สินเชื่อที่อยู่อาศัย

เมื่อคุณทำเรื่องยื่นขอกู้เงิน คงหนีไม่พ้นข้อสงสัยที่เกิดขึ้นใจของคุณว่า ธนาคารใช้อะไรมาเป็นเกณฑ์วัดว่าคุณจะได้รับการอนุมัติสินเชื่อในครั้งนี้ แต่ถ้าคุณทราบเคล็ดไม่ลับข้างล่างนี้แล้ว บ้านที่คุณฝันก็จะเป็นของคุณได้ไม่ยากเลย โดยทั่วไปแล้ว ในการวิเคราะห์สินเชื่อเพื่อกำหนดวงเงินกู้ ธนาคารจะใช้หลักพิจารณาสินเชื่ออยู่ 2 หลักใหญ่ๆ คือ เงินรายได้ เพื่อพิจารณาว่า คุณจะชำระหนี้ได้สม่ำเสมอตลอดระยะเวลากู้หรือไม่ และธนาคารจะต้องมีทรัพย์สินที่มีมูลค่าคุ้มหนี้จำนองเป็นหลักประกัน เพื่อไว้ในกรณี ที่คุณไม่สามารถชำระหนี้ได้ ธนาคารก็สามารถบังคับจำนอง ขายทอดตลาดหลักประกันและนำรายได้มาชำระหนี้

ประกาศอสังหาริมทรัพย์ใหม่ บ้าน บ้าน รายการล่าสุด บ้านเดี่ยว บ้านเดี่ยว รายการล่าสุด ทาวน์เฮ้าส์ ทาวน์เฮ้าส์ รายการล่าสุด ทาวน์โฮม ทาวน์โฮม รายการล่าสุด คอนโด คอนโด รายการล่าสุด อาคารพาณิชย์ อาคารพาณิชย์ รายการล่าสุด อพาร์ทเม้นท์ อพาร์ทเม้นท์ รายการล่าสุด สำนักงาน สำนักงาน รายการล่าสุด โฮมออฟฟิศ โฮมออฟฟิศ รายการล่าสุด ธุรกิจ ธุรกิจ รายการล่าสุด โรงงาน โรงงาน รายการล่าสุด คลังสินค้า คลังสินค้า รายการล่าสุด โกดัง โกดัง รายการล่าสุด ที่ดิน ที่ดิน รายการล่าสุด ลงประกาศฟรี ผู้รับเหมา รายการล่าสุด ผู้รับเหมา ลงประกาศฟรี ผู้รับเหมา ข่าวประชาสัมพันธ์ รายการล่าสุด ข่าวประชาสัมพันธ์ พรีวิวโครงการใหม่ รายการล่าสุด พรีวิวโครงการใหม่ ตกแต่งที่อยู่อาศัย รายการล่าสุด ตกแต่งที่อยู่อาศัย สาระควรรู้ ที่อยู่อาศัย รายการล่าสุด สาระควรรู้ ที่อยู่อาศัย ฮวงจุ้ย ที่อยู่อาศัย รายการล่าสุด ฮวงจุ้ย ที่อยู่อาศัย สินเชื่อ ที่อยู่อาศัย รายการล่าสุด สินเชื่อ ที่อยู่อาศัย SME รายการล่าสุด SME สถานที่ท่องเที่ยว รายการล่าสุด สถานที่ท่องเที่ยว

หลักเกณฑ์ 3 ข้อสำคัญ ในการอนุมัติให้วงเงิน กู้ซื้อบ้าน ที่ธนาคารส่วนใหญ่ใช้พิจารณา

        เมื่อคุณทำเรื่องยื่นขอกู้เงิน คงหนีไม่พ้นข้อสงสัยที่เกิดขึ้นใจของคุณว่า ธนาคารใช้อะไรมาเป็นเกณฑ์วัดว่าคุณจะได้รับการอนุมัติสินเชื่อในครั้งนี้ แต่ถ้าคุณทราบเคล็ดไม่ลับข้างล่างนี้แล้ว บ้านที่คุณฝันก็จะเป็นของคุณได้ไม่ยากเลย

         โดยทั่วไปแล้ว ในการวิเคราะห์สินเชื่อเพื่อกำหนดวงเงินกู้ ธนาคารจะใช้หลักพิจารณาสินเชื่ออยู่ 2 หลักใหญ่ๆ คือ เงินรายได้ เพื่อพิจารณาว่า คุณจะชำระหนี้ได้สม่ำเสมอตลอดระยะเวลากู้หรือไม่ และธนาคารจะต้องมีทรัพย์สินที่มีมูลค่าคุ้มหนี้จำนองเป็นหลักประกัน เพื่อไว้ในกรณี ที่คุณไม่สามารถชำระหนี้ได้ ธนาคารก็สามารถบังคับจำนอง ขายทอดตลาดหลักประกันและนำรายได้มาชำระหนี้


