สินเชื่อที่อยู่อาศัย

ซื้อบ้าน โดยปกติจะให้กู้ไม่เกิน 90% ของราคาซื้อขาย หรือราคาที่ธนาคารประเมิน (ใช้ราคาที่ต่ำกว่า) นั่นแปลว่า ส่วนเกินต้องหามาจ่ายเอง การยื่นสินเชื่อต้องมีความพร้อม การเตรียมตัวที่ดีในเรื่องของเอกสาร ข้อมูลด้านการเงินต่างๆ และการพิจารณาความสามารถในการชำระเงินผ่อนบ้านของตัวเองว่ามีความพร้อมมากน้อยแค่ไหนก่อนทำการยื่นเอกสารขอกู้ซื้อบ้าน เพราะถ้าเรายังไม่มีความพร้อมมากพอก็ต้องรอให้พร้อมก่อน แต่ถ้าพิจารณาแล้วมีความพร้อมมากพอและมั่นใจแล้วก็ลองทำตามขั้นตอนดังนี้ได้เลยครับ

ประกาศอสังหาริมทรัพย์ใหม่ บ้าน บ้าน รายการล่าสุด บ้านเดี่ยว บ้านเดี่ยว รายการล่าสุด ทาวน์เฮ้าส์ ทาวน์เฮ้าส์ รายการล่าสุด ทาวน์โฮม ทาวน์โฮม รายการล่าสุด คอนโด คอนโด รายการล่าสุด อาคารพาณิชย์ อาคารพาณิชย์ รายการล่าสุด อพาร์ทเม้นท์ อพาร์ทเม้นท์ รายการล่าสุด สำนักงาน สำนักงาน รายการล่าสุด โฮมออฟฟิศ โฮมออฟฟิศ รายการล่าสุด ธุรกิจ ธุรกิจ รายการล่าสุด โรงงาน โรงงาน รายการล่าสุด คลังสินค้า คลังสินค้า รายการล่าสุด โกดัง โกดัง รายการล่าสุด ที่ดิน ที่ดิน รายการล่าสุด ลงประกาศฟรี ผู้รับเหมา รายการล่าสุด ผู้รับเหมา ลงประกาศฟรี ผู้รับเหมา ข่าวประชาสัมพันธ์ รายการล่าสุด ข่าวประชาสัมพันธ์ พรีวิวโครงการใหม่ รายการล่าสุด พรีวิวโครงการใหม่ ตกแต่งที่อยู่อาศัย รายการล่าสุด ตกแต่งที่อยู่อาศัย สาระควรรู้ ที่อยู่อาศัย รายการล่าสุด สาระควรรู้ ที่อยู่อาศัย ฮวงจุ้ย ที่อยู่อาศัย รายการล่าสุด ฮวงจุ้ย ที่อยู่อาศัย สินเชื่อ ที่อยู่อาศัย รายการล่าสุด สินเชื่อ ที่อยู่อาศัย SME รายการล่าสุด SME สถานที่ท่องเที่ยว รายการล่าสุด สถานที่ท่องเที่ยว

เกร็ดความรู้ การยื่นขอสินเชื่อบ้าน มีขั้นตอนอย่างไร ต้องเตรียมตัวอะไรบ้าง?

       ซื้อบ้าน โดยปกติจะให้กู้ไม่เกิน 90% ของราคาซื้อขาย หรือราคาที่ธนาคารประเมิน (ใช้ราคาที่ต่ำกว่า) นั่นแปลว่า ส่วนเกินต้องหามาจ่ายเอง การยื่นสินเชื่อต้องมีความพร้อม การเตรียมตัวที่ดีในเรื่องของเอกสาร ข้อมูลด้านการเงินต่างๆ และการพิจารณาความสามารถในการชำระเงินผ่อนบ้านของตัวเองว่ามีความพร้อมมากน้อยแค่ไหนก่อนทำการยื่นเอกสารขอกู้ซื้อบ้าน เพราะถ้าเรายังไม่มีความพร้อมมากพอก็ต้องรอให้พร้อมก่อน แต่ถ้าพิจารณาแล้วมีความพร้อมมากพอและมั่นใจแล้วก็ลองทำตามขั้นตอนดังนี้ได้เลยครับ

เริ่มเตรียมเอกสารให้ถูกต้อง

เอกสารที่ต้องใช้ (กรณีมีเงินเดือน)

