สินเชื่อที่อยู่อาศัย

วัยหนุ่มสาวพึ่งเรียนจบ ใจมันก็ฝันว่าอยากจะมีบ้านเป็นของตัวเองสักหลัง เพื่อที่จะไม่อยากเช่าอยู่ อย่างน้อยก็เอาตังที่จ่ายค่าเช่าไป มาจ่ายค่าผ่อนบ้านเราดีกว่าไหม ฉะนั้นวันนี้ สำหรับใครที่อยากจะมีบ้าน มารู้วิธีการเตรียมตัวสำหรับมนุษย์เงินเดือน ในการขอสินเชื่อเพื่อซื้อที่อยู่อาศัย ซึ่งไม่ได้ยุ่งยากหรือซับซ้อนแต่อย่างใด และทำได้ง่ายๆ

ประกาศอสังหาริมทรัพย์ใหม่ บ้าน บ้าน รายการล่าสุด บ้านเดี่ยว บ้านเดี่ยว รายการล่าสุด ทาวน์เฮ้าส์ ทาวน์เฮ้าส์ รายการล่าสุด ทาวน์โฮม ทาวน์โฮม รายการล่าสุด คอนโด คอนโด รายการล่าสุด อาคารพาณิชย์ อาคารพาณิชย์ รายการล่าสุด อพาร์ทเม้นท์ อพาร์ทเม้นท์ รายการล่าสุด สำนักงาน สำนักงาน รายการล่าสุด โฮมออฟฟิศ โฮมออฟฟิศ รายการล่าสุด ธุรกิจ ธุรกิจ รายการล่าสุด โรงงาน โรงงาน รายการล่าสุด คลังสินค้า คลังสินค้า รายการล่าสุด โกดัง โกดัง รายการล่าสุด ที่ดิน ที่ดิน รายการล่าสุด ลงประกาศฟรี ผู้รับเหมา รายการล่าสุด ผู้รับเหมา ลงประกาศฟรี ผู้รับเหมา ข่าวประชาสัมพันธ์ รายการล่าสุด ข่าวประชาสัมพันธ์ พรีวิวโครงการใหม่ รายการล่าสุด พรีวิวโครงการใหม่ ตกแต่งที่อยู่อาศัย รายการล่าสุด ตกแต่งที่อยู่อาศัย สาระควรรู้ ที่อยู่อาศัย รายการล่าสุด สาระควรรู้ ที่อยู่อาศัย ฮวงจุ้ย ที่อยู่อาศัย รายการล่าสุด ฮวงจุ้ย ที่อยู่อาศัย สินเชื่อ ที่อยู่อาศัย รายการล่าสุด สินเชื่อ ที่อยู่อาศัย SME รายการล่าสุด SME สถานที่ท่องเที่ยว รายการล่าสุด สถานที่ท่องเที่ยว

5 ข้อควรรู้ ถ้าคิดอยากมีบ้าน ฉบับมนุษย์เงินเดือน

    วัยหนุ่มสาวพึ่งเรียนจบ ใจมันก็ฝันว่าอยากจะมีบ้านเป็นของตัวเองสักหลัง เพื่อที่จะไม่อยากเช่าอยู่ อย่างน้อยก็เอาตังที่จ่ายค่าเช่าไป มาจ่ายค่าผ่อนบ้านเราดีกว่าไหม ฉะนั้นวันนี้ สำหรับใครที่อยากจะมีบ้าน มารู้วิธีการเตรียมตัวสำหรับมนุษย์เงินเดือน ในการขอสินเชื่อเพื่อซื้อที่อยู่อาศัย ซึ่งไม่ได้ยุ่งยากหรือซับซ้อนแต่อย่างใด และทำได้ง่ายๆ ดังนี้
 
     1.ตรวจสอบข้อมูลเครดิตบูโร โดยสามารถตรวจสอบเครดิตบูโรได้ตามสถานที่ที่ระบุไว้ใน www.ncb.co.th​ ซึ่งหลักฐานที่ใช้ในการตรวจสอบเครดิตบูโร คือ บัตรประชาชน หรือ หนังสือเดินทาง​ของผู้กู้ ทั้งนี้ เครดิตบูโร หรือ บริษัทข้อมูลเครดิต (Credit Bureau) คือ บริษัทที่ทำหน้าที่รวบรวมข้อมูลเครดิตจากสถาบันการเงินหลายๆแห่งที่เป็นสมาชิก นำมารวบรวมประมวลผลเป็นข้อมูลเครดิตในภาพรวมสำหรับลูกค้าเจ้าของข้อมูลแต่ละราย และเมื่อสถาบันการเงินหรือลูกค้าเจ้าของข้อมูลต้องการเรียกดูรายงานข้อมูลเครดิตภายใต้ขอบเขตที่กฎหมายกำหนด บริษัทข้อมูลเครดิตจึงจะเปิดเผยข้อมูลเครดิตนั้นในรูปของรายงานข้อมูลเครดิต 
 
