สินเชื่อที่อยู่อาศัย

หลักเกณฑ์การขอสินเชื่อซื้อบ้าน ในปัจจุบันปัญหาการขอสินเชื่อซื้อบ้านไม่ผ่านเพิ่มสูงขึ้น ซึ่งกำลังกลายเป็นผลกระทบทั้งผู้ปริโภคและผู้ประกอบการ เพราะฉนั้นผู้ยื่นขอสินเชื่อควรเตรียมเอกสารที่จำเป็นที่สุดให้พร้อมก่อนยื่นสถานบันการเงินต่างๆ เพราะเอกสารที่สำคัญบางอย่างอาจจะมีผลกับเอกสารทั้งหมดที่ยื่นไปแล้ว หากจะกันไว้เพื่อไม่ให้เกิดปัญหาดังกล่าวแล้ว เราควรต้องเตรียมเอกสารดังต่อไปนี้ให้พร้อม

ประกาศอสังหาริมทรัพย์ใหม่ บ้าน บ้าน รายการล่าสุด บ้านเดี่ยว บ้านเดี่ยว รายการล่าสุด ทาวน์เฮ้าส์ ทาวน์เฮ้าส์ รายการล่าสุด ทาวน์โฮม ทาวน์โฮม รายการล่าสุด คอนโด คอนโด รายการล่าสุด อาคารพาณิชย์ อาคารพาณิชย์ รายการล่าสุด อพาร์ทเม้นท์ อพาร์ทเม้นท์ รายการล่าสุด สำนักงาน สำนักงาน รายการล่าสุด โฮมออฟฟิศ โฮมออฟฟิศ รายการล่าสุด ธุรกิจ ธุรกิจ รายการล่าสุด โรงงาน โรงงาน รายการล่าสุด คลังสินค้า คลังสินค้า รายการล่าสุด โกดัง โกดัง รายการล่าสุด ที่ดิน ที่ดิน รายการล่าสุด ลงประกาศฟรี ผู้รับเหมา รายการล่าสุด ผู้รับเหมา ลงประกาศฟรี ผู้รับเหมา ข่าวประชาสัมพันธ์ รายการล่าสุด ข่าวประชาสัมพันธ์ พรีวิวโครงการใหม่ รายการล่าสุด พรีวิวโครงการใหม่ ตกแต่งที่อยู่อาศัย รายการล่าสุด ตกแต่งที่อยู่อาศัย สาระควรรู้ ที่อยู่อาศัย รายการล่าสุด สาระควรรู้ ที่อยู่อาศัย ฮวงจุ้ย ที่อยู่อาศัย รายการล่าสุด ฮวงจุ้ย ที่อยู่อาศัย สินเชื่อ ที่อยู่อาศัย รายการล่าสุด สินเชื่อ ที่อยู่อาศัย SME รายการล่าสุด SME สถานที่ท่องเที่ยว รายการล่าสุด สถานที่ท่องเที่ยว

10 สิ่งสำคัญสุดในการขอสินเชื่อบ้าน ของผู้มีเงินเดือน

หลักเกณฑ์การขอสินเชื่อซื้อบ้าน ในปัจจุบันปัญหาการขอสินเชื่อซื้อบ้านไม่ผ่านเพิ่มสูงขึ้น ซึ่งกำลังกลายเป็นผลกระทบทั้งผู้ปริโภคและผู้ประกอบการ เพราะฉนั้นผู้ยื่นขอสินเชื่อควรเตรียมเอกสารที่จำเป็นที่สุดให้พร้อมก่อนยื่นสถานบันการเงินต่างๆ เพราะเอกสารที่สำคัญบางอย่างอาจจะมีผลกับเอกสารทั้งหมดที่ยื่นไปแล้ว หากจะกันไว้เพื่อไม่ให้เกิดปัญหาดังกล่าวแล้ว เราควรต้องเตรียมเอกสารดังต่อไปนี้ให้พร้อม

1. สำเนาบัตรประชาชน ด้านหน้าและหลังบัตร ภาพถ่ายในบัตรต้องชัดเจน และต้องไม่หมดอายุ

2. สำเนาทะเบียนบ้าน ถ่ายหน้าเล่มและหน้าที่มีชื่อของผู้กู้ปรากฎ แต่สำหรับบางธนาคาร อย่างธนาคารอาคารสงเคราะห์ ต้องนำเล่มจริงไปด้วย ณ วันสัมภาษณ์ และต้องถ่ายทุกหน้าของทุกคนที่อยู่ในบ้าน