- สำเนาบัตรประชาชน ถ่ายให้เห็นหน้าชัดชัด อย่ามืดดำ (+คู่สมรส)
- สำเนาทะเบียนบ้าน (+คู่สมรส)
- สำเนาทะเบียนสมรส (กรณ๊สมรสแล้ว)
- สำเนาบัญชีเงินฝาก (statement) แสดงรายการย้อนหลัง 6 เดือน (ธนาคารใดก็ได้ ไม่จำเป็นต้องเป็นบัญชีของธนาคารที่จะขอกู้ และถ้ามีหลายบัญชีก็เอาไปให้หมด เน้นบัญชีที่มีรายการเคลื่อนไหวเยอะ ๆ) อย่าปลอมอย่าตัดแป๊ะทำมา เค้าเช๊คเจอนะ เช็คง่ายมากด้วย ของจริงของปลอม หลอกด้วยสายตาได้ แต่ข้อมูลจริงในระบบมีนะค่ะ
- หนังสือรับรองเงินเดือน (มีอายุ 1 เดือนนับจากวันที่ในเอกสารที่บริษัทออกให้)
- สำเนาโฉนดที่ดินที่จะซื้อ ขอจากเจ้าของบ้านที่จะขาย จากโครงการ
- สำเนาสัญญาจะซื้อจะขาย (ถ่ายครบถ้วนทั้งหน้าและทุกหน้า ขนาดเท่าของจริง)
- สำเนาบัตรประชาชนผู้ขาย

เพิ่มเติม

- เอกสารเครดิตบูโร (credit bureau) ของคู่สมรส ขอได้จากธนาคารนครหลวงไทย
- ใบระวาง(กรณีเจ้าหน้าที่ประเมินหลักทรัพย์หาหมุดของตัวที่ดินไม่เจอ)ขอสำเนาได้จากสำนักงานที่ดินในพื้นที่นั้นๆหากเป็นเจ้าของบ้านที่มีชื่ออยู่ในฉโนดไปขอเองจะขอได้เลยแต่ถ้าหากผู้ซื้อไปขอต้องให้เจ้าของบ้านเซ้นต์รับรองสำเนาในสำเนาฉโนดที่ดินแล้วไปยื่นให้เจ้าหน้าที่ที่ดินเพื่อขอดูได้หรือจะใช้หนังสือสัญญาจะซื้อจะขายแสดงให้เจ้าหน้าที่ดูก็ได้


cryingเกร็ดความรู่้ ใบระวาง เลขที่ดิน หน้าสำรวจ คืออะไร?

ใบระวาง คือเอกสารหลักฐานทางแผนที่บรรจุรูปแผนที่โฉนดที่ดินเพื่อแสดงตำแหน่งที่ตั้งของที่ดินแต่ละแปลงอยู่ในกรอบสี่เหลี่ยมจัตุรัส กว้าง 50 เซนติเมตร ยาว 50 เซนติเมตร รูปแผนที่จะมีขนาดใหญ่หรือเล็กขึ้นอยู่กับมาตราส่วนที่ใช้กับระวางนั้นๆ เช่น มาตราส่วน 1: 4000 รูปแผนที่จะมีขนาดเล็กกว่า 1: 2000 หรือ 1: 1000 เป็นต้น ระวางบางประเภทจะใช้กับรูปแผนที่ น.ส.3ก.

วัตถุประสงค์ก็เพื่อแสดงตำแหน่งที่ตั้งของที่ดิน เช่นกัน ประโยชน์ของระวางใช้เพื่อควบคุมแผนที่รูปแปลงที่ดินที่มีกรรมสิทะ (โฉนดที่ดิน) หรือหนังสือแสดงสิทธิ์ในที่ดินชนิด น.ส.3ก. ขึ้นอยู่กับประเภทของระวางที่จัดสร้างขึ้นคือหนังสือที่ทางราชการออกให้เพื่อเป็นการแสดงความยินยอมให้ครอบครองทำประโยชน์ในที่ดินเป็นการชั่วคราว ซึ่งรัฐออกให้แก่บุคคลผู้ประสงค์จะได้ที่ดิน ของรัฐเป็นของตน

โดยบุคคลผู้นั้นได้เสนอความต้องการของตนต่อพนักงานเจ้าหน้าที่ เมื่อพนักงานเจ้าหน้าที่เห็นสมควรก็จะอนุญาตให้เข้าครอบครองที่ดิน และออกใบจองให้ไว้เป็นหลักฐาน 

เลขที่ดิน หมายถึง เครื่องหมายแสดงตำแหน่งของที่ดินที่บรรจุอยู่ในระวางเดียวกัน

หน้าสำรวจ หมายถึง เครื่องหมายแสดงแปลงที่ดิน ที่ทางราชการได้ทำการสอบสวนตามลำดับก่อนและหลังเพื่อการออกโฉนดที่ดิน

