สาระควรรู้ทั่วไป

คุณเคยคิดถึงวัยเกษียณไหมว่า ชีวิตของคุณตอนนั้นหน้าตาเป็นอย่างไร จะกำลังทำอะไร และต้องมีอะไรบ้าง วันนี้เราขอเชิญชวนทุกท่านมาลองวางแผนกับสิ่งเหล่านี้ เพื่อเตรียมความพร้อมสำหรับชีวิตก่อนเกษียณ และเพื่อการใช้ชีวิตหลังวัยเกษียณที่พร้อมสุขกันครับ

ประกาศอสังหาริมทรัพย์ใหม่ บ้าน บ้าน รายการล่าสุด บ้านเดี่ยว บ้านเดี่ยว รายการล่าสุด ทาวน์เฮ้าส์ ทาวน์เฮ้าส์ รายการล่าสุด ทาวน์โฮม ทาวน์โฮม รายการล่าสุด คอนโด คอนโด รายการล่าสุด อาคารพาณิชย์ อาคารพาณิชย์ รายการล่าสุด อพาร์ทเม้นท์ อพาร์ทเม้นท์ รายการล่าสุด สำนักงาน สำนักงาน รายการล่าสุด โฮมออฟฟิศ โฮมออฟฟิศ รายการล่าสุด ธุรกิจ ธุรกิจ รายการล่าสุด โรงงาน โรงงาน รายการล่าสุด คลังสินค้า คลังสินค้า รายการล่าสุด โกดัง โกดัง รายการล่าสุด ที่ดิน ที่ดิน รายการล่าสุด ลงประกาศฟรี ผู้รับเหมา รายการล่าสุด ผู้รับเหมา ลงประกาศฟรี ผู้รับเหมา ข่าวประชาสัมพันธ์ รายการล่าสุด ข่าวประชาสัมพันธ์ พรีวิวโครงการใหม่ รายการล่าสุด พรีวิวโครงการใหม่ ตกแต่งที่อยู่อาศัย รายการล่าสุด ตกแต่งที่อยู่อาศัย สาระควรรู้ ที่อยู่อาศัย รายการล่าสุด สาระควรรู้ ที่อยู่อาศัย ฮวงจุ้ย ที่อยู่อาศัย รายการล่าสุด ฮวงจุ้ย ที่อยู่อาศัย สินเชื่อ ที่อยู่อาศัย รายการล่าสุด สินเชื่อ ที่อยู่อาศัย SME รายการล่าสุด SME สถานที่ท่องเที่ยว รายการล่าสุด สถานที่ท่องเที่ยว

5 เรื่องสำคัญ การเตรียมตัววางแผนพร้อมสำหรับชีวิตก่อนเกษียณ เพื่อการใช้ชีวิตอย่างมีความสุข

     คุณเคยคิดถึงวัยเกษียณไหมว่า ชีวิตของคุณตอนนั้นหน้าตาเป็นอย่างไร จะกำลังทำอะไร และต้องมีอะไรบ้าง วันนี้เราขอเชิญชวนทุกท่านมาลองวางแผนกับสิ่งเหล่านี้ เพื่อเตรียมความพร้อมสำหรับชีวิตก่อนเกษียณ และเพื่อการใช้ชีวิตหลังวัยเกษียณที่พร้อมสุขกันครับ

 

