สินเชื่อที่อยู่อาศัย

รู้หรือไม่ว่าอะไรคือสิ่งที่หายากมากที่สุดอย่างหนึ่งในการทำธุรกิจ ณ ขณะเวลาปัจจุบัน คำตอบก็คือการทำธุรกิจโดยปราศจากการขอกู้ยืมเงินทุนจากทางธนาคารนั่นเอง ซึ่งเชื่อว่าทุกบริษัทในทุกสาขาธุรกิจต่างต้องเคยผ่านประสบการณ์ในจุดดังกล่าวมาด้วยกันแล้วทั้งสิ้น มิหนำซ้ำอาจจะอยู่ในช่วงของการรอฟังคำตอบหรือไม่ก็อาจจะมีแนวคิดในการขอกู้ยืมเงินมาลงทุนในอนาคตจากทางธนาคารอยู่ก็เป็นได้ และชื่อเสียงที่ได้รับการกล่าวขานร่ำลือกันมาอย่างยาวนานอยู่คู่กันกับการขอสินเชื่อจากทางธนาคารก็คือเรื่องขอการถูกปฏิเสธที่มีถึง 50% ในอดีตและอาจเพิ่มสูงขึ้นถึง 70% ในสภาวะทางเศรษฐกิจยุคปัจจุบัน

ประกาศอสังหาริมทรัพย์ใหม่ บ้าน บ้าน รายการล่าสุด บ้านเดี่ยว บ้านเดี่ยว รายการล่าสุด ทาวน์เฮ้าส์ ทาวน์เฮ้าส์ รายการล่าสุด ทาวน์โฮม ทาวน์โฮม รายการล่าสุด คอนโด คอนโด รายการล่าสุด อาคารพาณิชย์ อาคารพาณิชย์ รายการล่าสุด อพาร์ทเม้นท์ อพาร์ทเม้นท์ รายการล่าสุด สำนักงาน สำนักงาน รายการล่าสุด โฮมออฟฟิศ โฮมออฟฟิศ รายการล่าสุด ธุรกิจ ธุรกิจ รายการล่าสุด โรงงาน โรงงาน รายการล่าสุด คลังสินค้า คลังสินค้า รายการล่าสุด โกดัง โกดัง รายการล่าสุด ที่ดิน ที่ดิน รายการล่าสุด ลงประกาศฟรี ผู้รับเหมา รายการล่าสุด ผู้รับเหมา ลงประกาศฟรี ผู้รับเหมา ข่าวประชาสัมพันธ์ รายการล่าสุด ข่าวประชาสัมพันธ์ พรีวิวโครงการใหม่ รายการล่าสุด พรีวิวโครงการใหม่ ตกแต่งที่อยู่อาศัย รายการล่าสุด ตกแต่งที่อยู่อาศัย สาระควรรู้ ที่อยู่อาศัย รายการล่าสุด สาระควรรู้ ที่อยู่อาศัย ฮวงจุ้ย ที่อยู่อาศัย รายการล่าสุด ฮวงจุ้ย ที่อยู่อาศัย สินเชื่อ ที่อยู่อาศัย รายการล่าสุด สินเชื่อ ที่อยู่อาศัย SME รายการล่าสุด SME สถานที่ท่องเที่ยว รายการล่าสุด สถานที่ท่องเที่ยว

เทคนิคการขอสินเชื่อ แบบเข้าใจง่ายๆ ทำอย่างไรให้ตรงตามเงื่อนไขของธนาคาร

ความฝันที่จะมีบ้านเป็นของตัวเองสักหลัง คงจะทำให้หลายคนตั้งหน้าตั้งตาทำงานเก็บเงินอย่างเต็มที่ แต่แม้จะทุ่มเทเท่าไหร่ก็ยังคงไม่มั่นใจว่าจะผ่านเกณฑ์การกู้ซื้อบ้านบ้านหรือไม่ เรามีข้อมูลดี ๆ เพื่อให้คุณเตรียมตัวก่อนกู้ซื้อบ้านได้ง่ายขึ้นมาฝากกันค่ะ


