สาระควรรู้ทั่วไป

หลายคนที่เคยเดินทางไปเมืองใหญ่ๆในต่างประเทศรู้สึกสะดวกสบายกับตั๋วโดยสารขนส่งสาธารณะที่ใบเดียวใช้ได้กับทั้งหมดไม่ว่าจะขึ้นรถลงเรือต่อรถไฟ แต่สำหรับในกรุงเทพตอนนี้ต้องพกกันทีละหลายๆใบ ทำให้สร้างความสับสับและความยากลำบากในการเดินทาง หรือแม้แต่บางครั้งยังเข้ามาสร้างข้อจำกัดในเรื่องของการเดินทางอีกด้วย

ประกาศอสังหาริมทรัพย์ใหม่ บ้าน บ้าน รายการล่าสุด บ้านเดี่ยว บ้านเดี่ยว รายการล่าสุด ทาวน์เฮ้าส์ ทาวน์เฮ้าส์ รายการล่าสุด ทาวน์โฮม ทาวน์โฮม รายการล่าสุด คอนโด คอนโด รายการล่าสุด อาคารพาณิชย์ อาคารพาณิชย์ รายการล่าสุด อพาร์ทเม้นท์ อพาร์ทเม้นท์ รายการล่าสุด สำนักงาน สำนักงาน รายการล่าสุด โฮมออฟฟิศ โฮมออฟฟิศ รายการล่าสุด ธุรกิจ ธุรกิจ รายการล่าสุด โรงงาน โรงงาน รายการล่าสุด คลังสินค้า คลังสินค้า รายการล่าสุด โกดัง โกดัง รายการล่าสุด ที่ดิน ที่ดิน รายการล่าสุด ลงประกาศฟรี ผู้รับเหมา รายการล่าสุด ผู้รับเหมา ลงประกาศฟรี ผู้รับเหมา ข่าวประชาสัมพันธ์ รายการล่าสุด ข่าวประชาสัมพันธ์ พรีวิวโครงการใหม่ รายการล่าสุด พรีวิวโครงการใหม่ ตกแต่งที่อยู่อาศัย รายการล่าสุด ตกแต่งที่อยู่อาศัย สาระควรรู้ ที่อยู่อาศัย รายการล่าสุด สาระควรรู้ ที่อยู่อาศัย ฮวงจุ้ย ที่อยู่อาศัย รายการล่าสุด ฮวงจุ้ย ที่อยู่อาศัย สินเชื่อ ที่อยู่อาศัย รายการล่าสุด สินเชื่อ ที่อยู่อาศัย SME รายการล่าสุด SME สถานที่ท่องเที่ยว รายการล่าสุด สถานที่ท่องเที่ยว

"บัตรแมงมุม" สะดวกสบายตอบโจทย์ไลฟ์สไตล์คนเมืองในยุคปัจจุบัน ประกาศเริ่มใช้ตุลาคม 60 นี้ !!

     หลายคนที่เคยเดินทางไปเมืองใหญ่ๆในต่างประเทศรู้สึกสะดวกสบายกับตั๋วโดยสารขนส่งสาธารณะที่ใบเดียวใช้ได้กับทั้งหมดไม่ว่าจะขึ้นรถลงเรือต่อรถไฟ แต่สำหรับในกรุงเทพตอนนี้ต้องพกกันทีละหลายๆใบ ทำให้สร้างความสับสับและความยากลำบากในการเดินทาง หรือแม้แต่บางครั้งยังเข้ามาสร้างข้อจำกัดในเรื่องของการเดินทางอีกด้วย

     ในปัจจุบันรัฐบาลเริ่มที่จะกระตือรือร้นในเรื่องนี้ ซึ่งมีการหารือกันก่อนหน้านี้แล้ว สำหรับระบบตั๋วร่วมที่จะนำมาใช้ในประเทศไทย แต่ก็ต้องหยุดชะงักลงไปด้วยปัญหาเกี่ยวกับความพร้อมในหลายๆด้าน

 

     ล่าสุดเป็นเรื่องที่เป็นกระแสพอสมควรสำหรับรัฐบาลในยุคปัจจุบันที่ไม่ได้ละทิ้งโปรเจกต์ตัวนี้ เพราะทางภาครัฐได้มีอาการประกาศออกมาแล้วว่า รัฐบาลไทยจะเริ่มใช้ระบบตั๋วร่วมให้ประชาชนได้ใช้กันในเดือนตุลาคม 2560 นี้ โดยระบบตั๋วร่วมดังกล่าวก็จะใช้แนวคิดแนวคิดเดียวกับที่ต่างประเทศใช้กันนั่นก็คือบัตรเดียวสามารถใช้ในการเดินทางไปได้ทั่วทุกสารทิศ ทั้งขึ้นรถลงเรือไปเหนือล่องใต้ ทำให้เพิ่มความสะดวกสบายให้แก่ประชาชน โดยตั๋วร่วมที่จะใช้ในเมืองไทยจะถูกเรียกว่า "บัตรแมงมุม"

