สาระควรรู้ทั่วไป

นอกจากทั้ง 9 ข้อนี้ อาจมีอีกหลายสิ่งที่สำคัญรองลงไป ทั้งนี้ทั้งนั้นเจ้าของบ้านก็ควรมีการศึกษาหาความรู้เกี่ยวกับการก่อสร้างเองด้วย ปัจจุบันก็มีการเผยแพร่มากมายทั้งหนังสือ และอินเตอร์เน็ท ใช้เวลาเล็กน้อยเพื่อเก็บข้อมูลเหล่านี้ บ้านของเราจะได้เป็นบ้านที่น่าอยู่และแข็งแรงไปนานๆ

ประกาศอสังหาริมทรัพย์ใหม่ บ้าน บ้าน รายการล่าสุด บ้านเดี่ยว บ้านเดี่ยว รายการล่าสุด ทาวน์เฮ้าส์ ทาวน์เฮ้าส์ รายการล่าสุด ทาวน์โฮม ทาวน์โฮม รายการล่าสุด คอนโด คอนโด รายการล่าสุด อาคารพาณิชย์ อาคารพาณิชย์ รายการล่าสุด อพาร์ทเม้นท์ อพาร์ทเม้นท์ รายการล่าสุด สำนักงาน สำนักงาน รายการล่าสุด โฮมออฟฟิศ โฮมออฟฟิศ รายการล่าสุด ธุรกิจ ธุรกิจ รายการล่าสุด โรงงาน โรงงาน รายการล่าสุด คลังสินค้า คลังสินค้า รายการล่าสุด โกดัง โกดัง รายการล่าสุด ที่ดิน ที่ดิน รายการล่าสุด ลงประกาศฟรี ผู้รับเหมา รายการล่าสุด ผู้รับเหมา ลงประกาศฟรี ผู้รับเหมา ข่าวประชาสัมพันธ์ รายการล่าสุด ข่าวประชาสัมพันธ์ พรีวิวโครงการใหม่ รายการล่าสุด พรีวิวโครงการใหม่ ตกแต่งที่อยู่อาศัย รายการล่าสุด ตกแต่งที่อยู่อาศัย สาระควรรู้ ที่อยู่อาศัย รายการล่าสุด สาระควรรู้ ที่อยู่อาศัย ฮวงจุ้ย ที่อยู่อาศัย รายการล่าสุด ฮวงจุ้ย ที่อยู่อาศัย สินเชื่อ ที่อยู่อาศัย รายการล่าสุด สินเชื่อ ที่อยู่อาศัย SME รายการล่าสุด SME สถานที่ท่องเที่ยว รายการล่าสุด สถานที่ท่องเที่ยว

9 ข้อ ที่ห้ามผิดพลาด ในการสร้างบ้านใหม่ หรือการต่อเติมบ้านหลังเก่าของคุณ

         นอกจากหัวข้อเหล่านี้แล้วก็อาจมีอีกหลายสิ่งที่สำคัญรองลงไป ทั้งนี้ทั้งนั้นเจ้าของบ้านก็ควรมีการศึกษาหาความรู้เกี่ยวกับการก่อสร้างเองด้วย ปัจจุบันก็มีการเผยแพร่มากมายทั้งหนังสือ และอินเตอร์เน็ท ใช้เวลาเล็กน้อยเพื่อเก็บข้อมูลเหล่านี้ บ้านของเราจะได้เป็นบ้านที่น่าอยู่และแข็งแรงไปนานๆ มาดู 9 ข้อที่ว่ากันเลยดีกว่าว่ามีอะไรบ้างให้คิด

1. การวางผังและกำหนดจุดในการลงเข็มโครงสร้าง

     ขั้นตอนนี้เป็นขึ้นตอนที่สำคัญมาก เพราะหมายถึงระยะต่างๆรอบบ้านที่ส่งผลไปถึงกฎหมายอาคารในเรื่องระยะถอยร่น และประโยชน์ในการใช้สอยตามที่เจ้าของบ้านได้กำหนดไว้ บางครั้งการวางผังผิดพลาดทำให้ต้องเสียงบประมาณในการปรับปรุงแก้ไขมากมาย โดยตรวจสอบจากหมุดเขตที่ดินเป็นหลัก