หลักเกณฑ์สำคัญ 3 ประการที่ธนาคารใช้พิจารณาประกอบการให้วงเงินกู้

1. ความสามารถในการผ่อนชำระหนี้

        ธนาคารจะพิจารณาจากรายได้ของผู้กู้และผู้กู้ร่วมเป็นหลัก โดยพิจารณาให้กู้ประมาณ 30-40 เท่าของรายได้ เช่น ถ้าคุณมีเงินเดือน เดือนละ 40,000 บาท จะกู้ได้ในวงเงินสูงสุด 1,200,000 – 1,600,000 บาท ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับลักษณะของอาชีพและความมั่นคงของรายได้

        นอกจากนั้นธนาคารยังพิจาณาเรื่อง สัดส่วนเงินงวดต่อรายได้สุทธิประกอบด้วย (monthly to net income ratio) คือต้องไม่เกิน 33 

2. หลักประกันเงินกู้ พิจารณาดู 2 ประเด็น

• ความเหมาะสมของหลักประกัน

- บ้านหรือที่ดินจะต้องโอนกรรมสิทธิ์ของผู้กู้ทุกคน (ยกเว้น ผู้กู้ที่เป็นคู่สมรส บิดามารดา บุตร และพี่น้อง)
- หากเป็นอาคารต้องสร้างเสร็จอย่างน้อย 90 % (กรณีจัดสรร)
- กรณีขอกู้ซื้อที่ดินหรืออาคารจัดสรร ต้องมีสภาพคล่องในตลาดสูงสามารถซื้อขาย เปลี่ยนมือกันได้ง่ายในตลาด
 

• มูลค่าตลาดของหลักประกัน

       จะต้องสูงกว่าวงเงินกู้มากพอสมควร โดยมีสัดส่วนประมาณ 70-85 % ของราคาซื้อขายหรือมูลค่าของหลักประกัน ยิ่งสัดส่วนของมูลค่าเงินกู้ต่อหลักประกัน (Loan-to-value ratio) น้อยลงมากเพียงใดธนาคารก็มีความเสี่ยงน้อยลง คุณก็มีโอกาสกู้ได้มากขึ้

3. หลักคุณสมบัติอื่นๆ ที่ผู้กู้จะลืมไม่ได้

- อายุของผู้กู้ เมื่อรวมกับจำนวนปีที่ขอกู้แล้วจะต้องไม่เกิน 70 ปี
- ผู้กู้ร่วมรายอื่น นอกจากผู้ที่เป็นคู่สมรส บิดามารดา บุตร และพี่น้อง จะมีผู้กู้ร่วมคนอื่นได้อีก (ซึ่งไม่เกิน 1 คน)
- ผู้กู้ร่วมที่ไม่ใช่คู่สมรสและบุตร จะต้องถือกรรมสิทธิ์ร่วมในทรัพย์ที่จำนองด้วย
- ประวัติการชำระหนี้

       โดยส่วนใหญ่ธนาคารจะปล่อยกู้แก่ผู้ขอกู้ ให้มีระยะผ่อนทั้งหมด 30 ปี หรือบวกเพิ่มจกับจำนวนอายุของผู้กู้ไม่เกิน 65 ปี หรือน้อยกว่า 60 ปีขึ้นอยู่กับเงื่อนไขของแต่ละธนาคาร ซึ่งทางธนาคารบางแห่งจะให้ทำสัญญาเพื่อให้มีการผ่อนค่างวดไปก่อน 1-2 ปี หลังจากนั้นธนาคารก็จะเปิดให้ทำการ รีไฟแนนซ์ (Refiannce) เพื่อทำให้ค่างวดผ่อนบ้านลดลงได้

       ในกรณีที่ผู้กู้ต้องขอกู้เงินเพื่อไถ่ถอนจำนองจากสถาบันการเงินอื่นผู้กู้ต้องมีประวัติการชำระหนี้ดีมาแล้วอย่างน้อย 12 งวด นี่เป็นเพียงหลักเกณฑ์การวิเคราะห์สินเชื่อโดยทั่วไป หากเป็นสินเชื่อสวัสดิการ หรือสินเชื่อโครงการพิเศษต่างๆแล้ว ธนาคารอาจผ่อนปรนเงื่อนไขการกู้ได้ เมื่อรู้หลักเกณฑ์การอนุมัติสินเชื่อย่างดีแล้ว แนวโน้มขอกู้บ้านในฝันก็คงไม่ไกลเกินเอื้อม 


