สาระควรรู้ทั่วไป

สำหรับ "รั้วบ้าน" คงเป็นอีกหนึ่งปัญหาหลักๆ ที่อาจจะทำให้เรานั้นเกิดมีปากเสียงกับเพื่อนบ้าน หากรั้วบ้านที่ว่านั้นเป็นรั้วที่ใช้ร่วมกัน ซึ่งแน่นอนว่าย่อมต้องมีเรื่องของกฎหมายเข้ามาเกี่ยวข้องด้วย หากเราจะต่อเติม หรือทำอะไรกับรั้วบ้าน ก็ควรจะศึกษากันไว้ก่อน

ประกาศอสังหาริมทรัพย์ใหม่ บ้าน บ้าน รายการล่าสุด บ้านเดี่ยว บ้านเดี่ยว รายการล่าสุด ทาวน์เฮ้าส์ ทาวน์เฮ้าส์ รายการล่าสุด ทาวน์โฮม ทาวน์โฮม รายการล่าสุด คอนโด คอนโด รายการล่าสุด อาคารพาณิชย์ อาคารพาณิชย์ รายการล่าสุด อพาร์ทเม้นท์ อพาร์ทเม้นท์ รายการล่าสุด สำนักงาน สำนักงาน รายการล่าสุด โฮมออฟฟิศ โฮมออฟฟิศ รายการล่าสุด ธุรกิจ ธุรกิจ รายการล่าสุด โรงงาน โรงงาน รายการล่าสุด คลังสินค้า คลังสินค้า รายการล่าสุด โกดัง โกดัง รายการล่าสุด ที่ดิน ที่ดิน รายการล่าสุด ลงประกาศฟรี ผู้รับเหมา รายการล่าสุด ผู้รับเหมา ลงประกาศฟรี ผู้รับเหมา ข่าวประชาสัมพันธ์ รายการล่าสุด ข่าวประชาสัมพันธ์ พรีวิวโครงการใหม่ รายการล่าสุด พรีวิวโครงการใหม่ ตกแต่งที่อยู่อาศัย รายการล่าสุด ตกแต่งที่อยู่อาศัย สาระควรรู้ ที่อยู่อาศัย รายการล่าสุด สาระควรรู้ ที่อยู่อาศัย ฮวงจุ้ย ที่อยู่อาศัย รายการล่าสุด ฮวงจุ้ย ที่อยู่อาศัย สินเชื่อ ที่อยู่อาศัย รายการล่าสุด สินเชื่อ ที่อยู่อาศัย SME รายการล่าสุด SME สถานที่ท่องเที่ยว รายการล่าสุด สถานที่ท่องเที่ยว

รั้วบ้านของเรา หรือ รั้วบ้านของใคร กับเรื่องรั้วบ้านที่เราควรรู้

รั้วบ้านเป็นของใคร? เคลียร์ปัญหาเรื่องรั้วบ้านที่ควรรู้

          สำหรับ "รั้วบ้าน" คงเป็นอีกหนึ่งปัญหาหลักๆ ที่อาจจะทำให้เรานั้นเกิดมีปากเสียงกับเพื่อนบ้าน หากรั้วบ้านที่ว่านั้นเป็นรั้วที่ใช้ร่วมกัน ซึ่งแน่นอนว่าย่อมต้องมีเรื่องของกฎหมายเข้ามาเกี่ยวข้องด้วย หากเราจะต่อเติม หรือทำอะไรกับรั้วบ้าน ก็ควรจะศึกษากันไว้ก่อน

    รั้วบ้านใครเป็นเจ้าของกันแน่? 

