สินเชื่อที่อยู่อาศัย

แน่นอนว่าความใฝ่ฝันสูงสุดของมนุษย์เงินเดือนทั้งหลาย ก็คือ อยากมีบ้านเป็นของตนเองสักหลัง ซึ่งหนึ่งในวิธีทำให้ฝันเป็นจริงก็คือ การกู้ซื้อบ้านกับสถาบันการเงินนั่นเอง แต่เอ...เพราะเหตุใดบางคนให้ข้อมูลครบถ้วนหมดแล้ว ประวัติหนี้เสียไม่มี แต่กลับขอสินเชื่อไม่ผ่านซะอย่างนั้น แล้วทำอย่างไรจึงจะผ่าน วันนี้เรามีคำตอบมาฝากเพื่อน ๆ กันค่ะ

ประกาศอสังหาริมทรัพย์ใหม่ บ้าน บ้าน รายการล่าสุด บ้านเดี่ยว บ้านเดี่ยว รายการล่าสุด ทาวน์เฮ้าส์ ทาวน์เฮ้าส์ รายการล่าสุด ทาวน์โฮม ทาวน์โฮม รายการล่าสุด คอนโด คอนโด รายการล่าสุด อาคารพาณิชย์ อาคารพาณิชย์ รายการล่าสุด อพาร์ทเม้นท์ อพาร์ทเม้นท์ รายการล่าสุด สำนักงาน สำนักงาน รายการล่าสุด โฮมออฟฟิศ โฮมออฟฟิศ รายการล่าสุด ธุรกิจ ธุรกิจ รายการล่าสุด โรงงาน โรงงาน รายการล่าสุด คลังสินค้า คลังสินค้า รายการล่าสุด โกดัง โกดัง รายการล่าสุด ที่ดิน ที่ดิน รายการล่าสุด ลงประกาศฟรี ผู้รับเหมา รายการล่าสุด ผู้รับเหมา ลงประกาศฟรี ผู้รับเหมา ข่าวประชาสัมพันธ์ รายการล่าสุด ข่าวประชาสัมพันธ์ พรีวิวโครงการใหม่ รายการล่าสุด พรีวิวโครงการใหม่ ตกแต่งที่อยู่อาศัย รายการล่าสุด ตกแต่งที่อยู่อาศัย สาระควรรู้ ที่อยู่อาศัย รายการล่าสุด สาระควรรู้ ที่อยู่อาศัย ฮวงจุ้ย ที่อยู่อาศัย รายการล่าสุด ฮวงจุ้ย ที่อยู่อาศัย สินเชื่อ ที่อยู่อาศัย รายการล่าสุด สินเชื่อ ที่อยู่อาศัย SME รายการล่าสุด SME สถานที่ท่องเที่ยว รายการล่าสุด สถานที่ท่องเที่ยว

ขอกู้ธนาคารซื้อบ้าน ยื่นไปแล้วไม่ผ่าน สาเหตุเพราะอะไรมาดูกัน

     กู้ซื้อบ้านไม่ผ่าน สาเหตุที่กู้ซื้อบ้านไม่ผ่าน เพราะอะไร และควรทำอย่างไรเพื่อให้การกู้ซื้อบ้านผ่าน มาดูกัน

      แน่นอนว่าความใฝ่ฝันสูงสุดของมนุษย์เงินเดือนทั้งหลาย ก็คือ อยากมีบ้านเป็นของตนเองสักหลัง ซึ่งหนึ่งในวิธีทำให้ฝันเป็นจริงก็คือ การกู้ซื้อบ้านกับสถาบันการเงินนั่นเอง แต่เอ...เพราะเหตุใดบางคนให้ข้อมูลครบถ้วนหมดแล้ว ประวัติหนี้เสียไม่มี แต่กลับขอสินเชื่อไม่ผ่านซะอย่างนั้น แล้วทำอย่างไรจึงจะผ่าน วันนี้เรามีคำตอบมาฝากเพื่อน ๆ กันค่ะ

