สินเชื่อที่อยู่อาศัย

มีข้อเสนอแนะอย่างง่าย ๆ ให้แก่ผู้ที่มีที่ดินที่พร้อมจะใช้ไปเป็นหลักประกันการกู้เงิน ก่อนที่ท่านคิดจะนำที่ดินหรือบ้านไปกู้เงินจากธุรกิจเงินนอกระบบ ท่านควรจะเลือกแบบไหนดี ระหว่างการ "จำนอง" หรือ "ขายฝาก" เพราะทั้ง 2 แบบเป็นการทำนิติกรรมที่มีความใกล้เคียงกันมาก กล่าวคือ ทั้งจำนองและขายฝาก ต้องไปทำนิติกรรมจดจำนองหรือขายฝากที่สำนักงานที่ดินเหมือนกัน แตกต่างกันที่การบังคับหลักประกัน

ประกาศอสังหาริมทรัพย์ใหม่ บ้าน บ้าน รายการล่าสุด บ้านเดี่ยว บ้านเดี่ยว รายการล่าสุด ทาวน์เฮ้าส์ ทาวน์เฮ้าส์ รายการล่าสุด ทาวน์โฮม ทาวน์โฮม รายการล่าสุด คอนโด คอนโด รายการล่าสุด อาคารพาณิชย์ อาคารพาณิชย์ รายการล่าสุด อพาร์ทเม้นท์ อพาร์ทเม้นท์ รายการล่าสุด สำนักงาน สำนักงาน รายการล่าสุด โฮมออฟฟิศ โฮมออฟฟิศ รายการล่าสุด ธุรกิจ ธุรกิจ รายการล่าสุด โรงงาน โรงงาน รายการล่าสุด คลังสินค้า คลังสินค้า รายการล่าสุด โกดัง โกดัง รายการล่าสุด ที่ดิน ที่ดิน รายการล่าสุด ลงประกาศฟรี ผู้รับเหมา รายการล่าสุด ผู้รับเหมา ลงประกาศฟรี ผู้รับเหมา ข่าวประชาสัมพันธ์ รายการล่าสุด ข่าวประชาสัมพันธ์ พรีวิวโครงการใหม่ รายการล่าสุด พรีวิวโครงการใหม่ ตกแต่งที่อยู่อาศัย รายการล่าสุด ตกแต่งที่อยู่อาศัย สาระควรรู้ ที่อยู่อาศัย รายการล่าสุด สาระควรรู้ ที่อยู่อาศัย ฮวงจุ้ย ที่อยู่อาศัย รายการล่าสุด ฮวงจุ้ย ที่อยู่อาศัย สินเชื่อ ที่อยู่อาศัย รายการล่าสุด สินเชื่อ ที่อยู่อาศัย SME รายการล่าสุด SME สถานที่ท่องเที่ยว รายการล่าสุด สถานที่ท่องเที่ยว

การขายฝาก - จำนอง มีความต่างกันอย่างไร ขายฝากแล้วใช้ทำสัญญากับธนาคารได้ไหม?

         หลายปัจจัยที่ก่อให้เกิดปัญหาหนี้นอกระบบ เช่น ปัญหาเศรษฐกิจทำให้ประชาชนมีรายได้ไม่เพียงพอกับรายจ่าย ปัญหาด้านการศึกษา ประชาชนขาดความรู้ในการวางแผนทางการเงิน ไม่มีวินัยทางการเงิน ทำให้ใช้จ่ายเงินอย่างฟุ่มเฟือย ตลอดถึงปัญหาของประชาชนระดับรากหญ้า ที่ไม่สามารถเข้าถึงแหล่งเงินกู้จากสถาบันการเงิน เนื่องจากติดขัดเรื่องขั้นตอนการขอสินเชื่อ ซึ่งมีข้อจำกัดยุ่งยากและล่าช้า จึงมุ่งไปใช้บริการธุรกิจเงินนอกระบบกันมากขึ้น
 
         รูปแบบของธุรกิจเงินนอกระบบมีให้เลือกหลายรูปแบบ มักโฆษณาทั่วไปตามเสาไฟฟ้า หรือตามตู้โทรศัพท์สาธารณะ คนที่ขาดหลักประกันมักจะเลือกใช้บริการในรูปเงินด่วน ส่วนคนที่มีหลักประกันประเภทอสังหาริมทรัพย์ เช่น ที่ดินหรือบ้าน ก็เลือกใช้บริการในรูปแบบจำนองหรือขายฝาก การที่มุ่งเน้นแต่เรื่องความสะดวก ขั้นตอนการกู้ไม่ยุ่งยากแถมได้เงินมาใช้รวดเร็วทันใจ จึงขาดความสนใจและคาดไม่ถึงว่า นายทุนธุรกิจเงินนอกระบบเหล่านี้อยู่ในชนชั้นสังคมที่เหนือกว่า มักอาศัยจุดอ่อนที่ประชาชนขาดความรู้ความเข้าใจด้านกฎหมาย หาช่องทางเอารัดเอาเปรียบ เพื่อแสวงหาผลประโยชน์จากการปล่อยกู้ได้อย่างเลือดเย็นที่สุด

