สินเชื่อที่อยู่อาศัย

ซึ่งถ้าเราหาซื้อที่อยู่อาศัยด้วยเงินสด ไม่ต้องกู้หนี้ยืมสินจากธนาคารแล้วคงไม่เป็นไร ไม่ต้องคิดอะไรมากเรื่องดอกเบี้ย แต่หลายๆคนมิได้มีฐานะและเงินทองเช่นนั้น บางคนพึ่งเริ่มทำงานได้ไม่นาน ไม่มีทรัพย์สินติดตัวมาจากที่ไหน บางคนอาจจะย้ายถิ่นฐานมาทำงานในเมืองใหญ่ จึงทำให้เวลาอยากมีที่อยู่อาศัยเป็นของตัวเองแล้วก็ไม่พ้นต้องกู้เงินจากธนาคาร ซึ่งเรื่องดอกเบี้ยเงินกู้เนี่ย เป็นเรื่องที่ผมพบมาจากหลายๆคนว่ามักจะลืมนึกถึงไป

ประกาศอสังหาริมทรัพย์ใหม่ บ้าน บ้าน รายการล่าสุด บ้านเดี่ยว บ้านเดี่ยว รายการล่าสุด ทาวน์เฮ้าส์ ทาวน์เฮ้าส์ รายการล่าสุด ทาวน์โฮม ทาวน์โฮม รายการล่าสุด คอนโด คอนโด รายการล่าสุด อาคารพาณิชย์ อาคารพาณิชย์ รายการล่าสุด อพาร์ทเม้นท์ อพาร์ทเม้นท์ รายการล่าสุด สำนักงาน สำนักงาน รายการล่าสุด โฮมออฟฟิศ โฮมออฟฟิศ รายการล่าสุด ธุรกิจ ธุรกิจ รายการล่าสุด โรงงาน โรงงาน รายการล่าสุด คลังสินค้า คลังสินค้า รายการล่าสุด โกดัง โกดัง รายการล่าสุด ที่ดิน ที่ดิน รายการล่าสุด ลงประกาศฟรี ผู้รับเหมา รายการล่าสุด ผู้รับเหมา ลงประกาศฟรี ผู้รับเหมา ข่าวประชาสัมพันธ์ รายการล่าสุด ข่าวประชาสัมพันธ์ พรีวิวโครงการใหม่ รายการล่าสุด พรีวิวโครงการใหม่ ตกแต่งที่อยู่อาศัย รายการล่าสุด ตกแต่งที่อยู่อาศัย สาระควรรู้ ที่อยู่อาศัย รายการล่าสุด สาระควรรู้ ที่อยู่อาศัย ฮวงจุ้ย ที่อยู่อาศัย รายการล่าสุด ฮวงจุ้ย ที่อยู่อาศัย สินเชื่อ ที่อยู่อาศัย รายการล่าสุด สินเชื่อ ที่อยู่อาศัย SME รายการล่าสุด SME สถานที่ท่องเที่ยว รายการล่าสุด สถานที่ท่องเที่ยว

ดอกเบี้ยสินเชื่อบ้าน อย่าคิดว่าไม่สำคัญ อาจเป็นเรื่องที่หลายๆคนจะมองข้าม

ขอขอบคุณข้อมูลจาก คุณZieg-Hart สมาชิกเว็บไซต์พันทิปดอทคอม 

ผมเชื่อว่าเราคงเคยได้ยินญาติ คนรู้จัก เพื่อนร่วมงาน หรือความเห็นตามเว็บต่างๆ ในทำนองนี้กันมาบ้าง

"มีเงินเดือน xx,xxx บาท อยากจะผ่อนคอนโด เสียดายเงินค่าหอพัก"
"จ่ายค่าหอเดือนละ x,xxx บาท มา x ปีแล้ว นี่ถ้าผ่อนคอนโดคงไม่สูญเปล่าแบบนี้หรอก" ฯลฯ