 ขั้นตอนการขอกู้

1) ไปที่สาขาของธนาคาร บอกพนักงานว่าจะทำเรื่องกู้ซื้อบ้าน โดยเตรียมเอกสารไปให้พร้อม
2) ถ้าพนักงานตรวจสอบเอกสารเบื้องต้นแล้วผ่าน ก็จะให้ทำเรื่องขอกู้ โดยจะต้องจ่ายค่าประเมินราคาให้กับธนาคาร (จ่ายแล้วไม่ได้คืน ไม่ว่าจะกู้ไม่ผ่านหรือเปลี่ยนใจภายหลังก็ตาม)
3) ธนาคารจะนัดหมายวัน-เวลาที่จะไปสำรวจที่ดินและหลักทรัพย์เพื่อประเมินราคา ซึ่งเป็นบริษัทภายนอก ไม่ใช่พนักงานของธนาคาร
4) หลังจากสำรวจประเมินราคาแล้ว รอผลจากธนาคาร โดยทั่วไปไม่น่าจะเกิน 2-3 สัปดาห์ ถ้าช้ากว่านั้นให้รีบติดต่อกับธนาคาร

คำตอบที่จะได้รับ คือ

- ผ่าน
- คุณสมบัติผู้ขอกู้ไม่ผ่าน >> กลับไปเตรียมตัวเรื่อง "ความสามารถในการชำระหนี้" ให้ดูดีกว่านี้
- มูลค่าหลักทรัพย์ (บ้าน) ไม่เพียงพอ (แปลว่า ได้วงเงินกู้น้อยกว่าที่ตั้งใจ)
+-- >> กู้แค่ 90% ของราคาที่ธนาคารประเมิน ส่วนเกินหามาจ่ายเพิ่มเอง
+-- >> เปลี่ยนไปขอกู้กับธนาคารอื่น

 ถ้าธนาคารอนุมัติสินเชื่อ (ผ่าน)

1) ธนาคารจะนัดหมายเพื่อไปทำเรื่องโอนและจดจำนองที่กรมที่ดิน และทำสัญญาสินเชื่อที่ธนาคารสาขาที่ทำเรื่องขอกู้ไว้
2) ในวันนัดหมาย เราต้องเตรียมเงินไปชำระค่าธรรมเนียมและอากร ในการทำเรื่องโอนและจดจำนอง (พนักงานจะแจ้งให้ทราบตอนนัดหมาย ถ้าพนักงานไม่แจ้ง ให้รีบสอบถามก่อน)
3) ในวันนัดหมาย ให้พาเจ้าของที่ดิน (ตามโฉนด) และเจ้าบ้านไปด้วย (เจ้าบ้านที่ระบุอยู่ในทะเบียนบ้านที่จะซื้อ) เพราะเจ้าหน้าที่กรมที่ดินอาจจะถามความเห็นชอบจากเจ้าบ้านด้วย

** อย่าตกใจ ถ้าพบว่ามูลค่าเงินกู้มีมากกว่าที่เราขอกู้ เพราะเราต้องจ่ายเบี้ยประกันชีวิตของผู้ขอกู้เองด้วย (ถ้าผู้ขอกู้เสียชีวิต ธนาคารจะปิดสินเชื่อโดยใช้เงินจากประกันชีวิต ผู้รับมรดกบ้านหลังนั้นไม่ต้องผ่อนชำระต่อ) ซึ่งธนาคารอาจจะเพิ่มเงินกู้ในส่วนนี้เข้าไป

** เราจะต้องจ่ายเบี้ยประกันวินาศภัยของบ้านเป็นประจำทุกปี (จนกว่าจะผ่อนหมด) ซึ่งไม่รวมอยู่ในวงเงินกู้ จึงต้องจ่ายแยกต่างหาก สอบถามกับพนักงานให้ดี

 

 การพิจารณาสินเชื่อ

- โดยทั่วไปจะมีเงื่อนไขว่า ผู้ขอกู้ต้องมีอายุงานกับบริษัทไม่ต่ำกว่า 1-2 ปี (บริษัทปัจจุบัน หรือบริษัทก่อนหน้าก็ได้)
- ธนาคารจะพิจารณาจาก "ความสามารถในการชำระหนี้" ของผู้ขอกู้

 

