สาระควรรู้ทั่วไป

ด้วยสภาพอากาศที่ร้อนอบอ้าวมากขึ้น ทำให้เทรนด์การออกแบบบ้านสมัยใหม่ ให้ความสำคัญกับ "สภาวะอยู่สบาย" บ้านที่ดีเมื่อเดินเข้าบ้านไปแล้ว อุณหภูมิภายในบ้านควรเย็นกว่าอุณหภูมิภายนอกประมาณ 10 องศาขึ้นไป ซึ่งนอกจากจะช่วยให้ผู้อยู่อาศัยสัมผัสได้ถึงความสบายเนื้อ สบายตัวแล้ว ยังช่วยลดการใช้พลังงานไฟฟ้าได้ดีอีกด้วย ขอนำเสนอ 5 แนวทางพื้นฐานในการออกแบบ ที่จะช่วยให้บ้านของเราเกิดสภาวะอยู่สบาย โดยเน้นการออกแบบเพื่อให้สอดรับกับหลักธรรมชาติ นำข้อดีต่าง ๆ ที่ธรรมชาติสรรสร้างมาให้เกิดประโยชน์สูงสุด

ประกาศอสังหาริมทรัพย์ใหม่ บ้าน บ้าน รายการล่าสุด บ้านเดี่ยว บ้านเดี่ยว รายการล่าสุด ทาวน์เฮ้าส์ ทาวน์เฮ้าส์ รายการล่าสุด ทาวน์โฮม ทาวน์โฮม รายการล่าสุด คอนโด คอนโด รายการล่าสุด อาคารพาณิชย์ อาคารพาณิชย์ รายการล่าสุด อพาร์ทเม้นท์ อพาร์ทเม้นท์ รายการล่าสุด สำนักงาน สำนักงาน รายการล่าสุด โฮมออฟฟิศ โฮมออฟฟิศ รายการล่าสุด ธุรกิจ ธุรกิจ รายการล่าสุด โรงงาน โรงงาน รายการล่าสุด คลังสินค้า คลังสินค้า รายการล่าสุด โกดัง โกดัง รายการล่าสุด ที่ดิน ที่ดิน รายการล่าสุด ลงประกาศฟรี ผู้รับเหมา รายการล่าสุด ผู้รับเหมา ลงประกาศฟรี ผู้รับเหมา ข่าวประชาสัมพันธ์ รายการล่าสุด ข่าวประชาสัมพันธ์ พรีวิวโครงการใหม่ รายการล่าสุด พรีวิวโครงการใหม่ ตกแต่งที่อยู่อาศัย รายการล่าสุด ตกแต่งที่อยู่อาศัย สาระควรรู้ ที่อยู่อาศัย รายการล่าสุด สาระควรรู้ ที่อยู่อาศัย ฮวงจุ้ย ที่อยู่อาศัย รายการล่าสุด ฮวงจุ้ย ที่อยู่อาศัย สินเชื่อ ที่อยู่อาศัย รายการล่าสุด สินเชื่อ ที่อยู่อาศัย SME รายการล่าสุด SME สถานที่ท่องเที่ยว รายการล่าสุด สถานที่ท่องเที่ยว

5 วิธีออกแบบบ้านเย็น สุขสบายได้ทุกฤดูกาล

     ด้วยสภาพอากาศที่ร้อนอบอ้าวมากขึ้น ทำให้เทรนด์การออกแบบบ้านสมัยใหม่ ให้ความสำคัญกับ “สภาวะอยู่สบาย” บ้านที่ดีเมื่อเดินเข้าบ้านไปแล้ว อุณหภูมิภายในบ้านควรเย็นกว่าอุณหภูมิภายนอกประมาณ 10 องศาขึ้นไป ซึ่งนอกจากจะช่วยให้ผู้อยู่อาศัยสัมผัสได้ถึงความสบายเนื้อ สบายตัวแล้ว ยังช่วยลดการใช้พลังงานไฟฟ้าได้ดีอีกด้วย

     ขอนำเสนอ 5 แนวทางพื้นฐานในการออกแบบ ที่จะช่วยให้บ้านของเราเกิดสภาวะอยู่สบาย โดยเน้นการออกแบบเพื่อให้สอดรับกับหลักธรรมชาติ นำข้อดีต่าง ๆ ที่ธรรมชาติสรรสร้างมาให้เกิดประโยชน์สูงสุด

 