ซึ่งถ้าเราหาซื้อที่อยู่อาศัยด้วยเงินสด ไม่ต้องกู้หนี้ยืมสินจากธนาคารแล้วคงไม่เป็นไร ไม่ต้องคิดอะไรมากเรื่องดอกเบี้ย แต่หลายๆคนมิได้มีฐานะและเงินทองเช่นนั้น บางคนพึ่งเริ่มทำงานได้ไม่นาน ไม่มีทรัพย์สินติดตัวมาจากที่ไหน บางคนอาจจะย้ายถิ่นฐานมาทำงานในเมืองใหญ่ จึงทำให้เวลาอยากมีที่อยู่อาศัยเป็นของตัวเองแล้วก็ไม่พ้นต้องกู้เงินจากธนาคาร ซึ่งเรื่องดอกเบี้ยเงินกู้เนี่ย เป็นเรื่องที่ผมพบมาจากหลายๆคนว่ามักจะลืมนึกถึงไป 

อันที่จริง คนส่วนใหญ่ที่ผมเจอตัดสินใจกู้เงินมาซื้อที่อยู่อาศัยโดยพิจารณาว่า "เค้าสามารถผ่อนไหว" ซึ่งผมมองว่ามันยังไม่ถูกต้องซะทีเดียว ทำให้ต้องอธิบายกับหลายๆคนอยู่เรื่อยๆ จนกระทั่งเมื่อวานผมไปเจอความเห็นทำนองนี้ในเว็บๆนึง เลยเขียนกระทู้อธิบายไป แต่คิดว่าอาจจะมีประโยชน์กับเพื่อนสมาชิกที่กำลังมองหาที่อยู่อาศัย เลยขอนำมาลงทีนี่ด้วยละกันนะครับ 

หมายเหตุ : 
- หากข้อมูลตรงไหนผิดพลาด ท้วงติดได้เสมอนะครับ จะแก้ไขให้ถูกต้องครับ
- ขอเน้นไปที่ดอกเบี้ยบ้านเป็นหลักก่อนนะครับ จริงๆมีเรื่องค่าส่วนกลาง การซ่อมบำรุง การตกแต่ง ฯลฯ อีกหลายอย่างที่เป็นรายจ่ายเวลาเป็นเจ้าของบ้านและคอนโดอีก

ปรกติแล้วเนี่ย เวลาเราสนใจคอนโดซักห้องนึง (รวมถึงบ้านด้วย) มันมักจะมีประโยคที่เซลล์ชอบพูดกับเราเพื่อล่อให้เราจองคือ 

"ผ่อนประมาณล้านละ 7 พัน"

ความหมายของประโยคนี้คือ 
- ถ้าสมมุติเราสนใจคอนโดราคา 1 ล้านบาท เราจะผ่อนประมาณ 7,000 ผู้กู้ควรมีรายได้สุทธิ 15,000 ขึ้นไป
- ถ้าสมมุติเราสนใจคอนโดราคา 2 ล้านบาท เราจะผ่อนประมาณ 14,000 ผู้กู้ควรมีรายได้สุทธิ 28,000 ขึ้นไป
- ถ้าสมมุติเราสนใจคอนโดราคา 3 ล้านบาท เราจะผ่อนประมาณ 21,000 ผู้กู้ควรมีรายได้สุทธิ 42,000 ขึ้นไป

** ปรกติเวลาขอกู้สินเชื่อบ้านเนี่ย มีปัจจัยในการพิจารณาหลายอย่าง แต่ในเบื้องต้น ผู้กู้ควรมีรายได้อย่างน้อยๆ 2 - 2.5 เท่าของค่างวดต่อเดือน


ซึ่งล้านละ 7 พัน เป็นตัวเลขกลมๆที่ค่อนข้างใกล้เคียงกับเวลากู้จริงๆครับ เพราะคอนโดผม 2 แห่งที่เคยทำเรื่องกู้มาคือ
- ที่แรกของน้องชายผมกู้ 3.56 ล้าน ผ่อนเดือนละ 25,600 กว่าบาท ตกประมาณ ล้านละ 7 พันนิดๆ
- ที่ๆสองของผมกู้เอง 2.3 ล้าน ผ่อนเดือนละ 15,300 บาท ตกประมาณ ล้านละเกือบ 7 พัน