 ความสามารถในการชำระหนี้

- ความสามารถในการผ่อนชำระในแต่ละเดือน โดยพิจารณาจากเงินเดือน, รายได้ (นอกจากเงินเดือน), และรายการเคลื่อนไหวของบัญชีธนาคาร (statement)
- หักลบด้วย หนี้สินอื่นที่เคยกู้กับสถาบันการเงิน (ทุกแห่งภายในประเทศไทย), หนี้ผ่อนชำระทรัพย์สิน (บ้าน, รถ, เครื่องใช้ไฟฟ้า ฯลฯ), หนี้บัตรเครดิต, และการค้ำประกันให้กับหนี้สินของผู้อื่น

ข้อมูลหนี้สินเหล่านี้ ธนาคารจะตรวจสอบข้อมูลกับเครดิตบูโร (credit bureau)

ดังนั้น ถ้าเป็นหนี้นอกระบบก็จะไม่ถูกตรวจสอบ


crying เกร็ดการขอกู้

ความสนิทสนมคุ้นเคยกับพนักงานธนาคาร มีส่วนช่วยได้มาก
ธนาคารเล็ก หรือสาขาที่ห่างไกลความเจริญ มีโอกาสขอกู้ได้สูงกว่า (สาขาต้องทำยอด)
การทำเรื่องกู้ให้บอกว่า ซื้อเพื่อใช้อยู่อาศัยเอง จะได้ดอกเบี้ยถูกกว่ากู้ทั่วไป

+-- เราอาจจะต้องย้ายตัวเอง (ผู้ขอกู้) ไปเป็นผู้อยู่อาศัยในทะเบียนบ้านด้วย (ให้ธนาคารอนุมัติสินเชื่อก่อน ค่อยย้ายเข้า) ให้สอบถามพนักงานดู เพราะเขาอาจลืมบอก
+-- หลังจากทำสัญญากู้เสร็จแล้ว ย้ายออกได้เลย ธนาคารไม่สนใจแล้ว

หากวงเงินกู้ 90% ของราคาซื้อขาย(จริง)นั้นไม่เพียงพอ จะใช้วิธีซิกแซกก็พอได้

+-- คุยตกลงกับคนขายว่า ขอเพิ่มมูลค่าที่ระบุในสัญญาจะซื้อจะขาย เพื่อให้วงเงินกู้เพียงพอ (90% ของราคาซื้อขาย) แต่มูลค่าที่จะจ่ายจริงเท่าเดิม
+-- ทำสัญญาฉบับมูลค่าซื้อขายจริงด้วย
+-- สัญญาฉบับซิกแซกใช้เฉพาะทำเรื่องขอกู้เท่านั้น ให้ทำฉบับเดียว และเราเป็นคนเก็บ อย่าให้ผู้ขายมีไว้ครอบครอง ไม่ว่าจะสำเนาหรือฉบับจริง
+-- อย่าให้ธนาคารรู้ และคุยตกลงกันให้จบก่อนเริ่มติดต่อขอกู้

พนักงานอาจจะขอให้เราทำประกันชีวิตแบบสะสมทรัพย์เพิ่มเติม (คนละตัวกับประกันชีวิตที่พูดถึงข้างบน)

+-- อันนี้ไม่บังคับ เป็นเรื่องแล้วแต่จะต่อรอง แต่อาจมีผลต่อความเอาใจใส่ในการให้บริการของพนักงาน
+-- ธ.กสิกรไทย เคยเจอแบบ 15/7 (จ่าย 7 ปี คุ้มครอง 15 ปี มีเงินสะสมจ่ายคืน) เบี้ยประกันปีละประมาณ 20,000 บาท

ถ้าสงสัยอะไร ให้สอบถามกับพนักงานโดยตรงได้เลย พนักงานมีผลกับการขอกู้มาก ถ้าเจอพนักงานที่ให้บริการ, ให้คำแนะนำ, และช่วยเดินเรื่องดี ก็ถือว่าโชคดีไป แต่ถ้าเจอพนักงานเรื่องมาก แนะนำให้เปลี่ยนไปติดต่อธนาคารหรือสาขาอื่นแทนโดยด่วน

คำตอบที่จะได้รับ คือ

- ผ่าน
- ธนาคารอนุมัติวงเงินกู้น้อยกว่าที่ขอ
- ไม่ผ่าน

 กรณีอนุมัติวงเงินกู้น้อยกว่าที่ขอ

>> ตกลงกู้แค่ที่ได้รับอนุมัติ ส่วนเกินหามาจ่ายเอง
>> เปลี่ยนธนาคาร (อาจจะได้วงเงินสูงกว่า หาข้อมูลให้ดีก่อน เพราะต้องเสียค่าประเมินใหม่)

