สาระควรรู้ทั่วไป

จากข่าวในโลกสังคมโซเชียลที่หลายคนกังวลกับกระแสข่าวว่าจะมีการแก้กฎหมายให้ต่างชาติสามารถเข้ามาซื้ออสังหาริมทรัพย์ในไทยได้ และคนก็กังวลกันต่อไปว่าราคาอสังหาริมทรัพย์จะเพิ่มสูงขึ้นจนคนไทยเองซื้อที่อยู่อาศัยไม่ไหว

ประกาศอสังหาริมทรัพย์ใหม่ บ้าน บ้าน รายการล่าสุด บ้านเดี่ยว บ้านเดี่ยว รายการล่าสุด ทาวน์เฮ้าส์ ทาวน์เฮ้าส์ รายการล่าสุด ทาวน์โฮม ทาวน์โฮม รายการล่าสุด คอนโด คอนโด รายการล่าสุด อาคารพาณิชย์ อาคารพาณิชย์ รายการล่าสุด อพาร์ทเม้นท์ อพาร์ทเม้นท์ รายการล่าสุด สำนักงาน สำนักงาน รายการล่าสุด โฮมออฟฟิศ โฮมออฟฟิศ รายการล่าสุด ธุรกิจ ธุรกิจ รายการล่าสุด โรงงาน โรงงาน รายการล่าสุด คลังสินค้า คลังสินค้า รายการล่าสุด โกดัง โกดัง รายการล่าสุด ที่ดิน ที่ดิน รายการล่าสุด ลงประกาศฟรี ผู้รับเหมา รายการล่าสุด ผู้รับเหมา ลงประกาศฟรี ผู้รับเหมา ข่าวประชาสัมพันธ์ รายการล่าสุด ข่าวประชาสัมพันธ์ พรีวิวโครงการใหม่ รายการล่าสุด พรีวิวโครงการใหม่ ตกแต่งที่อยู่อาศัย รายการล่าสุด ตกแต่งที่อยู่อาศัย สาระควรรู้ ที่อยู่อาศัย รายการล่าสุด สาระควรรู้ ที่อยู่อาศัย ฮวงจุ้ย ที่อยู่อาศัย รายการล่าสุด ฮวงจุ้ย ที่อยู่อาศัย สินเชื่อ ที่อยู่อาศัย รายการล่าสุด สินเชื่อ ที่อยู่อาศัย SME รายการล่าสุด SME สถานที่ท่องเที่ยว รายการล่าสุด สถานที่ท่องเที่ยว

แก้กฎหมายต่างชาติถือครองที่ดิน ราคาที่อยู่อาศัยจะแพงขึ้นจริงหรือ?

     จากข่าวในโลกสังคมโซเชียลที่หลายคนกังวลกับกระแสข่าวว่าจะมีการแก้กฎหมายให้ต่างชาติสามารถเข้ามาซื้ออสังหาริมทรัพย์ในไทยได้ และคนก็กังวลกันต่อไปว่าราคาอสังหาริมทรัพย์จะเพิ่มสูงขึ้นจนคนไทยเองซื้อที่อยู่อาศัยไม่ไหว

 

     ก่อนอื่นเล่าที่มาก่อนว่าเรื่องนี้มีที่มาจากในช่วง 2 ปีที่ผ่านมา ประเทศไทยประสบกับปัญหาโควิดทำให้มีเม็ดเงินทั้งภาคลงทุนและท่องเที่ยวเข้ามาในประเทศเป็นจำนวนที่น้อยลงอย่างมาก ภาครัฐจึงคิดว่าอยากจะแก้ไขเรื่องนี้และมีแนวคิดอยากดึงดูดชาวต่างชาติที่มีศักยภาพสูงให้เข้ามาอยู่อาศัยในประเทศไทยและมาใช้จ่ายในประเทศให้เงินสะพัดเพิ่มมากขึ้น เจ้าของเรื่องนี้คือสํานักงานสภาพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติจึงได้เสนอมาตรการดึงดูดนักลงทุนให้ที่ประชุมคณะรัฐมนตรีในช่วงเดือนกันยายนให้พิจารณาเรื่องนี้ ซึ่งคณะรัฐมนตรีได้มีมติรับหลักการตามที่สำนักงานสภาพัฒน์เสนอ