ซึ่งประโยคล้านละ 7 พันเนี่ย เป็นประโยคที่ทำให้หลายๆคนหลวมตัวจองคอนโดและบ้านมาบ้างแล้ว เพราะบางท่านคิดว่าคอนโด 2 ล้าน ผ่อนแค่ 14,000-15,000 ตนมีรายได้ 28,000 บาท น่าจะผ่อนสบายๆ เพราะมีรายได้ 2 เท่าของค่างวดแล้ว ซึ่งจริงๆแล้วการมีรายได้ 2 เท่าของค่างวด เป็นการบ่งชี้ (แบบคร่าวๆ) ว่าคุณพอจะมีสิทธิกู้ผ่าน (แต่เวลากู้จริงจะผ่านไม่ผ่าน มีปัจจัยอื่นเข้ามาเกี่ยวข้องอีกครับ) แต่ ... ประเด็นคือ สมมุติว่าคุณมีรายได้ 28,000 ควรจะกู้ซื้อคอนโดราคา 2 ล้าน หรือเปล่า .. ลองดูตัวอย่างข้างล่างนี่ครับ

คลิกที่รูปเพื่อดูภาพขยาย

นี่คือการคำนวนผ่อนคอนโดของผมเองครับ วงเงินกู้ 2.3 ล้านบาท 
(ทุกแบบผมกำหนดให้ดอก 0% 3 เดือนแรก เดือนที่ 4 - 12 ดอกพิเศษ 4.75% หลังจากนั้น MLR - 1%)

แถวที่ 1 เป็นการคำนวนในกรณี ที่ผมส่งเดือนละ 15,300 กว่าบาท
ถ้าผมส่งด้วยยอดนี้ไปเรื่อยๆจะ
- ใช้เวลา 22 ปี 7 เดือน กว่าจะปิดต้นที่กู้มาได้หมด
- โดนดอกเบี้ยไปประมาณ 1.68 ล้านบาท

แถวที่ 2 เป็นการคำนวนในกรณี ที่ผมส่งเดือนละ 25,700 กว่าบาท
- ใช้เวลา 9 ปี 10 เดือน กว่าจะปิดต้นที่กู้มาได้หมด
- โดนดอกเบี้ยไปประมาณ 6.5 แสนบาท

แถวที่ 3 เป็นการคำนวนในกรณี ที่ผมส่งเดือนละ 38,428 กว่าบาท
- ใช้เวลา 5 ปี 10 เดือน กว่าจะปิดต้นที่กู้มาได้หมด
- โดนดอกเบี้ยไปประมาณ 3.5 แสนบาท

แถวที่ 3 มองผ่านไปก็ได้ เพราะส่งเยอะขนาดนั้น ย่อมหมดเร็ว ดอกน้อย แต่ถ้าลองเทียบแถวแรกกับแถวที่สอง จะพบว่าการส่งต้นมากกว่าขั้นต่ำแค่หมื่นเดียว สามารถลดเวลาการผ่อนไปได้ 12 ปี (เหลือ 9 ปีกว่าๆเกือบ 10ปี) และลดดอกเบี้ยตลอดอายุสัญญาไปได้ 1 ล้านบาท (เหลือ 6 แสนกว่า)



คำถามคือ ทำไมส่งเดือนละน้อยๆดอกถึงบาน?

คำตอบคือ วิธีการคิดดอกเบี้ยของธนาคาร จะนำเงินต้นที่เหลืออยู่มาคำนวนดอกเบี้ย ยิ่งเงินต้นเหลือมากเท่าไร ดอกเบี้ยในการคำนวนงวดต่อๆไปจะยิ่งสูงขึ้นมากเท่านั้น ลองดูภาพข้างล่างนี้นะครับ

