สินเชื่อที่อยู่อาศัย

มีปัญหากับการกู้ร่วมกัน หรืออยากแยกกู้เพื่อซื้อบ้านหลังใหม่ จะทำอย่างไรหากอยากถอนชื่อผู้กู้ร่วม วันนี้เรามีคำตอบมาฝาก ในการกู้ซื้อบ้านร่วมกัน คนที่มีรายได้ไม่เพียงพอกับวงเงินที่ต้องการกู้อาจจะต้อง กู้ร่วม กับคนใกล้ชิดเพื่อช่วยกันแบ่งเบาภาระหนี้ ให้ธนาคารมีความมั่นใจพอที่จะปล่อยสินเชื่อบ้านได้ แต่หากเกิดวันหนึ่งต้องการถอนชื่อออกจากการเป็นผู้กู้ร่วม จะต้องทำอย่างไร วันนี้เรามีข้อมูลดีๆ จากเว็บไซต์ terrabkk.com มาให้คุณได้ทราบคำตอบกันค่ะ

ประกาศอสังหาริมทรัพย์ใหม่ บ้าน บ้าน รายการล่าสุด บ้านเดี่ยว บ้านเดี่ยว รายการล่าสุด ทาวน์เฮ้าส์ ทาวน์เฮ้าส์ รายการล่าสุด ทาวน์โฮม ทาวน์โฮม รายการล่าสุด คอนโด คอนโด รายการล่าสุด อาคารพาณิชย์ อาคารพาณิชย์ รายการล่าสุด อพาร์ทเม้นท์ อพาร์ทเม้นท์ รายการล่าสุด สำนักงาน สำนักงาน รายการล่าสุด โฮมออฟฟิศ โฮมออฟฟิศ รายการล่าสุด ธุรกิจ ธุรกิจ รายการล่าสุด โรงงาน โรงงาน รายการล่าสุด คลังสินค้า คลังสินค้า รายการล่าสุด โกดัง โกดัง รายการล่าสุด ที่ดิน ที่ดิน รายการล่าสุด ลงประกาศฟรี ผู้รับเหมา รายการล่าสุด ผู้รับเหมา ลงประกาศฟรี ผู้รับเหมา ข่าวประชาสัมพันธ์ รายการล่าสุด ข่าวประชาสัมพันธ์ พรีวิวโครงการใหม่ รายการล่าสุด พรีวิวโครงการใหม่ ตกแต่งที่อยู่อาศัย รายการล่าสุด ตกแต่งที่อยู่อาศัย สาระควรรู้ ที่อยู่อาศัย รายการล่าสุด สาระควรรู้ ที่อยู่อาศัย ฮวงจุ้ย ที่อยู่อาศัย รายการล่าสุด ฮวงจุ้ย ที่อยู่อาศัย สินเชื่อ ที่อยู่อาศัย รายการล่าสุด สินเชื่อ ที่อยู่อาศัย SME รายการล่าสุด SME สถานที่ท่องเที่ยว รายการล่าสุด สถานที่ท่องเที่ยว

หลากวิธีถอนชื่อผู้กู้ร่วมซื้อบ้าน ทำอย่างไรดี ?

     มีปัญหากับการกู้ร่วมกัน หรืออยากแยกกู้เพื่อซื้อบ้านหลังใหม่ จะทำอย่างไรหากอยากถอนชื่อผู้กู้ร่วม วันนี้เรามีคำตอบมาฝาก

     ในการกู้ซื้อบ้านร่วมกัน คนที่มีรายได้ไม่เพียงพอกับวงเงินที่ต้องการกู้อาจจะต้อง กู้ร่วม กับคนใกล้ชิดเพื่อช่วยกันแบ่งเบาภาระหนี้ ให้ธนาคารมีความมั่นใจพอที่จะปล่อยสินเชื่อบ้านได้ แต่หากเกิดวันหนึ่งต้องการถอนชื่อออกจากการเป็นผู้กู้ร่วม จะต้องทำอย่างไร วันนี้เรามีข้อมูลดีๆ จากเว็บไซต์ terrabkk.com มาให้คุณได้ทราบคำตอบกันค่ะ

      ทางออกเมื่อต้องการถอนชื่อผู้กู้ร่วม (TerraBKK)