3. สำเนาทะเบียนสมรส/ใบเปลี่ยนชื่อสกุล/ใบหย่า/ใบมรณะบัตรของคู่สมรส (ถ้ามี) ของผู้กู้หลัก และผู้กู้ร่วม หากผู้กู้หลักหรือผู้กู้ร่วมมีคู่สมรส ต้องถ่ายบัตรประชาชนและสำเนาทะเบียนบ้านของคู่สมรสแนบไปด้วย

4. สลิปเงินเดือนย้อนหลัง 3-6 เดือน แล้วแต่ธนาคาร ซึ่งส่วนใหญ่ แนะนำให้ใช้ 6 เดือน เพราะสามารถ คิดเฉลี่ยรายได้อื่น ๆ นอกเหนือจากรายได้ประจำ ยกตัวอย่าง ถ้าเดือนใดเดือนหนึ่ง ยอดรายรับน้อยลง เรายังสามารถ เฉลี่ยรายได้จากเดือนอื่นมาช่วยได้ อีกอย่างที่สำคัญมาก สลิปเงินเดือนต้องชัดเจนและห้ามทำหายเด็ดขาด เพราะธนาคารไม่สามารถคำนวณรายได้จากสเตรทเม้นท์ หรือหนังสือรับรองเงินเดือนได้

หลักเกณฑ์การคิดรายได้ของแต่ละธนาคารจะแตกต่างกันออกไป ซึ่งธนาคารจะต้องใช้รายละเอียดของรายได้ จากสลิปเงินเดือน ถ้าหากทำหาย ให้ติดต่อที่ฝ่ายบุคคลของบริษัท เพื่อขอถ่ายสำเนาสลิปเงินเดือน ที่บริษัทต้องเก็บไว้เป็นหลักฐานในการยื่นเสียภาษี แต่ส่วนใหญ่จะได้รับการปฏิเสธเพราะว่าเจ้าหน้าที่ขี้เกียจค้นเอกสาร

5. สลิปโบนัส หรือ หนังสือรับรองการหักภาษี ณ. ที่จ่าย ตัวนี้ก็เป็นตัวช่วยที่ดีอีกหนึ่งตัวช่วย ในกรณีที่ภาระหนี้ค่อนข้างสูง รายได้โดยเฉลี่ย 6 เดือน อาจไม่พอ แต่ถ้าเรามีสลิปโบนัส มาร่วมด้วย ทางธนาคารก็จะเอาโบนัส มาคำนวณ เพื่อเพิ่มเป็นรายได้อื่น ๆ ส่วนหนังสือรับรองการหักภาษี ณ ที่จ่าย50 ทวิ นั้นจะช่วยในกรณีที่ผู้กู้อาจมีสลิปเดือนใดเดือนหนึ่งสูญหาย ทำให้ธนาคาร ไม่สามารถ คำนวณ รายได้โดยเฉลี่ย 6 เดือนได้ ก็สามารถ คำนวณรายได้ทั้งปี จากหนังสือรับรองการหักภาษี ณ ที่จ่าย 50 ทวิได้ แต่เงื่อนไขนี้ใช้ได้ในบางธนาคารเท่านั้น เช่น ธนาคารกสิกร หรือ ธนาคารไทยพาณิชย์

6. หนังสือรับรองเงินเดือน ซึ่งนับจากวันที่ออกเอกสาร ต้องมีอายุไม่เกิน 30 วัน เท่านั้น ซึ่งหนังสือรับรองเงินเดือนจะต้องระบุ ชื่อ –นามสกุล, วันที่เริ่มทำงาน, ตำแหน่ง, อัตราค่าจ้าง ซึ่งจะต้องระบุชัดเจน ว่าเป็นพนักงานรายเดือน หรือรายวัน, ที่อยู่บริษัทและเบอร์โทร

 

7. หนังสือรับรองผ่านสิทธิ์ สำหรับบริษัท หรือต้นสังกัด ที่มีเงื่อนไขพิเศษกับธนาคาร เช่นบริษัทที่ทำ Contract ไว้กับธนาคารนั้น ๆ เช่น ธนาคารอาคารสังเคราะห์ หรือ ธนาคารกรุงไทย ที่ใช้สิทธิ์ กบข. ซึ่งจะต้องระบุ รหัสผ่านสิทธิ์ในใบรับรองทุกครั้ง และเช่นเดียวกัน อายุหนังสือรับรองการผ่านสิทธิ์ ต้องไม่เกิน 30 วัน นับตั้งแต่วันที่ออกเอกสารถึงวันยื่นกู้

