สาระควรรู้ทั่วไป

ปัญหาหลังคารั่ว จัดเป็นปัญหาที่สร้างความปวดเศียรเวียนเกล้าให้กับเจ้าของบ้านได้ไม่น้อย เพราะเป็นปัญหาที่แก้ไม่ค่อยหาย แก้ไม่ตก แก้แล้วแก้อีก รั่วแล้วรั่วอีก บางบ้านจ้างช่างมาซ่อม 3-4 รอบ ใช้ได้ไม่นานก็กลับมารั่วอีก เสียเงินฟรีแท้ๆ

ประกาศอสังหาริมทรัพย์ใหม่ บ้าน บ้าน รายการล่าสุด บ้านเดี่ยว บ้านเดี่ยว รายการล่าสุด ทาวน์เฮ้าส์ ทาวน์เฮ้าส์ รายการล่าสุด ทาวน์โฮม ทาวน์โฮม รายการล่าสุด คอนโด คอนโด รายการล่าสุด อาคารพาณิชย์ อาคารพาณิชย์ รายการล่าสุด อพาร์ทเม้นท์ อพาร์ทเม้นท์ รายการล่าสุด สำนักงาน สำนักงาน รายการล่าสุด โฮมออฟฟิศ โฮมออฟฟิศ รายการล่าสุด ธุรกิจ ธุรกิจ รายการล่าสุด โรงงาน โรงงาน รายการล่าสุด คลังสินค้า คลังสินค้า รายการล่าสุด โกดัง โกดัง รายการล่าสุด ที่ดิน ที่ดิน รายการล่าสุด ลงประกาศฟรี ผู้รับเหมา รายการล่าสุด ผู้รับเหมา ลงประกาศฟรี ผู้รับเหมา ข่าวประชาสัมพันธ์ รายการล่าสุด ข่าวประชาสัมพันธ์ พรีวิวโครงการใหม่ รายการล่าสุด พรีวิวโครงการใหม่ ตกแต่งที่อยู่อาศัย รายการล่าสุด ตกแต่งที่อยู่อาศัย สาระควรรู้ ที่อยู่อาศัย รายการล่าสุด สาระควรรู้ ที่อยู่อาศัย ฮวงจุ้ย ที่อยู่อาศัย รายการล่าสุด ฮวงจุ้ย ที่อยู่อาศัย สินเชื่อ ที่อยู่อาศัย รายการล่าสุด สินเชื่อ ที่อยู่อาศัย SME รายการล่าสุด SME สถานที่ท่องเที่ยว รายการล่าสุด สถานที่ท่องเที่ยว

หลังคารั่วปัญหาที่แก้ไม่หาย ซ่อมแล้วซ่อมอีกก็ยังรั่วเหมือนเดิม ใครมีปัญหาที่ว่าดูทางนี้ได้

ปัญหาหลังคารั่ว จัดเป็นปัญหาที่สร้างความปวดเศียรเวียนเกล้าให้กับเจ้าของบ้านได้ไม่น้อย เพราะเป็นปัญหาที่แก้ไม่ค่อยหาย แก้ไม่ตก แก้แล้วแก้อีก รั่วแล้วรั่วอีก บางบ้านจ้างช่างมาซ่อม 3-4 รอบ ใช้ได้ไม่นานก็กลับมารั่วอีก เสียเงินฟรีแท้ๆ

สาเหตุของปัญหาหลังคารั่วพร้อมกับวิธีแก้ไขเบื้องต้นที่เจ้าของบ้านควรรู้ เผื่อว่าไม่อยากจะจ้างช่างมาซ่อมให้เสียอารมณ์อีกแล้ว อยากลองซ่อมเองดูบ้าง เอ้า!อย่ารอช้ามาดูกันดีกว่า

 

1. รั่วมาจากตัวครอบสันหลังคา


การรั่วลักษณะนี่เกิดจากการที่ปูนที่อยู่ใต้ตัวครอบสันหลังคามันเกิดแตกออก ซึ่งอาจจะเกิดจากการถูกฝนกัดเซาะเป็นเวลานาน หรือช่างที่ทำอุดปูนไว้ไม่ดี พอนานวันเข้าก็อาจจะเสื่อมไปตามกาลเวลา พอฝนตกลงมาหนักๆ น้ำก็จะรั่วผ่านช่องว่างที่แตกนี้เข้ามาได้

วิธีการแก้ไข

ให้ไปหาซื้อปูนแบบนอน-ชริงค์มาอุดรอยแตกระหว่างตัวครอบหลังคาและหลังคา อุดให้สนิทไม่ให้เหลือช่องโหว่ไว้อีก จากนั้นหาน้ำยาอะคริลิคมาทาทับลงไปบริเวณที่ทาปูนไว้เพื่อเป็นการเพิ่มการป้องกันน้ำอีกชั้นหนึ่ง แค่นี้ก็หมดปัญหาหลังคารั่วซึมจากตัวครอบสันหลังคาแล้ว

