สินเชื่อที่อยู่อาศัย

ลูกหนี้หลายคนเมื่อเริ่มประสบปัญหาในการผ่อนชะระหนี้เงินกู้เพื่อที่อยู่อาศัย ก็จะเริ่มมีความคิดว่าปล่อยให้ธนาคารยึดไปจะดีกว่า แต่หาทราบไม่ว่าเป็นการคิดผิดอย่างมหันต์ เพราะนอกจากท่านจะเสียบ้านของท่านไปแล้ว ท่านอาจจะเสียทรัพย์สินอื่นๆ ของท่านอีกด้วย

ประกาศอสังหาริมทรัพย์ใหม่ บ้าน บ้าน รายการล่าสุด บ้านเดี่ยว บ้านเดี่ยว รายการล่าสุด ทาวน์เฮ้าส์ ทาวน์เฮ้าส์ รายการล่าสุด ทาวน์โฮม ทาวน์โฮม รายการล่าสุด คอนโด คอนโด รายการล่าสุด อาคารพาณิชย์ อาคารพาณิชย์ รายการล่าสุด อพาร์ทเม้นท์ อพาร์ทเม้นท์ รายการล่าสุด สำนักงาน สำนักงาน รายการล่าสุด โฮมออฟฟิศ โฮมออฟฟิศ รายการล่าสุด ธุรกิจ ธุรกิจ รายการล่าสุด โรงงาน โรงงาน รายการล่าสุด คลังสินค้า คลังสินค้า รายการล่าสุด โกดัง โกดัง รายการล่าสุด ที่ดิน ที่ดิน รายการล่าสุด ลงประกาศฟรี ผู้รับเหมา รายการล่าสุด ผู้รับเหมา ลงประกาศฟรี ผู้รับเหมา ข่าวประชาสัมพันธ์ รายการล่าสุด ข่าวประชาสัมพันธ์ พรีวิวโครงการใหม่ รายการล่าสุด พรีวิวโครงการใหม่ ตกแต่งที่อยู่อาศัย รายการล่าสุด ตกแต่งที่อยู่อาศัย สาระควรรู้ ที่อยู่อาศัย รายการล่าสุด สาระควรรู้ ที่อยู่อาศัย ฮวงจุ้ย ที่อยู่อาศัย รายการล่าสุด ฮวงจุ้ย ที่อยู่อาศัย สินเชื่อ ที่อยู่อาศัย รายการล่าสุด สินเชื่อ ที่อยู่อาศัย SME รายการล่าสุด SME สถานที่ท่องเที่ยว รายการล่าสุด สถานที่ท่องเที่ยว

ผ่อนบ้านหนักมาก เริ่มผ่อนต่อไม่ไหว จะปล่อยให้ธนาคารยึดไปจะดีไหม?

ลูกหนี้หลายคนเมื่อเริ่มประสบปัญหาในการผ่อนชะระหนี้เงินกู้เพื่อ ที่อยู่อาศัย ก็จะเริ่มมีความคิดว่าปล่อยให้ธนาคารยึดไปจะดีกว่า แต่หาทราบไม่ว่าเป็นการคิดผิดอย่างมหันต์ เพราะนอกจากท่านจะเสียบ้านของท่านไปแล้ว ท่านอาจจะเสียทรัพย์สินอื่นๆ ของท่านอีกด้วย

หลายคนคิดว่าถ้าไม่ผ่อนต่อ ก็ปล่อยให้ธนาคารยึดไป ก็ไม่น่าจะมีปัญหาอะไร เพราะคิดว่าธนาคารยึดแล้วก็จบ แต่ความจริงแล้วธนาคารเขาดำเนินธุรกิจ การดำเนินงานต่างๆเขาต้องแสวงหากำไร การยึดบ้านของท่านไปเฉยๆ จึงไม่ใช่วิธีการที่ธนาคารจะดำเนินการตามที่ท่านคิด หากท่านกำลังมีปัญหาทางด้านการเงินจึงแนะนำว่าควรไปติดต่อธนาคารดีกว่า

เพราะหากท่านไม่ผ่อนชำระเงินต่อ ไม่ใช่ว่าธนาคารจะยึดบ้านในทันที เนื่องจากบ้านยังเป็นกรรมสิทธิของท่านอยู่ ธนาคารจึงต้องทำการฟ้องร้องบังคับจำนองก่อน เพื่อขอต่อศาลให้มีการขายทอดตลาด เพื่อชำระหนี้ที่มีต่อธนาคาร หากเงินเหลือจะคืนกลับมาให้ท่าน