สาเหตุที่ไม่ผ่านหรือได้วงเงินกู้น้อย

- คุณสมบัติผู้ขอกู้ไม่ผ่าน >> ดูเรื่อง "ความสามารถในการชำระหนี้"
- มูลค่าหลักทรัพย์ (บ้าน) ไม่เพียงพอ

+-- >> มูลค่าประเมินน้อย ขึ้นอยู่กับบริษัทที่ธนาคารจ้างให้มาประเมิน (แล้วแต่ดวง)
+-- >> บางธนาคารอาจจะให้ไม่ถึง 90% (ลองสอบถามก่อนทำเรื่องขอกู้)

หากไม่มั่นใจในการขอกู้ ลองปรึกษาทางเราก่อนก็ได้ค่ะ บริการทำเรื่องยื่นกู้แบงค์ ขอสินเชื่อกับธนาคารค่ะ

  • ช่วงโควิด 19 อยากพักชำระหนี้ ผ่อนบ้านไม่ไหว มีมาตรการช่วยเหลือของธนาคารไหนบ้าง ?
  • ยื่นขอกู้ซื้อบ้าน แต่ธนาคารไม่อนุมัติให้ผ่าน มีสาเหตุมาจากอะไร
  • สินเชื่อติดตั้งแผงโซลาร์ สำหรับบ้าน และโรงงาน เพื่อชีวิตที่ OK
  • สินเชื่อบ้านมือสอง ธ.กรุงศรี เติมฝันให้มีบ้านได้เร็วขึ้น
  • เตรียมเอกสาร ขอกู้ซื้อบ้าน
  • กู้แบงก์ ซื้อบ้านต้องทำอย่างไร ให้ได้วงเงินสูง
  • สินเชื่อรีไฟแนนซ์ ดอกเบี้ยต่ำโดนใจ เริ่มต้น 2.30% จาก LH Bank
  • เรื่องน่ารู้การขอสินเชื่อ มีข้อควรทำ และไม่ควรทำ เพื่อให้สินเชื่ออนุมัติง่ายๆ
  • บ้าน ธอส.เพื่อสานสุข ปี 65 ให้วงเงิน 3 ล้าน สานฝันคุณให้เป็นจริง
  • 3 เรื่องต้องรู้ ก่อนรีไฟแนนซ์บ้าน แนะสูตรคำนวณแบบประหยัดดอกเบี้ย หนีดอกเบี้ยสุดโหด
  • สินเชื่อ SME ต่อยอดธุรกิจ กู้เงินเปิดร้าน วงเงินกู้ 3 เท่า สูงสุด 20 ล้าน
  • สินเชื่อบ้าน รีไฟแนนซ์ จากธนาคารกรุงไทย ตัวช่วยของคนอยากมีบ้าน
  • ผ่อนบ้านจัดเต็มกับกรุงไทย ผ่อนนาน 40 ปี ดอกเบี้ยคงที่ 6 เดือน
  • ออมสินให้วงเงินกู้สูงสุด 3 ล้าน ใช้เป็นเงินทุนร้านสำหรับพ่อค้าแม่ขาย อาชีพอิสระ ผ่อนยาว 10 ปี
  • สมัครกู้เงินออนไลน์? ออมสินให้กู้ด่วน 200,000 บาท จริงหรือไม่
  • เกร็ดความรู้ การยื่นขอสินเชื่อบ้าน มีขั้นตอนอย่างไร ต้องเตรียมตัวอะไรบ้าง?

    ซื้อบ้าน โดยปกติจะให้กู้ไม่เกิน 90% ของราคาซื้อขาย หรือราคาที่ธนาคารประเมิน (ใช้ราคาที่ต่ำกว่า) นั่นแปลว่า ส่วนเกินต้องหามาจ่ายเอง การยื่นสินเชื่อต้องมีความพร้อม การเตรียมตัวที่ดีในเรื่องของเอกสาร ข้อมูลด้านการเงินต่างๆ และการพิจารณาความสามารถในการชำระเงินผ่อนบ้านของตัวเองว่ามีความพร้อมมากน้อยแค่ไหนก่อนทำการยื่นเอกสารขอกู้ซื้อบ้าน เพราะถ้าเรายังไม่มีความพร้อมมากพอก็ต้องรอให้พร้อมก่อน แต่ถ้าพิจารณาแล้วมีความพร้อมมากพอและมั่นใจแล้วก็ลองทำตามขั้นตอนดังนี้ได้เลยครับ

    © สงวนลิขสิทธิ์ 2567 บริษัท ไทยโฮมทาวน์ จำกัด
    @thaihometown Scroll