1. บ้านเย็น ด้วยการวางผังบ้าน ให้เหมาะกับแดด

     การวางผังห้องต่าง ๆ ภายในบ้านให้สอดรับกับธรรมชาติ นับเป็นจุดเริ่มต้นที่ต้องวางแผนในงานออกแบบ เพราะการใช้งานแต่ละห้องมีความแตกต่างกัน บางห้องต้องการแสงแดดเพื่อลดความอับชื้น ในขณะเดียวกันบางห้องต้องการความร่มรื่นตลอดทั้งวัน โดยปกติแล้วในช่วงฤดูร้อนและฤดูฝนซึ่งมีระยะเวลายาวนานถึง 9 เดือน แสงอาทิตย์เริ่มต้นขึ้นทางทิศตะวันออก จากนั้นอ้อมไปทางทิศใต้และตกในทิศตะวันตก ด้านที่ได้รับแสงแดดร้อนจึงเป็นทิศใต้และทิศตะวันตก ส่วนทิศเหนือเฉลี่ยทั้งปีจะเป็นทิศที่ได้รับแสงอาทิตย์น้อยที่สุด

     เพราะฉะนั้น หากต้องการออก แบบบ้านเย็นสบาย ห้องที่ใช้สำหรับพักผ่อน เช่น ห้องนั่งเล่น, ห้องนอน ควรจัดวางในทางทิศตะวันออกหรือทิศเหนือ ส่วนห้องที่มีความอับชื้นสูง เช่น ห้องน้ำ, ห้องครัว, ห้องเก็บของ ควรจัดวางไว้ในทางทิศตะวันตกหรือทิศใต้ เพื่อให้ห้องดังกล่าวได้รับแสงแดดช่วยป้องกันความอับชื้นและในขณะเดียวกัน ช่วยบดบังแสงแดดให้กับห้องอื่น ๆ อย่างไรก็ตามทิศที่มีแสงแดดแรง เป็นทิศที่มีข้อดีเรื่องลมเช่นกัน อย่างทิศใต้จะได้สัมผัสลมฤดูกาล หากออกแบบบ้านทิศนี้ให้บังแดดแต่รับลม นับเป็นการออกแบบที่ดึงธรรมชาติมาช่วยลดร้อนให้บ้าน

 

2. มีช่องระบายอากาศ ช่วยให้ “บ้านเย็น”

     การบดบังแสงแดดด้วยการจัดผังห้องให้เหมาะสมกับทิศเพียงอย่างเดียว ยังไม่เพียงพอต่อหลักการบ้านเย็น เพราะส่วนที่ได้รับแสงแดดมากที่สุดไม่ใช่ผนังบ้าน แต่เป็นหลังคาบ้าน การออกแบบบ้านให้มีช่องระบายอากาศจึงเป็นส่วนสำคัญที่จะช่วยให้อากาศภายในบ้านหมุนเวียนอยู่เสมอ บ้านที่ดีจึงควรมีช่องระบายอากาศ ทั้งช่องลมเข้าและช่องลมออก ซึ่งหากพิจารณาจากหลักธรรมชาติแล้ว ลมธรรมชาติจะมาทางทิศใต้และทิศตะวันตกเฉียงใต้ประมาณ 9 เดือน ส่วนทิศเหนือและทิศตะวันออกเฉียงเหนือ ประมาณ 3 เดือน เพราะฉะนั้นในทิศดังกล่าว ควรมีช่องหน้าต่างหรือช่องลมระบายอากาศเพื่อให้ลมสามารถพัดผ่านเข้ามาภายในบ้านได้

     สำหรับทิศใต้และตะวันตกเฉียงใต้ แม้จะได้รับลมดีเกือบทั้งปี แต่ทิศนี้นับเป็นทิศที่มีแสงแดดร้อนจัดเช่นเดียวกัน ทิศดังกล่าวจึงควรออกแบบลักษณะปิดแต่โปร่ง บดบังความร้อนจากแสงแดดได้แต่ในขณะเดียวกันต้องได้รับลมที่ดีด้วย ผู้ออกแบบจึงนิยมใช้บล็อคช่องลม, ระแนง หรือวัสดุใด ๆ ที่มีความโปร่ง มาช่วยออกแบบในทิศนี้ ส่วนทิศเหนือได้รับแสงน้อยส่งผลให้ห้องมืด การออกแบบจึงเน้นใช้วัสดุกระจก เพื่อให้แสงธรรมชาติมีอย่างเพียงพอ