         ดังนั้น จึงมีข้อเสนอแนะอย่างง่าย ๆ ให้แก่ผู้ที่มีที่ดินที่พร้อมจะใช้ไปเป็นหลักประกันการกู้เงิน ก่อนที่ท่านคิดจะนำที่ดินหรือบ้านไปกู้เงินจากธุรกิจเงินนอกระบบ ท่านควรจะเลือกแบบไหนดี ระหว่างการ “จำนอง” หรือ “ขายฝาก”  เพราะทั้ง 2 แบบเป็นการทำนิติกรรมที่มีความใกล้เคียงกันมาก กล่าวคือ ทั้งจำนองและขายฝาก ต้องไปทำนิติกรรมจดจำนองหรือขายฝากที่สำนักงานที่ดินเหมือนกัน แตกต่างกันที่การบังคับหลักประกัน

ขายฝาก คืออะไร

          การทำสัญญาขายฝาก เป็นการทำสัญญากู้เงิน ที่ใช้หลักประกันเป็นอสังหาริมทรัพย์ หรือสังหาริมทรัพย์ โดยลูกหนี้จะทำการขายทรัพย์สินให้กับเจ้าหนี้ ซึ่งต้องมีการโอนทรัพย์สินระหว่างกันก่อน แต่มีข้อตกลงเพิ่มเติมว่า ลูกหนี้สามารถซื้อทรัพย์สินคืนได้ตามระยะเวลาที่กำหนดกันไว้ 

         ยกตัวอย่างง่าย ๆ ก็คือ นาย A นำบ้านพร้อมที่ดิน ไปทำสัญญาขายฝากกับนาย B เป็นระยะเวลา 1 ปี นั่นหมายความว่า ถ้าภายใน 1 ปีหลังทำสัญญา นาย A ต้องการซื้อบ้านพร้อมที่ดินคืน นาย B จะต้องขายคืนให้โดยไม่มีขอยกเว้น แต่หากพ้น 1 ปีไปแล้ว บ้านพร้อมที่ดินจะตกเป็นกรรมสิทธิ์ของนาย B ทันที ซึ่งนาย B จะนำทรัพย์สินไปดำเนินการอะไรก็ได้นั่นเอง

         ทั้งนี้ การทำสัญญาขายฝาก หากครบสัญญาแต่ลูกหนี้ยังไม่พร้อมไถ่คืน ลูกหนี้สามารถขอต่อสัญญาได้ไม่จำกัดจำนวนครั้ง และสามารถทำสัญญาได้นานสูงสุด 10 ปี สำหรับอสังหาริมทรัพย์ แต่หากเป็นสังหาริมทรัพย์จะมีกำหนด 3 ปี โดยการทำสัญญาจะต้องทำต่อหน้าเจ้าพนักงาน ณ กรมที่ดินเท่านั้น

จำนอง คืออะไร

          จำนอง คือ สัญญากู้เงิน ที่ใช้หลักประกันเป็นอสังหาริมทรัพย์ หรือสังหาริมทรัพย์บางประเภทที่ได้จดทะเบียนไว้แล้วตามกฎหมาย แต่จะไม่มีการโอนทรัพย์สิน เป็นแค่การนำทรัพย์สินนั้นไปจดทะเบียนเพื่อตราไว้เป็นหลักประกันเท่านั้น โดยจะต้องทำสัญญาต่อหน้าเจ้าพนักงาน ณ กรมที่ดินเช่นเดียวกับการขายฝาก

         ส่วนกรณีที่ลูกหนี้เกิดผิดสัญญาไม่สามารถชำระหนี้ได้ ผู้รับจำนองก็ยังไม่สามารถยึดทรัพย์ตามกฎหมายได้ เพราะทรัพย์สินนั้นยังเป็นกรรมสิทธิ์ของลูกหนี้อยู่ ซึ่งเจ้าหนี้จะต้องไปฟ้องร้องตามกฎหมายเพื่อให้ศาลบังคับกับลูกหนี้ลูกหนี้ก่อน จากนั้นจึงนำทรัพย์สินนั้นไปขายทอดตลาดที่กองบังคับคดี เพื่อนำเงินไปชำระหนี้ โดยสัญญาจำนอง ไม่มีอายุความ แต่จะมีการระบุระยะเวลาชำระหนี้เท่านั้น