          ถ้าเป็นรั้วบ้านของบ้านจัดสรรจะมีระบุไว้ว่ารั้วบ้านถือเป็นกรรมสิทธิ์ร่วมกันระหว่างบ้านข้างเคียง รั้วจะถูกวางไว้กึ่งกลางระหว่างเส้นแบ่งที่ดิน ส่วนถ้าเป็นรั้วบ้านที่ไม่ใช่บ้านจัดสรรแล้วเราจะเข้าไปอยู่ใหม่อาจจะต้องเช็คจากหมุดที่ดินว่ารั้วนั้นอยู่กึ่งกลางที่ดินหรือไม่ ถ้ารั้วอยู่กึ่งกลางที่ดินก็จะถือว่าเป็นกรรมสิทธิ์ร่วมกัน ถ้ารั้วนั้นอยู่ในเขตที่ดินของบ้านข้างเคียงทั้งหมด เราต้องสร้างรั้วขึ้นมาใหม่ในที่ดินของเราเท่านั้น จะไปใช้รั้วร่วมกับบ้านข้างเคียงไม่ได้ เพราะจะถือว่าเราไปใช้พื้นที่ล้ำเข้าไปในเขตที่ดินของบ้านข้างเคียง

          และจากการที่รั้วบ้านเป็นกรรมสิทธิ์ร่วมกัน ทั้งสองบ้านต้องช่วยกันสร้าง ดูแล และออกค่าใช้จ่ายหากมีการซ่อมแซมรั้วคนละครึ่ง ทั้งนี้หากเราเข้าไปอยู่อาศัยใหม่และรั้วเดิมที่อยู่กึ่งกลางที่ดินถูกสร้างโดยบ้านข้างเคียงแล้ว เราอาจจะแสดงน้ำใจด้วยการขอซ่อมแซมรั้วเดิมโดยออกค่าใช้จ่ายให้ในครั้งนี้ เพราะเราไม่ได้ช่วยออกค่าสร้างรั้วให้ตั้งแต่แรกนั้นเอง

 

    จะต่อเติมรั้วต้องต่อเติมรั้วอย่างไร? 

          ถ้าเป็นรั้วที่มีกรรมสิทธิ์ร่วมกัน เราจะมีสิทธิ์ต่อเติมรั้วได้ไม่เกินกึ่งกลางของรั้วเดิมตามแนวเขตที่ดิน ยกเว้นแต่จะมีการยินยอมจากบ้านข้างเคียงเป็นลายลักษณ์อักษรให้สามารถตั้งส่วนต่อเติมไว้กึ่งกลางของรั้วเดิมได้ โดยปกติก็ควรจะวางส่วนต่อเติมไว้บนทับหลังคานของรั้วเดิมหรือยึดกับผนังของรั้วฝั่งที่ดินของเรา ไม่ล้ำเกินกึ่งกลางของรั้ว หรือจะตั้งเสาใหม่หรือรั้วใหม่อีกชั้นอยู่ภายในเขตของที่ดินเราใหม่เลยก็ได้

          อย่างไรก็ตามการทำรั้วที่ติดกับที่ดินข้างเคียง ควรมีการเอาแบบก่อสร้างไปพูดคุยกับบ้านข้างเคียงก่อน เพื่อลดปัญหาการทะเลาะเบาะแว้งที่อาจเกิดขึ้นในอนาคต เพราะรั้วของเราอาจจะสร้างปัญหาให้บ้านข้างเคียงและทำให้เราอาจโดนฟ้องได้หรือโดนสั่งให้รื้อส่วนต่อเติมทิ้ง เช่น การที่ไปก่อสร้างรั้วทึบสูงๆ อาจทำให้เกิดการบดบังทัศนวิสัย บดบังทิศทางลม บดบังแดดที่อาจทำให้หญ้าหรือต้นไม้บ้านเขาตายได้

 

    เพื่อนบ้านจะต่อเติมรั้วต้องดูอะไรบ้าง? 