 
    2.สร้างวินัยทางการเงินที่ดี  เพื่อสร้างความเชื่อมั่นให้กับสถาบันการเงินที่จะปล่อยกู้ หากใครที่ไม่เคยเป็นหนี้  ไม่เคยผ่อนชำระสินค้าใดๆ(ผ่านบัตรเครดิต)เลย ก็เป็นการยากที่สถาบันการเงินจะรู้ว่าเรามีวินัยทางการเงินเป็นอย่างไร  ดังนั้น  ควรมีบัตรเครดิตไว้สัก 1 ใบ  เพื่อฝึกวินัยในการผ่อนชำระหนี้  ให้สถาบันการเงินเห็นว่าเรามีวินัยทางการเงินที่ดี มีการผ่อนชำระตรงตามกำหนดและสม่ำเสมอ
 
 
     3.ต้องมีเงินออม หรือมีเงินสำรองอย่างน้อย  5–15% ของราคาบ้านที่คิดจะซื้อ  สำหรับค่าใช้จ่ายในการโอนกรรมสิทธิ, จดจำนอง และ ค่าใช้จ่ายต่างๆที่ต้องใช้ในการเป็นเจ้าของบ้าน และอีก 10% เพื่อใช้ในการตกแต่งบ้านหรือซื้อเฟอร์นิเจอร์ของใช้ภายในบ้าน เป็นต้น
 
 

 
      4.เลือกบ้านที่เหมาะสมกับรายได้  โดยประเมินความสามารถในการซื้อบ้านว่ารายได้เท่านี้ จะผ่อนบ้านได้เท่าไหร่  เนื่องจากสถาบันการเงินส่วนใหญ่  จะให้ผู้กู้มีภาระหนี้ทั้งหมดต่อรายได้ ประมาณ 50 %  ยกตัวอย่างเช่น ถ้ามีรายได้เดือนละ 30,000 บาท ให้เอา 50% ของรายได้ซื้อคือประมาณเดือนละ 15,000 บาท ควรจะซื้อบ้านที่ราคาประมาณ 2 ล้านบาท  (ราคาบ้าน 1 ล้านบาท  จะผ่อนเดือนละประมาณ 6,500-7,000 บาท)
 
แต่ถ้ามีภาระหนี้อย่างอื่นอยู่ก่อนแล้ว  ก็จะถูกหักออกไปอีก  ความสามารถในการผ่อนชำระก็จะลดลง  ราคาบ้านที่จะซื้อได้ก็จะลดลงตามไปด้วย  ส่วนวิธีคิด รายได้ และ ภาระหนี้ ของมนุษย์เงินเดือน มีดังนี้
 
วิธีคิด “รายได้” ของมนุษย์เงินเดือน
1. เงินเดือน​
2. ค่าตำแหน่ง​
3. ค่า Allowance​
4. Bonus​
5. ค่า OT​
 
วิธีคิด “ภาระหนี้” ของมนุษย์เงินเดือน
1. หนี้บัตรเครดิต​
2. หนี้ผ่อนชำระรายเดือน (หนี้รถยนต์, หนี้บ้าน)​
3. หนี้สหกรณ์​
 
     
     5.เตรียมตัวให้พร้อมก่อนยื่นขอสินเชื่อบ้าน โดยการศึกษาข้อมูล และเปรียบเทียบผลิตภัณฑ์สินเชื่อบ้านของสถาบันการเงินแต่ละแห่งว่าเป็นอย่างไร อัตราดอกเบี้ยเท่าไหร่  วงเงินที่ให้กู้  ตลอดจนค่าใช้จ่ายต่างๆที่จะเกิดขึ้นเมื่อมีการใช้บริการ  ซึ่งอาจมีความแตกต่างกันในรายละเอียดของแต่ละสถาบันการเงิน
      จากนั้น ควรเตรียมเอกสารหลักฐานสำคัญ ที่จะต้องใช้ในการยื่นกู้  อาทิ หลักฐานประจำตัว​ (บัตรประชาชน, บัตรข้าราชการ), หลักฐานแสดงแหล่งที่มาของรายได้,​หลักฐานเกี่ยวกับหลักประกัน​  หรือหลักฐานอื่นๆ  เช่น หลักฐานผู้กู้ร่วม (ถ้ามี) เป็นต้น

