สินเชื่อที่อยู่อาศัย

บ้านคือวิมานของเรา ส่วนตัวคิดว่าเกือบทุกคนคงจะคิดอย่างนั้น แต่การจะมีบ้านสักหลังเป็นของตัวเอง ไม่ว่าจะเป็นบ้านเดี่ยว ทาวน์เฮ้าส์ ตึกแถว หรือห้องชุด ไม่ใช่เรื่องง่ายเลยเพราะเดี๋ยวนี้อสังหาริมทรัพย์ราคาสูงมาก แต่หากเราต้องการจะเป็นเจ้าของจริงๆ การขอสินเชื่อที่อยู่อาศัยถือว่าเป็นทางอออกที่ดี

ประกาศอสังหาริมทรัพย์ใหม่ บ้าน บ้าน รายการล่าสุด บ้านเดี่ยว บ้านเดี่ยว รายการล่าสุด ทาวน์เฮ้าส์ ทาวน์เฮ้าส์ รายการล่าสุด ทาวน์โฮม ทาวน์โฮม รายการล่าสุด คอนโด คอนโด รายการล่าสุด อาคารพาณิชย์ อาคารพาณิชย์ รายการล่าสุด อพาร์ทเม้นท์ อพาร์ทเม้นท์ รายการล่าสุด สำนักงาน สำนักงาน รายการล่าสุด โฮมออฟฟิศ โฮมออฟฟิศ รายการล่าสุด ธุรกิจ ธุรกิจ รายการล่าสุด โรงงาน โรงงาน รายการล่าสุด คลังสินค้า คลังสินค้า รายการล่าสุด โกดัง โกดัง รายการล่าสุด ที่ดิน ที่ดิน รายการล่าสุด ลงประกาศฟรี ผู้รับเหมา รายการล่าสุด ผู้รับเหมา ลงประกาศฟรี ผู้รับเหมา ข่าวประชาสัมพันธ์ รายการล่าสุด ข่าวประชาสัมพันธ์ พรีวิวโครงการใหม่ รายการล่าสุด พรีวิวโครงการใหม่ ตกแต่งที่อยู่อาศัย รายการล่าสุด ตกแต่งที่อยู่อาศัย สาระควรรู้ ที่อยู่อาศัย รายการล่าสุด สาระควรรู้ ที่อยู่อาศัย ฮวงจุ้ย ที่อยู่อาศัย รายการล่าสุด ฮวงจุ้ย ที่อยู่อาศัย สินเชื่อ ที่อยู่อาศัย รายการล่าสุด สินเชื่อ ที่อยู่อาศัย SME รายการล่าสุด SME สถานที่ท่องเที่ยว รายการล่าสุด สถานที่ท่องเที่ยว

เรื่องน่ารู้ "สินเชื่อที่อยู่อาศัย" รู้ไว้สักนิดก่อนคิดจะกู้แบงค์ เพื่อขอสินเชื่อไปซื้อบ้านของตัวเอง

1. คุณสมบัติผู้กู้ และ หลักฐาน

บุคคลทั่วไป ที่มีเครดิต ในสายตาของธนาคารที่ให้กู้ คือ ผู้มีรายได้อย่างสม่ำเสมอ จะต้องมีหลักฐาน ยืนยันว่าท่านมีรายได้สม่ำเสมอ มั่นคง สามารถใช้หนี้ คืนได้ ตามระยะเวลากู้ ไม่เป็นหนี้เสีย มีอายยุ 20 ปี ขึ้นไป สามารถทำนิติกรรมได้ด้วยตนเอง อายุสูงสุด แล้วแต่ธนาคาร

 

2. หลักฐานส่วนตัวท่าน

  • บัตร ประจำตัวประชาชน
  • สำเนาทะเบียนบ้าน
  • Bank Statement หรือ บัญชี ธนาคาร
  • ใบรับรอง เงินเดือนต้องตรงและสอดคล้องกับ Bank Statement
  • หลักฐานเกี่ยวกับ การกู้ เช่น สำเนาสัญญา จะซื้อจะขาย สำเนาโฉนด แผนที่ทรัพย์สิน
  • อื่นๆ เช่น ใบเปลี่ยนชื่อ เปลี่ยน นามสกุล ใบทะเบียนสมรส ใบหย่า
  • หลักฐานการประกอบการกู้ อื่นๆ 