ฟังแล้วดูดีเพราะท่านอาจจะคิดว่าผ่อนไปเยอะแล้ว น่าจะมีเงินเหลือตกมาถึงมาท่าน แต่จริงๆแล้วท่านกำลังหลงผิดไปอีกประเด็

ธนาคารจะไม่ฟ้องร้องในเร็ววัน

หลังจากที่ท่านผิดนัดชำระหนี้เงินกู้ ธนาคารก็จะเริ่มส่งจดหมายเตือน หากครบ 3 เดือนธนาคารก็จะกลับมาคิดดอกเบี้ยสูงสุดที่ระบุไว้ในสัญญา ซึ่งเรียกว่าอัตราดอกเบี้ยเมื่อมีการผิดนัดชำระหนี้ ซึ่งจะอยู่ที่ 15% ต่อปี

นั่นแสดงว่าจากเดิมที่ท่านเคยผ่อนอยู่ที่อัตราดอกเบี้ยส่วนลดตามโปรโม ชั่นต่างๆ เช่น 4% หรือ 6% ต่อปี จะกลายเป็น 15% ต่อปีในทันที อัตราดอกเบี้ยในระดับนี้หากปล่อยไว้เพียง 5 ปี ดอกเบี้ยจะที่เพิ่มขึ้นจะเท่ากับเงินต้นพอดี นั่นแสดงว่าหากท่านเป็นหนี้ 1 ล้านบาท ผ่านไปห้าปี ท่านจะมีดอกเบี้ยที่ต้องเสียเพิ่มอีก 1 ล้านบาท เท่ากับจะเป็นหนี้ 2 ล้านบาท นี่ยังไม่รวมค่าทวงถาม ค่าปรับอื่นๆ ที่ตามมาด้วย

ตัวอย่าง เงินต้น 1 ล้านบาท อัตราดอกเบี้ย 15 %

สิ้นปีที่ 1 ท่านจะมีหนี้สินเงินต้นพร้อมดอกเบี้ย 1,150,000 บาท
สิ้นปีที่ 2 ท่านจะมีหนี้สินเงินต้นพร้อมดอกเบี้ย 1,322,500 บาท
สิ้นปีที่ 3 ท่านจะมีหนี้สินเงินต้นพร้อมดอกเบี้ย 1,520,875 บาท
สิ้นปีที่ 4 ท่านจะมีหนี้สินเงินต้นพร้อมดอกเบี้ย 1,749,006 บาท
สิ้นปีที่ 5 ท่านจะมีหนี้สินเงินต้นพร้อมดอกเบี้ย 2,011,357 บาท

จะเห็นได้ว่าในระหว่าง 5 ปีนั้นหากท่านไม่ผ่อนชำระอะไรเลย อัตราดอกเบี้ยจะวิ่งเร็วมาก และเนื่องจากอายุความของคดีนี้คือ 10 ปี ธนาคารจึงจะยังไม่ฟ้องในทันที แต่จะปล่อยให้ดอกเบี้ย และค่าปรับเพิ่มไปเรื่อยๆ แล้วถึงจะค่อยฟ้องบังคับจำนอง ขายทอดตลาด เงินที่ขายทรัพย์ทั้งหมดก็คงไม่พอชำระหนี้ของท่าน ธนาคารก็จะสืบทรัพย์สินอื่นๆของท่าน เพื่อฟ้องร้องยึดทรัพย์ต่อไป และสุดท้ายก็จะฟ้องล้มละลาย

หลายท่านที่คิดว่ากู้เงินมาแล้ว ผ่อนไปแล้ว ถ้าผ่อนไม่ไหวก็ปล่อยให้ยึดไปนั้น จึงเจ็บตัวกันมานักต่อนักแล้ว ตัวอย่างมีให้พบเห็นโดยทั่วไป

ถ้ายังนึกภาพไม่ออกลองศึกษาตัวอย่างต่อไปนี้ดู

นาย ก กู้เงินมา 1,000,000 บาท โดยมีบ้านเป็นหลักทรัพย์ค้ำประกันการกู้เงินที่มีมูลค่าตลาดในตอนนั้น 1,200,000 บาท

ผ่านมาหลายปี นาย ก ก็ผ่อนชำระไปจนเหลือเงินต้น 500,000 บาท ซึ่งจะเสียดอกเบี้ยไปแล้วประมาณ 300,000 บาท เท่ากับผ่อนเงินไปแล้วราวๆ 800,000 บาท

ต่อมา นาย ก มีปัญหาทางการเงิน แล้วหยุดผ่อนทั้งเงินต้นและดอกเบี้ยไปเฉยๆ คาดหวังว่าธนาคารจะยึดบ้านไปขายทอดตลาด ขายได้ซัก 800,000 บาทก็ถือว่ายังคุ้ม ยังได้เงินคืนมาตั้ง 300,000 แม้จะผ่อนไปเฉียดล้านแล้วก็ตาม

