สาระควรรู้ทั่วไป

คนสมัยก่อนมักจะพายเรือเพื่อการติดต่อสื่อสาร ไปมาหาสู่ระหว่างกันทางน้ำ ใช้แหล่งน้ำเป็นทรัพยากรอุปโภคในครัวเรือน และเป็นพื้นที่พักผ่อนแสนสบาย จุ่มปลายเท้าลงให้น้ำเย็นไหลผ่านช้าๆ รวมทั้งสนามประลองกำลังความสนุกสนานของเด็กๆ กระโดดลงน้ำเล่น งมหาปูปลากันอย่างครื้นเครง อาจพูดได้ว่าใกล้เคียงกับวิถี slow life ที่เรากำลังตามหากันอยู่ก็คงไม่ผิดซะทีเดียวครับ

ประกาศอสังหาริมทรัพย์ใหม่ บ้าน บ้าน รายการล่าสุด บ้านเดี่ยว บ้านเดี่ยว รายการล่าสุด ทาวน์เฮ้าส์ ทาวน์เฮ้าส์ รายการล่าสุด ทาวน์โฮม ทาวน์โฮม รายการล่าสุด คอนโด คอนโด รายการล่าสุด อาคารพาณิชย์ อาคารพาณิชย์ รายการล่าสุด อพาร์ทเม้นท์ อพาร์ทเม้นท์ รายการล่าสุด สำนักงาน สำนักงาน รายการล่าสุด โฮมออฟฟิศ โฮมออฟฟิศ รายการล่าสุด ธุรกิจ ธุรกิจ รายการล่าสุด โรงงาน โรงงาน รายการล่าสุด คลังสินค้า คลังสินค้า รายการล่าสุด โกดัง โกดัง รายการล่าสุด ที่ดิน ที่ดิน รายการล่าสุด ลงประกาศฟรี ผู้รับเหมา รายการล่าสุด ผู้รับเหมา ลงประกาศฟรี ผู้รับเหมา ข่าวประชาสัมพันธ์ รายการล่าสุด ข่าวประชาสัมพันธ์ พรีวิวโครงการใหม่ รายการล่าสุด พรีวิวโครงการใหม่ ตกแต่งที่อยู่อาศัย รายการล่าสุด ตกแต่งที่อยู่อาศัย สาระควรรู้ ที่อยู่อาศัย รายการล่าสุด สาระควรรู้ ที่อยู่อาศัย ฮวงจุ้ย ที่อยู่อาศัย รายการล่าสุด ฮวงจุ้ย ที่อยู่อาศัย สินเชื่อ ที่อยู่อาศัย รายการล่าสุด สินเชื่อ ที่อยู่อาศัย SME รายการล่าสุด SME สถานที่ท่องเที่ยว รายการล่าสุด สถานที่ท่องเที่ยว

ยาวไป ยาวไป !! ยาวไปสร้างให้ได้ !!! 4 ข้อควรรู้ ก่อนจะสร้างบ้านริมน้ำ

     คนสมัยก่อนมักจะพายเรือเพื่อการติดต่อสื่อสาร ไปมาหาสู่ระหว่างกันทางน้ำ ใช้แหล่งน้ำเป็นทรัพยากรอุปโภคในครัวเรือน และเป็นพื้นที่พักผ่อนแสนสบาย จุ่มปลายเท้าลงให้น้ำเย็นไหลผ่านช้าๆ รวมทั้งสนามประลองกำลังความสนุกสนานของเด็กๆ กระโดดลงน้ำเล่น งมหาปูปลากันอย่างครื้นเครง อาจพูดได้ว่าใกล้เคียงกับวิถี slow life ที่เรากำลังตามหากันอยู่ก็คงไม่ผิดซะทีเดียวครับ

     การสร้างบ้านริมน้ำจึงยังเป็นความใฝ่ฝันของใครหลายคน แต่พื้นที่ติดน้ำที่หลงเหลืออยู่ในปัจจุบันก็น้อยลงเรื่อยๆ ซ้ำแล้งยังอาจเป็นพื้นที่นอกตัวเมืองที่ห่างไกล เป็นสิ่งที่ต้องแลกกันระหว่างระยะการเดินทางไปทำงานที่ไกลมากขึ้นเสียหน่อยกับความสงบ บรรยากาศสบายๆริมน้ำในช่วงวันหยุดสุดสัปดาห์ที่เราจะได้กลับมาเติมพลังงานให้กับชีวิตที่เหน็ดเหนื่อยของเรา สำหรับใครที่กำลังเริ่มสนใจวางแผนสร้างศาลาพักผ่อนริมน้ำ หรือกำลังมองหาบ้านริมน้ำอย่างจริงจัง  และเดินทางมาเจอทำเลที่เหมาะสมใกล้ความฝันเข้าไปทุกที  เรามีหลักการสร้างบ้านริมน้ำที่ควรรู้ก่อนจะลงมือทำฝันให้เป็นจริงมาฝากกันครับ