เกษียณ

 1. หากิจกรรมหรืองานที่ชอบไว้ทำในวัยเกษียณ 

กิจกกรรมที่ชอบ ไม่จำเป็นว่าต้องมีอย่างเดียว ความจริงแล้ว กิจกรรมที่ชอบ มียิ่งมาก ก็ยิ่งดี เพราะกิจกรรรมต่างๆ สามารถช่วยคลายเหงา และได้พบปะผู้คนมากหน้าหลายกลุ่มยิ่งขึ้น ทำให้เรากว้างขวาง ได้ความรู้ ได้ความสุข และกิจกรรมที่ใช้สมองอย่างการสอนหนังสือ สอนหรือเรียนภาษาที่ 3 ก็มีส่วนช่วยลดความเสี่ยงของการเป็นโรคอัลไซเมอร์ด้วย หรือกิจกรรมเสริมสุขภาพกล้ามเนื้อให้แข็งแรงก็มีไม่น้อย เช่น เดินเร็ววันละ 20 นาที กิจกรรมบางอย่างอาจช่วยสร้างรายได้เสริมด้วย ทำให้เราใช้จ่ายได้สบายใจมากยิ่งขึ้น ในยุคสมัยนี้เริ่มมีหลายธุรกิจ ที่เปิดรับให้ผู้สูงอายุ หรือวัยเกษียณได้มาทำงานมากยิ่งขึ้น ซึ่งในอนาคตอาจมีอีกหลากหลายกิจกรรมให้วัยเกษียณได้เลือกทำมากกว่านี้ก็เป็นได้

 

เกษียณ

 2. เตรียมสร้างบ้านหรือซื้อคอนโดในฝันไว้ใช้ชีวิตหลังเกษียณ 

ก่อนเกษียณเราควรสำรวจว่าเราอยากอยู่เป็นบ้าน หรือคอนโด เพราะการอยู่บ้านกับคอนโด มีความแตกต่างทั้งเรื่องไลฟ์สไตล์ ข้อดีข้อเสียที่มีความต่างกันอยู่ไม่น้อย บางคนอาจอยู่กับครอบครัว การอยู่บ้านอาจเหมาะกว่าอยู่คอนโด แต่ไม่ว่าจะคอนโดหรือบ้าน ควรมีการออกแบบ เทคโนโลยี และสิ่งอำนวยความสะดวกให้กับผู้สูงอายุด้วย ตัวอย่างเช่น การออกแบบห้องน้ำในตัวบ้านหรือที่อยู่อาศัยให้มีที่จับ หรือพื้นป้องกันลื่น มีเทคโนโลยีและระบบรักษาความปลอดภัยที่ทำให้เราได้ทั้งอุ่นใจและช่วยได้ในยามฉุกเฉิน รวมไปถึงย่านหรือบริเวณที่เราควรนึกถึงด้วยว่า เป็นบริเวณที่เราอาจคุ้นชิน เช่น ใกล้ร้านอาหาร หรือซุปเปอร์ที่ชอบไป รวมถึงโรงพยาบาลและรถไฟฟ้า ก็เป็นอีกปัจจัยที่ช่วยให้การใช้ชีวิตในวัยเกษียณเป็นไปได้อย่างราบรื่น จึงควรเป็นส่วนหนึ่งในการตัดสินใจเลือกบ้านหรือคอนโดสำหรับเกษียณด้วยเช่นกัน ขณะนี้เมืองไทยก็มีสถานที่ให้ผู้สูงอายุที่ไม่ได้มีลูกหลานได้อยู่สบาย

 

เกษียณ

 3. วางแผนการเงิน ประกันสุขภาพ ประกันสังคม ไว้ใช้ในวัยเกษียณ 

ประกันสุขภาพ ประกันสังคม บำเหน็จบำนาญไว้เป็นค่าใช้จ่ายในชีวิตประจำวัน หรือค่ารักษาพยาบาลเมื่อเลิกทำงานหรือเมื่อเกษียณแล้ว

mail ความคุ้มครองโดยย่อของกรมธรรม์สำหรับคนวัยเกษียณ

แบบบำนาญ แบบชำระเบี้ยฯ ครั้งเดียว : ให้เงินบำนาญหลังเกษียณรายงวด ตามการมีชีวิตรอดของผู้เอาประกันภัยหลังการเกษียณหรือตามอายุที่กำหนดไว้ในกรมธรรม์ เช่น 55 ปี 60 ปี เป็นต้น