แต่ถือเป็นการคิดที่ผิดพลาดเป็นอย่างยิ่ง เพราะธนาคารเจ้าหนี้เงินกู้จะไม่ฟ้องร้องในทันที แต่จะปล่อยให้ดอกเบี้ยวิ่งไปเรื่อยที่อัตราผิดนัดชำระหนี้ เนื่องจากธนาคารไม่ใช่องค์กรการกุศล เขาก็ต้องแสวงหากำไรของเขา จากตัวอย่างข้างต้นเมื่อผ่านไป 5 ปี หนี้เงินกู้ที่เดิมเคยอยู่ที่ 500,000 บาท ก็จะกลับมาเป็น 1,000,000 บาท

ถึงจุดนี้ธนาคารอาจจะเพิ่งจะเริ่มขยับฟ้องบังคับจำนอง ซึ่งก็จะใช้ระยะเวลาหนึ่ง หากลูกหนี้ไม่โผล่ไฟศาลเลย ธนาคารก็มักจะกลายเป็นผู้ชนะคดีด้วยยอดเงินหนี้สินตามที่ธนาคารเสนอ เพราะไม่มีใครไปโต้แย้ง นาย ก ก็จะกลับกลายมาเป็นหนี้ที่ 1,000,000 บาททันที

หลังจากมีการขายทอดตลาดบ้านของนาย ก ที่อาจจะด้วยภาวะราคาตลาดและการเสื่อมสภาพ สมมุติขายไปได้ที่ 800,000 บาท ซึ่งก็จะพบว่าไม่พอชำระหนี้กับธนาคารที่มียอดเงินอยู่ที่ 1,000,000 บาท ทางธนาคารก็จะเริ่มสืบทรัพย์ของนาย ก ว่ามีบ้านที่ดินรถยนต์หรือเงินสดที่ไหนอีกหรือไม่ ที่จะยึดมาชำระหนี้สินให้หมด ระหว่างนี้ก็มีการคิดดอกเบี้ยหนี้สินที่คงค้างนี้ต่อไปอีกด้วย

และหากลูกหนี้ที่เป็นบุคคลทั่วไปมีหนี้สินเกิน 1 ล้านบาท ก็จะถูกฟ้องล้มละได้ นั่นแสดงว่ากลุ่มคนที่ซื้อบ้านในราคา สองล้านบาท แล้วผ่อนไปไม่ถึงครึ่ง ก็จะมีสิทธิโดนฟ้องล้มละลายได้ เพราะดอกเบี้ยผิดนัดชำระหนี้เงินกู้รวมเงินต้นอาจจะวิ่งไปที่ 3 ล้านบาท ขายบ้านได้ 2 ล้าน ก็ยังเป็นหนี้อยู่อีก 1 ล้านบาท เป็นต้น

 

แนวทางแก้ไข

หากท่านกู้เงินแล้วจำนองบ้าน เป็นประกัน แล้วมีปัญหาการผ่อนชำระหนี้ ควรเข้าไปปรึกษาธนาคารเจ้าหนี้ เพื่อหาทางออกเช่น การประนอมหนี้ซึ่งก็คือการหาทางออกโดยการผ่อนชำระต่อเดือนน้อยลง หรือการยึดระยะเวลาชำระหนี้ออกไป

 

วิธีการที่จะจัดการหนี้สินของท่านให้เร็วที่สุดเป็นไปได้หลายวิธีด้วยกันดังนี้คือ

1. ประกาศขายบ้านให้เร็วที่สุด 

โดยอย่าไปคิดถึงกำไร เพราะทุกวันที่ผ่านไปคือดอกเบี้ยที่จะมาทับถมท่าน พยายามขายในราคาที่จะทำให้ปลดหนี้โดยเร็ว อย่าคำนึงถึงว่ามันจะขาดทุนเพราะท่านผ่อนชำระไปเยอะแล้ว เพราะไม่มีประโยชน์อันใด คนซื้อต้องการซื้อบ้านราคาถูกที่ต้องแลกกับการปวดหัว ดำเนินการเรื่องเงินๆทองแทนคุณ วิธีการคือ เมื่อได้ผู้ซื้อแล้วให้นำผู้ซื้อไปติดต่อเจ้าหนี้ซึ่งจะมีวิธีการดำเนินงาน ที่รวดเร็ว และถูกต้องที่สุด