blush 1. เตรียมเอกสารให้พร้อม

          สิ่งสำคัญในการกู้ซื้อบ้าน คือเรื่องของเอกสาร ที่ควรรอบคอบเป็นพิเศษ การเตรียมเอกสารเอาไว้แต่เนิ่น ๆ จะทำให้คุณได้เอกสารที่ครบถ้วน ไม่ตกหล่น อีกทั้งยังเหลือเวลาให้จัดการหาเอกสารที่ขาดอยู่เพิ่มเติมได้ เอกสารกู้ซื้อบ้านจึงเป็นสิ่งจำเป็นอันดับแรกที่ต้องเตรียมตัวให้ดีเป็นพิเศษ โดยเอกสารที่ต้องเตรียมนั้นอาจจะมีข้อแม้แตกต่างกันไปตามแต่ละธนาคารกำหนด โดยหลัก ๆ มีดังนี้ ..

 

เอกสารกู้ซื้อบ้าน

ผู้มีรายได้ประจำ
 1. สำเนาบัตรประชาชน หรือ สำเนาบัตรข้าราชการ
 2. สำเนาทะเบียนบ้าน
 3. สลิปเงินเดือน (ย้อนหลัง 6 เดือน)
 4. หนังสือรับรองเงินเดือน
 5. รายการบัญชีเงินฝากย้อนหลัง 6 เดือน (Statement)
 6. ใบเปลี่ยนชื่อ-นามสกุล (ถ้ามี)
 7. ทะเบียนสมรส (ถ้ามี)
 8. ทะเบียนหย่า (ถ้ามี)

*หมายเหตุ : อาจมีเพิ่มเติมแตกต่างกันไปตามแต่ละธนาคาร


ผู้มีกิจการส่วนตัว และ ผู้มีรายได้อิสระ
 1. สำเนาบัตรประชาชน
 2. สำเนาทะเบียนบ้าน
 3. รายการเดินบัญชีย้อนหลัง 6 เดือน (Statement) ทั้งบัญชีส่วนตัว และ บัญชีกิจการ
 4. สำเนาทะเบียนการค้า หรือ สำเนาการจดทะเบียนบริษัท
 5. หลักฐานแสดงการเสียภาษี
 6. สำเนาบัญชีรายชื่อผู้ถือหุ้น (ถ้ามี)
 7. ภาพถ่ายหน้าร้าน หรือ กิจการที่ประกอบอาชีพ
 8. ใบอนุญาตประกอบวิชาชีพ (แพทย์, วิศวกร, สถาปนิก, ทนายความ)
 9. ใบเปลี่ยนชื่อ-นามสกุล (ถ้ามี)
 10. ทะเบียนสมรส (ถ้ามี)
 11. ทะเบียนหย่า (ถ้ามี)

*หมายเหตุ : อาจมีเพิ่มเติมแตกต่างกันไปตามแต่ละธนาคาร


เอกสารหลักทรัพย์ค้ำประกัน
 1. สำเนาโฉนดที่ดิน หรือ สำเนากรรมสิทธิ์ห้องชุด
 2. สำเนาเอกสารสัญญาซื้อขาย
 3. เอกสารหลักฐานการชำระเงินดาวน์
 4. แผนที่โดยสังเขปของที่ตั้งหลักทรัพย์ค้ำประกัน

*หมายเหตุ : อาจมีเพิ่มเติมแตกต่างกันไปตามแต่ละธนาคาร

เดิน Statement ให้สวยงาม

           เพราะธนาคารไม่ได้รู้จักใกล้ชิดกับลูกค้าดีทุกคน และงบการเงินของธุรกิจเล็กๆ โดยเฉพาะธุรกิจ SME โดยเฉลี่ยมีความผิดพลาดที่สูงมาก และมากกว่า 80% ไม่มีงบการเงินมาแสดง ทุกธนาคารจึงอ้างอิงกระแสเงินสดเข้า – ออกบัญชีหรือที่เรียกกันว่ายอดหมุนเวียนบัญชี มาเป็นตัวในการประเมินรายได้ ดังนั้นการประเมินจึงเป็นสิ่งสำคัญมากที่จะสร้างประวัติธุรกิจของผู้ประกอบการให้กับธนาคารได้รับทราบ ผู้ประกอบการจึงจำเป็นต้องเดิน statement ในจุดนี้ให้ดีๆ พร้อมทั้งความสวยงามในระบบบัญชี มีการเข้าออกของเงินในการทำธุรกิจอยู่อย่างเสมอ เวลถอนเงินไม่ควรที่จะทำการเบิกเงินจนเกลี้ยงบัญชี และต้องขยันนำสมุดบัญชีไปอัพเดทบ่อยๆ