3. เลือกใช้หลังคาทรงสูง ช่วยให้บ้านเย็น

     จากหัวข้อที่ผ่านมาได้เกริ่นไว้ว่า หลังคาเป็นส่วนที่ได้รับความร้อนจากแสงอาทิตย์มากที่สุด หลังคาบ้านที่ดีจึงควรมีรูปทรงที่สอดรับกับธรรมชาติ โดยหลักการแล้วมวลอากาศร้อนจะลอยตัวขึ้นสู่ที่สูงเสมอ เพราะฉะนั้นหลังคาบ้านจึงควรมีรูปทรงสูงโปร่ง มีโถงหลังคาเพื่อเปิดพื้นที่ให้มวลอากาศลอยตัวขึ้นไปได้ พร้อมกับออกแบบให้โถงหลังคามีช่องระบายอากาศ มวลอากาศร้อนที่สะสมภายในบ้านจะค่อย ๆ ถ่ายเทออกและหมุนเวียนอากาศใหม่เข้ามาอยู่เสมอ

     นอกจากโถงหลังคาแล้ว องศาความชันของหลังคาก็มีส่วนในการรับความร้อน สำหรับบ้านหลังคาแบน หลังคาจะสัมผัสกับแสงอาทิตย์โดยตรงทั้งผืน ส่วนหลังคาที่มีองศาความชันสูง เช่น หลังคาจั่ว, หลังคามะนิลา และหลังคาปั้นหยา จะสัมผัสกับแสงอาทิตย์ได้น้อยกว่า อีกทั้งเมื่อแสงอาทิตย์เปลี่ยนไปอีกด้าน ส่งผลให้ด้านตรงกันข้ามเกิดเงาช่วยบดบังให้กันและกัน ส่วนหลังคาแบนจะไม่มีส่วนใดบดบังให้

     นอกจากนี้..หลังคาที่มีองศาความชันสูง ยังส่งผลดีต่อการระบายน้ำเมื่อฝนตก ยิ่งชันมากน้ำจะยิ่งระบายได้เร็วมากขึ้น ลดโอกาสปัญหารั่วซึมได้ดีอีกด้วย

 

4. วัสดุช่วยกันความร้อน บ้านเย็นยิ่งกว่าเดิม

     ทั้ง 3 ข้อที่ผ่านมา เป็นแนวทางการออก แบบบ้านเย็น เพื่อให้สอดรับกับหลักธรรมชาติ ทิศทางลม แสงแดด และหลักการถ่ายเทมวลอากาศร้อนออกสู่ตัวบ้าน ส่วนหัวข้อนี้เป็นส่วนประกอบเสริมที่ช่วยปกป้องบ้านจากความร้อนได้ดียิ่งขึ้น โดยการเลือกวัสดุก่อสร้างที่มีคุณสมบัติเป็นฉนวนกันร้อน, ไม่นำและไม่อมความร้อน

 

     พื้นสวนรอบบ้าน : ควรเลี่ยงการเทพื้นซีเมนต์รอบ ๆ บริเวณบ้าน เพราะพื้นซีเมนต์มีคุณสมบัติอมความร้อน ส่งผลให้ช่วงเย็นและค่ำคืน ความร้อนที่สะสมมาตลอดทั้งวันคายตัวออก ผู้อยู่อาศัยจึงรู้สึกร้อนอบอ้าว แนะนำให้เลือกวัสดุที่มีช่องระบายอากาศ เช่น พื้นตัวหนอน, พื้นอิฐ, พื้นช่องลม, พื้นหิน, ระเบียงไม้, พื้นสนามหญ้า หรือวัสดุใด ๆ ที่สามารถ่ายเทอากาศได้สะดวก

 

     ผนังบ้าน : วัสดุผนังเย็นที่มีในประเทศไทย ผนังบ้านโฟมจะให้ความเย็นสบายสูงสุดแต่ยังได้รับความนิยมน้อยเนื่องด้วยราคาและมีช่างที่สามารถสร้างบ้านโฟมได้ไม่มากนัก รองลงมาและกำลังเป็นที่นิยมสูง คือการเลือกก่อผนังด้วยอิฐมวลเบา ซึ่งมีคุณสมบัติกันร้อนได้ดีกว่าอิฐมอญแดง แต่หากผู้อ่านต้องการใช้อิฐมอญแดง แนะนำให้เลือกก่อผนัง 2 ชั้นในด้านทิศตะวันตกและทิศใต้ การก่อผนัง 2 ชั้นจะช่วยปกป้องผนังด้านใน ไม่ให้สัมผัสกับความร้อนโดยตรง นอกจากนี้ยังสามารถใช้วัสดุประเภทระแนง, บล็อคช่องลม และฟาซาด เพื่อช่วยกรองแสงแดดให้มีความร้อนลดน้อยลง ในขณะเดียวกันบ้านยังรับลมธรรมชาติได้อีกด้วย