     โดยหลักการนี้เปิดโอกาสให้ชาวต่างชาติสามารถเข้ามาใช้ชีวิตอยู่ในประเทศไทยด้วยวีซ่าที่เรียกว่าวีซ่าผู้พักอาศัยระยะยาว (Long Term Resident Visa) และกำหนดคุณสมบัติของชาวต่างชาติที่จะมีสิทธิ์ขอวีซ่าประเภทนี้ โดยหลักคือต้องเป็นผู้ที่มีรายได้สูงหรือผู้ที่มีความเชี่ยวชาญในสาขาต่างๆ ที่สามารถทำประโยชน์ให้ประเทศไทยได้ ไม่ว่าจะด้วยการนำเงินมาใช้จ่ายหรือในการนำความรู้ความเชี่ยวชาญพิเศษมาช่วยพัฒนาเศรษฐกิจประเทศ ซึ่งสอดคล้องกับแผนแม่บทภายใต้ยุทธศาสตร์ชาติในประเด็นอุตสาหกรรมและบริการแห่งอนาคตและโครงสร้างพื้นฐาน ระบบโลจิสติกส์ และดิจิทัล

 

ชาวต่างชาติที่ขอวีซ่านี้ได้มีแค่ 4 กลุ่มนี้คือ

กลุ่มประชากรโลกผู้มีความมั่งคั่งสูง (Wealthy Global Citizen)

  • ลงทุนขั้นต่ำ 500,000 ดอลลาร์สหรัฐ ในพัธบัตรรัฐบาลไทย หรืิอลงทุนโดยตรงจากต่างประเทศ (FDI) หรือลงทุนในอสังหาริมทรัพย์
  • เงินเดือนหรือเงินบำนาญขั้นต่ำปีละ 80,000 ดอลลาร์สหรัฐ ในช่วง 2 ปีที่ผ่านมา
  • มีทรัพย์สินขั้นต่ำ 1 ล้านดอลลาร์สหรัฐ

กลุ่มผู้เกษียณอายุจากต่างประเทศ (Wealthy Pensioner)

  • ลงทุนขั้นต่ำ 250,000 ดอลลาร์สหรัฐ ในพัธบัตรรัฐบาลไทย หรืิอลงทุนโดยตรงจากต่างประเทศ หรือลงทุนในอสังหาริมทรัพย์
  • มีเงินบำนาญขั้นต่ำปีละ 40,000 ดอลลาร์สหรัฐ หรือมีเงินบำนาญขั้นต่ำปีละ 80,000 ดอลลาร์สหรัฐ (กรณีไม่มีการลงทุน)

กลุ่มที่ต้องการทำงานจากประเทศไทย (Work-From-Thailand Professional)

  • มีรายได้ส่วนบุคคลปีละ 80,000 ดอลลาร์สหรัฐ ในช่วง 2 ปีที่ผ่านมา หรือปีละ 40,000 ดอลลาร์สหรัฐ หากสำเร็จการศึกษาระดับปริญญาโทขึ้นไป / ครอบครองทรัพย์สินทางปัญญา / ได้รับเงินทุน Series A1 และมีประสบการณ์การทำงาน 5 ปี 

กลุ่มผู้มีทักษะเชี่ยวชาญพิเศษ (High-Skilled Professional)

  • มีรายได้ส่วนบุคคลปีละ 80,000 ดอลลาร์สหรัฐ ในช่วง 2 ปีที่ผ่านมา หรือปีละ 40,000 ดอลลาร์สหรัฐ หากสำเร็จการศึกษาระดับปริญญาโทขึ้นไป และมีประสบการณ์การทำงานอย่างน้อย 5 ปีในอุตสาหกรรมเป้าหมาย

     ที่นี้มาถึงเรื่องที่คนส่วนใหญ่ให้ความเป็นห่วงและพูดถึงกันมากจนเกิดกระแส นั่นคือการมอบหมายให้หน่วยงานที่เกี่ยวข้องไปศึกษาแนวทางการแก้ไขกฎหมายที่เกี่ยวข้องกับการถือครองที่ดิน โดยกระแสความกังวลเห็นว่าตรงนี้อาจเป็นการเปิดทางไปสู่การแก้ไขกฎหมายเรื่องการถือครองที่ดินในไทยโดยชาวต่างชาติ