     ทางออกที่ดีที่สุดสำหรับผู้ต้องการขอสินเชื่อจำนวนมากแต่มีฐานเงินเดือนน้อย คือ การกู้ร่วม ซึ่งจะเป็นการหาผู้อื่นมาเสริมรายได้และความรับผิดชอบต่อหนี้ ซึ่งสถาบันการเงินมักกำหนดให้บุคคลที่มีชื่อกู้ร่วม เป็นคนที่มีความสัมพันธ์ใกล้ชิดกับผู้กู้ ส่วนใหญ่แล้วหากเป็นพ่อแม่กู้ร่วมกับลูก จะไม่ค่อยมีปัญหา แต่ปัญหามักเกิดในกรณีที่เป็นบุคคลอื่นกู้ร่วมกัน เช่น พี่น้อง สามีภรรยาที่ภายหลังเลิกรากัน หรือในกรณีอื่นๆ ตามแต่เงื่อนไขที่ทางธนาคารกำหนด

     การหาทางถอนชื่อผู้กู้ร่วมออก จึงเป็นสิ่งที่พบเห็นได้บ่อยๆ แต่เมื่อยื่นเรื่องติดต่อไปที่สถาบันการเงินมักได้รับการปฏิเสธ เพราะในการยื่นขอสินเชื่อ ทางสถาบันการเงินได้ประเมินความสามารถในการผ่อนชำระจากฐานรายได้ของสองคน หากขาดคนใดคนหนึ่งก็ก็เท่ากับว่าผิดจากเงื่อนไขที่ได้ตกลงกันไว้ในตอนแรก

     แม้การถอนชื่อผู้กู้ร่วมจะไม่สามารถทำได้ แต่ใช่ว่าจะไม่มีทางออกเสียทีเดียว ทางออกสำหรับปัญหานี้คือการรีไฟแนนซ์ไปธนาคารอื่น ซึ่งเป็นการเปลี่ยนเจ้าหนี้เมื่อมีข้อเสนอที่ดีกว่า

     ขั้นตอนการรีไฟแนนซ์เพื่อเปลี่ยนชื่อผู้กู้ร่วมก็จะเหมือนการรีไฟแนนซ์ปกติทั่วไป ทางธนาคารใหม่ที่ยื่นขอสินเชื่อจะพิจารณาจากวงเงินที่ขอว่าผู้กู้มีความสามารถในการผ่อนชำระทั้งหมดหรือไม่ หากประเมินแล้วผู้ขอรีไฟแนนซ์มีความสามารถในการผ่อนชำระ ทางธนาคารก็จะอนุมัติสินเชื่อ แต่ถ้าเป็นไปในทางตรงข้าม ธนาคารจะให้หาผู้กู้ร่วมใหม่ และดำเนินการรีไฟแนนซ์ต่อไป

 

 สิ่งที่ผู้กู้ต้องทำต่อไปก็คือ นำผู้กู้ร่วมไปที่กรมที่ดินเพื่อดำเนินการต่าง ๆ 3 ขั้นตอน ดังนี้
 

  1. ไถ่ถอนจำนองจากธนาคารเดิม
  2. ทำเรื่องซื้อขายระหว่างกัน (มีค่าธรรมเนียมประมาณ 5% ของราคาประเมินที่ดินและสิ่งปลูกสร้าง)
  3. ทำการจดจำนองกับธนาคารใหม่ (มีค่าธรรมเนียม 1% ของเงินที่ขอกู้ธนาคาร)


 ซึ่งทั้ง 3 ขั้นตอนสามารถดำเนินการให้แล้วเสร็จได้ภายในครั้งเดียว

     หลังจากนั้นลูกหนี้ก็จะมีเพียงคนเดียวหรืออาจจะมีผู้กู้ร่วมผู้อื่นแทนคนเดิม ในกรณีที่รีไฟแนนซ์เพื่อเป็นผู้กู้เพียงผู้เดียวนั้น สิ่งสำคัญที่สุดคือความสามารถในการผ่อนชำระต่อวงเงินที่ยื่นขอจากธนาคารใหม่