 

รักษาเครดิตให้ดีที่สุด

           เครดิตหรือความน่าเชื่อถือคือสิ่งสำคัญอย่างหนึ่งที่ทางธนาคารให้ความสำคัญเป็นอย่างสูง ดังนั้นผู้ประกอบการจึงควรใส่ใจในประวัติทางการชำระเงินทั้งบัตรเครดิตของตนเองหรือสินเชื่อชนิดต่างๆทั้งของตนเองและของหุ้นส่วนธุรกิจด้วย การมีระเบียบวินัยทางการเงินของผู้ประกอบการจึงถือเป็นคุณสมบัติประการต้นๆของการพิจารณาจากธนาคารพาณิชย์ (ข้อมูลเครดิตทางการเงินสามารถขอตรวจสอบได้จากทางธนาคารทั่วๆไป)

อย่าปล่อยให้มีประวัติเช็คคืนเกิดขึ้นเป็นอันขาด

           ผลเสียอย่างใหญ่หลวงที่จะมีผลต่อการพิจารณาสินเชื่อจากทางธนาคารก็คือการมีประวัติเช็คคืนหรือที่เรียกกันภาษาชาวบ้านตลาดสดว่าเช็คเด้งนั่นเอง ผู้ประกอบการจะต้องทำการป้องกันมิให้เรื่องดังกล่าวเกิดขึ้นเป็นอันขาด ถ้าไม่มีเงินในบัญชีก็ไม่ควรจะสั่งจ่ายเช็คออกไปเพราะนอกจากจะมีปัญหาในเรื่องของประวัติที่จะมีผลกระทบต่อการขอสินเชื่อแล้วยังจะมีผลจะต้องรับผิดทางกฎหมายด้วย และเชื่อเถอะว่าไม่มีธนาคารรายใดจะยอมปล่อยสินเชื่อให้กับธุรกิจที่มีประวัติในเรื่องดังกล่าวแน่นอน

 

วางใจธนาคารในเรื่องการรักษาความลับ

           ปัญหาอย่างหนึ่งของการขอสินเชื่อคือผู้ประกอบการไม่ยอมให้ข้อมูลทางธุรกิจตามความเป็นจริงเพราะกลัวว่าข้อมูลทางธุรกิจจะถูกเปิดเผยหรือกลัวว่าธนาคารจะไม่ให้สินเชื่อจึงตกแต่งบัญชีขึ้นมาเพื่อให้ดูดี ซึ่งเป็นวิธีการที่ผิดอย่างมหันต์เพราะถึงอย่างไรเสียธนาคารก็ตรวจสอบได้อยู่ดี ดังนั้นกรุณาบอกความจริงเรื่องรายได้และค่าใช้จ่ายต่างๆกับทางธนาคาร เพราะธนาคารจะรักษาความลับทางธุรกิจในเรื่องดังกล่าวเป็นอย่างดีและไม่สามารถเปิดเผยข้อมูลนี้ไปสู่ผู้อื่นได้โดยเฉพาะกับกรมสรรพากร

เอกสารทางการค้าทุกชิ้นมีค่า

           บัญชีซื้อ บัญชีขาย สำเนาใบกำกับภาษี ใบสั่งซื้อ ใบเสร็จรับเงิน ฯลฯ เป็นเอกสารที่มีค่ากับทางธนาคารมากเพราะเป็นส่วนประกอบอย่างหนึ่งในการพิจารณา ดังนั้นอย่าทิ้งขว้างเด็ดขาดให้เก็บไว้เป็นอย่างดีและจัดหมวดหมู่ให้เป็นระเบียบทุกชิ้นด้วยเพื่อความสะดวกในการเรียกดูและนำมาตรวจสอบ

 

