สาระควรรู้ทั่วไป

ถังเก็บน้ำคอนกรีตแบบฝังใต้ดิน หากเกิดปัญหาการรั่วซึม แม้ว่าจะสามารถซ่อมแซมได้แต่อาจไม่หายขาด อีกหนึ่งวิธีแก้ไขปัญหาการรั่วซึมคือ การเปลี่ยนไปใช้ถังเก็บน้ำแบบวางบนดินโดยจัดการกับถังเก็บน้ำคอนกรีตเดิมตามแนวทางที่เหมาะสม

ประกาศอสังหาริมทรัพย์ใหม่ บ้าน บ้าน รายการล่าสุด บ้านเดี่ยว บ้านเดี่ยว รายการล่าสุด ทาวน์เฮ้าส์ ทาวน์เฮ้าส์ รายการล่าสุด ทาวน์โฮม ทาวน์โฮม รายการล่าสุด คอนโด คอนโด รายการล่าสุด อาคารพาณิชย์ อาคารพาณิชย์ รายการล่าสุด อพาร์ทเม้นท์ อพาร์ทเม้นท์ รายการล่าสุด สำนักงาน สำนักงาน รายการล่าสุด โฮมออฟฟิศ โฮมออฟฟิศ รายการล่าสุด ธุรกิจ ธุรกิจ รายการล่าสุด โรงงาน โรงงาน รายการล่าสุด คลังสินค้า คลังสินค้า รายการล่าสุด โกดัง โกดัง รายการล่าสุด ที่ดิน ที่ดิน รายการล่าสุด ลงประกาศฟรี ผู้รับเหมา รายการล่าสุด ผู้รับเหมา ลงประกาศฟรี ผู้รับเหมา ข่าวประชาสัมพันธ์ รายการล่าสุด ข่าวประชาสัมพันธ์ พรีวิวโครงการใหม่ รายการล่าสุด พรีวิวโครงการใหม่ ตกแต่งที่อยู่อาศัย รายการล่าสุด ตกแต่งที่อยู่อาศัย สาระควรรู้ ที่อยู่อาศัย รายการล่าสุด สาระควรรู้ ที่อยู่อาศัย ฮวงจุ้ย ที่อยู่อาศัย รายการล่าสุด ฮวงจุ้ย ที่อยู่อาศัย สินเชื่อ ที่อยู่อาศัย รายการล่าสุด สินเชื่อ ที่อยู่อาศัย SME รายการล่าสุด SME สถานที่ท่องเที่ยว รายการล่าสุด สถานที่ท่องเที่ยว

หมดปัญหาถังเก็บน้ำใต้ดินรั่วซึม โดยการเปลี่ยนมาใช้ถังบนดิน!!

     ถังเก็บน้ำคอนกรีตแบบฝังใต้ดิน หากเกิดปัญหาการรั่วซึม แม้ว่าจะสามารถซ่อมแซมได้แต่อาจไม่หายขาด อีกหนึ่งวิธีแก้ไขปัญหาการรั่วซึมคือ การเปลี่ยนไปใช้ถังเก็บน้ำแบบวางบนดินโดยจัดการกับถังเก็บน้ำคอนกรีตเดิมตามแนวทางที่เหมาะสม

     ถึงแม้ถังเก็บน้ำคอนกรีตแบบฝังใต้ดินจะมีข้อดีที่ประหยัดเนื้อที่ ไม่กีดขวางการใช้งาน ซ่อนเก็บตัวถังได้มิดชิดไม่รกหูรกตา แต่ก็มีข้อด้อยไม่ว่าจะเป็น ความยุ่งยากในการซ่อมแซมเปลี่ยนอุปกรณ์โดยเฉพาะฟุตวาล์วที่ก้นถัง การลงไปในถังเพื่อทำความสะอาดเป็นประจำทุกปี และน้ำที่เก็บไว้ในถังไม่ค่อยสะอาดเนื่องจากฝาถังที่ปิดล็อกได้ไม่สนิทที่ระดับผิวดิน บางครั้งอาจตรวจพบแมลงตัวเล็กๆ พวกมด แมลงสาป เล็ดลอดเข้าไปในถังได้อีกด้วย นอกจากนี้ หากมีรอยแตกร้าวที่ตัวถัง มักมีน้ำสกปรกซึมเข้าไปผสมกับน้ำในถัง หรือน้ำในถังรั่วซึมอยู่ตลอดทำให้สิ้นเปลืองค่าน้ำในแต่ละเดือน แม้ว่าอาการรั่วซึมนี้จะซ่อมแซมได้แต่ก็ไม่ได้แก้อาการรั่วซึมให้หายขาด แต่เราสามารถตัดความกังวลนี้ด้วยการเปลี่ยนมาใช้ถังเก็บน้ำแบบที่ติดตั้งบนดินทดแทน โดยเลือกแนวทางจัดการกับถังเก็บน้ำใต้ดินเดิมให้เหมาะสม