          ถ้าบ้านข้างเคียงมีการต่อเติมรั้ว ควรรีบคุยกับบ้านข้างเคียงก่อนและขอดูแบบรั้วคร่าวๆเพื่อดูรูปร่างหน้าตาของการต่อเติมและต้องตรวจสอบแบบรั้วว่าไม่มีส่วนที่ล้ำมายังเขตที่ดินของเรา ทั้งนี้ไม่ควรรอให้รั้วเสร็จแล้วค่อยบอก เพราะมักจะเกิดการทะเลาะกันจากการขอให้รื้อรั้วออก นอกจากนี้ควรเปรียบเทียบข้อดีข้อเสียที่เกิดขึ้นหากมีการต่อเติมรั้ว เช่น เราอาจจะได้ความเป็นส่วนตัวที่เพิ่มมากขึ้นโดยที่เราไม่ต้องต่อเติมรั้วเอง หรือ ถ้าการต่อเติมรั้วมีการวางโครงสร้างไว้บนรั้วเดิมโดยใช้วัสดุที่มีน้ำหนักมากแล้วอาจจะทำให้รั้วเดิมทรุดได้ต้องรีบแจ้งให้บ้านข้างเคียงปรับแบบก่อน

          อีกกรณีหนึ่งที่มักพบเจอกันคือการที่บ้านข้างเคียงต่อเติมอาคารเดิมมาชนกับรั้วบ้านเรา เช่น การต่อเติมครัวหลังบ้าน ตรงนี้ต้องดูที่กฎมายระยะร่นอาคาร โดยดูว่าส่วนต่อเติมนั้นหากมีหน้าต่างหรือช่องแสงต้องร่นระยะห่างอย่างน้อย 2 เมตรจากแนวเขตที่ดิน ถ้าไม่มีช่องแสงเป็นเพียงผนังทึบสามารถร่นระยะห่างเหลือ 50 เซนติเมตร อย่างไรก็ตามหากหากไม่มีช่องแสงเลยจะสามารถสร้างชิดเขตหรือรั้วได้แต่ต้องให้บ้านข้างเคียงเซ็นอนุญาตก่อน ทั้งนี้บล็อกแก้วก็จัดเป็นช่องแสงด้วยต้องร่นระยะห่าง 2 เมตร ซึ่งหากไม่เป็นไปตามกฎหมายก็สามารถร้องขอให้เทศบาลมาตรวจสอบและสั่งให้รื้อได้ ทั้งนี้หากจะอนุญาตให้เพื่อนบ้านต่อเติมมาชนรั้วบ้านเรา เราต้องดูว่าเมื่อต่อเติมเสร็จแล้วจะเกิดข้อเสียอะไรบ้าง เช่น น้ำฝนจากหลังคาจะหล่นมาที่บ้านเราหรือไม่หรือส่วนต่อเติมจะทำให้รั้วเดิมเกิดการชำรุดเสียหายหรือไม่ เป็นต้น

 

    กฎหมายเกี่ยวกับรั้วที่ควรรู้ 

          มีกฎหมายเกี่ยวกับรั้วที่ท่านควรจะทราบไว้ดังนี้

  • รั้วที่กั้นระหว่างที่ดินเอกชนกับที่สาธารณะ ต้องไม่มีส่วนใดล้ำออกไปในที่สาธารณะ ไม่ว่าจะเป็นบนดิน เหนือดิน หรือใต้ดิน ดังนั้นอาจเลือกทำฐานรากเป็นแบบตีนเป็ดเพื่อไม่ให้ฐานรากไม่ล้ำไปยังที่สาธารณะ
     
  • รั้วที่สร้างชิดแนวที่ดินสาธารณะให้ก่อสร้างสูงได้ไม่เกิน 3 เมตร เหนือระดับทางเท้าหรือถนนสาธารณะ สำหรับเขตกรุงเทพฯ หากถนนสาธารณะกว้างน้อยกว่า 6 เมตร ให้ก่อสร้างสูงได้ไม่เกิน 2 เมตรเท่านั้น
     
  • รั้วกั้นระหว่างที่ดินเอกชนที่ติดกันและรั้วนั้นมีความสูงไม่ถึง 10 เมตร ไม่จำเป็นต้องขออนุญาตก่อสร้าง เพราะไม่ถือเป็น "อาคาร" แต่หากรั้วนั้นมีความสูงถึง 10 เมตร ก็จะต้องยื่นขออนุญาตก่อสร้างเพราะเข้าข่ายเป็น "อาคาร"