หลักประกันคือฟันเฟืองสำคัญ

           หลักประกันที่ดีที่สุด คือ สถานประกอบการ รองลงมาคือที่ดินที่มีไว้ในครอบครองแต่ไม่ได้ใช้เป็นสถานที่ประกอบการ สิ่งก่อสร้างหรือเครื่องจักร หลักประกันเหล่านี้จะมีประโยชน์สูงสุดและช่วยทำให้อนุมัติได้รวดเร็วและได้จำนวนเงินที่มากก็ต่อเมื่อธนาคารพิจารณาดูแล้วเห็นว่าสามารถเข้าไปครอบครองได้ทันทีและสะดวกในการขายทอดตลาดเพราะมีความต้องการซื้อสูง ถ้าเกิดมีปัญหาในกรณีที่ไม่คาดคิดเกิดขึ้น

แหล่งรายได้และภาระหนี้สินคือที่มาของวงเงิน

       การทำธุรกิจสินเชื่อของธนาคารไม่ได้มุ่งหวังที่จะเข้าไปครอบครองหลักประกันที่นำมาจำนองไว้แต่ประการใด แต่มุ่งหวังที่จะได้ดอกเบี้ยจากการกู้ยืมเพียงเท่านั้น ดังนั้นธนาคารจะดูความสามารถในการชำระหนี้เป็นหลักจึงทำให้หลักประกันเป็นเพียงแค่ส่วนหนึ่งเท่านั้น ถึงแม้ว่าหลักประก้นจะมีมูลค่ามากมายสักเพียงไหนก็ตาม การบริหารจัดการเรื่องทางการเงินภายในบริษัทจึงเป็นสิ่งสำคัญมากที่จะต้องจัดสรรให้ลงตัว

 

ไม่มีหลักประกันก็ขอสินเชื่อได้ (สินเชื่อบุคคล)

       ปัจจุบันนโยบายของทางธนาคารได้เปิดกว้างมากยิ่งขึ้นเพื่อสนับสนุนผู้ประกอบการธุรกิจโดยเฉพาะขนาดเล็กๆ จึงทำให้เกิดขอเสนอสินเชื่อธุรกิจที่ไม่จำเป็นต้องมีหลักประกันเกิดขึ้น โดยจะอยู่ในรูปของสินเชื่อส่วนบุคคลเพื่อประกอบธุรกิจที่มีอยู่ในทุกธนาคาร แต่ธนาคารจะถือว่าสินเชื่อประเภทนี้มีความเสี่ยงสูงมาก ดังนั้นคุณสมบัติของผู้ประกอบการที่จะขอต้องมีคุณสมบัติสูงกว่าปกติทั่วไปในเรื่องของประสบการณ์ ยอดเดินบัญชีตามไปด้วย สินเชื่อประเภทนี้สมัครและอนุมัติง่ายแต่ที่สำคัญคือดอกเบี้ยจะแพงกว่าปกติถึง 13.3% ต่อปี

 

เตรียมพร้อมดี มีชัยไปกว่าครึ่ง

       การขอสินเชื่อที่ดีต้องมีการเตรียมพร้อมอยู่เสมอ ซี่งนอกเหนือจากเรื่องของเอกสารแล้ว สิ่งที่จำเป็นต้องทำ คือ ประเมินแผนการทางการเงินของผู้ประกอบการเองอย่างคร่าวๆ ว่าต้องการเงินสินเชื่อเป็นจำนวนเท่าไหร่ รายได้ต่อปีมากขนาดไหน และต้องการผ่อนชำระนานเป็นระยะเวลเท่าไหร่ด้วย

 

       เคล็ดลับทั้ง 9 ประการของการขอสินเชื่อให้โดนใจแบงค์นั้น เป็นสิ่งที่ผู้ประกอบการจำต้องศึกษาให้เข้าใจอย่างละเอียด เพราะนี่คือวิธีการคิดและพิจารณาจากมุมมองของธนาคารเองที่ได้รับฟังจากปากคำบอกเล่าของเจ้าหน้าที่ระดับสูงของธนาคาร แต่เหนือสิ่งอื่นใดการขอสินเชื่อจะถือได้ว่ามีผลสมบูรณ์ก็ต่อเมื่อผู้ประกอบการใช้เงินที่ได้ทำการกู้ยืมมาคืนกลับไปแก่ธนาคารครบทุกบาททุกสตางค์จึงจะถือได้ว่าประสบความสำเร็จอย่างแท้จริง การได้รับอนุมัติจึงเป็นเพียงแค่จุดเริ่มต้นของหน้าที่ความรับผิดชอบทางธุรกิจอันยิ่งใหญ่แต่เพียงเท่านั้น