     สำหรับวิธีการเตรียมความพร้อมของมนุษย์เงินเดือนก่อนจะกู้ซื้อบ้านทั้งหมดนี้ ต้องขอขอบคุณข้อมูลจากฝ่ายสินเชื่อเพื่อที่อยู่อาศัย ธนาคารกรุงศรีอยุธยา จำกัด(มหาชน)  และถึงไม่ใช่มนุษย์เงินเดือน  แต่ประกอบอาชีพอื่นๆ  ซึ่งอาจมีรายละเอียดปลีกย่อยที่แตกต่างกันบ้าง  แต่โดยหลักการส่วนใหญ่จะคล้ายๆกัน  ก็สามารถนำไปประยุกต์ใช้สำหรับการซื้อบ้านได้

 

ที่มา : นิตยสารบ้านพร้อมอยู่

  • 10 คำถามที่พบบ่อย สำหรับคนอยากมีบ้านของตัวเอง
  • ออมสินให้วงเงินกู้สูงสุด 3 ล้าน ใช้เป็นเงินทุนร้านสำหรับพ่อค้าแม่ขาย อาชีพอิสระ ผ่อนยาว 10 ปี
  • ธ.ออมสิน ช่วยเหลือน้ำท่วมภาคใต้ ออกมาตรการให้พักชำระหนี้ 3 เดือน พร้อมให้กู้ฉุกเฉินไม่คิดดอกเบี้ย 1 ปี
  • "สินเชื่อบ้านธนชาตต่อฝัน" ขอสินเชื่อได้ทุกอาชีพ ผ่อนนานสุดถึง 40 ปี จากธนาคารธนชาต
  • ติดแบล็คลิสสินเชื่อ แต่อยากมีบ้านแล้วจะขอสินเชื่อเพื่อซื้อบ้านได้ไหม ?
  • ธนาคารกรุงไทย ร่วมมือ KTC ผ่อนบ้านผ่านบัตรเครดิต รายแรกของไทย
  • "​​สินเชื่อเพื่อที่อยู่อาศัย​" ควรทำความเข้าใจ และต้องรู้เรื่องใดบ้าง?
  • สินเชื่อบ้านกู้เพิ่มได้ บ้านเดิม เติมเงินให้อี๊ก ขอวงเงินสินเชื่อใหม่สบายๆ ใช้จ่ายได้อย่างใจ
  • สาระควรรู้ "สัญญาจะซื้อ-จะขาย" อสังหาริมทรัพย์
  • 3 เรื่องต้องรู้ ก่อนรีไฟแนนซ์บ้าน แนะสูตรคำนวณแบบประหยัดดอกเบี้ย หนีดอกเบี้ยสุดโหด
  • สินเชื่อ SME ต่อยอดธุรกิจ กู้เงินเปิดร้าน วงเงินกู้ 3 เท่า สูงสุด 20 ล้าน
  • สินเชื่อบ้าน รีไฟแนนซ์ จากธนาคารกรุงไทย ตัวช่วยของคนอยากมีบ้าน
  • ผ่อนบ้านจัดเต็มกับกรุงไทย ผ่อนนาน 40 ปี ดอกเบี้ยคงที่ 6 เดือน
  • สมัครกู้เงินออนไลน์? ออมสินให้กู้ด่วน 200,000 บาท จริงหรือไม่
  • ออมสินปรับลดเงินงวด สินเชื่อ "ผ่อนบ้านดี มีเฮ" สำหรับลูกค้าสินเชื่อเคหะปัจจุบัน ถึง 30 ก.ย. นี้
  • 5 ข้อควรรู้ ถ้าคิดอยากมีบ้าน ฉบับมนุษย์เงินเดือน

    วัยหนุ่มสาวพึ่งเรียนจบ ใจมันก็ฝันว่าอยากจะมีบ้านเป็นของตัวเองสักหลัง เพื่อที่จะไม่อยากเช่าอยู่ อย่างน้อยก็เอาตังที่จ่ายค่าเช่าไป มาจ่ายค่าผ่อนบ้านเราดีกว่าไหม ฉะนั้นวันนี้ สำหรับใครที่อยากจะมีบ้าน มารู้วิธีการเตรียมตัวสำหรับมนุษย์เงินเดือน ในการขอสินเชื่อเพื่อซื้อที่อยู่อาศัย ซึ่งไม่ได้ยุ่งยากหรือซับซ้อนแต่อย่างใด และทำได้ง่ายๆ

    © สงวนลิขสิทธิ์ 2567 บริษัท ไทยโฮมทาวน์ จำกัด
    @thaihometown Scroll