     นอกจากนี้ยังกังวลว่าเมื่อต่างชาติมีกำลังซื้อสูงจะทำให้ราคาอสังหาริมทรัพย์ในไทยมีราคาสูงขึ้นหรือไม่ ซึ่งตรงนี้รัฐคงจะมองว่าการศึกษาเรื่องการแก้ไขกฎหมายเป็นสิ่งที่เกี่ยวเนื่องกับการจะออกวีซ่าเพื่อดึงดูดชาวต่างชาติให้ขอวีซ่าประเภทนี้และเข้ามาพํานักอาศัยระยะยาวในประเทศมากขึ้น ดังนั้นสิ่งที่น่าสนใจและ ต้องรอดูในอนาคตคือท่าทีของภาครัฐเกี่ยวกับการแก้ไขกฎหมายว่าจะให้ผิดแผกไปจากเดิมหรือไม่ แต่ในปัจจุบันยังไม่มีการแก้ไขกฎหมายให้ต่างชาติสามารถถือครองที่ดินในไทยได้เพิ่มมากขึ้นแต่อย่างใด


ในปัจจุบันคนต่างด้าวสามารถรับโอนที่ดินได้ในกรณีต่างๆ ดังนี้

  1. เป็นการรับมรดกในฐานะที่ชาวต่างชาติเป็นทายาทโดยธรรม ตามประมวลกฎหมายที่ดิน โดยจะมีข้อกำหนด เช่น ถ้าใช้เพื่อที่อยู่อาศัยจะมีได้ครอบครัวละไม่เกิน 1 ไร่ ถ้าใช้เพื่อการพาณิชย์ต้องไม่เกิน 1 ไร่ ถ้าใช้เพื่อการอุตสาหกรรมต้องไม่เกิน 10 ไร่และถ้าใช้เพื่อการเกษตรกรรมจะต้องไม่เกิน 10 ไร่
     
  2. เป็นกรณีการรับโอนที่ดินผ่านกฎหมายประเภทต่างๆ ที่รัฐกำหนดไว้ให้เป็นพิเศษ เช่น กฎหมายเกี่ยวกับการส่งเสริมการลงทุนหรือกฎหมายเกี่ยวกับการประกอบอุตสาหกรรมในนิคมอุตสาหกรรมหรือกฎหมายการรับสัมปทานสำรวจหรือผลิตปิโตรเลียมจากรัฐมนตรี ซึ่งเป็นการรับโอนที่ดินตามกฎหมายที่บัญญัติไว้เป็นพิเศษ

 

     อีกกรณีหนึ่งที่พบบ่อยคือ คนต่างด้าวที่แต่งงานกับคนไทย กรณีนี้กรมที่ดินจะจดทะเบียนการได้มาซึ่งที่ดินให้ถ้าสอบสวนแล้วคนไทยและคู่สมรสต่างด้าวยืนยันเป็นหนังสือว่าเงินที่นำมาซื้ออสังหาริมทรัพย์นั้นเป็นเงินสินส่วนตัวและไม่ใช่ทรัพย์สินที่มาจากการทำมาหาได้ร่วมกัน โดยต้องบอกชัดว่ามาจากเงินของคนไทยทั้งหมด ตรงนี้ก็เพื่อยืนยันว่าอสังหาริมทรัพย์ที่ได้มาเป็นทรัพย์สินของคู่ฝั่งคนไทยจริงๆ คนต่างด้าวไม่ได้มีส่วนเป็นเจ้าของร่วมด้วย


     นอกจากที่ดินยังมีอสังหาริมทรัพย์อีกประเภทหนึ่งที่น่าสนใจคือ คอนโดมิเนียม (อาคารชุด) อันนี้ต่างชาติซื้อได้ ถือครองได้ แต่มีเงื่อนไขตามกฎหมายคือคนต่างด้าวหรือนิติบุคคลที่เป็นคนต่างด้าวถือครองกรรมสิทธิ์ห้องชุดได้แต่ต้องเป็นอัตราส่วนที่ไม่เกิน 49% ของเนื้อที่ห้องชุดทั้งหมดในอาคารชุดแต่ละแห่ง ตามพระราชบัญญัติอาคารชุด (ซึ่งไม่ได้เป็นกฎหมายใหม่) อย่างไรก็ตาม มีหลักเกณฑ์ของ