กรมธรรม์อุบัติเหตุส่วนบุคคล : ให้ความคุ้มครองผู้เอาประกันภัยกรณีเสียชีวิตและเหตุอื่นๆ เนื่องจากอุบัติเหตุ

สัญญาเพิ่มเติมคุ้มครองสุขภาพ : ให้ความคุ้มครองเกี่ยวกับสุขภาพที่ผู้เอาประกันภัยเลือกซื้อ เช่น ความคุ้มครองค่าห้อง ค่ารักษาพยาบาล ค่าชดเชยรายวัน เป็นต้น

สัญญาเพิ่มเติมคุ้มครองโรคร้ายแรง : ให้ความคุ้มครองกรณี โดยบริษัทจะจ่ายจำนวนเงินเอาประกันภัยกรณีผู้เอาประกันภัยเจ็บป่วยด้วยโรคร้ายแรง

mail สำหรับเงินเดือนทุกเดือนจะถูกหักเข้ากองทุนประกันสังคมในทุกเดือน เราสามารถขอเงินคืนหลังเกษียณได้ โดยมีกติกาดังนี้

1. คุณต้องมีอายุ 55 ปี ก่อนถึงจะมีสิทธิขอคืนเงินได้ หรือถ้าอายุ 55 ปี แล้วยังทำงานอยู่ก็จะเบิกได้จนกว่าคุณจะเลิกทำงาน ซึ่งก็คือเมื่อเลิกส่งประกันสังคมนั่นเอง

2. ทำเรื่องขอคืนเงินออมชราภาพ ให้เสร็จสิ้นภายใน 1 ปีหลังจากเกษียณ และย้ำว่าห้ามให้เกินแม้แต่วันเดียว เพราะคุณจะถูกตัดสิทธิทันที

3. คนที่อายุ 55 ปี แต่อายุงานต่ำกว่า 15 ปี  หรืออาจจะส่งประกันสังคมน้อยกว่า 15 ปี ก็สามารถขอคืนเงินได้เช่นกัน โดยทางสำนักงานประกันสังคมจะจ่ายเงินเป็นก้อน หรือที่เรียกกันว่า บำเหน็จ แต่ถ้าส่งเงินประกันสังคมเกิน 15 ปี จะได้เป็นบำนาญ โดยในแต่ละปีที่เกินมา จะได้เงินเพิ่มร้อยละ 1% หมายความว่า ถ้าส่งประกันสังคม 20 ปี จะได้ 15% และบวก 5% ที่เกินมา 5 ปี รวมเป็น 20% โดยจะคิดจากเงินเดือนสูงสุดคือ 15,000 บาท ดังนั้นคุณจะได้รับเงินบำนาญจากประกันสังคม เดือนละ 3,000 บาททุกเดือน

และหลักฐานต้องใช้เพื่อขอคืนเงินออมประกันสังคมหลังวัยเกษียณมี 5 อย่างด้วยกัน

          ● แบบคำขอรับประโยชน์ทดแทนกรณีชราภาพ (สปส. 2-01)

          ● สำเนาบัตรประจำตัวประชาชน

          ● สำเนาทะเบียนบ้านของผู้ประกันตน และของทายาทผู้มีสิทธิ (กรณีผู้รับประโยชน์ทดแทนกรณีชราภาพถึงแก่ความตาย)

          ● ใบมรณบัตรพร้อมสำเนา (กรณีผู้รับประโยชน์ทดแทนกรณีชราภาพถึงแก่ความตาย)

          ● สำเนาสมุดบัญชี เงินฝากธนาคารหน้าแรก ซึ่งมีชื่อและเลขที่บัญชี (กรณีขอรับเงินทางธนาคาร) ผ่านทาง

          บัญชีธนาคารของผู้ประกันตน 11 ธนาคาร ดังนี้ 

          - ธนาคารกรุงไทย จำกัด (มหาชน)