บัตรแมงมุมคืออะไร

     สำหรับบัตรแมงมุม พูดง่ายๆ ก็คือตั๋วร่วมที่จะใช้เดินทาง ไม่ว่าจะเป็นการเดินทางโดยรถไฟฟ้า BTS หรือ MRT รวมไปถึงรถเมล์และระบบขนส่งสาธารณะอื่นๆ โดยการใช้บัตรแมงมุมใบเดียวแทนการใช้เงินสดและบัตรโดยสารของระบบขนส่งมวลชนแบบแยกประเภทเพื่อลดภาระการสับสับ และข้อจำกัดในการเดินทาง เพื่อให้คนไทยได้เดินทางได้สะดวกมากขึ้น

     โดยในระยะแรก สำนักธุรกิจบัตรโดยสารของการรถไฟฟ้าขนส่งมวลชนแห่งประเทศไทย (รฟม.) ทำหน้าที่เป็นผู้บริหารจัดการและบำรุงรักษาระบบตั๋วร่วม และมีอำนาจหน้าที่ในการกำหนดกฏเกณฑ์ทางธุรกิจสำหรับการใช้ตั๋วร่วมของผู้ให้บริการต่างๆ ที่เกี่ยวข้อง รวมถึงการการเจรจากับผู้ให้บริการต่างๆ ในระบบตั๋วร่วม และลงนามในข้อตกลงกับผู้ให้บริการ

 

ประเภทของบัตรแมงมุม

     สำหรับบัตรแมงมุมแบ่งประเภทใหญ่ๆ ได้ 3 ประเภท ดังนี้

     ♦ สำหรับบุคคลทั่วไป

ใช้สำหรับคนทั่วไป ไม่ว่าจะเป็นข้าราชการ พนักงานเอกชน หรือบุคคลที่มีอาชีพอื่นๆ และมีอายุไม่เกิน 60 ปีบริบูรณ์

     ♦ สำหรับนักเรียนนักศึกษา

ใช้สำหรับนักเรียนและนักศึกษา สามารถใช้งานได้ตั้งแต่อายุ 7 ปีขึ้นไป แต่อายุไม่เกิน 23 ปี หรือสำเร็จการศึกษาในระดับปริญญาตรี

    ♦ สำหรับผู้สูงอายุ

ใช้สำหรับผู้ที่มีอายุ 60 ปีบริบูรณ์

 

แนวทางการจัดตั้งหน่วยงานบริหารจัดการและบำรุงรักษาระบบตั๋วร่วม (CTC)

     ♦ ระยะเริ่มต้น

1.สำนักธุรกิจบัตรโดยสารของการรถไฟฟ้าขนส่งมวลชนแห่งประเทศไทย (รฟม.) ทำหน้าที่เป็นผู้บริหารจัดการและบำรุงรักษาระบบตั๋วร่วม และมีอำนาจหน้าที่ในการกำหนดกฏเกณฑ์ทางธุรกิจสำหรับการใช้ตั๋วร่วมของผู้ให้บริการต่างๆ ที่เกี่ยวข้อง รวมถึงการการเจรจากับผู้ให้บริการต่างๆ ในระบบตั๋วร่วม และลงนามในข้อตกลงกับผู้ให้บริการ โดยคำนึงถึงรูปแบบการให้บริการที่ตรงกับความต้องการของผู้โดยสารและเป็นประโยชน์ต่อส่วนรวม (ส.ค.2560)

2.สนข.ให้สิทธิ รฟม.ใช้ระบบศูนย์บริหารจัดการรายได้กลาง (CCH) โดยทำสัญญาหรือหนังสือข้อตกลงระหว่าง สนข. และ รฟม.เพื่อเข้าดำเนินงานและบำรุงรักษาระบบให้เป็นไปตามข้อกำหนดและวัตถุประสงค์ของสัญญาโครงการจัดทำระบบศูนย์บริหารจัดการรายได้กลาง (CCH) ทั้งนี้ให้ดำเนินการเป็นไปตามกฎหมายหรือระเบียบที่เกี่ยวข้อง (ส.ค.2560)

3.รฟม.เจรจากับผู้ประกอบการภาคขนส่งและนอกภาคขนส่งเพื่อใช้งานระบบตั๋วร่วม โดยมี สนข.เป็นหน่วยงานสนับสนุนการดำเนินงาน (ส.ค.2560)

