สาระควรรู้ทั่วไป

ในการต่อเติมบ้านนั้น คนส่วนมากมักคิดว่าการต่อเติมโครงสร้างใหม่โดยฝากติดกับตัวบ้านเดิมเพียงเล็กน้อย ไม่น่าจะมีปัญหาอะไร แต่ในความเป็นจริงแล้ว การออกแบบโครงสร้างของบ้านนั้น หากผู้ออกแบบไม่ได้เผื่อน้ำหนักและโครงสร้างสำหรับการต่อเติมไว้ เมื่อต่อเติมไปแล้วอาจพบปัญหาการแตกร้าว รั่วซึม หรือบางครั้งก็ทรุดตัวไปมากจนต้องทุบทิ้ง อีกทั้งยังต้องคำนึงถึงเรื่องข้อกฏหมายในการต่อเติมอีกด้วย ดังนั้นการออกแบบโครงสร้างในส่วนต่อเติมที่ถูกต้องนั้นควรคำนึงถึง

ประกาศอสังหาริมทรัพย์ใหม่ บ้าน บ้าน รายการล่าสุด บ้านเดี่ยว บ้านเดี่ยว รายการล่าสุด ทาวน์เฮ้าส์ ทาวน์เฮ้าส์ รายการล่าสุด ทาวน์โฮม ทาวน์โฮม รายการล่าสุด คอนโด คอนโด รายการล่าสุด อาคารพาณิชย์ อาคารพาณิชย์ รายการล่าสุด อพาร์ทเม้นท์ อพาร์ทเม้นท์ รายการล่าสุด สำนักงาน สำนักงาน รายการล่าสุด โฮมออฟฟิศ โฮมออฟฟิศ รายการล่าสุด ธุรกิจ ธุรกิจ รายการล่าสุด โรงงาน โรงงาน รายการล่าสุด คลังสินค้า คลังสินค้า รายการล่าสุด โกดัง โกดัง รายการล่าสุด ที่ดิน ที่ดิน รายการล่าสุด ลงประกาศฟรี ผู้รับเหมา รายการล่าสุด ผู้รับเหมา ลงประกาศฟรี ผู้รับเหมา ข่าวประชาสัมพันธ์ รายการล่าสุด ข่าวประชาสัมพันธ์ พรีวิวโครงการใหม่ รายการล่าสุด พรีวิวโครงการใหม่ ตกแต่งที่อยู่อาศัย รายการล่าสุด ตกแต่งที่อยู่อาศัย สาระควรรู้ ที่อยู่อาศัย รายการล่าสุด สาระควรรู้ ที่อยู่อาศัย ฮวงจุ้ย ที่อยู่อาศัย รายการล่าสุด ฮวงจุ้ย ที่อยู่อาศัย สินเชื่อ ที่อยู่อาศัย รายการล่าสุด สินเชื่อ ที่อยู่อาศัย SME รายการล่าสุด SME สถานที่ท่องเที่ยว รายการล่าสุด สถานที่ท่องเที่ยว

ข้อควรรู้ก่อนต่อเติมบ้าน ป้องกันปัญหาในระยะยาว

      ในการต่อเติมบ้านนั้น คนส่วนมากมักคิดว่าการต่อเติมโครงสร้างใหม่โดยฝากติดกับตัวบ้านเดิมเพียงเล็กน้อย ไม่น่าจะมีปัญหา อะไร แต่ในความเป็นจริงแล้ว การออกแบบโครงสร้างของบ้านนั้น หากผู้ออกแบบไม่ได้เผื่อน้ำหนักและโครงสร้างสำหรับการต่อเติมไว้ เมื่อต่อเติมไปแล้วอาจพบปัญหาการแตกร้าว รั่วซึม หรือบางครั้งก็ทรุดตัวไปมากจนต้องทุบทิ้ง อีกทั้งยังต้องคำนึงถึงเรื่องข้อกฏหมายในการต่อเติมอีกด้วย

surprise การออกแบบโครงสร้างในส่วนต่อเติมที่ถูกต้องนั้นควรพิจารณาเรื่อง ดังต่อไปนี้

 

ตรวจสอบตัวอาคารบ้านเดิม พื้นที่โดยรอบก่อนการต่อเติม

ตรวจสอบตัวอาคารบ้านเดิม พื้นที่โดยรอบก่อนการต่อเติม

      ก่อนการดำเนินการใดๆ ในการต่อเติมต้องมีการตรวจเช็คโครงสร้างเดิมก่อน โครงการบางที่อาจมีการก่อสร้างตัวบ้านบนที่ดินที่เคยเป็นแหล่งน้ำมาก่อน ทำให้มีการทรุดตัวของพื้นดินบริเวณนั้น หรือกรณีที่ไม่มีการทรุดตัวก่อนการต่อเติม แต่ภายหลังการต่อเติมอาจจะมีเกิดการทรุดตัวเกิดขึ้นก็ได้ ซึ่งนั้นหมายถึงต้องมีการเตรียมตัวไว้ให้พร้อม จึงจำเป็นต้องมีการตรวจเช็คโครงสร้างตัวบ้าน และพื้นที่โดยรอบตัวบ้านไว้ล่วงหน้านั้นเอง
 