2. รั่วมาจากโครงหลังคาผุหรือแอ่น


อีกจุดที่มักจะเป็นสาเหตุการรั่วของหลังคาบ้านเก่าที่สร้างมานานแล้วหลายปี ก็คือน้ำรั่วเพราะเกิดช่องว่างระหว่างโครงหลังคากับกระเบื้อง สาเหตุเกิดจากโครงหลังคาไม่ว่าจะเป็นไม้หรือเป็นเหล็กมันเกิดผุพัง หรือแอ่นไปตามกาลเวลา ทำให้กระเบื้องที่เคยเรียงต่อกันอย่างแนบสนิทเกิดช่องโหว่ให้น้ำไหลซึมเข้ามาได้

    วิธีการสังเกตอาการรั่วแบบนี้ทำได้ไม่ยาก แค่พยายามสังเกตแสงที่ลอดส่องเข้ามาผ่านช่องกระเบื้องในบ้าน ถ้ามีแสงลอดผ่านเข้ามาช่องไหน ก็แสดงว่าช่องนั้นนั่นแหละมีปัญหา

วิธีการแก้ไข

โครงหลังคาเหล็ก

หากเป็นโครงหลังคาเหล็กให้แก้ไขด้วยการขัดสนิมออกก่อน จากนั้นก็หาเหล็กแผ่นมา 2 แผ่นนำมาประกบขนาบโครงเก่าและใช้น็อตขันติดให้แน่น ถ้าโครงเหล็กเก่ามันทรุดตัวลงมาก็อาจจะหาไม้ไปเค้ามันก่อนเพื่อให้โครงเก่ามันอยู่ในตำแหน่งเดิมก่อน จากนั้นจึงค่อยเอาแผ่นเหล็กที่เตรียมไว้ไปดามอีกที

 

โครงหลังคาไม้

โครงหลังค้าไม้ก็จะทำเหมือนๆกับโครงหลังคาเหล็ก ก็คือไปหาไม้แผ่นขนาดพอเหมาะมา 2 แผ่น เพื่อเอามาประกบกับไม้ที่ผุ แต่ก่อนที่จะประกบไม้เข้าไปใหม่ให้ตัดไม้อันเก่าที่ผุออกก่อน แล้วค่อยเอาไม้แผ่นใหม่เข้าไปประกบ จากนั้นก็ใช้น็อตขันให้แน่น ดามโครงหลังคาขึ้นไปให้ติดกับกระเบื้อง เพื่อป้องกันไม่ให้เกิดช่องว่างระหว่างกระเบื้อง กันน้ำรั่วเข้าบ้าน
 

3. รั่วมาจากรางรับน้ำตะเข้ผุ


อีกจุดหนึ่งของหลังคาบ้านที่มีโอกาสรั่วได้ก็คือ รางรับน้ำตะเข้ ซึ่งส่วนใหญ่จะทำมาจากสังกะสี พอโดนน้ำบ่อยๆเข้าก็จะผุกร่อนไปตามกาลเวลา หรือบางทีอาจเกิดจากปีกของรางรับน้ำตะเข้มันสั้นไป ทำให้เวลาที่ฝนตกและมีลมพัดแรงน้ำอาจจะไหลซึมผ่านหลังคาเข้ามาได้ง่าย

วิธีแก้ไข

ให้ทำการเปลี่ยนรางรับน้ำตะเข้ใหม่ โดยให้รางมีความกว้าง 20 cm และมีความลึกอย่างน้อย 5 cm ขึ้นไป ส่วนปีกของลางนั้นควรยาวอย่างน้อย 20 cm ขึ้นไป เพื่อให้สอดเข้าไปในกระเบื้องได้ลึกๆ จะได้ไม่ทำให้น้ำตีเข้ามาที่รอยต่อได้

4. รั่วจากการขึงเสาอากาศขนาดสูง


อีกจุดที่เราอาจทำให้หลังคารั่วแบบรู้เท่าไม่ถึงการณ์นั่นก็คือ จุดที่เราใช้ขึงเสาอากาศ หรือเสาทีวีเอาไว้ เนื่องจากการปักเสาทีวีขนาดสูงบนหลังคานั้นจำเป็นต้องมีลวดสลิงมาเกี่ยวกับชายกระเบื้องประมาณ 3-4 จุด เพื่อป้องกันไม่ให้เสาอากาศที่มีขนาดสูง ทีนี้พอเวลาฝนตกลมพัดแรงๆ ลวดสลิงที่ขึงไว้มันก็จะไปดึงชายหลังคา ถ้าหากหลังคามันยึดกับโครงไว้ไม่ดี หรือน็อตที่ยึดหลังคาไว้มันหลวม หลังคาก็อาจจะถูกงัดขึ้นมาและเกิดการรั่วซึมได้