** หมายเหตุ : โดยปรกติแล้ว ดอกเบี้ยบ้านเป็นแบบลดต้นลดดอก ซึ่งจะถูกคำนวนเป็นรายวันในแต่ละรอบที่เราจ่ายไปนะครับ แต่ในภาพนี้ผมคิดแบบไม่ละเอียด เอาให้พอเห็นภาพความแตกต่างนะครับ ซึ่งทำให้ตัวเลขจะไม่ถูกต้อง 100% ซะทีเดียว เนื่องจากถ้าคำนวนแบบถูกต้องจริงๆจะต้องคำนึงถึงวันที่ชำระเงินและระยะเวลานับจากการชำระเงินครั้งล่าสุดด้วยครับ (เช่นถ้าจ่ายทุกๆวันที่ 1 ของแต่ละเดือน ระยะเวลานับจากการชำระเงินครั้งล่าสุดของรอบเดือน ก.พ. จะเป็น 28 วัน พอมารอบเดือน มี.ค. จะกลายเป็น 31 วัน พอมาถึงเดือนเมษาจะกลายเป็น 30 วัน แม้จะชำระเงินเท่ากันทุกเดือน แต่จะถูกนำไปหักดอกเบี้ยไม่เท่ากันครับ) นอกจากนั้นแล้ว เงินต้นเองก็จะลดลงเรื่อยๆทุกๆเดือนเช่นกันครับ

แต่ถ้าท่านใดอยากทราบความแตกต่างและการเปลี่ยนแปลงของดอกเบี้ยบ้านโดยละเอียด
สามารถดูจากโปรแกรมคำนวนเงินกู้ได้ครับ

คลิกที่รูปเพื่อดูภาพขยาย
 

จะเห็นว่าในปีแรกเนี่ย ก่อนที่เราจะเริ่มผ่อนกับธนาคาร ทั้งสองแบบเสียดอกเบี้ยเท่ากัน แต่พอมาถึงปีที่สอง แบบผ่อนเยอะจะเสียดอกเบี้ยน้อยกว่ากัน (ช่องสุดท้ายในตาราง) อยู่ 7,200 บาท พอมาถึงปีที่ 3 แบบที่ผ่อนเยอะจะเสียดอกเบี้ยน้อยกว่ากันมากขึ้นไปอีกอยู่ที่ 14,832 บาท และส่วนต่างจะเพิ่มขึ้นเรื่อยๆ เนื่องจากแบบที่สองจะมีเงินต้นน้อยลงไปเรื่อยๆในแต่ละปีแบบมีนัยยะสำคัญ พอลองดูปีที่ 6 จะพบว่าส่วนต่างดอกเบี้ยเพิ่มไปถึง 4 หมื่นบาท และกลายเป็น 5 หมื่นบาทในปีต่อไป จนในที่สุดแล้วแบบแรกเสียดอกเบี้ยมากกว่าแบบที่สองถึง 762,837.37 บาท (ได้รถยนต์คันนึงเลย)
 

อีกประเด็นนึงคือให้ลองสังเกตุดอกเบี้ยและเงินต้นของแบบผ่อนขั้นต่ำครับ จะเห็นว่าเงินต้นลดลงไปน้อยมาก

- ในขณะที่ดอกเบี้ยช่วง 3 ปีแรกเสียพอๆกันเลยอยู่ที่
120,000 > 116,400 > 112,584 > 108,539 บาท

- ในขณะที่แบบที่สอง เงินต้นลดลงเรื่อยๆ และดอกเบี้ยก็ลดลงเรื่อยๆจาก
120,000 > 109,200 > 97,752 > 85,617 บาท 

ซึ่งตรงนี้เอง คือสาเหตุว่าทำไม เวลาเราส่งขั้นต่ำ ต้นมันถึงไม่ลดซักที เพราะดอกเบี้ยในแต่ละปี มันสูงเกือบจะเท่ากับเงินที่เราส่งเลย (ส่งไป 1.8 แสนต่อปี แต่โดนดอก 1.2 แสนต่อปี ตัดต้นได้แค่ 6 หมื่น)