การแยกโครงสร้างใหม่ออกจากโครงสร้างเดิม

การแยกโครงสร้างใหม่ออกจากโครงสร้างเดิม

      ในการต่อเติมโครงสร้างใหม่นั้นส่วนมากมักใช้เสาเข็มที่มีขนาดเล็กหรือสั้นกว่าตัวบ้านเดิม เนื่องจากไม่สามารถนำปั่นจั่นเข้าไปตอกเข็มขนาดใหญ่ได้ จึงทำให้เกิดการทรุดตัวที่แตกต่างกัน สิ่งที่เกิดขึ้นตามมาคือรอยต่อระหว่างสองอาคารแยกเริ่มร้าวและแยกออกจากกัน ทำให้เกิดปัญหา เรื่องน้ำฝนรั่ว ผนังร้าวต่างๆตามมา ดังนั้นเมื่อมีการต่อเติมควรแยกโครงสร้างใหม่ออกจากโครงสร้างเก่าอย่างเด็ดขาด แม้ว่าภายนอกจะดูแนบสนิทก็ตาม

cryingโครงสรางเชื่อต่อกัน ตัวอาคารบ้านเดิม และส่วนต่อเติม

      การที่ต้องการขยายห้องให้กว้างขึ้นมีเรื่องที่ไม่ควรทำคือการเชื่อมคานยื่นออกไปจากคานเดิม แต่ควรทำคานขึ้นมาใหม่สำหรับการรับพื้น หลายท่านอาจจะสงสัยว่าถ้าได้ทำอย่างดี มีความมั่นคงแข็งแรงแล้วทำไมถึงทำไม่ได้ เหตุผลคือการถ่ายน้ำหนักของโครงสร้างที่ทำขึ้นมาใหม่ เมื่อถ่ายน้ำหนักลงเสาเข็ม เสาเข็มก็จะทรุดตัว โดยอาคารเดิมที่สร้างมาก่อนการทรุดตัวของเสาเข็มอาจจะคงที่ ไม่ทรุดลงอีกแล้วหรือทรุดตัวน้อยมาก ดังนั้นการทรุดตัวของโครงสร้างใหม่ที่ไม่เท่ากับโครงสร้างเดิมก็จะทำให้เกิดการแตกร้าวแยกจากกันได้

แยกตัวโครงสร้างฐานราก อาคารบ้านเดิม และส่วนต่อเติม

      เหตุผลหลักของการทรุดตัวของเสาเข็มไม่เท่ากันคือความยาวของเสาเข็มครับ เพราะการต่อเติมบ้านอาจจะไม่สามารถใช้เสาเข็มความยาวเท่ากับโครงสร้างเดิมได้ เนื่องจากไม่สามารถเข้าไปตอกเสาเข็มได้ (ถึงแม้จะใช้วิธีทำเข็มเจาะได้ แต่เนื่องจากทำทีหลัง การทรุดตัวก็ไม่เท่ากันดังกล่าวแล้ว)

ตัวอาคารที่ต่อเติมเมื่อมีการทรุดตัว ตัวอาคารบ้านเดิมจะไม่เสียหาย

      ความไม่รู้เรื่องโครงสร้างทำให้เจ้าของบ้านอาจเชื่อผู้รับเหมาทั่วไปที่อาจไม่เข้าใจถึงเรื่องน้ำหนัก และการรับน้ำหนักของโครงสร้างต่างๆ ของอาคาร ตัวอย่างง่ายๆ คืออยากต่อเติมกั้นห้องเพิ่มโดยการก่ออิฐมอญ และฉาบปูน แต่ไม่ทราบว่าคานที่มีอยู่เดิมนั้นไม่ได้ออกแบบมาสำหรับรับกำแพงก่ออิฐ เช่น คานรับพื้นดาดฟ้าของตึกแถว เป็นต้น

 

การก่อนกำแพงทั้งแบบอิฐมอญ

คำนวณน้ำหนักของการก่อนกำแพงทั้งแบบอิฐมอญ และการฉาบเรียบ 

      น้ำหนักของกำแพงอิฐมอญที่ก่ออิฐและฉาบปูน ที่เรียกว่าก่ออิฐครึ่งก้อน (ก่ออิฐชั้นเดียว) มีน้ำหนักตารางเมตรละ 180 กิโลกรัม ดังนั้นถ้าก่ออิฐกั้นห้องสูง 2.50 เมตรก็จะมีน้ำหนักเพิ่มขึ้นที่คาน 450 กิโลกรัมต่อความยาว 1 เมตร ซึ่งเท่ากับข้าวสาร 4 กระสอบครึ่ง เป็นตัวเลขของน้ำหนักที่เพิ่มขึ้นจากการต่อเติมเพิ่มกำแพงห้องครับ
 