ภาพ: ตัวอย่างถังเก็บน้ำคอนกรีตแบบฝังดิน 

ภาพ: ตัวอย่างถังเก็บน้ำแบบวางบนดิน 

ภาพ: ข้อเสียหรือข้อควรคำนึงเมื่อเลือกใช้ถังเก็บน้ำใต้ดิน

ถังเก็บน้ำคอนกรีตแบบที่ฝังไว้ใต้ดินจะมีสองลักษณะ คือถังคอนกรีตที่สร้างรวมเข้ากับโครงสร้างของตัวบ้าน เป็นส่วนหนึ่งของบ้าน อีกรูปแบบหนึ่งคือตัวถังคอนกรีตจะถูกสร้างแยกออกจากโครงสร้างของตัวบ้าน มักตั้งอยู่ไม่ห่างจากตัวบ้านมากนัก ถังลักษณะนี้มักมีโครงสร้างเสาเข็มฐานรากรองรับเป็นของตัวเอง ส่วนมากเป็นเข็มสั้นซึ่งทรุดตัวตามดิน ทั้งนี้ เมื่อต้องการเปลี่ยนเป็นถังเก็บน้ำแบบวางบนดิน ควรพิจารณาพื้นที่ว่างของบ้าน โดยหากมีที่ว่างมากพอควรติดตั้งถังในบริเวณอื่น แต่หากมีพื้นที่จำกัด จำเป็นต้องวางทับบนตำแหน่งถังเก็บน้ำใต้ดินเดิม จะต้องคำนึงถึงความมั่นคงแข็งแรงของพื้นที่รองรับ 

 

ภาพ: โครงสร้างใต้ดินที่ติดกับบ้าน และแบบที่แยกโครงสร้างออกจากตัวบ้าน

กรณีที่สามารถติดตั้งถังเก็บน้ำบนดินในบริเวณอื่น และต้องการยกเลิกการใช้งานถังเก็บน้ำคอนกรีตที่อยู่ใต้ดินแล้ว มีวิธีจัดการได้หลายแนวทาง โดยสำหรับถังเก็บน้ำใต้ดินที่มีโครงสร้างรวมกับโครงสร้างบ้าน จะต้องสูบน้ำออกให้หมดแล้วนำทรายแห้งมาถม 2 ใน 3 ส่วนของปริมาตรถัง แล้วหล่อแผ่นคอนกรีตปิดทับพร้อมปิดผิวด้วยวัสดุตกแต่ง เช่น กระเบื้อง หญ้าเทียม ฯลฯ หรือเททับหน้าด้วยดินแล้วปลูกหญ้า ส่วนถังเก็บน้ำที่แยกโครงสร้างต่างหาก อาจทุบรื้อถังคอนกรีตเดิมออกเพื่อเตรียมใช้ประโยชน์ใหม่บนพื้นที่นั้น หรืออาจเลือกที่จะดัดแปลงถังคอนกรีตมาใช้ปลูกต้นไม้โดยการทุบรื้อคอนกรีตด้านบนออก เจาะรูระบายน้ำที่ก้นถัง แล้วเติมดินปลูกต้นไม้ 

ภาพ: กรณีติดตั้งถังเก็บน้ำบนดินในบริเวณอื่น และยกเลิกการใช้งานถังเก็บน้ำใต้ดินเดิม 

กรณีที่จำเป็นต้องติดตั้งถังเก็บน้ำบนดินทับบริเวณถังใต้ดินเดิม สามารถทำได้โดยการทุบรื้อคอนกรีตด้านบนของถังเก็บน้ำออก ถมดินบดอัดลงในถังคอนกรีต ปรับทราย แล้วเทพื้นคอนกรีตเสริมเหล็กผืนใหม่ไว้ด้านบนโดยไม่ยึดกับโครงสร้างของอ่างคอนกรีตเดิม จากนั้นจึงติดตั้งถังเก็บน้ำบนดินไว้ด้านบน โดยปล่อยให้น้ำหนักของถังเก็บน้ำถ่ายลงสู่พื้นเบื้องล่างอย่างอิสระ 

 