   กรณีเป็นกิจการส่วนตัว หรือบริษัทต้องมีอากสารเพิ่มเติมดังนี้

  • ใบจดทะเบียน บริษัท
  • หลักฐานการเสียภาษี
  • บัญชีกระแสรายวัน
  • รูปถ่ายของกิจการ
  • บัญชีรายชื่อลูกค้า
  • ผู้อ้างอิง
  • ใบส่งของ
  • หลักทรัพย์ อื่นๆ รถยนต์ บ้าน ที่ดิน เพื่อที่จะให้ธนาคาร ท่านมั่นใจ ในเครดิต ของท่านเอง

ในกรณีสมรส ธนาคารมักจะให้เป็นผู้กู้ร่วม แม้จะยังไม่จดทะเบียน หลักเกณฑ์การพิจารณาวงเงิน ให้กู้ได้เท่าไหร่

1. อัตราดอกเบี้ยที่ลดลง

       โดยเทียบจากค่างวดที่ต้องผ่อนชำระ ระหว่างแหล่งเงินกู้เดิมกับแหล่งเงินกู้ใหม่ เพื่อให้มีภาระผ่อนชำระน้อยลง (ไม่กู้เพิ่ม) หลังจากที่ครบ วาระดอกเบี้ยโปรโมชั่น อาจจะ 1 หรือ 3 ปี แล้วแต่โปรโมชั่นที่คุณรับมาจากธนาคาร เพราะหลังจากนั้นอัตราดอกเบี้ยมักเป็นไปในลักษณะลอยตัว (MLR) หรือ ลอยตัวแล้วมีส่วนลด คือ MLR- ซึง MLR แต่ละธนาคารก็จะไม่เท่ากัน

       ผู้ที่ต้องการจะรีไฟแนนซ์ก็ต้องมาตรวจสอบดูส่วนต่าง ระหว่างการใช้ดอกเบี้ยอยู่กับธนาคารเดิม กับ ค่าใช้จ่ายหลังจากรีไฟแนนซ์ไปยังธนาคารใหม่ว่ามีส่วนลดให้มากพอที่จะทำเรื่องไฟแนนซ์ไปหรือไม่ซึ่งทุกปี แต่ละธนาคารก็จะแข่งขันกันออกโปรโมชั่นดอกเบี้ย ดึงลูกค้ากันเอง เราก็ต้องมาคอยตรวจสอบว่าที่ไหนดี่ที่สุด เทียบกับที่เราใช้อยู่ บวกลบ แล้วมีกำไรคุ้มค่าก็ดำเนินการย้ายไปได้เลย

►สินเชื่อที่อยู่อาศัย เลือกธนาคารไหนดี

      จากสถาบันการเงินทั้งสามกลุ่มที่เราแนะนำไปเชื่อว่า ธนาคารน่าจะเป็นแหล่งแรกที่เรานึกถึง แต่คำถามที่หลายคนคิดในหัวก็คือ แล้วเราจะเลือกธนาคารไหนดี อันนี้ก็ตอบแบบฟันธงไปเลยไม่ได้ เพราะการอนุมัติมีหลายปัจจัยประกอบกัน แต่เราควรดูข้อมูลสินเชื่อที่อยู่อาศัย ของธนาคารที่เค้าแนะนำให้ดี

 

สินเชื่อที่อยู่อาศัย เค้ามีวงเงินกู้กันเท่าไร

►สินเชื่อที่อยู่อาศัย เค้ามีวงเงินกู้กันเท่าไร

      ข้อมูลแรกที่เราควรจะโฟกัสก่อนเลยก็คือ สินเชื่อที่อยู่อาศัย ที่เค้ามาแนะนำนั้นมีวงเงินกู้เท่าไร โดยทั่วไปแล้ววงเงินของสินเชื่อประเภทนี้จะเริ่มต้นที่ร้อยละ 80 ของราคาประเมิน ไปจนถึง ร้อยละ 100 ของราคาประเมิน(เคยมีบางสินเชื่อให้เกินนี้ด้วย) ซึ่งหากน้อยกว่านี้แนะนำว่าให้บอกผ่านไปก่อน

2.3 ค่าใช่จ่ายต่างๆ จากการรีไฟแนนซ์

    มีอยู่ 6 ข้อ ซึ่งลูกค้าแต่ละรายจะเสียไม่เท่ากัน เพราะนอกจาก สถาบันการเงินแต่ละแห่งจะกำหนดอัตราที่แตกต่างกันแล้ว ยังมีปัจจัยที่เกี่ยวข้องอีกมากดังนี้

