สาระควรรู้ทั่วไป

คุณแม่บ้าน พ่อบ้านคงพอจะทราบว่า ของใช้บางอย่างเมื่อเสีย หรือชำรุด หรือใช้งานเสร็จเรียบร้อย จากของมีประโยชน์มันกลายเป็นสิ่งอันตรายไปในทันที เช่นหลอดไฟฟ้า ถ่ายไฟฉาย น้ำยาทำความสะอาด ยาฆ่าแมลง ฯลฯ คิดไว้ว่าเรื่องใกล้ตัวแบบนี้เราไม่ควรมองข้าม เพราะหากกำจัดไม่ถูกวิธี หรือเก็บซ่อนไว้มันอาจเป็นอันตรายกับคนในครอบครัว จึงรวบรวมวิธีจัดการกับของอันตราย ของเสียในบ้านเหล่านี้ เพื่อความปลอดภัยของสมาชิกทุกคน

ประกาศอสังหาริมทรัพย์ใหม่ บ้าน บ้าน รายการล่าสุด บ้านเดี่ยว บ้านเดี่ยว รายการล่าสุด ทาวน์เฮ้าส์ ทาวน์เฮ้าส์ รายการล่าสุด ทาวน์โฮม ทาวน์โฮม รายการล่าสุด คอนโด คอนโด รายการล่าสุด อาคารพาณิชย์ อาคารพาณิชย์ รายการล่าสุด อพาร์ทเม้นท์ อพาร์ทเม้นท์ รายการล่าสุด สำนักงาน สำนักงาน รายการล่าสุด โฮมออฟฟิศ โฮมออฟฟิศ รายการล่าสุด ธุรกิจ ธุรกิจ รายการล่าสุด โรงงาน โรงงาน รายการล่าสุด คลังสินค้า คลังสินค้า รายการล่าสุด โกดัง โกดัง รายการล่าสุด ที่ดิน ที่ดิน รายการล่าสุด ลงประกาศฟรี ผู้รับเหมา รายการล่าสุด ผู้รับเหมา ลงประกาศฟรี ผู้รับเหมา ข่าวประชาสัมพันธ์ รายการล่าสุด ข่าวประชาสัมพันธ์ พรีวิวโครงการใหม่ รายการล่าสุด พรีวิวโครงการใหม่ ตกแต่งที่อยู่อาศัย รายการล่าสุด ตกแต่งที่อยู่อาศัย สาระควรรู้ ที่อยู่อาศัย รายการล่าสุด สาระควรรู้ ที่อยู่อาศัย ฮวงจุ้ย ที่อยู่อาศัย รายการล่าสุด ฮวงจุ้ย ที่อยู่อาศัย สินเชื่อ ที่อยู่อาศัย รายการล่าสุด สินเชื่อ ที่อยู่อาศัย SME รายการล่าสุด SME สถานที่ท่องเที่ยว รายการล่าสุด สถานที่ท่องเที่ยว

6 วิธีกำจัดขยะอันตรายของใช้แล้วในบ้าน จัดการอย่างไรให้ปลอดภัย

         คุณแม่บ้าน พ่อบ้านคงพอจะทราบว่า ของใช้บางอย่างเมื่อเสีย หรือชำรุด หรือใช้งานเสร็จเรียบร้อย จากของมีประโยชน์มันกลายเป็นสิ่งอันตรายไปในทันที เช่นหลอดไฟฟ้า ถ่ายไฟฉาย น้ำยาทำความสะอาด ยาฆ่าแมลง ฯลฯ คิดไว้ว่าเรื่องใกล้ตัวแบบนี้เราไม่ควรมองข้าม เพราะหากกำจัดไม่ถูกวิธี หรือเก็บซ่อนไว้มันอาจเป็นอันตรายกับคนในครอบครัว จึงรวบรวมวิธีจัดการกับของอันตราย ของเสียในบ้านเหล่านี้ เพื่อความปลอดภัยของสมาชิกทุกคน 

 

ของอันตรายที่ว่านั้นมีอะไรบ้าง

น้ำยาขัดห้องน้ำและสุขภัณฑ์ 

เป็นสารกัดกร่อนและเป็นสารพิษ ถ้าจะทำความสะอาดห้องน้ำให้ใช้นํ้าสบู่หรือน้ำส้มสายชูผสมน้ำราดแล้วขัดด้วยแปรงอีกที

 