8. สมุดบัญชีเงินออม หรือ ทรัพย์สินที่ปลอดภาระผูกพันก็สามารถนำมาเป็นส่วนประกอบให้การขออนุมัติวงเงินสินเชื่อได้ ส่วนใหญ่ผู้กู้จะเข้าผิดว่า ถ้าหากธนาคารรู้ว่ามีเงินออม ก็จะให้ยอดการขอเงินกู้ลดลง จริง ๆ แล้วทรัพย์สินพวกนี้ ไม่ได้มีผลกับยอดกู้ แต่มีผลกับการพิจารณาการให้สินเชื่อ เพราะจะทำให้สเตรทเม้นท์ ของเราแข็งขึ้น ผู้พิจารณาอนุมัติวงเงินก็จะตัดสินใจอนุมัติได้ง่ายขึ้น

 

9. รายการเดินบัญชี 6 เดือนย้อนหลัง นับแต่วันที่ยื่นกู้ หรือหากผู้กู้ไม่ได้ปรับสมุดบัญชีธนาคารเป็นเวลานาน ก็สามารถขอรายการเดินบัญชีย้อนหลัง ที่เราเรียกกันว่า ขอสเตรทเม้นท์ย้อนหลัง แต่ผู้กู้จะต้องถ่ายหน้าเล่มบัญชี ที่ระบุชื่อเจ้าของบัญชีแนบไปด้วยทุกครั้ง ถึงแม้ว่าสเตรทเม้นท์ที่เราไปขอมานั้นจะระบุชื่อเจ้าของบัญชีไว้แล้วก็ตามแต่ ก็ยังต้องใช้หน้าเล่มบัญชีประกอบการยื่นกู้ด้วยทุกครั้ง

การขอสเตรทเม้นท์นั้น จะต้องกระทำโดยเจ้าของบัญชีเท่านั้น บุคคลอื่นไม่สามารถไปขอได้ และการขอสเตรทเม้นท์นั้น ส่วนใหญ่เมื่อเสียเงินค่าธรรมเนียมแล้ว ก็จะสามารถรอรับได้เลย ยกเว้นธนาคารกสิกร ซึ่งจะมีการตัดรอบทุก ๆ 6 เดือน คือ ในเดือน มกราคม- มิถุนายน และเดือน กรกฎาคม – ธันวาคม หากว่าผู้กู้ไปขอระหว่างเดือน มี.ค.-ส.ค. อาจต้องใช้เวลาในการรอประมาณ 7-10 วัน ส่วนกรณีที่ผู้กู้ได้นำสมุดบัญชีไปปรับยอดทุกเดือนอยู่แล้ว ก็สามารถนำสมุดบัญชีธนาคาร ไปถ่ายเอกสารได้ทันที

 

10. ใบปิดหนี้ ในกรณีที่ผู้กู้มีภาระหนี้สินและเพิ่งทำการปิดยอดก่อนยื่นกู้ซื้อบ้าน หลังจากที่ปิดยอดหนี้แล้ว ผู้กู้จะต้องนำหลักฐานใบเรียกเก็บหนี้ และใบชำระหนี้ มาด้วยทั้ง 2 อย่าง เพราะว่าข้อมูล เครดิตบูโร ยังจะไม่อัพเดรท ซึ่งจะโชว์ว่าเรายังมียอดคงค้างอยู่ในระบบ ทางที่ดีที่สุด รีบชำระและปิดบัญชี ก่อนทำเรื่องยื่นกู้อย่างน้อย 3 เดือน จะดีที่สุด เพราะเวลาเช็คข้อมูล เครดิตบูโร จะได้ไม่ค้างอยู่ในระบบ

ขอเพิ่มเติมอีกสักหน่อย คำว่าปิดบัญชี หมายถึงการยกเลิกการใช้บัตรนั้น ๆ ส่วนคำว่าปิดยอด หมายถึงปิดเฉพาะยอดหนี้ แต่บัตรยังใช้ได้ หากผู้กู้มีภาระหนี้ ค่อนข้างเยอะ แนะนำให้ใช้วิธียกเลิกบัตร ตัวอย่าง หากผู้กู้มีบัตรกดเงินสด วงเงิน 100,000 บาท ถึงผู้กู้ไม่ได้ใช้ แต่ทางธนาคารก็จะคิดเป็นภาระหนี้ 5-10% ของยอดวงเงินในบัตร นั่นก็คือ 5,000-10,000 บาท / เดือน ซึ่งจะทำให้ความสามารถในการขอกู้ลดลงด้วย เพราะฉะนั้นแนะนำให้ปิดบัญชีจะดีที่สุด เพราะธนาคารจะมองว่าเราอาจมีปัญหาในเรื่องเงิน


