สินเชื่อที่อยู่อาศัย

เมื่อกู้ซื้อบ้าน จะเห็นว่าในช่วงแรกของการผ่อนบ้าน ธนาคารมักให้อัตราดอกเบี้ยคงที่หรืออัตราดอกเบี้ยโปรโมชันเพื่อจูงใจให้เราตัดสินใจกู้ซื้อบ้านกับธนาคาร แต่เมื่อผ่อนบ้านไปสักระยะหนึ่งซึ่งผ่านพ้นช่วงอัตราดอกเบี้ยโปรโมชันไปแล้ว เชื่อว่าหลายคนอยากจะรีไฟแนนซ์ไปธนาคารใหม่เพื่อหาอัตราดอกเบี้ยบ้านที่ถูกกว่า รู้หรือไม่ว่านอกจากการรีไฟแนนซ์จะช่วยลดภาระดอกเบี้ยบ้านลงแล้ว เรายังสามารถเปลี่ยนแปลงเงื่อนไขบางอย่างเพื่อให้เป็นประโยชน์กับเรามากขึ้น

ประกาศอสังหาริมทรัพย์ใหม่ บ้าน บ้าน รายการล่าสุด บ้านเดี่ยว บ้านเดี่ยว รายการล่าสุด ทาวน์เฮ้าส์ ทาวน์เฮ้าส์ รายการล่าสุด ทาวน์โฮม ทาวน์โฮม รายการล่าสุด คอนโด คอนโด รายการล่าสุด อาคารพาณิชย์ อาคารพาณิชย์ รายการล่าสุด อพาร์ทเม้นท์ อพาร์ทเม้นท์ รายการล่าสุด สำนักงาน สำนักงาน รายการล่าสุด โฮมออฟฟิศ โฮมออฟฟิศ รายการล่าสุด ธุรกิจ ธุรกิจ รายการล่าสุด โรงงาน โรงงาน รายการล่าสุด คลังสินค้า คลังสินค้า รายการล่าสุด โกดัง โกดัง รายการล่าสุด ที่ดิน ที่ดิน รายการล่าสุด ลงประกาศฟรี ผู้รับเหมา รายการล่าสุด ผู้รับเหมา ลงประกาศฟรี ผู้รับเหมา ข่าวประชาสัมพันธ์ รายการล่าสุด ข่าวประชาสัมพันธ์ พรีวิวโครงการใหม่ รายการล่าสุด พรีวิวโครงการใหม่ ตกแต่งที่อยู่อาศัย รายการล่าสุด ตกแต่งที่อยู่อาศัย สาระควรรู้ ที่อยู่อาศัย รายการล่าสุด สาระควรรู้ ที่อยู่อาศัย ฮวงจุ้ย ที่อยู่อาศัย รายการล่าสุด ฮวงจุ้ย ที่อยู่อาศัย สินเชื่อ ที่อยู่อาศัย รายการล่าสุด สินเชื่อ ที่อยู่อาศัย SME รายการล่าสุด SME สถานที่ท่องเที่ยว รายการล่าสุด สถานที่ท่องเที่ยว

เทคนิคการรีไฟแนนซ์บ้าน เลือกไปธนาคารใหม่ หาที่ดอกเบี้ยถูกกว่าผ่อนน้อยกว่า

ต้องซื้อบ้านอย่างไรให้ผ่อนได้ ไม่เกินกำลังของตัวเอง (ธนาคารกสิกรไทย)

           สำหรับผู้ที่กำลังมองหาบ้านหรือคอนโดฯ สักแห่งหนึ่ง นอกจากเรื่องของทำเลแล้ว สิ่งที่ขาดไม่ได้เลย คือ งบประมาณในการซื้อบ้าน ซึ่งมีข้อแนะนำในการวางแผนซื้อบ้าน 2 ส่วนด้วยกัน คือ การเตรียมตัวก่อนขอสินเชื่อ และปัจจัยที่ช่วยให้ผ่อนสบายกระเป๋า 

 