ขายฝาก กับ จำนอง ต่างกันอย่างไร

          สิ่งที่การทำสัญญาแบบขายฝากและจำนองแตกต่างกัน มีดังนี้

          1. ลักษณะสัญญา

            จำนอง : ลูกหนี้ไม่ต้องโอนทรัพย์สินไปอยู่ในมือเจ้าหนี้

           ขายฝาก : ลูกหนี้ต้องโอนทรัพย์สินไปอยู่ในมือเจ้าหนี้

          2. กรณีทำผิดสัญญา

           จำนอง : หากครบสัญญาแล้ว ลูกหนี้สามารถจ่ายดอกเบี้ย เพื่อขอต่อเวลาได้อีกไม่เกิน 5 ปี หรือผู้รับจำนองจะฟ้องศาลเพื่อบังคับคดี แล้วให้กองบังคับคดีประมูลขายทรัพย์สินเพื่อนำเงินมาชำระหนี้ ซึ่งระหว่างที่โดนฟ้อง ทรัพย์สินนั้นจะไม่สามารถนำมาขายได้

           ขายฝาก : ลูกหนี้ต้องมาไถ่ถอนภายในระยะเวลาที่ตกลงกันไว้ในสัญญา หากเลยกำหนดเวลาตามกฏหมายสามารถขยายเวลาขายฝากกี่ครั้งก็ได้ ครั้งละนานเท่าใดก็ได้ แต่รวมกันแล้วต้องไม่เกิน 10 ปี สำหรับอสังหาริมทรัพย์ และไม่เกิน 3 ปี สำหรับสังหาริมทรัพย์ แต่หากไม่มีการขอต่อสัญญา ทรัพย์สินจะตกเป็นของเจ้าหนี้ทันที

          3. ค่าจดทะเบียน

           จำนอง : เสียค่าธรรมเนียมอัตรา 1% จากวงเงินที่นำมาจำนอง แต่ไม่เกิน 200,000 บาท

           ขายฝาก : เสียค่าธรรมเนียม 2% จากราคาประเมิน และต้องชำระภาษีเงินได้หัก ณ ที่จ่าย และอากรแสตมป์ตามที่กฎหมายกำหนด

          4. วงเงินในการอนุมัติ

           จำนอง : ส่วนใหญ่จะได้วงเงินน้อยกว่า 30% ของราคาประเมิน

           ขายฝาก : ได้วงเงินประมาณ 40-70% ของราคาประเมิน
 
          สรุปแล้วจะพบว่าสัญญาขายฝากมีข้อดี คือ ผู้กู้เงินจะได้รับการอนุมัติเร็ว และมักจะให้วงเงินสูงกว่าจำนองค่อนข้างเยอะ แต่ก็มีความเสี่ยงเรื่องความปลอดภัยของทรัพย์สินที่นำไปทำสัญญา ถ้าโชคร้ายเจอนายทุนไม่ดี ต่อรองไม่ได้ ไถ่ถอนไม่ทันเวลาก็โดนยึดทันที รวมทั้งมีค่าธรรมเนียมที่สูงกว่าการจำนองอีกด้วย
          
          ขณะที่สัญญาจำนอง ข้อดีก็คือ มีความปลอดภัยด้านทรัพย์สินน้อยกว่า เนื่องจากไม่ต้องขายทรัพย์สินนั้น ๆ ให้เจ้าหนี้ โอกาสที่จะเสียทรัพย์สินจึงน้อย และมีค่าธรรมเนียมที่ถูกกว่า แต่ข้อเสียก็มีเช่นกันคือ วงเงินที่ได้รับจะประมาณ 10-30% ของราคาประเมินเท่านั้น 

เอาทรัพย์สินที่ขายฝาก ไปจำนองธนาคารได้ไหม ?