     ♦ ระยะต่อไป

1.รฟม.จัดตั้งบริษัทภายใต้รัฐวิสาหกิจ เพื่อเป็นผู้บริหารจัดการและบำรุงรักษาระบบตั๋วร่วมตามหลักเกณฑ์การจัดตั้ง/ร่วมทุนและกำกับดูแลบริษัทในเครือของรัฐวิสาหกิจ (ส.ค.2560 – ก.ค.2561)

2.สนข.ดำเนินการโอนสิทธิดังกล่าวให้ รฟม.ตามขั้นตอน โดยให้ สนข.นำเสนอเรื่องการส่งมอบระบบ ศูนย์บริหารจัดการรายได้กลาง (CCH) ให้หน่วยงานบริหารจัดการและบำรุงรักษาระบบตั๋วร่วมเพื่อสำนักบริหารหนี้สาธารณะ (สบน.) พิจารณานำเสนอคณะกรรมการกลั่นกรองและบริหารโครงการเงินกู้ เพื่อฟื้นฟูเศรษฐกิจและพัฒนาโครงสร้างพื้นฐาน (DPL) ก่อนนำเสนอ ครม.เพื่อพิจารณาให้ความเห็นชอบ ตามขั้นตอนต่อไป (ส.ค.2560 – ก.ค.2561)

 

การดำเนินงานบูรณาการระบบศูนย์บริหารจัดการรายได้กลางเพื่อใช้งานระบบตั๋วร่วม

1.รฟม.ปรับปรุงระบบตั๋วของรถไฟฟ้าสายสีม่วงให้สามารถใช้งานระบบตั๋วร่วม (ต.ค. 2560)

2.บริษัท รถไฟฟ้า ร.ฟ.ท. จำกัด (รฟฟท.) ปรับปรุงระบบตั๋วของรถไฟฟ้าเชื่อมท่าอากาศยาน (Airport Rail Link) ให้สามารถใช้งานระบบตั๋วร่วม (ต.ค.2560)

3.องค์การขนส่งมวลชนกรุงเทพ (ขสมก.) ติดตั้งระบบตั๋วสำหรับรถโดยสารประจำทาง จำนวน 800 คัน ให้สามารถใช้งานระบบตั๋วร่วม ทั้งนี้ ขสมก.มีแผนที่จะติดตั้งให้ครบ ๒,๖๐๐ คัน ภายในต้นปี 2561 (ต.ค. 2560)

4.ผู้บริหารจัดการและบำรุงรักษาระบบตั๋วร่วม และบริษัท ระบบขนส่งมวลชนกรุงเทพ จำกัด(มหาชน) (BTS) จัดทำข้อตกลงและติดตั้งระบบตั๋วของรถไฟฟ้าสายสีเขียว ให้สามารถใช้งานระบบตั๋วร่วม (ส.ค. 2560 – ก.ค.2561)

5.ผู้บริหารจัดการและบำรุงรักษาระบบตั๋วร่วม และบริษัท ทางด่วนและรถไฟฟ้ากรุงเทพ จำกัด (มหาชน) (BEM) จัดทำข้อตกลง และติดตั้งระบบตั๋วของรถไฟฟ้าสายสีน้ำเงิน ให้สามารถใช้งานระบบตั๋วร่วม (ส.ค. 2560 – ก.ค. 2561)

     สำหรับผู้ให้บริการนอกภาคขนส่ง (Non Transit) ผู้บริหารจัดการและบำรุงรักษาระบบตั๋วร่วมเจรจากับร้านค้าและกิจการนอกภาคขนส่งให้เข้าร่วมใช้งานระบบตั๋วร่วมในการชำระค่าสินค้าและบริการ (ภายในปี 2560)

     โดยในส่วนของแผนยุทธศาสตร์การพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานระบบการชำระเงินแบบอิเล็กทรอนิกส์แห่งชาติ ผู้บริหารจัดการและบำรุงรักษาระบบตั๋วร่วม ปรับปรุงและพัฒนาระบบศูนย์บริหารจัดการรายได้กลาง (CCH) ให้รองรับระบบการจ่ายเงินสวัสดิการภาครัฐ ให้สามารถใช้งานระบบตั๋วร่วมในภาคขนส่ง(ต.ค. 2560)

     ระบบขนส่งมวลชนอื่นๆ (Other Transit) คือ ระบบทางพิเศษระบบทางหลวงพิเศษและระบบเรือโดยสารดำเนินการตามกรอบระยะเวลาที่มีการพัฒนาและจัดทำระบบนั้นๆแล้วเสร็จ รถไฟฟ้าสายใหม่ ดำเนินการตามกรอบระยะเวลาการก่อสร้างรถไฟฟ้าแต่ละสาย