นํ้ายาขัดกระจก 

เป็นสารกัดกร่อนและสารพิษ ให้ใช้นํ้าผสมนํ้าส้มสายชู แล้วใช้กระดาษหนังสือพิมพ์เช็ด ขัดถู หรือใช้ผ้าเนื้ออ่อนเช็ดถูก็ได้

 

ยาฆ่าแมลงและยาฆ่ามด 

สิ่งเหล่านี้ล้วนเป็นสารพิษ หากดูแลบ้านให้สะอาด ไม่มีกลิ่น หรือเศษอาหารเลอะเทอะ ก็จะลดมดและแมลงสาบลงได้

 

นํ้ายาขัดเครื่องเงินหรือเครื่องทองแดง 

ล้วนเป็นสารพิษ ให้ใช้โซดาไฟผสมกับเกลือในน้ำอุ่น แล้วนำเครื่องเงินหรือเครื่องทองแดงเหล่านั้นไปแช่ ก่อนจะขัดให้ขึ้นเงา สำหรับการทำความสะอาดเครื่องทองแดง ให้ใช้น้ำส้มสายชูผสมเกลือแล้วหยดลงบนเครื่องทองแดง ก่อนจะขัดถู ทำความสะอาด

 

ยาขัดรองเท้า 

เป็นสารไวไฟและเป็นสารพิษด้วย มีผู้แนะนำให้ใช้วาสลีนขัดถูแทนยาขัดรองเท้าก็จะทำให้รองเท้าเงางามได้เช่นกัน

ถ่านไฟฉายเก่า และหลอดไฟฟลูออเรสเซนส์ 

เป็นของใช้ที่มีส่วนประกอบของสารโลหะหนักทั้ง ตะกั่ว ปรอท ที่ถูกบรรจุอยู่ภายใน พร้อมที่จะกระจายเป็นมลพิษออกสู่ดิน น้ำ อากาศ ซึ่งผู้ที่อยู่ใกล้เคียงกับแหล่งทิ้งขยะเหล่านี้ย่อมเสี่ยงที่จะได้รับสารพิษอันตราย รวมทั้งคนเก็บขยะด้วย

 

แบตเตอรี่ 

เนื่องจากแบตเตอร์รี่ทำจากสารสังกะสีและคาร์บอนหรือโลหะอื่นและที่อันตรายมาก ดังนั้นตอนเก็บควรระมัดระวัง และหลีกเลี่ยงให้อยู่ไกลไฟ รวมถึงควรเลือกใช้แบตเตอรี่ที่ชาร์จไฟได้อีก หรือหากมีพลังงานไฟฟ้าหรือพลังงานแสงอาทิตย์ทดแทนก็ยิ่งดี

6 วิธีจัดการกับสิ่งของอันตรายที่ว่านี้ว่ามีอะไรบ้าง
 

1. ลดปริมาณการใช้สิ่งของอันตรายเหล่านั้นในบ้าน เพื่อจะได้มีของเสียที่ต้องรวบรวมไปกำจัดในปริมาณที่น้อยลง

2. แยกของเสีย หรือของอันตรายเหล่านั้นออกจากขยะทั่วไป ถ้าของเสียเหล่านั้นเป็นของเหลวไม่ควรเทรวมกัน เพราะมันอาจทำปฏิกิริยาต่อกันได้

3. เก็บของเหล่านั้นให้พ้นมือเด็ก และสัตว์เลี้ยง เช่นยาที่หมดอายุ ยาฆ่าแมลง

4. เมื่อแยกของเสียอันตรายออกมาจากขยะทั่วไปแล้ว ควรรวบรวมไว้ในถุงพลาสติก มัดให้แน่นหนาแล้วนำไปทิ้งในถังขยะที่เป็นถังเฉพาะขยะมีพิษ ซึ่งขยะเหล่านี้จะถูกนำไปรวบรวมและกำจัดทิ้งที่ศูนย์กำจัดขยะของเสีย

5. สำหรับวิธีทิ้งถ่านไฟฉายใช้แล้วอย่างถูกวิธีคือ เก็บรวมรวมถ่านเก่านใส่ไว้ในถุงดำ แล้วติดป้ายว่า "ขยะพิษ ถ่านไฟฉายใช้แล้ว" เพื่อแจ้งให้คนเก็บขยะทราบ หรือหากมีซากถ่านไฟฉายเป็นจำนวนมาก สามารถแจ้งเรียกฝ่ายความสะอาดของเขตที่พักอาศัยไปรับถึงที่ได้ วิธีการเช่นนี้สามารถใช้ได้กับหลอดฟลูออเรสเซนต์ แบตเตอรี่มือถือ กระป๋องสเปรย์ หรือตลับหมึกพิมพ์ด้วยเช่นกัน