แต่ถ้าหากคุณจะส่งขั้นต่ำ และสามารถโปะได้เรื่อยๆก็เป็นข้อยกเว้นครับ สุดท้ายแล้วเงินต้นและดอกเบี้ยคงเหลือจะใกล้เคียงกันครับ ตัวอย่างเช่น
- แบบแรกส่ง 15,000 บาท
- แบบสองส่ง 25,000 บาท
ต่างกันอยู่เดือนละ 10,000 บาท ปีนึงจะต่างกัน 120,000 บาท


ซึ่งถ้าคุณสามารถหาเงินมาโปะตอนสิ้นปี 120,000 บาทได้ เงินต้นคงเหลือและดอกเบี้ยสะสมก็จะใกล้เคียงกันมากครับ​ ... เพียงแต่เรื่องการโปะเนี่ย มันไม่แน่นอนครับ บางคนวางแผนจะโปะปีละแสนสองแสน เอาเข้าจริงๆมันมีเรื่องให้ใช้เงินสุดท้ายก็ไม่ได้โปะ เลยอยากแนะนำว่าให้ติดต่อธนาคารให้หักบัญชีให้มากขึ้นไปเลยดีกว่า เป็นการบังคับตัวเองไปด้วยเลย

สรุป

คือที่เขียนมาจนยาวขนาดนี้ผมอยากจะสื่อว่า ถ้าใครคิดว่าตนสามารถผ่อนคอนโดขั้นต่ำได้แล้ว ผมอยากให้ชะลอไว้ก่อน รอให้สามารถผ่อนได้มากกว่าขั้นต่ำซัก 50% หรือให้ดี ผ่อน 2 เท่าของขั้นต่ำไปเลยยิ่งดี เพราะคุณจะผ่อนสั้นกว่าเยอะ เสียดอกให้ธนาคารน้อยกว่าเยอะ หรืออาจจะคิดง่ายๆแบบนี้ก็ได้ครับ 

ให้ "ผ่อนล้านละ 12,000" แทนที่จะเป็น "ผ่อนล้านละ 7,000"
- วงเงินกู้ 1 ล้านบาท ผ่อนไปเลยประมาณ 12,000 คนกู้ควรจะมีรายได้สุทธิ 24,000 ขึ้นไป
- วงเงินกู้ 2 ล้านบาท ผ่อนไปเลยประมาณ 24,000 คนกู้ควรจะมีรายได้สุทธิ 48,000 ขึ้นไป
- วงเงินกู้ 3 ล้านบาท ผ่อนไปเลยประมาณ 36,000 คนกู้ควรจะมีรายได้สุทธิ 72,000 ขึ้นไป

หรืออีกทางนึงครับคือ "ผ่อนล้านละ 7,000 และเก็บอีก 7,000" 
สมมุติว่ากู้ซือคอนโด 2 ล้าน ต้องผ่อนขั้นต่ำเดือนละ 14,000 ก็ให้ผ่อนกับธนาคารตามนี้ครับ
แต่ทุกๆเดือน พยายามเก็บเงินอีก 14,000 (ถ้าไม่ไหวก็น้อยกว่านี้) เข้าบัญชีสำรองไว้ครับ
ถ้าระหว่างที่ผ่อนๆอยู่เกิดมีวิกฤติทางการเงิน เจ็บไข้ได้ป่วย รถเสียหายหนัก ฯลฯ ก็ดึงเงินสำรองมาใช้ได้ แต่ถ้าจนถึงสิ้นปีแล้ว ไม่มีเหตุให้ใช้เงินเลย ก็ถอนเงินก้อนนี้แหละครับ ไปโปะเงินกู้บ้าน

สมมุติว่าเก็บเดือนละ 14,000 บาท 1 ปีจะเก็บได้ 16,8000 บาท
ซึ่งในปีนั้นตัดสินใจทำเลสิกไป 3 หมื่นบาท

พอสิ้นปีเหลือเงิน 13,8000 บาท
ก็อาจจะนำเงินซัก 1 แสนบาทไปโปะเงินกู้ เพื่อลดต้นที่จะถูกนำไปคำนวนดอก
ส่วนอีก 38,000 อาจจะเอาไปตบแต่งบ้าน เที่ยวต่างจังหวัด พาคุณพ่อคุณแม่ไปช๊อปปิ้ง ฯลฯ ตามต้องการครับ