ขอบคุณข้อมูลจาก ไทยโฮมทาวน์ จัดทำรวมรวมข้อมูล
  • ธอส เปิดโครงการ สินเชื่อบ้าน ธอส.ชีวิตมีสุข ดอกเบี้ยคงที่ 3.99% ต่อปี นาน 3 ปีแรก
  • เงินกู้กสิกรไทย "สินเชื่อเงินด่วน Xpress Loan" สมัครง่ายเอกสารน้อย ช่วยปิดหนี้หมด เงินยังเหลือใช้
  • 7 ข้อควรรู้ ก่อนตัดสินใจขอสินเชื่อบ้านมือสอง
  • 6 เรื่องเบื้องต้น ที่ควรพิจารณาก่อนตัดสินใจกู้ซื้อบ้าน
  • อยากซื้อบ้าน ไปยื่นขอสินเชื่อต้องมีรายได้ต่อเดือนเท่าไหร่ ควรเตรียมเงินไว้เป็นค่าใช้จ่ายอะไรบ้าง
  • แนะนำข้อควรรู้ สำหรับคน "ติดเครดิตบูโร" กู้ซื้อบ้านได้ไหม ?
  • การขอสินเชื่อบ้านกรุงศรีฯ เพื่อซื้อคอนโดมิเนียม ดูข้อมูลก่อนการตัดสินใจ
  • สมัครกู้เงินออนไลน์? ออมสินให้กู้ด่วน 200,000 บาท จริงหรือไม่
  • อยากมีเงินทุน ไม่ใช่ปัญหา!! แค่มีรถและบ้าน เรามีทางออก...
  • 3 เรื่องต้องรู้ ก่อนรีไฟแนนซ์บ้าน แนะสูตรคำนวณแบบประหยัดดอกเบี้ย หนีดอกเบี้ยสุดโหด
  • สินเชื่อ SME ต่อยอดธุรกิจ กู้เงินเปิดร้าน วงเงินกู้ 3 เท่า สูงสุด 20 ล้าน
  • สินเชื่อบ้าน รีไฟแนนซ์ จากธนาคารกรุงไทย ตัวช่วยของคนอยากมีบ้าน
  • ผ่อนบ้านจัดเต็มกับกรุงไทย ผ่อนนาน 40 ปี ดอกเบี้ยคงที่ 6 เดือน
  • ออมสินให้วงเงินกู้สูงสุด 3 ล้าน ใช้เป็นเงินทุนร้านสำหรับพ่อค้าแม่ขาย อาชีพอิสระ ผ่อนยาว 10 ปี
  • ออมสินปรับลดเงินงวด สินเชื่อ "ผ่อนบ้านดี มีเฮ" สำหรับลูกค้าสินเชื่อเคหะปัจจุบัน ถึง 30 ก.ย. นี้
  • 10 สิ่งสำคัญสุดในการขอสินเชื่อบ้าน ของผู้มีเงินเดือน

    หลักเกณฑ์การขอสินเชื่อซื้อบ้าน ในปัจจุบันปัญหาการขอสินเชื่อซื้อบ้านไม่ผ่านเพิ่มสูงขึ้น ซึ่งกำลังกลายเป็นผลกระทบทั้งผู้ปริโภคและผู้ประกอบการ เพราะฉนั้นผู้ยื่นขอสินเชื่อควรเตรียมเอกสารที่จำเป็นที่สุดให้พร้อมก่อนยื่นสถานบันการเงินต่างๆ เพราะเอกสารที่สำคัญบางอย่างอาจจะมีผลกับเอกสารทั้งหมดที่ยื่นไปแล้ว หากจะกันไว้เพื่อไม่ให้เกิดปัญหาดังกล่าวแล้ว เราควรต้องเตรียมเอกสารดังต่อไปนี้ให้พร้อม

    © สงวนลิขสิทธิ์ 2567 บริษัท ไทยโฮมทาวน์ จำกัด
    @thaihometown Scroll