6. สำหรับในพื้นที่ใดไม่มีถังขยะสำหรับขยะมีพิษ ให้รวบรวมของเสีย ของอันตรายเหล่านั้นในถุงพลาสติกเช่นเดิม แล้วเขียนหน้าถุงว่าขยะอันตราย เจ้าหน้าที่จะได้นำไปกำจัดได้ถูกวิธี เพราะหากนำไปรวมกับขยะทั่วไป อาจทำให้สารพิษออกมาปนเปื้อนกับดินได้ และส่งผลต่อสิ่งแวดล้อม


ขอบคุณข้อมูลจาก Sanook
  • จัดอาหารในตู้เย็นยังไง วางตรงไหน แต่ละชนิดแช่ได้กี่วัน?
  • 5 พื้นที่เสี่ยงน้ำรั่วซึมในบ้าน พร้อมวิธีป้องกันปัญหา
  • สารเคมีที่เป็นพิษอาจทำให้เราเจ็บป่วยจากของใกล้ตัวในบ้าน พร้อมวิธีป้องกัน
  • เคล็ดลับการจัดเตรียมของอย่างฉลาด เปลี่ยนจากงานยากให้เป็นงานง่ายกลายเป็นเรื่องชิล ๆ
  • 4 วิธีไล่มดอย่างง่ายและไม่ต้องฆ่าให้เปลืองแรง หมดปัญหากวนใจหน้าฝน
  • วิธีตามหาแมวหาย ให้กลับมาบ้าน
  • การดูแลเฟอร์นิเจอร์หุ้มผ้า
  • 5 ทริคเลือกม่านห้องน้ำให้สวย ถูกใจ ไกลเชื้อรา
  • รวมเคล็ดลับวิธีจัดการปัญหาบริเวณสนามหญ้าหน้าบ้าน
  • ระเบียบข้อบังคับจราจร การจอดรถในพื้นที่สาธารณะ ส่วนกลางหมู่บ้าน
  • เลือกอิฐแบบไหน อิฐมอญ อิฐมวลเบา อิฐบล็อก เหมาะกับสร้างบ้าน ประหยัดงบมากที่สุด
  • เช็คสิทธิ ทะเบียนราษฎร "เจ้าของบ้าน" กับ "เจ้าบ้าน" ในทะเบียนบ้าน ใครสิทธิเหนือกว่า หน้าที่ต่างกันอย...
  • เคล็ดไม่ลับ 10 วิธีซักผ้าสีตก คราบสีฝังแน่นอย่าทิ้ง ทำให้เสื้อกลับมาใส่ได้อีกครั้งดีกว่า
  • ข้อควรรู้ ซื้อบ้าน และที่ดินในโครงการจัดสรร เรื่องใดที่ควรทำหลังโอนกรรมสิทธิ์ที่ดิน
  • แอร์ยี่ห้อไหนประหยัดไฟ 2567 ลดการใช้พลังงาน ช่วยประหยัดไฟได้ดี
  • 6 วิธีกำจัดขยะอันตรายของใช้แล้วในบ้าน จัดการอย่างไรให้ปลอดภัย

    คุณแม่บ้าน พ่อบ้านคงพอจะทราบว่า ของใช้บางอย่างเมื่อเสีย หรือชำรุด หรือใช้งานเสร็จเรียบร้อย จากของมีประโยชน์มันกลายเป็นสิ่งอันตรายไปในทันที เช่นหลอดไฟฟ้า ถ่ายไฟฉาย น้ำยาทำความสะอาด ยาฆ่าแมลง ฯลฯ คิดไว้ว่าเรื่องใกล้ตัวแบบนี้เราไม่ควรมองข้าม เพราะหากกำจัดไม่ถูกวิธี หรือเก็บซ่อนไว้มันอาจเป็นอันตรายกับคนในครอบครัว จึงรวบรวมวิธีจัดการกับของอันตราย ของเสียในบ้านเหล่านี้ เพื่อความปลอดภัยของสมาชิกทุกคน

    © สงวนลิขสิทธิ์ 2567 บริษัท ไทยโฮมทาวน์ จำกัด
    @thaihometown Scroll