ขอบคุณภาพประกอบจาก wikihow.com
  • การขอตรวจสอบข้อมูลเครดิตสำหรับบุคคลเจ้าของข้อมูล กรณีถูกปฏิเสธการให้สินเชื่อ
  • อยากมีเงินทุน ไม่ใช่ปัญหา!! แค่มีรถและบ้าน เรามีทางออก...
  • สินเชื่อบ้านรีไฟแนนซ์ (Refinance Super Save) กู้ผ่านง่าย ผ่อนน้อยลง ได้วงเงินเพิ่ม
  • 3 ข้อควรรู้ก่อนกู้ซื้อบ้าน ปัจจัยหลักที่ธนาคารใช้ในการพิจารณา
  • ลดภาระหนี้แบบสบายใจและยิ้มได้ กับโครงการ "คลินิกแก้หนี้"
  • ขั้นตอนการขอกู้เงินเพื่อ "ซื้อบ้าน" จากโครงการ หรือ ขอกู้เงินเพื่อ "สร้างบ้าน" บนที่ดินตัวเอง
  • เลือกคอนโดให้เต็มที่ สินเชื่อคอนโดให้กรุงศรีดูแลคุณ
  • สินเชื่อบ้านกสิกรไทย การขอสินเชื่อบ้านธนาคารกสิกรไทย
  • สินเชื่อบ้าน Refinance ธนาคารธนชาต สินเชื่อเพื่อไถ่ถอนสินเชื่อที่อยู่อาศัยจากสถาบันการเงินอื่น
  • 3 เรื่องต้องรู้ ก่อนรีไฟแนนซ์บ้าน แนะสูตรคำนวณแบบประหยัดดอกเบี้ย หนีดอกเบี้ยสุดโหด
  • สินเชื่อ SME ต่อยอดธุรกิจ กู้เงินเปิดร้าน วงเงินกู้ 3 เท่า สูงสุด 20 ล้าน
  • สินเชื่อบ้าน รีไฟแนนซ์ จากธนาคารกรุงไทย ตัวช่วยของคนอยากมีบ้าน
  • ผ่อนบ้านจัดเต็มกับกรุงไทย ผ่อนนาน 40 ปี ดอกเบี้ยคงที่ 6 เดือน
  • ออมสินให้วงเงินกู้สูงสุด 3 ล้าน ใช้เป็นเงินทุนร้านสำหรับพ่อค้าแม่ขาย อาชีพอิสระ ผ่อนยาว 10 ปี
  • สมัครกู้เงินออนไลน์? ออมสินให้กู้ด่วน 200,000 บาท จริงหรือไม่
  • หลักเกณฑ์ 3 ข้อสำคัญ ในการอนุมัติให้วงเงิน กู้ซื้อบ้าน ที่ธนาคารส่วนใหญ่ใช้พิจารณา

    เมื่อคุณทำเรื่องยื่นขอกู้เงิน คงหนีไม่พ้นข้อสงสัยที่เกิดขึ้นใจของคุณว่า ธนาคารใช้อะไรมาเป็นเกณฑ์วัดว่าคุณจะได้รับการอนุมัติสินเชื่อในครั้งนี้ แต่ถ้าคุณทราบเคล็ดไม่ลับข้างล่างนี้แล้ว บ้านที่คุณฝันก็จะเป็นของคุณได้ไม่ยากเลย โดยทั่วไปแล้ว ในการวิเคราะห์สินเชื่อเพื่อกำหนดวงเงินกู้ ธนาคารจะใช้หลักพิจารณาสินเชื่ออยู่ 2 หลักใหญ่ๆ คือ เงินรายได้ เพื่อพิจารณาว่า คุณจะชำระหนี้ได้สม่ำเสมอตลอดระยะเวลากู้หรือไม่ และธนาคารจะต้องมีทรัพย์สินที่มีมูลค่าคุ้มหนี้จำนองเป็นหลักประกัน เพื่อไว้ในกรณี ที่คุณไม่สามารถชำระหนี้ได้ ธนาคารก็สามารถบังคับจำนอง ขายทอดตลาดหลักประกันและนำรายได้มาชำระหนี้

    © สงวนลิขสิทธิ์ 2567 บริษัท ไทยโฮมทาวน์ จำกัด
    @thaihometown Scroll