สำหรับสาเหตุที่กู้ซื้อบ้านไม่ผ่าน อาจมีเหตุผลหลายประการ เช่น

      นโยบายการปล่อยสินเชื่อของสถาบันการเงินหรือผู้ประกอบการแต่ละแห่งที่แตกต่างกัน
      ภาระหนี้ที่มีอยู่ และความสามารถในการชำระหนี้ของผู้ขอสินเชื่อ
      หลักประกันความเสี่ยงของผู้ขอสินเชื่อ เช่น หลักทรัพย์ค้ำประกัน/ผู้ค้ำประกัน
      โอกาสในการผิดนัดชำระหนี้มากหรือน้อย
      ประวัติการชำระหนี้ที่ผ่านมาของลูกหนี้

 

การตรวจสอบความสามารถชำระหนี้

     หลายธนาคารค่อนข้างเข็มงวดในเรื่องของการผ่อนชำระของผู้ขอสินเชื่อ แม้จะมีแหล่งรายได้ที่แน่นอน แต่ก็ใช้ว่าธนาคารจะอนุมัติ เพราะว่ารายได้ที่แน่นอนจะต้องมาตัดเป็นค่าใช้จ่ายในชีวิตประจำวันอื่นๆอีก เช่น ค่าอาหาร ค่าผ่อนรถ ค่าผ่อนสินเชื่ออื่นๆ ถ้าค่าใช้ใจ่ายเหล่านนี้สูงมากจนเกินไป ก็อาจจะทำให้รายได้ที่แน่นอน กลายเป็นรายได้ที่ไม่มั่นคงแทน ฉนั้นก่อนที่ยื่นเอกสารต่างๆ ก็ให้ลองตรวจสอบข้อมูลเบื้องต้นไว้ก่อน ดังนี้ 

 1. สำรวจความสามารถในการผ่อนชำระหนี้

          ปกติแล้วการผ่อนชำระหนี้ ไม่ควรเกิน 1 ใน 3 ของรายได้ในแต่ละเดือน เช่น ถ้าผู้ขอสินเชื่อมีรายได้ 15,000 บาทต่อเดือน จะสามารถผ่อนหนี้ได้ประมาณ 5,000 บาท

 2. ตรวจสอบภาระหนี้เดิมรวมกับหนี้ที่จะขอใหม่ ว่ามีเยอะหรือไม่

          โดยนำยอดการผ่อนชำระหนี้เดิมและยอดหนี้ที่จะขอใหม่ต่อเดือนมารวมกัน แล้วดูว่ามีสัดส่วนเกินกว่า 1 ใน 3 ของรายได้ต่อเดือนหรือไม่ 

 

ตัวอย่าง

          ผู้ขอสินเชื่อต้องการกู้ซื้อบ้านราคา 2,500,000 บาท (เงินดาวน์ 300,000 บาท) เหลือ 2,200,000 บาท ดอกเบี้ย 4% ระยะเวลาชำระหนี้คืน 25 ปี ผ่อนชำระหนี้ (เงินต้นรวมดอกเบี้ย) ประมาณเดือนละ 15,000 บาท นอกจากนี้ ผู้ขอกู้ยังมียอดหนี้เดิมที่ต้องผ่อนชำระต่อเดือนอีก 4,500 บาท เมื่อรวมภาระหนี้ทั้งสิ้นผ่อนต่อเดือน 19,500 บาท และผู้ขอสินเชื่อมีรายได้ต่อเดือน 60,000 บาท (รายได้เงินเดือน+ค่าคอม+รายได้พิเศษ) ถือว่าผู้ขอกู้ยังมีความสามารถในการชำระหนี้ได้