          - ธนาคารกรุงเทพ จำกัด (มหาชน)

          - ธนาคารกรุงศรีอยุธยา จำกัด (มหาชน)

          - ธนาคารกสิกรไทย จำกัด (มหาชน)

          - ธนาคารไทยพาณิชย์ จำกัด (มหาชน)

          - ธนาคารทหารไทย จำกัด (มหาชน)

          - ธนาคารธนชาต จำกัด (มหาชน)

          - ธนาคารอิสลามแห่งประเทศไทย

          - ธนาคารซีไอเอ็มบีไทย จำกัด (มหาชน)

          - ธนาคารออมสิน

          - ธนาคารเพื่อการเกษตรและสหกรณ์การเกษตร (ธ.ก.ส.)

นอกเหนือจากนี้ยังมีบัตรรักษาพยายบาลสำหรับข้าราชการและครอบครัวอีก ทั้งนึ้ขึ้นอยู่กับการลงทุน และการเตรียมพร้อมในความจำเป็นของแต่ละบุคคลด้วย

 

เกษียณ

 4. ค้นหาหมอ หรือบุคคลสำหรับติดต่อยามฉุกเฉินในวันที่เราเกษียณ 

ในที่นี้หมายถึงควรมีหมอประจำตัว หรือบุคคลที่เราสามารถขอความช่วยเหลือในยามฉุกเฉินไว้บ้าง โดยเราควรมีเบอร์โทรศัพท์ในการติดต่อบุคคลหรือโรงพยาบาลเหล่านี้ หรือมีโน้ตติดตัวไว้ เผื่อในยามฉุกเฉินเรียกรถพยาบาล คนรอบตัวในขณะนั้นสามารถติดต่อหมายเลขฉุกเฉินได้

mail แจ้งเหตุด่วน: กู้ชีพ / รถพยาบาล

  • 1555 หน่วยแพทย์กู้ชีพ กทม. ให้บริการความช่วยเหลือฉุกเฉินเกี่ยวกับชีวิต, ไม่เสียค่าบริการ
  • 1554 หน่วยกู้ชีวิต วชิรพยาบาล
  • 1646 ศูนย์เอราวัณ กทม. บริการการแพทย์ฉุกเฉินกรุงเทพมหานคร, ไม่คิดค่าบริการ
  • 1691 ศูนย์รับแจ้งอุบัติเหตุ รับแจ้งอุบัติเหตุ ศูนย์โรงพยาบาลตำรวจ, ไม่คิดค่าบริการ
  • 1669 ศูนย์นเรนทร รับแจ้งอุบัติเหตุและให้คำแนะนำฉุกเฉินในการดูแลคนป่วย, ไม่คิดค่าบริการ
  • 1644 สถานีวิทยุ สวพ. 91                        
  • 1677 สถานีวิทยุชุมชน ร่วมด้วยช่วยกัน (FM 96)   
  • 1667 ฮอทไลน์คลายเครียด
  • 1784 สายด่วนกรมป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย การป้องกันภัยเชิงรุกบรรเทาทุกข์เมื่อเกิดภัย
  • 1330 สายด่วนบัตรทอง
  • 02-749-4636 หมออาสา จส.100 ให้บริการคำแนะนำ หรือความช่วยเหลือฉุกเฉินเกี่ยวกับชีวิต
  • 02-354-6999 ศูนย์วิทยุรามา ให้บริการฉุกเฉินทางด้านการคมนาคม หรือแจ้งเหตุร้าย, อัตราปกติ
  • 02-751-0951-3 ศูนย์รับแจ้งอุบัติเหตุ 24 ชม.
  • 02-451-7228-9 ศูนย์วิทยุกรุงธน แจ้งอุบัติเหตุ เหตุฉุกเฉิน         
  • 02-713-6793 ศูนย์ปรึกษาปัญหาชีวิต