 

     1. จะสร้างบ้านริมน้ำ ต้องระวังเรื่องการกัดเซาะดินริมตลิ่ง หรือดินไถล

     ที่เป็นปัญหาที่หลีกเลี่ยงได้ยาก เพราะดินแถวริมตลิ่งจะมีความอ่อนตัวสูง ไม่ค่อนจับตัวกัน ยิ่งโดนน้ำเซาเข้ามากๆก็จะพังทลายลงได้อย่างง่ายดาย  การแก้ปัญหาคือทำแนวป้องกันตลิ่งพังทลายด้วยการสร้างรั้ว มีคำแนะนำดังต่อไปนี้ครับ

  • เริ่มต้นวัดความลึกของแหล่งน้ำ  หากเป็นคลองหรือแม่น้ำก็วัดลึกลงไปถึงพื้นล่างสุดก้นคลอง ระยะความลึกอยู่ที่ประมาณไม่เกิน 4 เมตร นำตัวเลขความลึกที่ได้ไปคูณกับเลขปัจจัยตัวประกอบที่  1.25 – 1.5 ได้ผลลัพธ์เอามาออกมาบวกกับระดับความสูงคลองเดิมที่วัดได้ เพื่อหาความยาวของเสาเข็มที่จะต้องใช้ดังตัวอย่างสมการ  เมื่อให้ a เป็น ความลึกที่วัดได้  a + (a x 1.25) = ความยาวเสาเข็มที่จะทำแนวรั้ว(ค่าตัวเลขไม่เกิน 10 เมตร)
  • ควรเลือกใช้เสาเข็มรูปตัวไอ (I – Section) เพราะเราจะไม่ต้องก่ออิฐทำกำแพงรั้วซ้ำอีก การใช้เสาเข็มรูปตัวไอทำให้เราสามารถใส่แผ่นพื้นสำเร็จรูปลงในช่องว่างร่องเข็มได้ ปรับเปลี่ยนให้เป็นรั่วกันกำแพงดิน ป้องกันหารพังทลายได้ทันที และเสาเข็มชนิดนี้ยังมีสมบัติการรับแรงเสียดทานที่ผิวสัมผัสได้สูงกว่าแบบอื่นๆครับ
  • หากคุณเจอผู้รับเหมาที่แนะนำให้ใช้เสาเข็มแบบ 6 เหลี่ยม ยาวแค่ประมาณ 6 เมตร  มาสร้างตอม่อเพื่อรัดหัวเข็ม และสร้างรั้วปิดทับ  รั้วประเภทนี้จะใช้งานได้แค่ช่วงสั้นๆ 2-3ปี ก็อาจจะเกิดปัญหารั้วพังทลายแล้วครับ  เพราะเสาเข็มมีขนาดเล็กเกินไป  ทนรับน้ำหนักที่ปลายยึดดินไม่ไหว กำลังดินจะผลักออกจนแนวรั้วเสียหาย จึงควรหลีกเลี่ยงนะครับ

     2.ทำการสำรวจแนวเขตที่ดินที่จะสร้างอาคารให้รอบคอบก่อนตัดสินใจสร้างจริง

     เพราะถ้าล้ำออกมากเกินแนวเขตพื้นที่ของเราทั้งในคลองหรือแม่น้ำ กรมเจ้าท่ามีสิทธิ์ร้องเรียนหรือสั่งหยุดการก่อสร้างได้ทันทีนะครับ เพราะกรมเจ้าท่าดูแลพื้นที่ที่เป็นแหล่งน้ำทั้งหมด ถือเป็นกรมสิทธิ์พื้นที่ของหลวง และอย่าลืมเรื่องของกฎหมายเรื่อง set-back ระยะถอยร่นอาคาร ประเภทการก่อสร้างอาคารพื้นที่ติดแหล่งน้ำสาธารณะ ที่ระบุไว้ว่า