1. ค่าปรับให้กับสถาบันการเงินเดิม กรณีคืนหนี้ก่อนกำหนด ในกรณีที่สัญญาเงินกู้ยังไม่พ้น “ระยะต้องห้าม” คุณจะต้องจ่ายแน่ๆ แล้ว 2-3% ของยอดหนี้คงค้างหรือยอดหนี้ตามสัญญา

2. ค่าจดจำนองใหม่กับกรมที่ดิน อัตรา 1% ของราคาประเมินของกรมที่ดิน

3. ค่าประเมินราคา เป็นอัตราที่ธนาคารแต่ละแห่งกำหนดขึ้นมาในอัตราที่แตกต่างกัน แต่โดยเฉลี่ยแล้วจะอยู่ประมาณ 2,500 บาท หรือ 0.24% ของราคาประเมิน ขณะที่สถาบันการเงินบางแห่งอาจจะยกเว้นให้ในบางกรณี เช่น บ้านที่ทำสัญญาเงินกู้ไม่เกิน 3 ปี หรือเป็นช่วงส่งเสริมการขายของสถาบันการเงินนั้น และถ้าเป็นการรีไฟแนนซ์กับสถาบันการเงินเดิมอาจจะไม่ต้องประเมินราคาใหม่ก็ได้

4. ค่าธรรมเนียมเงินกู้กับสถาบันการเงินใหม่ ซึ่งในสถาบันการเงินแต่ละแห่ง ลอาจจะเรียกชื่อค่าธรรมเนียมนี้แตกต่างกัน และมีรายละเอียดค่าธรรมเนียมต่างกันด้วย บางแห่งอาจจะไม่มีรายการนี้เลยก็ได้ ซึ่งโดยเฉลี่ยค่าธรรมเนียมเงินกู้จะอยู่ประมาณ 0.25-0.50% ของวงเงินกู้

5. ค่าประกันอัคคีภัย โดยปกติจะอยู่ประมาณ 0.1-0.2% ของวงเงินกู้ใหม่ อย่างไรก็ตาม สถาบันการเงินบางแห่งอาจจะกำหนดอัตราที่แตกต่างจากนี้ ซึ่งจากการทำประกันอัคคีภัยบ้าน จะทำเป็นรายปี เพราะฉะนั้นสำหรับคนที่เพิ่งต่ออายุกรมธรรม์ สามารถใช้กรมธรรม์เดิมได้โดยไม่ต้องทำประกันใหม่

6. ค่าอากรแสตมป์ ที่ผู้กู้จะต้องจ่ายในอัตรา 0.05% ของวงเงินกู้ใหม่ หรือ 10,000 บาทละ 5 บาท ซึ่งเป็นจำนวนเงินไม่สูงมากนัก ฉะนั้น บางคนอาจจะลืมคิดถึงค่าใช้จ่ายตัวนี้ไปแล้ว คุ้มหรือไม่ ในปัจจุบันคุณคงหาสถาบันการเงินที่ให้อัตราดอกเบี้ยถูกกว่าสถาบันการเงินเดิมถึง 3-5% ได้ค่อนข้างยาก เพราะส่วนใหญ่จะอยู่ใกล้เคียงกัน ฉะนั้นหากคุณจะต้องเสียค่าใช้จ่ายในการรีไฟแนนซ์ทั้ง 6 ข้อข้างต้น คุณจะต้องจ่ายประมาณ 2.66-4.90% ซึ่งค่าใช้จ่ายหลักจะมาจากค่าปรับในการไถ่ถอนก่อนกำหนด

        surprise ดังนั้น แม้ว่าคุณสมบัติต่างๆ ในด้านรายได้และภาระหนี้จะผ่านเกณฑ์ขอสินเชื่อบ้านกับธนาคารแล้ว ก็ต้องไม่ลืมที่จะเตรียมเงินสำหรับดาวน์บ้านและค่าใช้จ่ายต่างๆ ไว้ด้วยนะคะ เมื่อขอสินเชื่อบ้านผ่านแล้ว สามารถหมดภาระหนี้ได้เร็วขึ้นด้วยการโปะหนี้บ้านหรือชำระหนี้มากกว่ายอดผ่อนที่กำหนดไว้ในแต่ละเดือน เพราะการโปะหนี้จะทำให้ยอดเงินต้นลดลง และประหยัดดอกเบี้ยจ่าย ดังนั้น หากได้รับโบนัสหรือเงินก้อนพิเศษเข้ามา การนำไปโปะหนี้บ้านจะช่วยให้ภาระหนี้บ้านหมดไวขึ้นค่ะ

        surprise K-Expert Action - อย่าลืมเตรียมเงินดาวน์ 20% ของราคาบ้าน และค่าใช้จ่ายต่างๆ ในการกู้ซื้อบ้านไว้ด้วย - จ่ายหนี้บ้านเพิ่ม 10% ต่อเดือน ทำให้หมดหนี้เร็วขึ้น 7 ปี จาก 30 ปี“