ขอเริ่มที่เรื่องแรกก่อน คือ การเตรียมตัวเตรียมใจก่อนขอสินเชื่อ มีสิ่งที่ต้องเตรียมดังนี้

no 1. รักษาเครดิต 

           ในการขอสินเชื่อต้องมีการตรวจสอบสถานะสินเชื่อ และประวัติการชำระหนี้ที่ผ่านมาก่อน โดยการตรวจสอบเครดิตบูโร ดังนั้น เราควรรักษาเครดิตไว้ให้ดี เพื่อมิให้เป็นข้อจำกัดในการขอสินเชื่อได้


no 2. เตรียม Statement 

           ให้พร้อม ผู้ที่อาชีพทำงานประจำมีรายได้จากเงินเดือน สามารถใช้สลิป เงินเดือน หรือหนังสือรับรองฯ 50 ทวิ ในการยืนยันรายได้ แต่สำหรับผู้ที่มีอาชีพอิสระค้าขายทั่วไป ไม่มีเงินเดือนประจำ ก็สามารถกู้ได้ โดยเตรียมหลักฐานแสดงที่มาที่ไปของเงินให้มีความชัดเจน เช่น บัญชีเงินฝากที่มียอดรายได้เข้าสม่ำเสมอ การเดินบัญชีกระแสรายวัน การใช้เช็ค เป็นต้น เพื่อสร้างความมั่นใจให้กับสถาบันการเงินว่าเรามีความสามารถในการชำระหนี้คืนได้


no 3. เตรียมออมเงินให้เพียงพอ 

           ก่อนกู้ซื้อบ้าน อย่าลืมเก็บออมเงินสำรองฉุกเฉินหรือเงินสภาพคล่องไว้อย่างน้อย 6 เท่าของค่าใช้จ่ายเฉลี่ยต่อเดือน เพราะเมื่อกู้บ้านแล้ว ภาระผ่อนหนี้ หรือค่าใช้จ่ายต่อเดือนจะมากขึ้น ซึ่งหากมีเหตุจำเป็นต้องใช้เงิน จะได้มีเงินที่เก็บสำรองไว้มาใช้จ่าย และไม่กระทบกับการผ่อนบ้าน

 

หลังจากที่เตรียมตัวพร้อมแล้ว ก็ถึงเวลากู้บ้านให้สบายกระเป๋า ซึ่งมี 4 ปัจจัย คือ

no 1. เงินดาวน์บ้าน

           โดยทั่วไปผู้ที่กู้ซื้อบ้านต้องมีเงินดาวน์อย่างน้อย 10% ของราคาบ้าน ดังนั้น ถ้าจะซื้อบ้านราคา 3 ล้านบาท จะต้องมีเงินเก็บเพื่อเป็นเงินดาวน์อย่างน้อย 3 แสนบาท แต่จำไว้ว่า ยิ่งมีเงินดาวน์มาก ยิ่งช่วยลดภาระการผ่อนชำระลง และช่วยให้ประหยัดค่าดอกเบี้ยลงไปได้ 
 

no 2. ยอดผ่อนชำระต่อเดือน 

           ปกติแล้วภาระการผ่อนรายเดือนที่ไม่หนักจนเกินไป ไม่ควรเกิน 40% ของรายได้ก่อนภาษี ถ้ารายได้คนเดียวผ่อนไม่ไหว สามารถกู้ร่วมได้ ทั้งนี้ การกู้ร่วม ผู้กู้ร่วมต้องมีความสัมพันธ์ทางสายเลือด หรือเป็นสามีภรรยากัน
 

no 3. ระยะเวลาในการผ่อนชำระ 

           โดยทั่วไปสามารถผ่อนบ้านได้สูงสุด 30 ปี ซึ่งระยะเวลาผ่อนเมื่อรวมกับอายุของผู้กู้แล้ว ต้องไม่เกิน 60-65 ปี ถ้าระยะเวลาผ่อนสั้น ยอดผ่อนชำระรายเดือนจะมากกว่าระยะเวลาผ่อนยาว แนะนำให้ลองประเมินความสามารถในการผ่อน ถ้าผ่อนต่อเดือนได้สูง ก็สามารถเลือกผ่อนระยะเวลาสั้นๆ ได้เพื่อให้หมดภาระผ่อนเร็วและประหยัดค่าดอกเบี้ยจ่าย
 

