะคะ
**ผู้ที่ต้องไปดำเนินการ ณ สำนักงานที่ดิน นอกจากเราแล้ว จะมีนิติกรของธนาคารเก่า กับเจ้าหน้าที่ของธนาคารใหม่ไปด้วยค่ะ**

9) มอบโฉนดที่ได้มาจากสำนักงานที่ดินให้กับธนาคาร B เป็นหนี้อีกครั้งด้วยอัตราดอกเบี้ยที่ลดลง กลับบ้านแบบตัวปลิวค่ะ(เพราะวันนั้นวันเดียว จ่ายเงินเหมือนกระเป๋าสตางค์รั่วเลย)

 

สรุป ค่าใช้จ่ายที่สำคัญ

1) ค่า Statement สรุปยอดหนี้ (แล้วแต่ธนาคาร อาจมีหรือไม่มีก็ได้ค่ะ)
2) ค่าประเมินทรัพย์สิน (ของเราประมาณ 1 พันบาท)
3) ค่าธรรมเนียมสินเชื่อ (ของเราประมาณ 2 พันบาท)
4) ค่าอากรสแตมป์ (ประมาณ 5 บาท)
5) ค่าประกันอัคคีภัย (ไม่แน่ใจว่าบังคับทำหรือเปล่า แต่เราทำ เพราะเบี้ยไม่แพงค่ะ 3 ปี 2 พันกว่าบาทเอง)
6) ค่าเช็ค (อันนี้ไม่แน่ใจว่า เรียกเก็บทุกธนาคารหรือเปล่านะคะ แต่ของเราต้องเสียค่ะ ใบละ 10 บาท 2 ใบก็ 20 บาท เอิ๊ก ๆ)
7) ค่านิติกรรม (จ่ายให้กับธนาคารเก่าตอนไปทำเรื่องที่สำนักงานที่ดิน ของเราประมาณ 800 บาท)
8) ค่าไถ่ถอน จ่ายให้กับสำนักงานที่ดิน (อันนี้ไม่แน่ใจว่าคิดจากอะไร แต่ไม่แพงมากค่ะ คงเพราะยอดกู้เราน้อยด้วยมั้งคะ)
9) ค่าจดจำนอง จ่ายให้กับสำนักงานที่ดิน (1% ของยอดกู้ใหม่หรือยอดประเมิน)
10) ค่าพยาน จ่ายให้กับสำนักงานที่ดิน (อันนี้จ่ายพร้อมกับค่าไถ่ถอน และค่าจดจำนองค่ะ ประมาณ 20 บาทต่อรายการมั้งคะ ถ้าจำไม่ผิด)


ขอบคุณข้อมูลจาก gin-no-ishi.exteen.com
  • อยากสั่งของจากเว็บ Taobao แต่ไม่รู้ภาษาจีนจะสั่งได้ไหม?
  • สาระสำคุญที่ต้องระบุใน สัญญาขายคอนโด
  • เทคนิคดูแลเสื้อผ้าอย่างไรเมื่อต้องเจอฝุ่นละออง PM 2.5 เรื่องใกล้ตัวที่ไม่ควรมองข้าม
  • อย่าทรมาณสายตาด้วยการทิ้งของ 9 สิ่งไว้เฉยๆ ควรทำความสะอาดทุกวัน ไม่งั้นโรคถามหาแน่นอน
  • คอนโดเปลี่ยนจาก เช่าอยู่ เพื่อไป ซื้ออยู่ สิ่งที่ต้องคิดมีเรื่องใดบ้าง ?
  • รับมือฤดูร้อนด้วย 7 ต้นไม้คลายร้อน ให้บ้านเย็นสบายไม่ต้องพึ่งแอร์
  • วิธีกำจัดเศษทิชชู่ติดเสื้อผ้า ให้หายเกลี้ยง
  • "วันแห่งความรัก" ประวัติที่น่าสนใจ กับความหมายของ "ดอกกุหลาบ" ในเทศกาล วันวาเลนไทน์
  • สร้างบ้านจากตู้คอนเทนเนอร์ ต้องทำอย่างไร
  • เลือกอิฐแบบไหน อิฐมอญ อิฐมวลเบา อิฐบล็อก เหมาะกับสร้างบ้าน ประหยัดงบมากที่สุด
  • เช็คสิทธิ ทะเบียนราษฎร "เจ้าของบ้าน" กับ "เจ้าบ้าน" ในทะเบียนบ้าน ใครสิทธิเหนือกว่า หน้าที่ต่างกันอย...
  • เคล็ดไม่ลับ 10 วิธีซักผ้าสีตก คราบสีฝังแน่นอย่าทิ้ง ทำให้เสื้อกลับมาใส่ได้อีกครั้งดีกว่า
  • ข้อควรรู้ ซื้อบ้าน และที่ดินในโครงการจัดสรร เรื่องใดที่ควรทำหลังโอนกรรมสิทธิ์ที่ดิน
  • แอร์ยี่ห้อไหนประหยัดไฟ 2567 ลดการใช้พลังงาน ช่วยประหยัดไฟได้ดี
  • วิธีเลือกเครื่องกรองน้ำ ใช้เครื่องกรองระบบไหนดี ตรวจสอบไส้กรองหลังการใช้งานอย่างไร
  • ขั้นตอนการรีไฟแนนซ์

    อย่างไรก็ตาม ก่อนจะรีไฟแนนซ์ต้องลองคำนวนอะไรหลาย ๆ อย่างด้วยตนเองก่อนนะคะ ว่าคุ้มค่ากับการที่จะรีไฟแนนซ์หรือไม่ ในกรณีของเรา ถือว่าคุ้มค่ามากค่ะ เพราะดอกเบี้ยถูกลงครึ่งต่อครึ่งเลย

    © สงวนลิขสิทธิ์ 2567 บริษัท ไทยโฮมทาวน์ จำกัด
    @thaihometown Scroll