          อย่างไรก็ดี หากพบว่า รายได้สุทธิของคุณไม่เพียงพอที่จะกู้ คุณอาจจะหา "ผู้กู้ร่วม" มาช่วยทำให้ความสามารถในการผ่อนชำระมีมากขึ้น หรืออาจจะลดภาระหนี้ของคุณ เช่น ไปปิดบัญชีบัตรเครดิต บัญชีเงินกู้สหกรณ์ หรือไม่ก็ลดขนาดและราคาของบ้านลงมาให้สอดคล้องกับความสามารถในการผ่อนชำระ

       enlightened ทั้งนี้รายละเอียดเงื่อนไขการขอกู้ “สินเชื่ออเนกประสงค์” ทั้งสองรูปแบบข้างต้นเป็นเพียงภาพรวมที่ธนาคารส่วนใหญ่ใช้พิจารณาอนุมัติ ส่วนการตัดสินใจว่าจะเลือกใช้แบบไหนขึ้นอยู่กับผู้ซื้อบ้านที่จะต้องพิจารณาให้ตรงกับความต้องการของตนเองมากที่สุด

crying เอกสารในการยื่นรีไฟแนนซ์บ้าน

1. สำเนาบัตรประชาชน/รัฐวิสาหกิจ/ข้าราชการพร้อมฉบับจริง
2. สำเนาทะเบียนบ้าน ทุกหน้า ทุกคนพร้อมฉบับจริง
3. สำเนาทะเบียนสมรส/ใบหย่า/ในมรณะบัตร/ใบแจ้งความแยกกันอยู่ พร้อมฉบับจริง
4. สำเนาบัตรประชาชนและสำเนาทะเบียนบ้านของคู่สมรสพร้อมฉบับจริง
5. สำเนาใบเปลี่ยนชื่อ-นามสกุล(ถ้ามี)พร้อมฉบับจริง
6. ใบรับรองเงินเดือน (ฉบับจริง) หรือ หนังสือผ่านสิทธิสวัสดิการข้อตกลง (ฉบับจริง)
7. สลิปเงินเดือนหรือหลักฐานการรับรองเงินเดือนปัจจุบัน 3 เดือน ย้อนหลัง(ฉบับจริง )
8. สำเนาบัญชีเงินฝากแสดงรายการย้อนหลัง 6 เดือน หลักฐานแสดงฐานะการเงินอื่น ๆ พร้อมฉบับจริง หรือ Statement พร้อมรับรอง
9. สำเนาทะเบียนการค้า/ทะเบียนบริษัท/ห้างหุ้นส่วนฯ(ภงต.90, 91, ทวิ 50, หนังสือหักภาษี ณ ที่จ่าย) *กรณีประกอบธุรกิจ
10. หลักฐานการเสียภาษีเงินได้พร้อมใบเสร็จตัวจริงจากกรมสรรพากร ย้อนหลัง 6 เดือน *กรณีประกอบธุรกิจ
11. รูปถ่ายกิจการ จำนวน 3-4 รูป *กรณีประกอบธุรกิจ
12. สำเนาในประกอบวิชาชีพ, ในอนุญาตประกอบการ *กรณีประกอบอาชีพส่วนตัว
13. ใบเสร็จการผ่อนชำระย้อนหลัง 24 เดือน(กรณีไถ่ถอน)
14. สำเนาโฉนดที่ดิน/นส.3ก/หนังสือกรรมสิทธิ์ห้องชุด/อช.2(2ชุด) พร้อมรับรองจาก สนง.ที่ดิน

 

crying ประโยชน์ของการรีไฟแนน์บ้าน

1. ทำให้เราได้ดอกเบี้ยที่ถูกลงนั่นลง ภาระผ่อนชำระน้อยลง
2. กรณีที่รีไฟแนนซ์บ้านเพื่อต้องการเงินส่วนต่าง สามารถนำเงินส่วนต่างไปหมุนเวียนใช้จ่ายหรือหมุนเวียนในธุรกิจ
3. ในภาวะดอกเบี้ยสูง สามารถรีไฟแนนซ์ไปแบบดอกเบี้ยคงที่ตลอดอายุสัญญาป้องกันความเสี่ยงเรื่องอัตราดอกเบี้ยที่ควบคุมไม่ได้