     สำหรับผนังกระจกควรเลือกใช้เฉพาะทิศเหนือและทิศตะวันออกเท่านั้น ส่วนทิศใต้และทิศตะวันตกควรเลี่ยงที่จะใช้กระจก เพราะกระจกนำความร้อนได้ดีมาก หากจำเป็นต้องใช้ควรเลือกกระจกที่มีคุณบัติกันความร้อนอย่างกระจก Low-E

     สีทาบ้าน : สีสำหรับทาภายนอก ควรเลือกทาสีที่มีความอ่อนจะช่วยสะท้อนความร้อนได้ดีกว่าสีโทนเข้ม อย่างไรก็ตามการเลือกสีเจ้าของบ้านนิยมเลือกตามความชอบ หากต้องการเลือกทาสีโทนเข้ม ให้เลือกสีชนิดพิเศษที่มีคุณสมบัติสะท้อนความร้อนโดยเฉพาะ

 

     หลังคาบ้าน : นอกจากการเลือกหลังคาทรงสูงโปร่งแล้ว การเพิ่มฉนวนกันความร้อนใต้โถงหลังคา ยังช่วยเพิ่มประสิทธิภาพให้บ้านเย็นขึ้นได้มาก สามารถติดตั้งได้ 2 ลักษณะ ติดตั้งฉนวนกันร้อนบนฝ้าเพดาน โดยให้เลือกความหนาที่ 6 นิ้ว วิธีนี้จะสามารถทำภายหลังได้แม้บ้านจะสร้างเสร็จแล้ว และติดตั้งแผ่นสะท้อนความร้อนใต้แผ่นกระเบื้องหลังคา โดยจะเหมาะกับการทำตั้งแต่กระบวนการก่อสร้าง หากเป็นบ้านสร้างใหม่จึงสามารถทำได้ทั้ง 2 วิธี

 

5. ปลูกไม้ยืนต้นให้ถูกทิศทาง บ้านเย็นเป็นธรรมชาติ

     หากต้องการให้ บ้านเย็น อีกสิ่งสำคัญที่ขาดไม่ได้เลย คือ ต้นไม้ โดยเฉพาะบ้านที่ไม่เอื้อต่อการวางผังในทิศทางที่เหมาะสมกับธรรมชาติ หรือต้องการให้บ้านมีความโปร่งสบาย เช่น ต้องการรับลมธรรมชาติในทางทิศใต้ หากออกแบบผนังบ้านในลักษณะปิด ลมจะไม่สามารถพัดผ่านเข้ามาได้ การออกแบบเปิดโปร่งจึงช่วยให้ลมพัดเข้ามาได้อย่างสะดวก แต่ในขณะเดียวกันทิศใต้มีแสงแดดร้อนกว่าทิศอื่น ๆ การปลูกไม้ยืนต้นจึงเป็นทางเลือกที่ลงตัวและช่วยให้บ้านเย็นขึ้นได้มาก นอกจากจะช่วยบดบังแสงแดดได้ดีแล้ว ลมที่พัดผ่านเข้ามาจะกระทบกับพุ่มไม้ก่อนเข้าสู่ตัวบ้าน ส่งผลให้ลมร้อนถูกเปลี่ยนสถานะกลายเป็นลมเย็น พร้อมกันนี้ต้นไม้ยังช่วยกรองฝุ่นละออง บ้านจึงเย็นสบายและมีอากาศที่สดชื่นเกือบตลอดทั้งปี

 

     แนวทางการออกแบบทั้ง 5 ข้อนี้ เป็นแนวทางพื้นฐานที่เหมาะสำหรับการสร้างบ้านในประเทศไทย เพื่อให้บ้านเย็นสบาย แต่หากเป็นบ้านเรือนในประเทศอื่น ๆ ที่มีอากาศหนาว การออกแบบจะตรงกันข้ามกัน ผู้อ่านท่านใดที่ชอบชมผลงานการออกแบบบ้านจากสถาปนิกต่างประเทศ จำเป็นอย่างยิ่งที่จะต้องนำไอเดียเหล่านั้นมาประยุกต์ใช้งาน เพื่อให้เกิดความเหมาะสมลงตัวกับสภาพภูมิอากาศในไทยครับ สำหรับผู้อ่านท่านใดที่ต้องการข้อมูลเพิ่มเติมเกี่ยวกับการออกแบบบ้านเย็น สามารถคอมเม้นต์สอบถามมาทางเพจบ้านไอเดียได้ครับ หรือสถาปนิก นักออกแบบท่านใดต้องการแบ่งปันความรู้ในงานออกแบบเพื่อบ้านเย็น ร่วมเสนอความคิดเห็นที่เป็นประโยชน์ใต้เนื้อหาชุดนี้ได้เลย