ภาพ: กรณีจำเป็นต้องติดตั้งถังเก็บน้ำแบบวางบนดินบริเวณถังเก็บน้ำใต้ดินเดิม

สำหรับถังเก็บน้ำที่ตั้งอยู่บนดิน และแนวท่อน้ำพร้อมปั๊มน้ำที่ดูรกหูรกตา สามารถพรางสายตาให้ดูเรียบร้อยได้ด้วยการกั้นฉากระแนงไม้เทียมปิดบังเอาไว้ได้  

 

ภาพ: ตัวอย่างวิธีการติดตั้งฉากระแนงไม้เทียม เพื่อบดบังถังเก็บน้ำบนดิน

การแก้ไขปัญหาการแตกร้าวรั่วซึมของถังเก็บน้ำคอนกรีตแบบฝังใต้ดินที่ได้ผลดีที่สุด คือการยกเลิกการใช้งานถังแบบฝังใต้ดิน แล้วเปลี่ยนมาใช้งานถังเก็บน้ำไฟเบอร์กลาส หรือถังสเตนเลสแบบติดตั้งบนดินทดแทน แม้ว่าตัวถังจะกินพื้นที่ใช้สอยบนดินบ้าง แต่ก็คุ้มค่ากับการดูแลรักษาได้ง่ายกว่าในระยะยาว


  • เปลี่ยนหัวฝักบัวอาบน้ำง่ายๆ ใครๆก็ทำได้ ไม่ว่าจะหญิงหรือชายทำเองได้หมด !
  • ค่าใช้จ่ายที่ต้องรู้ในการซื้อคอนโดใหม่ โครงการใหม่
  • 9 จุดแหล่งเชื้อโรคฝุ่นสะสมในบ้านที่ทุกคนมองข้ามและละเลย !!
  • "SpaceBar Office" สำนักงานให้เช่า และ สำนักงานเสมือน พร้อมบริการห้องประชุม พื้นที่จัด Workshop ขนาดเล็ก ติดถนน...
  • เทคนิคดูแลบ้านตามสไตล์คนไม่มีเวลา พร้อมไอเดียตกแต่งบ้านสุดเก๋
  • ระวังของพัง !! 5 สิ่งหากใช้กระดาษทิชชู่ทำความสะอาด
  • 9 ต้นไม้ปลูกเองในห้องนอน ช่วยให้หลับทุกคืน
  • ขจัดเฟอร์นิเจอร์ขึ้นสนิม ด้วยหลักการ 3 วิธีด้วยตัวเอง
  • การทำบุญบ้านไม่ยากอย่างที่คิด! มาเสริมสิริมงคลให้ชีวิต และครอบครัวกันดีกว่า
  • เลือกอิฐแบบไหน อิฐมอญ อิฐมวลเบา อิฐบล็อก เหมาะกับสร้างบ้าน ประหยัดงบมากที่สุด
  • เช็คสิทธิ ทะเบียนราษฎร "เจ้าของบ้าน" กับ "เจ้าบ้าน" ในทะเบียนบ้าน ใครสิทธิเหนือกว่า หน้าที่ต่างกันอย...
  • เคล็ดไม่ลับ 10 วิธีซักผ้าสีตก คราบสีฝังแน่นอย่าทิ้ง ทำให้เสื้อกลับมาใส่ได้อีกครั้งดีกว่า
  • ข้อควรรู้ ซื้อบ้าน และที่ดินในโครงการจัดสรร เรื่องใดที่ควรทำหลังโอนกรรมสิทธิ์ที่ดิน
  • แอร์ยี่ห้อไหนประหยัดไฟ 2567 ลดการใช้พลังงาน ช่วยประหยัดไฟได้ดี
  • วิธีเลือกเครื่องกรองน้ำ ใช้เครื่องกรองระบบไหนดี ตรวจสอบไส้กรองหลังการใช้งานอย่างไร
  • หมดปัญหาถังเก็บน้ำใต้ดินรั่วซึม โดยการเปลี่ยนมาใช้ถังบนดิน!!

    ถังเก็บน้ำคอนกรีตแบบฝังใต้ดิน หากเกิดปัญหาการรั่วซึม แม้ว่าจะสามารถซ่อมแซมได้แต่อาจไม่หายขาด อีกหนึ่งวิธีแก้ไขปัญหาการรั่วซึมคือ การเปลี่ยนไปใช้ถังเก็บน้ำแบบวางบนดินโดยจัดการกับถังเก็บน้ำคอนกรีตเดิมตามแนวทางที่เหมาะสม

    © สงวนลิขสิทธิ์ 2567 บริษัท ไทยโฮมทาวน์ จำกัด
    @thaihometown Scroll