      เรื่องนี้อาจย้อนกลับไปยังขั้นตอนของการออกแบบ ควรให้สถาปนิกหรือผู้ออกแบบเข้ามาวัดพื้นที่จริง เพื่อให้ได้ระยะและขนาดที่ถูกต้อง ไม่ควรวัดระยะจากโฉนดที่ดินเพียงอย่างเดียว การก่อสร้างจึงก็จะไม่มีปัญหาที่ว่าไม่สามารถวางตัวบ้านลงในพื้นที่ดินได้

 

2. การก่อสร้าง ต้องสร้างตรงตามแบบ

         บางครั้งผู้รับเหมาหรือช่าง อาจเกิดความเข้าใจผิดในแบบก่อสร้าง เพราะช่างเหล่านี้ไม่ได้เป็นผู้ออกแบบตั้งแต่ต้น เจ้าของบ้านและสถาปนิกจึงควรควบคุมการก่อสร้างให้ตรงตามแบบที่คิดไว้ เช่นบางส่วนที่มีความซับซ้อนของแบบ ในเบื้องต้นอาจกำชับช่างว่า หากก่อสร้างมาถึงตรงนี้ ให้แจ้งเจ้าของหรือสถาปนิกเพื่อเข้ามาดูหน้างานอีกครั้งเพื่อความถูกต้องตามแบบ รวมไปถึงวัสดุต่างๆที่ระบุไว้ ควรยึดตามรายละเอียดนั้น ก่อนมีการสั่งซื้อจริงทั้งหมด ผู้รับเหมาควรมีการนำวัสดุตัวอย่างมาให้เจ้าของและสถาปนิกดูก่อน พร้อมทั้งรอการอนุมัติจากเจ้าของและสถาปนิก จึงค่อยสั่งซื้อของต่อไป

3. ปูนที่ใช้ในการก่อสร้าง

         ปูนที่ใช้ในการเทคอนกรีตโครงสร้างต้องเป็นปูน Portland ผสมทราย หินและน้ำที่สะอาด โดยปูนที่ใช้ต้องเป็นปูนสำหรับงานโครงสร้างเท่านั้น งานฉาบและงานก่อก็เช่นกัน จะมีระบุไว้ที่ถุงของผลิตภัณฑ์ว่าใช้กับงานประเภทไหน ห้ามใช้สลับกันเด็ดขาด หรือให้ง่ายกว่านั้นอาจใช้ Concrete Ready mix ที่ผสมเสร็จมาเป็นคันรถ ก็จะได้คอนกรีตที่มีค่าการรับแรงตรงตามที่วิศวกรกำหนดเช่นกัน

 

4. เสาเอ็น, ทับหลังต้องมี

      ทุกจุดของบ้านและอาคารต้องมีเสาเอ็นและทับหลังเป็นส่วนประกอบ โดยเฉพาะรอบวงกบประตู หน้าต่าง เพราะช่องประตูและหน้าต่างเหมือนผนังที่ถูกเจาะ และมีแรงสั่นสะเทือนจากการเปิดปิดประตูหน้าต่างอีก เสาเอ็นและทับหลังจึงช่วยเสริมความแข็งแรงให้กับบ้านได้ จุดที่ผนังก่ออิฐวิ่งมาคนละแนวแล้วมาชนกันที่มุมหนึ่งก็ต้องมีเสาเอ็น และกรณีของผนังทึบต้องมีเสาเอ็นและทับหลังทุกๆ 3 – 4 เมตร ทั้งในแนวราบและแนวตั้ง เพื่อเพิ่มความแข็งแรงให้กับกำแพงนั้น

5. เหล็กโครงสร้างต้องไม่เป็นสนิม

         เหล็กเสริมต่างๆต้องไม่เป็นสนิม เพราะสนิมจะลดประสิทธิภาพการทำงานของเหล็กเอง แถมยังสามารถเบ่งตัว ทำให้คอนกรีตแตกร้าวเสียหายได้ด้วย ทำให้โครงสร้างเกิดปัญหาในการรับน้ำหนักในอนาคตแน่นอน หากเห็นว่ามีเหล็กโครงสร้างส่วนใดเป็นสนิม ควรสะกิดที่ปรึกษาหรือแจ้งให้ช่างช่วยเปลี่ยนหรือทำการแก้ไขให้แต่เนิ่นๆ จะดีที่สุด วิธีที่คุ้นเคยและสะดวกอาจเป็นการใช้แปรงทองเหลืองขัด หรือใช้น้ำยากัดสนิม ทำการขจัดสนิมออกให้หมด หลังจากนั้นใช้น้ำสะอาดล้างพื้นผิวเหล็กนั้น แล้วค่อยเทคอนกรีตทำการก่อสร้างต่อไปได้เลย