คานเหล็ก H Beam

คานเหล็ก H Beam ที่มีขนาดให้รับน้ำหนักได้

      กรณีที่เคยมีผู้ปรึกษาผมถึงเรื่องความต้องการทำห้องน้ำเพิ่มที่ชั้นบนของตัวบ้าน แต่เนื่องจากโครงสร้างของพื้นเป็นระบบแผ่นพื้นสำเร็จ ซึ่งไม่ควรที่จะเจาะรูเพื่อวางท่อส้วม ในกรณีดังกล่าวเนื่องจากความจำเป็นผมจึงให้เพิ่มคานที่จะเป็นตัวรับกำแพงห้องน้ำใหม่ ด้วยการเสริมคานเหล็ก H Beam ที่มีขนาดให้รับน้ำหนักได้ และเทคอนกรีตผสมน้ำยากันซึมปรับพื้นห้องน้ำใหม่ ซึ่งทำให้พื้นห้องน้ำใหม่มีระดับสูงกว่าพื้นห้อง และต้องปรับแก้ด้วยการทำขอบประตูที่หน้าห้องน้ำ ถึงแม้ว่าการเสริมคานเหล็กเข้ากับคานเดิมเพื่อรับแนวกำแพงห้องน้ำจะไปเพิ่มแรงกดให้กับคานเดิม แต่น้ำหนักที่เพิ่มก็ยังอาจพอรับได้ ซึ่งทางที่ดีที่สุดคือปรึกษาวิศวกรให้ตรวจสอบดูว่าทำได้หรือไม่


ขอบคุณข้อมูลจาก SCGhomesolution.com
  • 13 ของเหลือใช้อย่าทิ้ง! นำมารีไซเคิลเป็นของใช้อื่นๆ ได้สวยแจ่มอย่าบอกใคร
  • รวม 6 คอนโดเพื่อวัยเกษียณ ตอบโจทย์ไลฟ์สไตล์คนรุ่นใหญ่
  • กักตัว 14 วันอย่างไร ให้ปลอดภัยกับคนในบ้าน
  • บ้านทาสีใหม่ กลิ่นสีใหม่จะฉุนมากดับกลิ่นได้อย่างไรดี
  • วิธีการจัดโต๊ะหมู่บูชาพระ ไหว้พระในบ้านและเคล็ดลับ
  • เตรียมตัวเช็คการตั้งโต๊ะหมู่บูชา สงกรานต์นี้จัดอย่างไรให้เหมาะสม
  • 12 กิจกรรมฟรี! เมื่อเริ่มรู้สึกเบื่อการอยู่บ้าน
  • 11 ประโยชน์สุดคาดไม่ถึงของ "ชาเขียว" ที่ไม่ได้มีดีแค่เอาไว้ดื่ม !!!
  • หลังคารั่ว ปัญหาที่มาตามนัดเมื่อถึงหน้าฝน ถ้าไม่อยากเจ็บซ้ำต้องทั้งแก้ไขและป้องกันให้ถูกจุด
  • ระเบียบข้อบังคับจราจร การจอดรถในพื้นที่สาธารณะ ส่วนกลางหมู่บ้าน
  • เลือกอิฐแบบไหน อิฐมอญ อิฐมวลเบา อิฐบล็อก เหมาะกับสร้างบ้าน ประหยัดงบมากที่สุด
  • เช็คสิทธิ ทะเบียนราษฎร "เจ้าของบ้าน" กับ "เจ้าบ้าน" ในทะเบียนบ้าน ใครสิทธิเหนือกว่า หน้าที่ต่างกันอย...
  • เคล็ดไม่ลับ 10 วิธีซักผ้าสีตก คราบสีฝังแน่นอย่าทิ้ง ทำให้เสื้อกลับมาใส่ได้อีกครั้งดีกว่า
  • ข้อควรรู้ ซื้อบ้าน และที่ดินในโครงการจัดสรร เรื่องใดที่ควรทำหลังโอนกรรมสิทธิ์ที่ดิน
  • แอร์ยี่ห้อไหนประหยัดไฟ 2567 ลดการใช้พลังงาน ช่วยประหยัดไฟได้ดี
  • ข้อควรรู้ก่อนต่อเติมบ้าน ป้องกันปัญหาในระยะยาว

    ในการต่อเติมบ้านนั้น คนส่วนมากมักคิดว่าการต่อเติมโครงสร้างใหม่โดยฝากติดกับตัวบ้านเดิมเพียงเล็กน้อย ไม่น่าจะมีปัญหาอะไร แต่ในความเป็นจริงแล้ว การออกแบบโครงสร้างของบ้านนั้น หากผู้ออกแบบไม่ได้เผื่อน้ำหนักและโครงสร้างสำหรับการต่อเติมไว้ เมื่อต่อเติมไปแล้วอาจพบปัญหาการแตกร้าว รั่วซึม หรือบางครั้งก็ทรุดตัวไปมากจนต้องทุบทิ้ง อีกทั้งยังต้องคำนึงถึงเรื่องข้อกฏหมายในการต่อเติมอีกด้วย ดังนั้นการออกแบบโครงสร้างในส่วนต่อเติมที่ถูกต้องนั้นควรคำนึงถึง

    © สงวนลิขสิทธิ์ 2567 บริษัท ไทยโฮมทาวน์ จำกัด
    @thaihometown Scroll