          เป็นอย่างไรกันบ้างกับเรื่อง "รั้วบ้าน" ซึ่งถ้าหากเรามีแผนว่าจะทำการต่อเติม หรือทำอะไรกับรั้ว ก็ควรจะศึกษาข้อควรระวังต่างๆ รวมถึงข้อกฎหมาย หรือถ้าเพื่อนข้างบ้านจะทำการต่อเติม เราก็ควรไปคุยให้รู้เรื่อง เพื่อไม่ให้เกิดปัญหาในภายหลังกันได้นะครับ

  • อยากเลี้ยงสุนัขควรเลี้ยงตัวไหนดี? 10 สุนัขพันธุ์เล็กเลี้ยงในบ้าน ทั้งน่ารัก ทั้งน่าเอ็นดู ที่จะทำให้คุณไม่เหงาอีกต่อไป
  • สรุปภาษีที่ดินและสิ่งปลูกสร้าง ฉบับใหม่ เริ่มเก็บ 1 มกราคม 2563 นี้
  • หอมจริงๆ !!! กับ 5 สิ่ง ที่ดับกลิ่นในตู้เย็นได้แบบชัวร์ๆ
  • ข้อควรรู้เรื่องต่อเติมบ้าน ที่เจ้าของบ้านต้องรู้ไว้!
  • วิธีป้องกัน และไล่แมลงสาบในบ้าน ใช้สูตรธรรมชาติปลอดภัยกับคนในบ้าน
  • สงกรานต์ปีนี้ ! กราบพระอรหันต์ในบ้าน ขออโหสิกรรมพ่อแม่ แล้วชีวิตจะพบแต่สิ่งดีๆ
  • วิธีกำจัดกลิ่นตัวจากผ้าปูที่นอน ให้สะอาดเหมือนใหม่
  • เพิ่มที่เก็บของในห้องน้ำ ที่มีพื้นที่แสนจะจำกัด ทริคง่ายๆ ที่ช่วยให้ห้องน้ำกว้างขึ้นได้
  • 12 วิธีทำความสะอาดแบบผิดๆ ทำให้ของใช้ในบ้าพังไม่เป็นท่า
  • ระเบียบข้อบังคับจราจร การจอดรถในพื้นที่สาธารณะ ส่วนกลางหมู่บ้าน
  • เลือกอิฐแบบไหน อิฐมอญ อิฐมวลเบา อิฐบล็อก เหมาะกับสร้างบ้าน ประหยัดงบมากที่สุด
  • เช็คสิทธิ ทะเบียนราษฎร "เจ้าของบ้าน" กับ "เจ้าบ้าน" ในทะเบียนบ้าน ใครสิทธิเหนือกว่า หน้าที่ต่างกันอย...
  • เคล็ดไม่ลับ 10 วิธีซักผ้าสีตก คราบสีฝังแน่นอย่าทิ้ง ทำให้เสื้อกลับมาใส่ได้อีกครั้งดีกว่า
  • ข้อควรรู้ ซื้อบ้าน และที่ดินในโครงการจัดสรร เรื่องใดที่ควรทำหลังโอนกรรมสิทธิ์ที่ดิน
  • แอร์ยี่ห้อไหนประหยัดไฟ 2567 ลดการใช้พลังงาน ช่วยประหยัดไฟได้ดี
  • รั้วบ้านของเรา หรือ รั้วบ้านของใคร กับเรื่องรั้วบ้านที่เราควรรู้

    สำหรับ "รั้วบ้าน" คงเป็นอีกหนึ่งปัญหาหลักๆ ที่อาจจะทำให้เรานั้นเกิดมีปากเสียงกับเพื่อนบ้าน หากรั้วบ้านที่ว่านั้นเป็นรั้วที่ใช้ร่วมกัน ซึ่งแน่นอนว่าย่อมต้องมีเรื่องของกฎหมายเข้ามาเกี่ยวข้องด้วย หากเราจะต่อเติม หรือทำอะไรกับรั้วบ้าน ก็ควรจะศึกษากันไว้ก่อน

    © สงวนลิขสิทธิ์ 2567 บริษัท ไทยโฮมทาวน์ จำกัด
    @thaihometown Scroll