ขอบคุณข้อมูลจาก incquity
  • เงื่อนไขเงินดาวน์บ้าน เช็กให้ชัวร์ก่อนซื้อ
  • ผ่อนบ้านไม่ไหวเอายังไงดี! แนะนำ 9 วิธี ช่วยแก้ปัญหาได้
  • 10 อย่าง ที่ต้องรู้ !! ก่อนซื้อบ้าน ถ้าไม่อยากเจ็บหนาาา
  • เช็คเรื่องต้องรู้ ก่อนกู้ "สินเชื่อเสริมพลังฐานราก" ก็สูงสุดได้ 50,000 บ. จากธนาคารออมสิน
  • บัตรเครดิต มีผลทำให้กู้ซื้อบ้านไม่ผ่าน จริงหรือ?
  • สินเชื่อบ้านกสิกรไทย การขอสินเชื่อบ้านธนาคารกสิกรไทย
  • สินเชื่อบ้าน ไม่ได้ทำงานประจำขอสินเชื่อได้ไหม?
  • "รีไฟแนนซ์" ทางเลือกใหม่สำหรับคนมีหนี้
  • ธอส.ฉลองครบรอบ 61 ปี จัดโปรโมชั่นสินเชื่อ ธอส. มีบ้าน มีสุข 2 พร้อมโปรฯดอกเบี้ยต่ำคงที่ 1.61%
  • สินเชื่อ SME ต่อยอดธุรกิจ กู้เงินเปิดร้าน วงเงินกู้ 3 เท่า สูงสุด 20 ล้าน
  • สินเชื่อบ้าน รีไฟแนนซ์ จากธนาคารกรุงไทย ตัวช่วยของคนอยากมีบ้าน
  • ผ่อนบ้านจัดเต็มกับกรุงไทย ผ่อนนาน 40 ปี ดอกเบี้ยคงที่ 6 เดือน
  • ออมสินให้วงเงินกู้สูงสุด 3 ล้าน ใช้เป็นเงินทุนร้านสำหรับพ่อค้าแม่ขาย อาชีพอิสระ ผ่อนยาว 10 ปี
  • สมัครกู้เงินออนไลน์? ออมสินให้กู้ด่วน 200,000 บาท จริงหรือไม่
  • ออมสินปรับลดเงินงวด สินเชื่อ "ผ่อนบ้านดี มีเฮ" สำหรับลูกค้าสินเชื่อเคหะปัจจุบัน ถึง 30 ก.ย. นี้
  • เทคนิคการขอสินเชื่อ แบบเข้าใจง่ายๆ ทำอย่างไรให้ตรงตามเงื่อนไขของธนาคาร

    รู้หรือไม่ว่าอะไรคือสิ่งที่หายากมากที่สุดอย่างหนึ่งในการทำธุรกิจ ณ ขณะเวลาปัจจุบัน คำตอบก็คือการทำธุรกิจโดยปราศจากการขอกู้ยืมเงินทุนจากทางธนาคารนั่นเอง ซึ่งเชื่อว่าทุกบริษัทในทุกสาขาธุรกิจต่างต้องเคยผ่านประสบการณ์ในจุดดังกล่าวมาด้วยกันแล้วทั้งสิ้น มิหนำซ้ำอาจจะอยู่ในช่วงของการรอฟังคำตอบหรือไม่ก็อาจจะมีแนวคิดในการขอกู้ยืมเงินมาลงทุนในอนาคตจากทางธนาคารอยู่ก็เป็นได้ และชื่อเสียงที่ได้รับการกล่าวขานร่ำลือกันมาอย่างยาวนานอยู่คู่กันกับการขอสินเชื่อจากทางธนาคารก็คือเรื่องขอการถูกปฏิเสธที่มีถึง 50% ในอดีตและอาจเพิ่มสูงขึ้นถึง 70% ในสภาวะทางเศรษฐกิจยุคปัจจุบัน

    © สงวนลิขสิทธิ์ 2567 บริษัท ไทยโฮมทาวน์ จำกัด
    @thaihometown Scroll