     การกู้ร่วมมีจุดประสงค์เพื่อเสริมเครดิตและความน่าเชื่อถือแต่แรก หากประเมินตนเองและยอดหนี้ที่เหลือแล้วพบว่าไม่สามารถรับหนี้ไหว ก็ไม่ควรดำเนินการรีไฟแนนซ์ เพราะสุดท้ายก็ไม่สามารถขอสินเชื่อได้ เท่ากับเสียเวลาเปล่าอยู่ดี


ขอบคุณข้อมูลจาก Kapook.com
  • สิ่งที่ต้องคำนึกถึง เมื่อต้องรีไฟแนนซ์บ้าน ค่าใช้จ่ายในแต่ละครั้งจะคุ้มค่าหรือไม่?
  • สมัครกู้เงินออนไลน์? ออมสินให้กู้ด่วน 200,000 บาท จริงหรือไม่
  • สินเชื่อกรุงไทย สินเชื่อที่อยู่อาศัย ข้าราชการ-ลูกจ้าง กระทรวงกลาโหม
  • มาดูกัน ! คุณพร้อมหรือยังที่จะกู้เงินซื้อบ้าน
  • สาระควรรู้ "สัญญาจะซื้อ-จะขาย" อสังหาริมทรัพย์
  • ซื้อบ้านหลังแรกให้ได้ความคุ้มค่า และการเลือกสินเชื่อที่ดีควรทำอย่างไร
  • ธอส. ปล่อยสินเชื่อ "บ้านประชารัฐ" กู้เงิน 1.5 ล้านบาท ผ่อนเริ่มต้นเพียง 7,200 บาท
  • ธอส. จัดโปรโมชั่นสินเชื่อบ้านดอกเบี้ยต่ำ เริ่มที่ 3.50% ต่อปี สำหรับผู้มีรายได้น้อย
  • สินเชื่อบ้าน ธอส. จัดโปรดอกเบี้ย 1.125% พร้อมข้อเสนอพิเศษ
  • 3 เรื่องต้องรู้ ก่อนรีไฟแนนซ์บ้าน แนะสูตรคำนวณแบบประหยัดดอกเบี้ย หนีดอกเบี้ยสุดโหด
  • สินเชื่อ SME ต่อยอดธุรกิจ กู้เงินเปิดร้าน วงเงินกู้ 3 เท่า สูงสุด 20 ล้าน
  • สินเชื่อบ้าน รีไฟแนนซ์ จากธนาคารกรุงไทย ตัวช่วยของคนอยากมีบ้าน
  • ผ่อนบ้านจัดเต็มกับกรุงไทย ผ่อนนาน 40 ปี ดอกเบี้ยคงที่ 6 เดือน
  • ออมสินให้วงเงินกู้สูงสุด 3 ล้าน ใช้เป็นเงินทุนร้านสำหรับพ่อค้าแม่ขาย อาชีพอิสระ ผ่อนยาว 10 ปี
  • ออมสินปรับลดเงินงวด สินเชื่อ "ผ่อนบ้านดี มีเฮ" สำหรับลูกค้าสินเชื่อเคหะปัจจุบัน ถึง 30 ก.ย. นี้
  • หลากวิธีถอนชื่อผู้กู้ร่วมซื้อบ้าน ทำอย่างไรดี ?

    มีปัญหากับการกู้ร่วมกัน หรืออยากแยกกู้เพื่อซื้อบ้านหลังใหม่ จะทำอย่างไรหากอยากถอนชื่อผู้กู้ร่วม วันนี้เรามีคำตอบมาฝาก ในการกู้ซื้อบ้านร่วมกัน คนที่มีรายได้ไม่เพียงพอกับวงเงินที่ต้องการกู้อาจจะต้อง กู้ร่วม กับคนใกล้ชิดเพื่อช่วยกันแบ่งเบาภาระหนี้ ให้ธนาคารมีความมั่นใจพอที่จะปล่อยสินเชื่อบ้านได้ แต่หากเกิดวันหนึ่งต้องการถอนชื่อออกจากการเป็นผู้กู้ร่วม จะต้องทำอย่างไร วันนี้เรามีข้อมูลดีๆ จากเว็บไซต์ terrabkk.com มาให้คุณได้ทราบคำตอบกันค่ะ

    © สงวนลิขสิทธิ์ 2567 บริษัท ไทยโฮมทาวน์ จำกัด
    @thaihometown Scroll