 

คนต่างด้าวอยู่ว่าคนต่างด้าวที่จะมาถือกรรมสิทธิ์ในห้องชุดได้จะต้องมีหลักเกณฑ์ เช่น

  • เป็นคนต่างด้าวที่ได้รับอนุญาตให้อยู่ในเมืองไทยได้ตามกฎหมายคนเข้าเมือง
  • เป็นคนต่างด้าวที่ได้รับอนุญาตให้เข้าเมืองไทยตามกฎหมายส่งเสริมการลงทุน
  • นิติบุคคลตามประมวลกฎหมายที่ดินมาตรา 97 คือเป็นนิติบุคคลที่มีผู้ถือหุ้นเป็นต่างด้าวเกินกึ่งหนึ่งแต่ได้จดทะเบียนเป็นบริษัท ซึ่งสามารถถือครองอสังหาริมทรัพย์ประเภทอาคารชุดได้ตามประมวลกฎหมายที่ดิน
  • นิติบุคคลต่างด้าวที่ได้รับอนุญาตให้ประกอบธุรกิจตาม พ.ร.บ. ส่งเสริมการประกอบธุรกิจของคนต่างด้าวและต้องได้รับบัตรส่งเสริมการลงทุนตามกฎหมายว่าด้วยการส่งเสริมการลงทุน
  • คนต่างด้าวที่ซื้อห้องชุดด้วยเงินสกุลต่างประเทศและโอนเงินเข้ามาในประเทศไทยตรงให้กับผู้ขายอสังหาริมทรัพย์ในไทย โดยกรณีนี้จะต้องมีหลักฐานการโอนเงินจากต่างประเทศทุกงวดมาแสดงให้ที่ดินเป็นหลักฐานว่าเป็นเงินโอนมาจากต่างประเทศจริง เป็นต้น ตัวอย่างที่กล่าวมานั้นก็เป็นกฎหมายที่มีอยู่มาสักพักแล้วไม่ได้เป็นกฎหมายใหม่

     ที่นี่อยากเล่าต่อถึงแนวทางในต่างประเทศที่ค่อนข้างน่าสนใจ ว่าประเทศอื่นๆ เขาเปิดใจเรื่องการถือครองอสังหาริมทรัพย์เพื่อการอยู่อาศัยของชาวต่างชาติไว้อย่างไรบ้าง ยกตัวอย่างประเทศที่เปิดให้ต่างชาติซื้ออสังหาริมทรัพย์เพื่อการอยู่อาศัยได้อย่างค่อนข้างเสรีเด่นชัดเลยคือ สหรัฐอเมริกา อังกฤษ ญี่ปุ่น
 

  • สหรัฐอเมริกา เป็นประเทศที่ยินยอมให้ต่างชาติเข้าไปซื้อที่อยู่อาศัยได้ แต่ต้องเสียภาษีที่ดินและสิ่งปลูกสร้างในอัตราที่ค่อนข้างสูงมาก และยังมีค่าส่วนกลาง ค่าบริหารทรัพย์สินรวมทั้งภาษีมรดกในอัตราที่สูงลิบลิ่ว
     
  • อังกฤษเป็นประเทศที่เปิดใจให้คนต่างชาติไปซื้อที่อยู่อาศัยได้โดยไม่มีข้อจำกัดเรื่องการถือครอง จะถือกี่หน่วยกี่หลังก็ได้ แต่มีค่าบำรุงรักษาที่อยู่อาศัย ค่าโอน ภาษีต่างๆ เช่น Stamp Duty Land Tax ภาษีเงินได้ (กรณีมีรายได้จากอสังหาริมทรัพย์ที่ถือครอง) ภาษีจากผลกำไรจากส่วนต่างของราคาทรัพย์สิน (Capital Gains Tax) (หากขายทรัพย์สินและมีกำไร) ภาษีมรดก และ Council Tax เป็นต้น ซึ่งทุกค่าใช้จ่ายและภาษีที่กล่าวมามีอัตราการเก็บที่ค่อนข้างสูงมาก
     