เบอร์โทรฉุกเฉินเหล่านี้เป็นอีกทางเลือกที่น่าจะมีประโยชน์ไม่น้อยที่ควรเซฟติดโทรศัพท์หรือปรินท์เบอร์ฉุกเฉินแปะเอาไว้ในที่ที่เราเห็นบ่อยหรือต้องใช้เป็นประจำ เช่น ที่เก็บกุญแจ ใกล้ตู้ยาสามัญประจำบ้าน

 

เกษียณ

 5. ศึกษาและวางแผนคำขอสุดท้ายเตรียมไว้หลังเกษียณ 

คำขอสุดท้าย หรือที่ต่างประเทศเรียกกันว่า Living Will ก็คือ การเขียนพินัยกรรม เพื่อแบ่งสมบัติ หรือการบอกกล่าวกับคนรอบตัวเมื่อเกิดเหตุต่างๆ หรือเมื่อถึงวาระสุดท้าย เพื่อให้คนรอบข้างและญาติพี่น้องได้เข้าใจในจุดประสงค์ ลดการเกิดความวุ่นวาย และทำให้เราคลายกังวลด้วย ทั้งนี้อาจมีการปรึกษากับทนาย หรือพูดคุยตกลงกันเองภายในก็แล้วแต่ความสะดวกของแต่ละบุคคล

     ทั้งหมดนี้เป็นแค่ตัวอย่าง และสิ่งที่ทาง ไทยโฮมทาวน์ อยากให้ทุกคนลองพิจารณากันดูสำหรับใครที่วางแผนเกี่ยวกับวัยเกษียณกันอยู่ เพราะ 5 ข้อนี้ เป็นพื้นฐานโดยทั่วไปที่ใครก็ต้องได้เจอ และการเตรียมพร้อมไว้ก่อน ช่วยลดความตึงเครียด และความเสี่ยงอะไรได้อีกหลายอย่างเช่นกันครับ

 

     


  • ระเบียบข้อบังคับจราจร การจอดรถในพื้นที่สาธารณะ ส่วนกลางหมู่บ้าน
  • เลือกอิฐแบบไหน อิฐมอญ อิฐมวลเบา อิฐบล็อก เหมาะกับสร้างบ้าน ประหยัดงบมากที่สุด
  • เช็คสิทธิ ทะเบียนราษฎร "เจ้าของบ้าน" กับ "เจ้าบ้าน" ในทะเบียนบ้าน ใครสิทธิเหนือกว่า หน้าที่ต่างกันอย...
  • เคล็ดไม่ลับ 10 วิธีซักผ้าสีตก คราบสีฝังแน่นอย่าทิ้ง ทำให้เสื้อกลับมาใส่ได้อีกครั้งดีกว่า
  • ข้อควรรู้ ซื้อบ้าน และที่ดินในโครงการจัดสรร เรื่องใดที่ควรทำหลังโอนกรรมสิทธิ์ที่ดิน
  • แอร์ยี่ห้อไหนประหยัดไฟ 2567 ลดการใช้พลังงาน ช่วยประหยัดไฟได้ดี
  • 5 เรื่องสำคัญ การเตรียมตัววางแผนพร้อมสำหรับชีวิตก่อนเกษียณ เพื่อการใช้ชีวิตอย่างมีความสุข

    คุณเคยคิดถึงวัยเกษียณไหมว่า ชีวิตของคุณตอนนั้นหน้าตาเป็นอย่างไร จะกำลังทำอะไร และต้องมีอะไรบ้าง วันนี้เราขอเชิญชวนทุกท่านมาลองวางแผนกับสิ่งเหล่านี้ เพื่อเตรียมความพร้อมสำหรับชีวิตก่อนเกษียณ และเพื่อการใช้ชีวิตหลังวัยเกษียณที่พร้อมสุขกันครับ

    © สงวนลิขสิทธิ์ 2567 บริษัท ไทยโฮมทาวน์ จำกัด
    @thaihometown Scroll