 

6. ระยะหุ้มของคอนกรีตและเหล็ก

         ในขั้นตอนของการผูกเหล็กเสริมและจะทำการเทคอนกรีต หาโอกาสเข้าไปดูว่าระยะระหว่างเหล็กเสริม จนถึงไม้แบบนั้นมีระยะเท่าไร (นั่นก็คือระยะหุ้มของคอนกรีตและเหล็กนั่นเอง) อย่างน้อยต้อง 1” ขึ้นไป เพราะจะทำให้ความชื้นไม่สามารถทำปัญหาแก่เหล็กโครงสร้างได้ อีกเรื่องที่เราดูได้ด้วยตัวเองคือ หลังจากแกะไม้แบบแล้วให้ตรวจดูว่ามีการแตกร้าวหรือเป็นโพรงของคอนกรีตหรือไม่ ถ้าแตกร้าวเป็นแนวกว้างหรือเป็นโพรงใหญ่มากจนเห็นเหล็กเสริม ควรแจ้งวิศวกรหรือช่างให้รีบแก้ไข

7. เสาและคานต้องได้แนว

         มองด้วยสายตาก่อนในขั้นแรกว่าคานต้องไม่บิดเบี้ยว เอียง เสาต้องไม่ล้มดิ่ง บิดเบี้ยว เพราะนั่นหมายถึงอันตรายที่อาจจะเกิดขึ้น ซึ่งค่าเบี่ยงเบนนั้นไม่ควรเกิน 1 เซนติเมตร ต่อช่วงความยาวเสา 3-4 เมตร ถ้ามากกว่านี้จะทำให้เสารับน้ำหนักได้น้อยกว่ากำหนด 

        หากท่านผู้อ่านมี “ลูกดิ่ง” ก็ใช้ลูกดิ่งผูกเชือกหรือเส้นเอ็น หาแนวดิ่งได้ไม่ยาก หากต้องการความแม่นยำมากๆ ก็ใช้ ลูกดิ่งขนาดใหญ่ขึ้น หนักขึ้น แต่ประเภทเอาน็อตเหล็กมาผูกเชือกทำทิ้งดิ่งนั้น ไม่ควรทำเท่าไรนักเพราะหาความแม่นยำได้ยาก

 

8. สายไฟต้องแยกสี

        สายไฟในบ้านมักเกิดปัญหาที่ต้องซ่อมแซม หากไม่แยกสีที่ต้นสายและปลายสายไว้แต่ต้น การแก้ปัญหาก็จะทำได้ยาก เพราะไม่รู้ว่าสายไหนเป็นสายไหนและต้องรื้อระบบใหม่ในการซ่อมแซม แต่ถ้าแยกสีไว้ก็แก้ไขโดยการเปิด function box (จุดต่อสาย) และหาสายไฟเส้นที่เกิดปัญหาเท่านั้น

        สายไฟฟ้า สีแดง หรือ สีดำ คือสายไฟที่มีกระแสไฟฟ้าเดินผ่าน หรือ “สายกำลังหรือเส้นไลน์ (line)” ส่วนสายไฟฟ้า สีขาว หรือ สีเทาอ่อน คือสายไฟที่ไม่มีการแสไฟฟ้า หรือ “สายศูนย์หรือสายนิวทรัล” ทำหน้าที่ให้กระแสไฟฟ้าไหลกลับ สำหรับสายดินนั้นมี สีเขียว หรือ สีเขียวสลับเหลือง เหล่านี้คือข้อมูลคร่าวๆที่มีไว้ตรวจงานเพื่อความเป็นระเบียบของงานระบบไฟฟ้าครับ

 