  • 7 วิธีลวงตา ทำให้ "เพดาน" ดูสูงได้ง่ายๆ
  • จัดไปรุ่นใหญ่ไฟกระพริบ !!! กับ 10 ของขวัญบอกรักแม่ แม้ไม่ใช่รังนก
  • ฝากขายบ้าน ขายคอนโด หรือหาที่อยู่ที่ถูกใจ เข้าเว็ปไซน์ไทยโฮมทาวน์ ง่ายสะดวก ครบ จบในที่เดียว
  • เตรียมบ้านให้พร้อม สำหรับรับมือหน้าร้อนช่วงเดือนเมษา มีวิธีอะไรบ้างไปดูกัน
  • 9 วิธีกำจัดเจ้าตัวเรือดง่ายๆ แก้ปัญหารอยแดงคันยุบยิบเวลานอน
  • วิธีปลูกผักสดๆ เป็นผักสวนครัวในกระถาง สำหรับปลูกไว้กินเองที่บ้าน
  • หลังคารั่วปัญหาที่แก้ไม่หาย ซ่อมแล้วซ่อมอีกก็ยังรั่วเหมือนเดิม ใครมีปัญหาที่ว่าดูทางนี้ได้
  • คุณสมบัติพิเศษของยางสีฟัน ทำความสะอาดในบ้านได้อย่างง่ายดาย
  • รู้ไว้ก็ดี มีบ้านตัวเอง แต่ไม่มีชื่อในทะเบียนบ้าน ต้องเสียภาษีอะไรบ้าง ?
  • ระเบียบข้อบังคับจราจร การจอดรถในพื้นที่สาธารณะ ส่วนกลางหมู่บ้าน
  • เลือกอิฐแบบไหน อิฐมอญ อิฐมวลเบา อิฐบล็อก เหมาะกับสร้างบ้าน ประหยัดงบมากที่สุด
  • เช็คสิทธิ ทะเบียนราษฎร "เจ้าของบ้าน" กับ "เจ้าบ้าน" ในทะเบียนบ้าน ใครสิทธิเหนือกว่า หน้าที่ต่างกันอย...
  • เคล็ดไม่ลับ 10 วิธีซักผ้าสีตก คราบสีฝังแน่นอย่าทิ้ง ทำให้เสื้อกลับมาใส่ได้อีกครั้งดีกว่า
  • ข้อควรรู้ ซื้อบ้าน และที่ดินในโครงการจัดสรร เรื่องใดที่ควรทำหลังโอนกรรมสิทธิ์ที่ดิน
  • แอร์ยี่ห้อไหนประหยัดไฟ 2567 ลดการใช้พลังงาน ช่วยประหยัดไฟได้ดี
  • 5 วิธีออกแบบบ้านเย็น สุขสบายได้ทุกฤดูกาล

    ด้วยสภาพอากาศที่ร้อนอบอ้าวมากขึ้น ทำให้เทรนด์การออกแบบบ้านสมัยใหม่ ให้ความสำคัญกับ "สภาวะอยู่สบาย" บ้านที่ดีเมื่อเดินเข้าบ้านไปแล้ว อุณหภูมิภายในบ้านควรเย็นกว่าอุณหภูมิภายนอกประมาณ 10 องศาขึ้นไป ซึ่งนอกจากจะช่วยให้ผู้อยู่อาศัยสัมผัสได้ถึงความสบายเนื้อ สบายตัวแล้ว ยังช่วยลดการใช้พลังงานไฟฟ้าได้ดีอีกด้วย ขอนำเสนอ 5 แนวทางพื้นฐานในการออกแบบ ที่จะช่วยให้บ้านของเราเกิดสภาวะอยู่สบาย โดยเน้นการออกแบบเพื่อให้สอดรับกับหลักธรรมชาติ นำข้อดีต่าง ๆ ที่ธรรมชาติสรรสร้างมาให้เกิดประโยชน์สูงสุด

    © สงวนลิขสิทธิ์ 2567 บริษัท ไทยโฮมทาวน์ จำกัด
    @thaihometown Scroll