  • ญี่ปุ่นเป็นประเทศที่มาแรงมากในช่วงหลังที่นักลงทุนต่างชาติให้ความสนใจไปลงทุนในอสังหาริมทรัพย์ เพราะไร้ข้อจำกัดอย่างสิ้นเชิง วิธีการซื้อค่อนข้างง่าย แต่รัฐเก็บค่าใช้จ่ายต่างๆ เช่น ภาษีทรัพย์สินถาวร ภาษีการวางแผนเมือง ภาษีอสังหาริมทรัพย์ ค่าธรรมเนียมการจัดการ ค่าบำรุงรักษา เบี้ยประกันภัย เป็นต้น

 

แก้กฎหมายต่างชาติถือครองที่ดิน ราคาที่อยู่อาศัยจะแพงขึ้นจริงหรือ?

     สำหรับประเทศที่มีข้อจำกัดในการถือครองอสังหาริมทรัพย์ เช่น จีน นิวซีแลนด์ ออสเตรเลีย สิงคโปร์ มาเลเซีย เป็นต้น โดยข้อจำกัดส่วนใหญ่จะมีแนวทางคล้ายๆ กัน ยกตัวอย่าง การกำหนดหน่วยของการถือครอง กำหนดอัตราขั้นต่ำของราคาและพื้นที่อสังหาริมทรัพย์ที่ซื้อได้ กำหนดเวลาที่ขายทรัพย์สินต่อได้ และที่สำคัญที่คล้ายกันเกือบทุกประเทศคือการกำหนดอัตราภาษีทรัพย์สิน ค่าดูแลรักษาทรัพย์สิน รวมถึงภาษีมรดก ในอัตราที่สูงมาก

 

     สรุปได้ตอนนี้ ณ วันที่เขียนบทความ (20 ตุลาคม) จากมติคณะรัฐมนตรีที่ออกมาเมื่อช่วงเดือนกันยายนยังไม่ได้มีกฎหมายอะไรใหม่ออกมาแต่เป็นเพียงการรับหลักการเกี่ยวกับการออกวีซ่าผู้พำนักระยะยาวประเภทใหม่ ซึ่งในการออกวีซ่าประเภทนี้อาจจะมีการแก้ไขกฎหมายเพื่อมารองรับสิทธิประโยชน์ของวีซ่า เพื่อให้ชาวต่างชาติที่อยากจะขอวีซ่าตัวนี้รู้สึกว่ามีสิทธิประโยชน์ที่ทำให้เขาอยากจะมาลงทุนและมาอยู่อาศัยในประเทศไทยมากขึ้น

     นอกจากนี้เมื่อวันที่ 19 ตุลาคม 2564 คณะรัฐมนตรีได้มีมติเกี่ยวเนื่องกับเรื่องนี้เพิ่มเติมคือ การอนุญาตให้คนต่างด้าวได้รับ บัตรสมาชิกพิเศษ (Thailand Privilege Card) อยู่ในไทยเพื่อการทํางาน โดยมีหลักเกณฑ์กําหนดคุณสมบัติของผู้มีสิทธิ์เข้าร่วมโครงการ Flexible Plus Program ว่าคนต่างด้าวต้องนําเงินเข้ามาลงทุนในประเทศไทย โดยมีมูลค่าการลงทุนรวมกันไม่ต่ำกว่า 1 ล้านดอลลาร์สหรัฐ ซึ่งการลงทุนประกอบไปด้วย 3 ประเภท ได้แก่
 

  1. ลงทุนด้านอสังหาริมทรัพย์ตามสิทธิของชาวต่างชาติที่พึงได้รับ 
     
  2. ลงทุนในบริษัทจํากัดหรือบริษัทมหาชนจํากัด 
     
  3. ลงทุนในตลาดหลักทรัพย์ เช่น หุ้นสามัญ หุ้นกู้ หรือหน่วยลงทุน ที่ได้รับอนุมัติจากคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์