crying ข้อควรระวังในการรีไฟแนนซ์บ้าน

1. ควรคำนวนค่าใช้จ่ายทั้งหมดในการรีไฟแนนซ์ให้ดี ฉะนั้นการรีไฟแนนซ์อาจจะไม่คุ้มค่า
2. MLR แต่ละธนาคารไม่เท่ากัน การเปรียบเทียบดอกเบี้ยหลังหมดโปรโมชั่นเช่น MLR-1 ของแต่ละธนาคารจึงไม่เท่ากัน
3. บางธนาคารท่านสามารถต่อรองดอกเบี้ยหลังหมดโปรโมชั่นได้ นั่นคือท่านอาจจะไม่จำเป็นต้องรีไฟแนนซ์ก็ได้
4. ค่าใช้จ่ายในการรีไฟแนนซ์บางธนาคาร มีโปรโมชั่นเช่น ฟรีจดจำนอง ( แต่จะรวมอยู่ในดอกเบี้ย ) เหมาะสำหรับท่านที่ไม่สะดวกเตรียมค่าจดจำนอง(1%)ในวันที่ต้องโอนกรรมสิทธิ์
5. ประกันภัยประกันชีวิตประเภทต่างๆที่ธนาคารขายคู่กับสินเชื่อเป็นเรื่องที่สามารถต่อรองได้ควรเลือกที่เหมาะสมกับท่าน
6. การรีไฟแนนซ์การระยะดอกเบียโปรโมชั่นปกติจะประมาณ 3%แต่บางธนาคารสูงถึง 5% ท่านต้องตรวจสอบให้ถี่ถ้วนการเลือกใช้

 

สรุปวิธีการรีไฟแนนซ์บ้านให้มีเงินเหลือ

crying สรุปวิธีการรีไฟแนนซ์บ้านให้มีเงินเหลือ

 สรุปวิธีการที่รีไฟแนนซ์เงินเหลือ

1. ตรวจสอบต้นทุนการรีไฟแนนซ์เช่น ค่าปรับกรณีการรีไฟแนนซ์ก่อนกำหนด (3%) ค่าจำนอง หรือ ค่า ประกันภัยประกันชีวิต
2. ตรวจสอบดอกเบี้ยโปรโมชั่นที่จะย้ายไปใช้บริการว่า อยู่ในอัตราที่ดีที่สุดในระบบหรือไม่
3. ตวจสอบธนาคารดังกล่าวสามารถยื่นกู้ได้เกินกว่า หนี้เดิมหรือไม่ ถ้าได้ๆ มากแค่ไหน อัตราดอกเบี้ยส่วนที่เกินจากหนี้เดิมอยู่อัตราเท่าใด
4. เมื่อทราบต้นทุนแล้ว ก็มาถึงการประเมินราคาสินทรัพย์(บ้าน) ยื่นกู้กับธนาคารที่ ใช้บริการประเมินราคาที่ให้ราคาประเมินทรัพย์สินของท่านอย่างยุติธรรมบางธนาคารใช้บริษัทประเมินของตนเองบางธนาคารใช้ประเมินนอก
5. ทราบต้นทุน ทราบ ราคาประเมิน ทราบเงื่อนไขการยื่นกู้เกินหนี้เดิมแล้ว สิ่งสุดท้ายคือ ความสามารถในการผ่้อนชำระของท่าน รายได้ของท่านต้องเพียงพอที่จะชำระค่าสินเชื่อ ทั้งหมดที่ท่านประสงค์ที่จะยื่นกู้ ทั้งหมดนี้ คือ ส่วนที่ต้องคำนึง ถึง และตรวจสอบอย่างถี่่ถ้วนก่อนการยื่นกู้ก็จะทำให้ท่านได้เงื่อนไขที่ดี และ ได้อัตราดอกเบี้ยเหมาะสม พร้อมกับ วงเงินส่วนเกินทีนำมาหมุนเวียนได้ต่อไป

 