no 4. รูปแบบอัตราดอกเบี้ย 

           ปัจจุบันสถาบันการเงินมีทางเลือกให้กับผู้ขอสินเชื่อว่าจะผ่อนชำระในอัตราดอกเบี้ยแบบคงที่ หรือ แบบลอยตัว ผู้ขอสินเชื่อควรเลือกอัตราดอกเบี้ยแบบคงที่ เมื่ออัตราดอกเบี้ยมีแนวโน้มเพิ่มขึ้น และควรเลือกอัตราดอกเบี้ยแบบลอยตัว เมื่ออัตราดอกเบี้ยมีแนวโน้มลดลง
ปกติทั่วไป หากขอสินเชื่อ จำนวน 1 ล้านบาท ระยะเวลาผ่อน 30 ปี อัตราดอกเบี้ยเฉลี่ย 6.75% ต่อปี จะมียอดผ่อนชำระประมาณ 7,200 บาทต่อเดือน ดังนั้น ลองพิจารณาปัจจัยต่างๆ ที่แนะนำข้างต้นดูว่า จะผ่อนบ้านอย่างไรให้สบายกระเป๋ากัน

3. เพิ่มวงเงิน มีเงินไว้ใช้จ่ายยามจำเป็น

        วงเงินกู้ของการรีไฟแนนซ์ไม่จำเป็นต้องเท่ากับภาระหนี้คงเหลือจากธนาคารเดิมเสมอไปค่ะ หากใครกำลังคิดจะรีไฟแนนซ์และมีความจำเป็นต้องใช้เงิน เช่น เอาเงินไปซ่อมแซมบ้านก็สามารถขอวงเงินเพิ่มให้สูงกว่าภาระหนี้คงเหลือได้ ซึ่งวงเงินทั้งหมดจะต้องไม่เกินมูลค่าหลักประกันตามเงื่อนไขที่ธนาคารกำหนดไว้ค่ะ 

        เช่น วงเงินกู้สูงสุดไม่เกิน 80% ของราคาประเมิน หรือบางธนาคารอาจกำหนดเงื่อนไขการเพิ่มวงเงิน เช่น สามารถขอเพิ่มได้ไม่เกิน 5 ล้านบาท เป็นต้นค่ะ แต่ในการขอวงเงินเพิ่มนั้น ธนาคารจะพิจารณาความสามารถในการชำระหนี้ของผู้กู้ประกอบด้วยค่ะว่า เมื่อเปรียบเทียบรายได้กับภาระหนี้แล้วสามารถผ่อนชำระหนี้ได้ตามหลักเกณฑ์ที่ธนาคารกำหนดไว้หรือไม่

        ดังนั้น หากใครสนใจรีไฟแนนซ์และเลือกเปลี่ยนแปลงเงื่อนไขที่แตกต่างไปจากสัญญาวงเงินกู้เดิม แนะนำให้ศึกษารายละเอียดต่าง ๆ ให้เข้าใจก่อนตัดสินใจ โดยเลือกให้เหมาะสมกับความจำเป็นของเรามากที่สุด และดูกำลังความสามารถในการผ่อนชำระของเราประกอบด้วย ทั้งนี้เพื่อให้ได้รับประโยชน์จากการรีไฟแนนซ์และเกิดความคุ้มค่ามากที่สุดค่ะ

        ติดตามบทความที่เกี่ยวข้องกับ "เงื่อนไขดี ๆ เมื่อคิดรีไฟแนนซ์" ได้ที่ www.askKBank.com/K-Expert หากมีข้อสงสัยหรือต้องการปรึกษาวางแผนเพิ่มเติมสามารถปรึกษากับ K-Expert ธนาคารกสิกรไทยได้ที่ K-Expert@kasikornbank.com   

K-Expert Action

        เปรียบเทียบค่าใช้จ่ายและผลประโยชน์ที่ได้รับก่อนตัดสินใจรีไฟแนนซ์
        ตรวจสอบเงื่อนไขในสัญญาวงเงินกู้เดิมเกี่ยวกับค่าปรับระยะเวลา ก่อนรีไฟแนนซ์ 