วิธีแก้ไข

ให้ลดเสาอากาศให้สั้นลง และเอาลวดสลิงที่ขึงไว้ออกก่อน จากนั้นให้จัดการขันกระเบื้องกับแปรด้วยสกรูหรือมัดด้วยลวดให้แน่หนา จากนั้นค่อยเอาเชือกสลิงมาขึงเสาอากาศใหม่ แค่นี้ก็สามารถป้องกันการรั่วซึมของหลังคา จากการตั้งเสาอากาศได้แล้ว


    นี่ก็เป็นสาเหตุและวิธีการแก้ไขหลังคารั่วเบื้องต้นที่เจ้าของบ้านควรรู้เอาไว้ เผื่อวันไหนฝนตกหนักๆ น้ำเกิดรั่วเข้าบ้านจะได้หาทางป้องกันและแก้ไขปัญหาได้ นอกจากนี้ยังช่วยประหยัดค่าช่างได้อีกด้วย หลังคาไม่รั่วตังค์ก็ไม่เสีย โอ้!อะไรจะดีขนาดนั้น


ขอบคุณข้อมูลจาก Sanook.com
  • ข้อควรรู้เรื่องค่าส่วนกลาง และข้อปฏิบัติการใช้พื้นที่สาธารณะหมู่บ้าน
  • 5 ประโยชน์งานบ้านด้วย "แป้งทำอาหาร" ที่คนปรุงอาหาร และแม่บ้านควรรู้
  • 5 สิ่งที่เพื่อนบ้านไม่สามารถละเมิดสิทธิของเราได้ในทางกฎหมาย
  • ทิ้งหน้ากากอนามัยและ ATK ให้ปลอดภัยต่อสิ่งแวดล้อม ลดการติดเชื้อ
  • หมดปัญหาถังเก็บน้ำใต้ดินรั่วซึม โดยการเปลี่ยนมาใช้ถังบนดิน!!
  • กฟน. ห่วงใยความปลอดภัย แนะนำข้อปฏิบัติหลังน้ำท่วม
  • ข้อควรรู้ สร้างบ้านใน "หน้าฝน" ควรรับมือยังไง ?
  • 7 เคล็ดลับ ถนอมอาหารด้วย "ถาดทำน้ำแข็ง"
  • เทคนิคช่วยเพิ่มความแรงให้กับ "WiFi" ง่ายๆ ที่สามารถทำได้เอง
  • ระเบียบข้อบังคับจราจร การจอดรถในพื้นที่สาธารณะ ส่วนกลางหมู่บ้าน
  • เลือกอิฐแบบไหน อิฐมอญ อิฐมวลเบา อิฐบล็อก เหมาะกับสร้างบ้าน ประหยัดงบมากที่สุด
  • เช็คสิทธิ ทะเบียนราษฎร "เจ้าของบ้าน" กับ "เจ้าบ้าน" ในทะเบียนบ้าน ใครสิทธิเหนือกว่า หน้าที่ต่างกันอย...
  • เคล็ดไม่ลับ 10 วิธีซักผ้าสีตก คราบสีฝังแน่นอย่าทิ้ง ทำให้เสื้อกลับมาใส่ได้อีกครั้งดีกว่า
  • ข้อควรรู้ ซื้อบ้าน และที่ดินในโครงการจัดสรร เรื่องใดที่ควรทำหลังโอนกรรมสิทธิ์ที่ดิน
  • แอร์ยี่ห้อไหนประหยัดไฟ 2567 ลดการใช้พลังงาน ช่วยประหยัดไฟได้ดี
  • หลังคารั่วปัญหาที่แก้ไม่หาย ซ่อมแล้วซ่อมอีกก็ยังรั่วเหมือนเดิม ใครมีปัญหาที่ว่าดูทางนี้ได้

    ปัญหาหลังคารั่ว จัดเป็นปัญหาที่สร้างความปวดเศียรเวียนเกล้าให้กับเจ้าของบ้านได้ไม่น้อย เพราะเป็นปัญหาที่แก้ไม่ค่อยหาย แก้ไม่ตก แก้แล้วแก้อีก รั่วแล้วรั่วอีก บางบ้านจ้างช่างมาซ่อม 3-4 รอบ ใช้ได้ไม่นานก็กลับมารั่วอีก เสียเงินฟรีแท้ๆ

    © สงวนลิขสิทธิ์ 2567 บริษัท ไทยโฮมทาวน์ จำกัด
    @thaihometown Scroll