9. ท่อน้ำดี PVC ควรมีเกลียว และแยกสี

        แรงดันหรือ Pressure pipe ที่เกิดจากปั๊มน้ำ การที่ข้อต่อของท่อน้ำดีเป็นแบบเกลียว จะช่วยให้ข้อต่อมีความแข็งแรงกว่าแบบธรรมดา ที่เป็นเพียงการสวมเข้าไปและพันด้วยเทปพันเกลียว สำหรับสีของท่อก็ควรมีการแยกเพื่อความสะดวกในการซ่อมแซมเช่นกัน ท่อสีฟ้า เป็นท่อน้ำดี น้ำเสีย และท่ออากาศ สามารถทนแรงดันน้ำได้มากน้อยตามประเภทการใช้งาน (มีหลายเกรด) ท่อสีเทา เป็นท่อน้ำทิ้ง

  • เทคนิคสำหรับมนุษย์เงินเดือน อยากซื้อบ้านหลังแรก จะต้องเตรียมความพร้อมอย่างไรบ้าง
  • ลงทุนคอนโด อย่ามองข้าม 7 ข้อนี้!
  • 5 ทักษะของคนทำความสะอาดบ้านเป็นประจำที่มือสมัครเล่นก็เรียนรู้ได้
  • "เอสซีจี" 5 เทรนด์บ้าน ที่อยู่อาศัย และการก่อสร้าง มาแรงแห่งปี 2022
  • ซื้อบ้านหรือคอนโด ซื้อแบบไหนอย่าไรที่เหมาะสม ซื้อแล้วอันไหนจะดีกว่ากัน
  • วิธีล้างห้องน้ำฉบับเรงด่วนตามสูตรคุณแม่บ้านยุคใหม่ ภายใน 15 นาที
  • 10 ต้นไม้ช่วยดูดซับมลพิษ ปลูกในห้องนอนได้ !!
  • เปื้อนตอนไหนหยิบเช็ดตอนนั้น!! ผ้าเปียกทำความสะอาดบ้านแบบพร้อมใช้งานง่ายๆ
  • 4 ประโยชน์รอบบ้านของ "น้ำตาล" ที่น้อยคนนักจะรู้
  • ระเบียบข้อบังคับจราจร การจอดรถในพื้นที่สาธารณะ ส่วนกลางหมู่บ้าน
  • เลือกอิฐแบบไหน อิฐมอญ อิฐมวลเบา อิฐบล็อก เหมาะกับสร้างบ้าน ประหยัดงบมากที่สุด
  • เช็คสิทธิ ทะเบียนราษฎร "เจ้าของบ้าน" กับ "เจ้าบ้าน" ในทะเบียนบ้าน ใครสิทธิเหนือกว่า หน้าที่ต่างกันอย...
  • เคล็ดไม่ลับ 10 วิธีซักผ้าสีตก คราบสีฝังแน่นอย่าทิ้ง ทำให้เสื้อกลับมาใส่ได้อีกครั้งดีกว่า
  • ข้อควรรู้ ซื้อบ้าน และที่ดินในโครงการจัดสรร เรื่องใดที่ควรทำหลังโอนกรรมสิทธิ์ที่ดิน
  • แอร์ยี่ห้อไหนประหยัดไฟ 2567 ลดการใช้พลังงาน ช่วยประหยัดไฟได้ดี
  • 9 ข้อ ที่ห้ามผิดพลาด ในการสร้างบ้านใหม่ หรือการต่อเติมบ้านหลังเก่าของคุณ

    นอกจากทั้ง 9 ข้อนี้ อาจมีอีกหลายสิ่งที่สำคัญรองลงไป ทั้งนี้ทั้งนั้นเจ้าของบ้านก็ควรมีการศึกษาหาความรู้เกี่ยวกับการก่อสร้างเองด้วย ปัจจุบันก็มีการเผยแพร่มากมายทั้งหนังสือ และอินเตอร์เน็ท ใช้เวลาเล็กน้อยเพื่อเก็บข้อมูลเหล่านี้ บ้านของเราจะได้เป็นบ้านที่น่าอยู่และแข็งแรงไปนานๆ

    © สงวนลิขสิทธิ์ 2567 บริษัท ไทยโฮมทาวน์ จำกัด
    @thaihometown Scroll