     ระบบตั๋วร่วมรองรับระบบการจ่ายเงินสวัสดิการสังคมและช่วยเหลือผู้มีรายได้น้อย (E-Payment) ผ่าน “บัตรสวัสดิการผู้มีรายได้น้อย” ของรัฐบาล

     ระบบตั๋วร่วมได้ออกแบบให้สามารถรองรับระบบการจ่ายเงินสวัสดิการสังคมและช่วยเหลือผู้มีรายได้น้อยของรัฐบาล ภายใต้โครงการระบบการชำระเงินแบบอิเล็กทรอนิกส์แห่งชาติ โดยผู้มีรายได้น้อยสามารถใช้บัตรสวัสดิการในการใช้บริการระบบขนส่ง เช่น ระบบรถโดยสารประจำทาง ทั้งนี้ กระทรวงการคลังได้กำหนดแผนบูรณาการระบบตั๋วร่วมเข้ากับระบบจ่ายเงินเพื่อสวัสดิการแห่งรัฐ ปี 2560 สำหรับพื้นที่กรุงเทพมหานครและปริมณฑล โดยให้เริ่มใช้งานระบบตั๋วร่วมได้ตั้งแต่วันที่ 1 ตุลาคม 2560 เป็นต้นไป


  • "ซัมซุง" เปิดตัวทีวีรุ่นใหม่ ปี 2021 Neo QLED, MICRO LED และ Lifestyle TV
  • 5 วิธีรับมือ เปลี่ยนคอนโดยังไงให้น่าอยู่มากขึ้น และอยู่ได้แบบสตองตอบโจทย์ไลฟ์สไตล์คนเมือง
  • 8 วิธีทำความสะอาดเครื่องใช้ไฟฟ้าในบ้าน ทำง่ายๆ ด้วยตัวเอง
  • เทคนิคการใช้ไฟฟ้าให้ปลอดภัยชีวิต ในฤดูฝนนี้
  • ความแตกต่างระหว่าง LED TV LCD TV และ OLED TV
  • 13 วิธีทำความสะอาดของใช้เด็ก-ของเล่นเด็ก กำจัดเชื้อโรค ลดเสี่ยงอันตราย
  • 5 เคล็ดลับทำความสะอาด ที่ไม่ได้ผลจริง
  • ไอเดียนำขวดน้ำเหลือใช้ มาใช้ประโยชน์ทำระบบน้ำหยด ใช้รดน้ำต้นไม้แบบงายๆ ต้นทุนต่ำ
  • 18 เรื่องที่ผู้บ้านหรือแม่บ้านควรรู้ว่า อย่าทำกับเครื่องไฟฟ้า
  • ระเบียบข้อบังคับจราจร การจอดรถในพื้นที่สาธารณะ ส่วนกลางหมู่บ้าน
  • เลือกอิฐแบบไหน อิฐมอญ อิฐมวลเบา อิฐบล็อก เหมาะกับสร้างบ้าน ประหยัดงบมากที่สุด
  • เช็คสิทธิ ทะเบียนราษฎร "เจ้าของบ้าน" กับ "เจ้าบ้าน" ในทะเบียนบ้าน ใครสิทธิเหนือกว่า หน้าที่ต่างกันอย...
  • เคล็ดไม่ลับ 10 วิธีซักผ้าสีตก คราบสีฝังแน่นอย่าทิ้ง ทำให้เสื้อกลับมาใส่ได้อีกครั้งดีกว่า
  • ข้อควรรู้ ซื้อบ้าน และที่ดินในโครงการจัดสรร เรื่องใดที่ควรทำหลังโอนกรรมสิทธิ์ที่ดิน
  • แอร์ยี่ห้อไหนประหยัดไฟ 2567 ลดการใช้พลังงาน ช่วยประหยัดไฟได้ดี
  • บัตรแมงมุม สะดวกสบายตอบโจทย์ไลฟ์สไตล์คนเมืองในยุคปัจจุบัน ประกาศเริ่มใช้ตุลาคม 60 นี้ !!

    หลายคนที่เคยเดินทางไปเมืองใหญ่ๆในต่างประเทศรู้สึกสะดวกสบายกับตั๋วโดยสารขนส่งสาธารณะที่ใบเดียวใช้ได้กับทั้งหมดไม่ว่าจะขึ้นรถลงเรือต่อรถไฟ แต่สำหรับในกรุงเทพตอนนี้ต้องพกกันทีละหลายๆใบ ทำให้สร้างความสับสับและความยากลำบากในการเดินทาง หรือแม้แต่บางครั้งยังเข้ามาสร้างข้อจำกัดในเรื่องของการเดินทางอีกด้วย

    © สงวนลิขสิทธิ์ 2567 บริษัท ไทยโฮมทาวน์ จำกัด
    @thaihometown Scroll