     ตรงนี้เราคงจะต้องติดตามกันต่อไปว่าภาครัฐจะสื่อสารอะไรออกมาเพิ่มเติมหรือหน่วยงานที่เกี่ยวข้องกับการออกกฎหมายจะมีมาตรการเพิ่มเติมอย่างไรออกมาเพื่อดึงดูดให้ต่างชาติมาลงทุนหรือพำนักระยะยาวตามสิทธิประโยชน์ที่ออกมาใหม่นี้หรือไม่ โดยบรรดาผู้เชี่ยวชาญด้านอสังหาริมทรัพย์ของไทยหลายสำนักได้ให้ความเห็นออกมาในทิศทางคล้ายกันว่ามาตรการต่างๆ ควรทำโดยมีข้อจำกัดและมีรายละเอียดชัดเจนว่าต่างชาติถือครองอะไรได้บ้าง ราคาเท่าไร พื้นที่ส่วนไหนของประเทศ และที่สำคัญควรพิจารณาการจัดเก็บภาษีต่างๆ ให้สอดคล้องกับอารยประเทศด้วย


ขอบคุณข้อมูลจาก คุณกมลชนก รามโกมุท ผู้อำนวยการ Estate Planning and Family Office SCB
  • ธอส. แจกแบบบ้าน Download ฟรี! ผ่านโครงการ "บ้านรักษ์โลก" เพื่อให้ประชาชนนำไปใช้ในการยื่นขอกู้เพื่อปลูกสร้าง
  • ฝนตกหนัก น้ำท่วมถนน ขับรถลุยน้ำท่วมอย่างไรให้ปลอดภัย
  • เตรียมตัวให้ดีก่อนซื้อบ้านมือสอง ลดปัญหาก่อนจ่ายตังค์กันดีกว่า
  • เผยวิธี ผ่อนบ้านหมดแล้ว ต้องทำอย่างไร
  • อยากสั่งของจากเว็บ Taobao แต่ไม่รู้ภาษาจีนจะสั่งได้ไหม?
  • 20 คำถามต้องรู้ไว้ หากต้องรับมือ " ภาษีที่ดินและสิ่งปลูกสร้าง "
  • วิธีเช็กเบื้องต้น ปัญหาแอร์ไม่เย็น มีแต่ลม
  • รั้วบ้านของเรา หรือ รั้วบ้านของใคร กับเรื่องรั้วบ้านที่เราควรรู้
  • เลือกฉนวนกันความร้อนอย่างไร? ให้เหมาะกับการใช้งานในบ้าน
  • เคล็ดไม่ลับ 10 วิธีซักผ้าสีตก คราบสีฝังแน่นอย่าทิ้ง ทำให้เสื้อกลับมาใส่ได้อีกครั้งดีกว่า
  • ข้อควรรู้ ซื้อบ้าน และที่ดินในโครงการจัดสรร เรื่องใดที่ควรทำหลังโอนกรรมสิทธิ์ที่ดิน
  • แอร์ยี่ห้อไหนประหยัดไฟ 2567 ลดการใช้พลังงาน ช่วยประหยัดไฟได้ดี
  • วิธีเลือกเครื่องกรองน้ำ ใช้เครื่องกรองระบบไหนดี ตรวจสอบไส้กรองหลังการใช้งานอย่างไร
  • "แอร์โซล่าเซลล์ ระบบไฮบริด" พลังงาน 2 ระบบ ช่วยประหยัดไฟฟ้าจากพลังแสงอาทิตย์ มีดีอย่างไร
  • 12 เครื่องฟอกอากาศ กรอง PM 2.5 ขจัดกลิ่นไม่พึงประสงค์ ลดการสะสมของแบคทีเรีย เพิ่มอากาศบริสุทธิ์
  • แก้กฎหมายต่างชาติถือครองที่ดิน ราคาที่อยู่อาศัยจะแพงขึ้นจริงหรือ?

    จากข่าวในโลกสังคมโซเชียลที่หลายคนกังวลกับกระแสข่าวว่าจะมีการแก้กฎหมายให้ต่างชาติสามารถเข้ามาซื้ออสังหาริมทรัพย์ในไทยได้ และคนก็กังวลกันต่อไปว่าราคาอสังหาริมทรัพย์จะเพิ่มสูงขึ้นจนคนไทยเองซื้อที่อยู่อาศัยไม่ไหว

    © สงวนลิขสิทธิ์ 2567 บริษัท ไทยโฮมทาวน์ จำกัด
    @thaihometown Scroll