  • การสร้างสิ่งปลูกสร้างที่ติดแหล่งน้ำสาธารณะที่น้อยกว่า 10 เมตร ต้องสร้างห่างจากเขตอย่างน้อย 3 เมตร
  • การสร้างสิ่งปลูกสร้างที่ติดแหล่งน้ำสาธารณะที่มากกว่า 10 เมตร ต้องสร้างห่างจากเขตอย่างน้อย 6 เมตร
  • การสร้างสิ่งปลูกสร้างที่ติดแหล่งน้ำสาธารณะขนาดใหญ่ พวกทะเลสาบ หรือทะเล ต้องสร้างห่างจากเขตอย่างน้อย 12 เมตร

     แต่ก็มีข้อยกเว้นเฉพาะกรณีไป ด้วยการทำเรื่องขออนุญาตกับหน่วยงานราชการ  เช่นตัวอย่างกรณีสร้างเป็น  ป้าย สะพาน  รั้ว ท่าเรือ อู่เรือ เป็นตันครับ

     3. ตรวจวัดระดับน้ำขึ้นสูงสุด 

     สามารถขอข้อมูลได้จาก กรมอุทกศาสตร์กองทัพเรือ ครับ หรือสังเกตด้วยตัวเองที่เสาสะพานใกล้ๆ ในแม่น้ำ ลำคลอง ให้ดูรอยเส้นน้ำท่วมเสา จะมีเส้นน้ำขึ้นสูงสุดอยู่ แล้วเอามาเปรียบเทียบกับระดับดินที่จะก่อสร้างอาคารจริง  ถ้าเส้นน้ำท่วมเสาสูงกว่าระดับดิน หมายความว่า น้ำท่วมบ้านของคุณแน่นอนครับ ทางออกคืออาจต้องถมดินให้สูงขึ้นหรือทำกำแพงกันน้ำท่วมอีกชั้นหนึ่ง ทางที่ดีควรหลีกเลี่ยงพื้นที่น้ำท่วมถึงแบบนี้ได้ หาพื้นที่ทำเลอื่นได้ก็จะเป็นการดี เพื่อตัดไฟแต่ต้นลมไปเลยครับ

 

     4. ทิศทางของแหล่งน้ำ 

     ทิศทางของแหล่งน้ำ เป็นปัจจัยแวดล้อมภายนอกที่จะส่งผลต่อผู้อยู่อาศัยแน่นอน ถ้าแหล่งน้ำทางทิศตะวันออกหรือทิศตะวันตกของบ้าน  จะเป็นทิศที่รับแสงแดดเข้าโดยตรง  บ้านที่จะสร้างควรห่างจากแหล่งน้ำเพื่อหลบเลี่ยงแสงแดดที่สะท้อนผิวน้ำมาโดนบ้านของเรา  ถ้าบ้านติดน้ำมากเกินไป จะได้รับผลกระทบจากแสงอาทิตย์ที่สะท้อนพื้นน้ำ กลายเป็นกระจกสะท้อนแดดสาดเข้ามาในบ้าน ทั้งเพิ่มความรู้สึกอบอ้าวให้กับเราแทนที่จะเป็นบรรยากาศน่าสบาย คนในบ้านยังต้องคอยหยีตาเพราะแดดที่ส่องเข้ามาอีกด้วย  แต่ถ้าคุณมีที่ดินเหลือไม่พอที่จะหลบหลีกแสงสะท้อน หรือลงมือสร้างไปแล้วเกินจะถอยหลังกลับ ยังสามารถใช้วิธีธรรมชาติด้วยการปลูกไม้ใหญ่ริมน้ำ เป็นฉากบังแสงให้กับเราแทนได้  แถมได้ภาพมุมต้นไม้ร่มรื่นริมน้ำติดมาด้วยครับ

     สำหรับทิศทางที่เหมาะสมที่สุดเราแนะนำคือเป็นทิศใต้ครับ  เพราะทิศใต้เป็นทิศทางที่ลมจะพัดพาละอองน้ำเข้าสู่ตัวบ้าน ทำให้มีลมเย็นสบายๆ เข้ามาสัมผัสกับตัวเรา แต่ก็ต้องหลีกเลี่ยงสร้างห้องครัว ห้องน้ำ ทางทิศรับลมแบบนี้ เพราะลมก็จะพัดกลิ่นควันจากการทำอาหาร หรือจากห้องน้ำย้อนกลับเข้ามาที่บ้านของเราแทนได้