2. เจรจาประนอมหนี้ 

หากท่านยังพอมีกำลังทรัพย์ผ่อนได้อยู่บ้าง ก็ให้ไปติดต่อเจ้าหนี้เพื่อเจรจาประนอมหนี้ ดีกว่าจะปล่อยให้ดอกเบี้ยอัตราผิดนัดทับถมคุณ โดยอาจจะมีการลดเงินผ่อนในแต่ละงวดลง พร้อมๆกับยืดระยะเวลาชำระหนี้ให้นานขึ้น
 

3. โอนทรัพย์ชำระหนี้

ติดต่อธนาคารเพื่อขอตีราคาทรัพย์ชำระหนี้ วิธีการนี้ธนาคารอาจจะไม่อยากดำเนินการ แต่เป็นวิธีที่สามารถทำได้ หากธนาคารอิดออดก็ให้ทำหนังสือแจ้งไปยังธนาคารแห่งประเทศไทย เพื่อให้ธนาคารตอบว่าเหตุผลใดจึงทำไม่ได้ อย่าหลงเชื่อธนาคารว่าจะทำไม่ได้ เพราะกรณีนี้ธนาคารมักจะเสียเปรียบและไม่อยากดำเนินการให้คุณ

  • บัตรเครดิตเป็นสาเหตุ กู้ซื้อบ้านไม่ผ่าน จริงหรือไม่?
  • วิกฤติโควิด19 ​ผ่อนชำระปกติ หรือ พักชำระหนี้ ควรเลือกอย่างไหนดี ?
  • ขอควรรู้ก่อน "รีไฟแนนซ์บ้าน" ต้องเตรียมตัวอย่างไร ทำให้มีเงินเหลือใช้ได้ไหม?
  • ธอส. จัดให้ หมดกังวลเรื่องบ้าน กับ "สินเชื่อบ้านสุขสันต์ Refinance in" ปี 2562
  • กู้ผ่านแล้ว อย่าพึ่งดีใจ เช็ค "เงื่อนไขค่าใช้จ่าย" ที่ผูกติดมากับการกู้บ้าน
  • ธอส.ปล่อยเงินกู้ รายได้ไม่ถึง 15,000/ด. กู้ซื้อบ้านได้ 1.5 ล้าน กับโครงการบ้าน ธอส.เพื่อสานรัก ปี 2558
  • กู้ซื้อบ้าน ซื้อคอนโด เช็คก่อนคุณจะได้วงเงินกู้เท่าไหร่
  • บ้าน ธอส.เพื่อสานสุข ปี 65 ให้วงเงิน 3 ล้าน สานฝันคุณให้เป็นจริง
  • เตรียมอะไรบ้าง?? รวมเอกสารยื่นกู้ซื้อบ้านของแต่ละธนาคาร
  • 3 เรื่องต้องรู้ ก่อนรีไฟแนนซ์บ้าน แนะสูตรคำนวณแบบประหยัดดอกเบี้ย หนีดอกเบี้ยสุดโหด
  • สินเชื่อ SME ต่อยอดธุรกิจ กู้เงินเปิดร้าน วงเงินกู้ 3 เท่า สูงสุด 20 ล้าน
  • สินเชื่อบ้าน รีไฟแนนซ์ จากธนาคารกรุงไทย ตัวช่วยของคนอยากมีบ้าน
  • ผ่อนบ้านจัดเต็มกับกรุงไทย ผ่อนนาน 40 ปี ดอกเบี้ยคงที่ 6 เดือน
  • ออมสินให้วงเงินกู้สูงสุด 3 ล้าน ใช้เป็นเงินทุนร้านสำหรับพ่อค้าแม่ขาย อาชีพอิสระ ผ่อนยาว 10 ปี
  • สมัครกู้เงินออนไลน์? ออมสินให้กู้ด่วน 200,000 บาท จริงหรือไม่
  • ผ่อนบ้านหนักมาก เริ่มผ่อนต่อไม่ไหว จะปล่อยให้ธนาคารยึดไปจะดีไหม?

    ลูกหนี้หลายคนเมื่อเริ่มประสบปัญหาในการผ่อนชะระหนี้เงินกู้เพื่อที่อยู่อาศัย ก็จะเริ่มมีความคิดว่าปล่อยให้ธนาคารยึดไปจะดีกว่า แต่หาทราบไม่ว่าเป็นการคิดผิดอย่างมหันต์ เพราะนอกจากท่านจะเสียบ้านของท่านไปแล้ว ท่านอาจจะเสียทรัพย์สินอื่นๆ ของท่านอีกด้วย

    © สงวนลิขสิทธิ์ 2567 บริษัท ไทยโฮมทาวน์ จำกัด
    @thaihometown Scroll