K-Expert Center

K-Expert Center 02-1605203-4
K-Contact Center 02-888 8888 กด 09

k-expert.askkbank.com
twitter.com/KBank_Expert

  • รู้หรือไม่?...มนุษย์เงินเดือนก็สามารถกู้-ผ่อนบ้านได้สบายๆ
  • 10 เทคนิค ช่วยต่อเวลาให้บ้านไม่ถูกยึดจากธนาคาร
  • 10 เรื่องควรรู้ สัญญากู้ร่วมซื้อบ้านหรือคอนโด
  • เทคนิคการขอสินเชื่อ แบบเข้าใจง่ายๆ ทำอย่างไรให้ตรงตามเงื่อนไขของธนาคาร
  • 3 สิ่งต้องรู้ "สินเชื่อบ้าน" ผ่อนบ้านให้หมดเร็วสบายก่อนเกษียณ
  • ธนาคารกรุงไทย ร่วมมือ KTC ผ่อนบ้านผ่านบัตรเครดิต รายแรกของไทย
  • ช่วงโควิด 19 อยากพักชำระหนี้ ผ่อนบ้านไม่ไหว มีมาตรการช่วยเหลือของธนาคารไหนบ้าง ?
  • Blacklist คืออะไร และใครกันแน่ ที่ทำให้เราติด Blacklist
  • รีไฟแนนซ์บ้าน 2561 ธนาคารไหนดี คุ้มค่าสุด รวมมาให้แล้ว
  • 3 เรื่องต้องรู้ ก่อนรีไฟแนนซ์บ้าน แนะสูตรคำนวณแบบประหยัดดอกเบี้ย หนีดอกเบี้ยสุดโหด
  • สินเชื่อ SME ต่อยอดธุรกิจ กู้เงินเปิดร้าน วงเงินกู้ 3 เท่า สูงสุด 20 ล้าน
  • สินเชื่อบ้าน รีไฟแนนซ์ จากธนาคารกรุงไทย ตัวช่วยของคนอยากมีบ้าน
  • ผ่อนบ้านจัดเต็มกับกรุงไทย ผ่อนนาน 40 ปี ดอกเบี้ยคงที่ 6 เดือน
  • ออมสินให้วงเงินกู้สูงสุด 3 ล้าน ใช้เป็นเงินทุนร้านสำหรับพ่อค้าแม่ขาย อาชีพอิสระ ผ่อนยาว 10 ปี
  • สมัครกู้เงินออนไลน์? ออมสินให้กู้ด่วน 200,000 บาท จริงหรือไม่
  • เทคนิคการรีไฟแนนซ์บ้าน เลือกไปธนาคารใหม่ หาที่ดอกเบี้ยถูกกว่าผ่อนน้อยกว่า

    เมื่อกู้ซื้อบ้าน จะเห็นว่าในช่วงแรกของการผ่อนบ้าน ธนาคารมักให้อัตราดอกเบี้ยคงที่หรืออัตราดอกเบี้ยโปรโมชันเพื่อจูงใจให้เราตัดสินใจกู้ซื้อบ้านกับธนาคาร แต่เมื่อผ่อนบ้านไปสักระยะหนึ่งซึ่งผ่านพ้นช่วงอัตราดอกเบี้ยโปรโมชันไปแล้ว เชื่อว่าหลายคนอยากจะรีไฟแนนซ์ไปธนาคารใหม่เพื่อหาอัตราดอกเบี้ยบ้านที่ถูกกว่า รู้หรือไม่ว่านอกจากการรีไฟแนนซ์จะช่วยลดภาระดอกเบี้ยบ้านลงแล้ว เรายังสามารถเปลี่ยนแปลงเงื่อนไขบางอย่างเพื่อให้เป็นประโยชน์กับเรามากขึ้น

    © สงวนลิขสิทธิ์ 2567 บริษัท ไทยโฮมทาวน์ จำกัด
    @thaihometown Scroll