 คำแนะนำ

สิ่งสำคัญของการทีี่เราต้องมีภาระหนี้สินในระยะยาวคืออัตราดอกเบี้ย ถ้าดอกเบี้ยของท่านไม่ได้เป็นแบบคงที่ตลอดอายุสัญญาท่านควรจะคอยตรวจสอบอัตราดอกเบี้ยในท้องตลาดอย่างสม่ำเสมอ และควรติดตามแนวโน้มในระยะ 2-3 ปี ว่าอัตราดอกเบี้ยจะเป็นอย่างไร หากมีแนวโน้มสูงขึ้นมากๆ การรีไฟแนนซ์ถึงแม้ต้องมีอัตราค่าปรับในการรีไฟแนนซ์ก่อนกำหนด บางครั้งก็คุ้มค่า

  • เงื่อนไขเงินดาวน์บ้าน เช็กให้ชัวร์ก่อนซื้อ
  • "โครงการบ้าน ธอส. เราไม่ทิ้งกัน" ให้วงเงินกู้ไม่เกิน 3 ล้าน* 2 ปีแรกดอกเบี้ยคงที่ 1.99% ต่อปี ฟรีค่าธรรมเนียม ...
  • สำรวจความพร้อมก่อนกู้สินเชื่อบ้าน-คอนโด ด้วยการทำ Pre-Approve
  • ซื้อบ้านต้องยื่นกู้กลัวไม่ผ่าน เหตุผลใดทำให้กู้ไม่ผ่าน
  • GSB Plus สินเชื่อเคหะเพิ่มยอด จากธนาคารออมสิน
  • ขอสินเชื่อบ้าน มี 4 เรื่องหลักที่ทำให้โดนธนาคารปฏิเสธการให้สินเชื่อ
  • ทำไม? สินเชื่อถึงไม่อนุมัติ เครดิตไม่ดีเหรอ เครดิตดีอยากได้ต้องอย่างไร
  • "ติดเครดิตบูโร" คำยอดฮิตที่ธนาคารชอบอ้าง
  • ซื้อบ้านด้วยเงินสด มีข้อดีอะไร และขั้นตอนอย่างไรบ้าง?
  • 3 เรื่องต้องรู้ ก่อนรีไฟแนนซ์บ้าน แนะสูตรคำนวณแบบประหยัดดอกเบี้ย หนีดอกเบี้ยสุดโหด
  • สินเชื่อ SME ต่อยอดธุรกิจ กู้เงินเปิดร้าน วงเงินกู้ 3 เท่า สูงสุด 20 ล้าน
  • สินเชื่อบ้าน รีไฟแนนซ์ จากธนาคารกรุงไทย ตัวช่วยของคนอยากมีบ้าน
  • ผ่อนบ้านจัดเต็มกับกรุงไทย ผ่อนนาน 40 ปี ดอกเบี้ยคงที่ 6 เดือน
  • ออมสินให้วงเงินกู้สูงสุด 3 ล้าน ใช้เป็นเงินทุนร้านสำหรับพ่อค้าแม่ขาย อาชีพอิสระ ผ่อนยาว 10 ปี
  • สมัครกู้เงินออนไลน์? ออมสินให้กู้ด่วน 200,000 บาท จริงหรือไม่
  • ขอกู้ธนาคารซื้อบ้าน ยื่นไปแล้วไม่ผ่าน สาเหตุเพราะอะไรมาดูกัน

    แน่นอนว่าความใฝ่ฝันสูงสุดของมนุษย์เงินเดือนทั้งหลาย ก็คือ อยากมีบ้านเป็นของตนเองสักหลัง ซึ่งหนึ่งในวิธีทำให้ฝันเป็นจริงก็คือ การกู้ซื้อบ้านกับสถาบันการเงินนั่นเอง แต่เอ...เพราะเหตุใดบางคนให้ข้อมูลครบถ้วนหมดแล้ว ประวัติหนี้เสียไม่มี แต่กลับขอสินเชื่อไม่ผ่านซะอย่างนั้น แล้วทำอย่างไรจึงจะผ่าน วันนี้เรามีคำตอบมาฝากเพื่อน ๆ กันค่ะ

    © สงวนลิขสิทธิ์ 2567 บริษัท ไทยโฮมทาวน์ จำกัด
    @thaihometown Scroll