หวังว่าจะมีประโยชน์สำหรับท่านๆที่ทำงานและกำลังมองหาที่อยู่อาศัยมาเป็นของตัวเองนะครับ


ขอบคุณข้อมูลจาก พันทิปดอทคอม
  • ผ่อนบ้านให้หมดเร็วมีเทคนิคง่ายๆ ใครก็ทำได้ทำอย่างไร?
  • ขั้นตอนการขอกู้เงินเพื่อ "ซื้อบ้าน" จากโครงการ หรือ ขอกู้เงินเพื่อ "สร้างบ้าน" บนที่ดินตัวเอง
  • รีไฟแนนซ์บ้าน อย่าเชื่อ! ข้อมูลจากธนาคารทั้งหมด ต้องคำนวณให้ดีเพื่อให้มีเงินเหลือ
  • 3 สินเชื่อบ้านสุดคุ้ม ปี 64 จาก ธอส. กู้ 1 ล้าน* ผ่อนเพียง 3,400 บ.
  • 10 เรื่องควรรู้ สัญญากู้ร่วมซื้อบ้านหรือคอนโด
  • ยื่นกู้สินเชื่อบ้าน เตรียมเอกสารอย่างไร เลือกอัตราดอกเบี้ยแบบไหน ?
  • สินเชื่อเคหะ ธนาคารออมสิน
  • 6 เรื่องเบื้องต้น ที่ควรพิจารณาก่อนตัดสินใจกู้ซื้อบ้าน
  • ธนาคารกรุงไทย ร่วมมือ KTC ผ่อนบ้านผ่านบัตรเครดิต รายแรกของไทย
  • 3 เรื่องต้องรู้ ก่อนรีไฟแนนซ์บ้าน แนะสูตรคำนวณแบบประหยัดดอกเบี้ย หนีดอกเบี้ยสุดโหด
  • สินเชื่อ SME ต่อยอดธุรกิจ กู้เงินเปิดร้าน วงเงินกู้ 3 เท่า สูงสุด 20 ล้าน
  • สินเชื่อบ้าน รีไฟแนนซ์ จากธนาคารกรุงไทย ตัวช่วยของคนอยากมีบ้าน
  • ผ่อนบ้านจัดเต็มกับกรุงไทย ผ่อนนาน 40 ปี ดอกเบี้ยคงที่ 6 เดือน
  • ออมสินให้วงเงินกู้สูงสุด 3 ล้าน ใช้เป็นเงินทุนร้านสำหรับพ่อค้าแม่ขาย อาชีพอิสระ ผ่อนยาว 10 ปี
  • สมัครกู้เงินออนไลน์? ออมสินให้กู้ด่วน 200,000 บาท จริงหรือไม่
  • ดอกเบี้ยสินเชื่อบ้าน อย่าคิดว่าไม่สำคัญ อาจเป็นเรื่องที่หลายๆคนจะมองข้าม

    ซึ่งถ้าเราหาซื้อที่อยู่อาศัยด้วยเงินสด ไม่ต้องกู้หนี้ยืมสินจากธนาคารแล้วคงไม่เป็นไร ไม่ต้องคิดอะไรมากเรื่องดอกเบี้ย แต่หลายๆคนมิได้มีฐานะและเงินทองเช่นนั้น บางคนพึ่งเริ่มทำงานได้ไม่นาน ไม่มีทรัพย์สินติดตัวมาจากที่ไหน บางคนอาจจะย้ายถิ่นฐานมาทำงานในเมืองใหญ่ จึงทำให้เวลาอยากมีที่อยู่อาศัยเป็นของตัวเองแล้วก็ไม่พ้นต้องกู้เงินจากธนาคาร ซึ่งเรื่องดอกเบี้ยเงินกู้เนี่ย เป็นเรื่องที่ผมพบมาจากหลายๆคนว่ามักจะลืมนึกถึงไป

    © สงวนลิขสิทธิ์ 2567 บริษัท ไทยโฮมทาวน์ จำกัด
    @thaihometown Scroll