          ในกรณีที่เจ้าหนี้ต้องการนำทรัพย์สินของลูกหนี้ที่นำมาขายฝาก ไปจำนองกับธนาคารอีกทอดหนึ่ง ซึ่งยังไม่ได้ถึงวันครบกำหนดชำระหนี้นั้น ตามกฎหมายถือว่าทำไม่ได้  แต่หากครบกำหนดสัญญาขายฝากแล้ว และลูกหนี้ไม่นำเงินมาชำระคืนหรือขอต่อสัญญา เจ้าหนี้ก็มีสิทธิ์อย่างถูกต้องที่จะนำทรัพย์สินดังกล่าวไปทำอะไรก็ได้ เพราะถือว่าตกเป็นกรรมสิทธิ์ของเจ้าหนี้แล้ว
          
          รวมทั้งหากลูกหนี้ต้องการนำทรัพย์สินที่อยู่ระหว่างการขายฝาก ไปจำนองกับธนาคารอีกทอดหนึ่งเพื่อนำเงินมาไถ่ถอนนั้น ตามกฎหมายก็ถือว่าทำไม่ได้เช่นกัน เนื่องจากทรัพย์สินที่อยู่ระหว่างการขายฝากถือว่าอยู่ในการดูแลของเจ้าหนี้แล้ว และหากลูกหนี้ต้องการนำไปจำนองกับธนาคารต้องมีการไถ่ถอนให้เสร็จเรียบร้อยก่อนถึงจะสามารถดำเนินการได้


  • อธิบายเกี่ยวสินเชื่อบ้าน พร้อมคำแนะนำในการขอสินเชื่อบ้านกับสถาบันการเงินต่างๆ
  • เรื่องน่ารู้ "สินเชื่อที่อยู่อาศัย" รู้ไว้สักนิดก่อนคิดจะกู้แบงค์ เพื่อขอสินเชื่อไปซื้อบ้านของตัวเอง
  • ไขปัญหาเรื่องกู้บ้านกับ ธอส.
  • ทำไม? "กู้ซื้อบ้านไม่ผ่าน" หลายคนสงสัยมึนงงกับประโยคนี้หลายท่าน เรามาดูสาเหตุที่เข้าใจง่ายๆกัน
  • ถ้ามีเงินก้อนใหญ่ หนี้บ้าน หนี้รถ เลือกโปะยอดอันไหนก่อนดี ?
  • สินเชื่อบ้านแลกเงิน วงเงินกู้สูงไหม ดอกเบี้ยเป็นแบบไหน มีข้อดีอย่างไร?
  • 3 สินเชื่อบ้านสุดคุ้ม ปี 64 จาก ธอส. กู้ 1 ล้าน* ผ่อนเพียง 3,400 บ.
  • เทคนิคการขอสินเชื่อบ้าน แบบเข้าใจง่ายๆ ข้อมูลครบช่วยเพิ่มโอกาศให้แบงค์อนุมัติง่ายขึ้น
  • "​​สินเชื่อเพื่อที่อยู่อาศัย​" ควรทำความเข้าใจ และต้องรู้เรื่องใดบ้าง?
  • 3 เรื่องต้องรู้ ก่อนรีไฟแนนซ์บ้าน แนะสูตรคำนวณแบบประหยัดดอกเบี้ย หนีดอกเบี้ยสุดโหด
  • สินเชื่อ SME ต่อยอดธุรกิจ กู้เงินเปิดร้าน วงเงินกู้ 3 เท่า สูงสุด 20 ล้าน
  • สินเชื่อบ้าน รีไฟแนนซ์ จากธนาคารกรุงไทย ตัวช่วยของคนอยากมีบ้าน
  • ผ่อนบ้านจัดเต็มกับกรุงไทย ผ่อนนาน 40 ปี ดอกเบี้ยคงที่ 6 เดือน
  • ออมสินให้วงเงินกู้สูงสุด 3 ล้าน ใช้เป็นเงินทุนร้านสำหรับพ่อค้าแม่ขาย อาชีพอิสระ ผ่อนยาว 10 ปี
  • สมัครกู้เงินออนไลน์? ออมสินให้กู้ด่วน 200,000 บาท จริงหรือไม่
  • การขายฝาก - จำนอง มีความต่างกันอย่างไร ขายฝากแล้วใช้ทำสัญญากับธนาคารได้ไหม?

    มีข้อเสนอแนะอย่างง่าย ๆ ให้แก่ผู้ที่มีที่ดินที่พร้อมจะใช้ไปเป็นหลักประกันการกู้เงิน ก่อนที่ท่านคิดจะนำที่ดินหรือบ้านไปกู้เงินจากธุรกิจเงินนอกระบบ ท่านควรจะเลือกแบบไหนดี ระหว่างการ "จำนอง" หรือ "ขายฝาก" เพราะทั้ง 2 แบบเป็นการทำนิติกรรมที่มีความใกล้เคียงกันมาก กล่าวคือ ทั้งจำนองและขายฝาก ต้องไปทำนิติกรรมจดจำนองหรือขายฝากที่สำนักงานที่ดินเหมือนกัน แตกต่างกันที่การบังคับหลักประกัน

    © สงวนลิขสิทธิ์ 2567 บริษัท ไทยโฮมทาวน์ จำกัด
    @thaihometown Scroll