 

     แม้การสร้างบ้านริมน้ำอาจจะใช้ค่าใช้จ่ายสูง ต้องคำนึงข้อกำหนดมากขึ้นกว่าการสร้างบนพื้นดินปกติ แต่ผลลัพธ์ที่ได้กลับมาย่อมต้องตอบแทนผู้อยู่อาศัยในบ้านได้ดีมากด้วยเช่นกัน ภาพความเย็นสบายที่เรามองเห็นจากระเบียงบ้าน สายลมพัดพาละอองน้ำ และความชุ่มชื้นที่จะย้ายมาอยู่ใกล้ตัวบ้านของเรามากขึ้น


  • ไขข้อสงสัย !! บ้านหลังไหนคือ บ้านเดี่ยว บ้านแฝด ทาวน์เฮ้า! ทำไมเหมือนกัน ? ต่างกันยังไง ?
  • 5 สังฆภัณฑ์จำเป็น สำหรับถวายพระสงฆ์ในฤดูเข้าพรรษา
  • "วันแห่งความรัก" ประวัติที่น่าสนใจ กับความหมายของ "ดอกกุหลาบ" ในเทศกาล วันวาเลนไทน์
  • เจ้าของบ้านจำเป็นต้องรู้ไว้ !! รวม 10 คำถามสำหรับถามคนเช่าบ้าน รู้ไว้ใช้ให้แม่นๆ "ถ้าคิดทำธุรกิจบ้านเช่า"
  • จัดระเบียบห้องเล็กๆด่วยวิธีง่ายๆ เข้ากับชีวิตคนยุคใหม่
  • ขั้นตอนการรีไฟแนนซ์
  • เคล็ดลับง่ายๆ สำหรับการดูแลพื้นบ้านที่เป็นไม้
  • 9 ที่ลับสุดยอด ไว้เก็บของที่ไม่อยากบอกใคร
  • "ซัมซุง" ชวน 7 ศิลปินจาก 333Art.Gallery ร่วมออกแบบกรอบทีวี The Frame ลายพิเศษ ให้คุณเป็นเจ้าของได้ฟรี! เมื่อสั...
  • ระเบียบข้อบังคับจราจร การจอดรถในพื้นที่สาธารณะ ส่วนกลางหมู่บ้าน
  • เลือกอิฐแบบไหน อิฐมอญ อิฐมวลเบา อิฐบล็อก เหมาะกับสร้างบ้าน ประหยัดงบมากที่สุด
  • เช็คสิทธิ ทะเบียนราษฎร "เจ้าของบ้าน" กับ "เจ้าบ้าน" ในทะเบียนบ้าน ใครสิทธิเหนือกว่า หน้าที่ต่างกันอย...
  • เคล็ดไม่ลับ 10 วิธีซักผ้าสีตก คราบสีฝังแน่นอย่าทิ้ง ทำให้เสื้อกลับมาใส่ได้อีกครั้งดีกว่า
  • ข้อควรรู้ ซื้อบ้าน และที่ดินในโครงการจัดสรร เรื่องใดที่ควรทำหลังโอนกรรมสิทธิ์ที่ดิน
  • แอร์ยี่ห้อไหนประหยัดไฟ 2567 ลดการใช้พลังงาน ช่วยประหยัดไฟได้ดี
  • ยาวไป ยาวไป !! ยาวไปสร้างให้ได้ !!! 4 ข้อควรรู้ ก่อนจะสร้างบ้านริมน้ำ

    คนสมัยก่อนมักจะพายเรือเพื่อการติดต่อสื่อสาร ไปมาหาสู่ระหว่างกันทางน้ำ ใช้แหล่งน้ำเป็นทรัพยากรอุปโภคในครัวเรือน และเป็นพื้นที่พักผ่อนแสนสบาย จุ่มปลายเท้าลงให้น้ำเย็นไหลผ่านช้าๆ รวมทั้งสนามประลองกำลังความสนุกสนานของเด็กๆ กระโดดลงน้ำเล่น งมหาปูปลากันอย่างครื้นเครง อาจพูดได้ว่าใกล้เคียงกับวิถี slow life ที่เรากำลังตามหากันอยู่ก็คงไม่ผิดซะทีเดียวครับ

    © สงวนลิขสิทธิ์ 2567 บริษัท ไทยโฮมทาวน์ จำกัด
    @thaihometown Scroll