ขอบคุณข้อมูลจาก moneyhub.in.th
  • "โครงการบ้าน ธอส. เราไม่ทิ้งกัน" ให้วงเงินกู้ไม่เกิน 3 ล้าน* 2 ปีแรกดอกเบี้ยคงที่ 1.99% ต่อปี ฟรีค่าธรรมเนียม ...
  • เตรียมวางแผน รีไฟแนนซ์ พร้อมกับ ขอสินเชื่อบ้าน ควรทำไว้ก่อนดีไหม?
  • GSB Plus สินเชื่อเคหะเพิ่มยอด จากธนาคารออมสิน
  • รู้ไว้ก่อนกู้ซื้อคอนโดมือสอง รวมถึงปัจจัยการให้วงเงิน
  • เปิดเงื่อนไข ออมสิน ปล่อยกู้ 5 หมื่น รอบ2 ชี้ กู้ 1 หมื่น ไม้ต้องค่ำประกัน
  • สินเชื่อบ้านทีเอ็มบีรีไฟแนนซ์ ผ่อนบ้านเรื่องเบาๆ ไม่ต้องรีบผ่อนทั้งเงินต้น และดอกเบี้ย 2 งวดแรก
  • กู้เงินซื้อบ้าน กู้แบบไหน กู้อย่างไร ให้มีโอกาศผ่านสูง
  • เปลี่ยนบ้านเป็นเงินกับ SCB ฟรีค่าจำนอง ค่าประเมิน บ้านอยู่ครบ ไม่ต้องขาย
  • สินเชื่อ SME ต่อยอดธุรกิจ กู้เงินเปิดร้าน วงเงินกู้ 3 เท่า สูงสุด 20 ล้าน
  • สินเชื่อบ้าน รีไฟแนนซ์ จากธนาคารกรุงไทย ตัวช่วยของคนอยากมีบ้าน
  • ผ่อนบ้านจัดเต็มกับกรุงไทย ผ่อนนาน 40 ปี ดอกเบี้ยคงที่ 6 เดือน
  • ออมสินให้วงเงินกู้สูงสุด 3 ล้าน ใช้เป็นเงินทุนร้านสำหรับพ่อค้าแม่ขาย อาชีพอิสระ ผ่อนยาว 10 ปี
  • สมัครกู้เงินออนไลน์? ออมสินให้กู้ด่วน 200,000 บาท จริงหรือไม่
  • ออมสินปรับลดเงินงวด สินเชื่อ "ผ่อนบ้านดี มีเฮ" สำหรับลูกค้าสินเชื่อเคหะปัจจุบัน ถึง 30 ก.ย. นี้
  • เปลี่ยนบ้านเป็นเงินก้อน ด้วยสินเชื่อ "GSB บ้านแลกเงิน" วงเงินสูงสุด 10 ล้าน*
  • เรื่องน่ารู้ สินเชื่อที่อยู่อาศัย รู้ไว้สักนิดก่อนคิดจะกู้แบงค์ เพื่อขอสินเชื่อไปซื้อบ้านของตัวเอง

    บ้านคือวิมานของเรา ส่วนตัวคิดว่าเกือบทุกคนคงจะคิดอย่างนั้น แต่การจะมีบ้านสักหลังเป็นของตัวเอง ไม่ว่าจะเป็นบ้านเดี่ยว ทาวน์เฮ้าส์ ตึกแถว หรือห้องชุด ไม่ใช่เรื่องง่ายเลยเพราะเดี๋ยวนี้อสังหาริมทรัพย์ราคาสูงมาก แต่หากเราต้องการจะเป็นเจ้าของจริงๆ การขอสินเชื่อที่อยู่อาศัยถือว่าเป็นทางอออกที่ดี

    © สงวนลิขสิทธิ์ 2567 บริษัท ไทยโฮมทาวน์ จำกัด
    @thaihometown Scroll