สาระควรรู้ทั่วไป

การขอใช้บริการสาธารณูปโภคต่าง ๆ ภายในบ้าน ไม่ว่าจะเป็นการขอใช้น้ำประปา ไฟฟ้า โทรศัพย์ และหลักฐานในการขอใช้บริการต่าง ๆ เหล่านั้นก็ต้องใช้หลักฐานของความเป็นบ้านยื่นประกอบกันด้วย นั่นก็คือ "ทะเบียนบ้าน" นั่นเองค่ะ

ประกาศอสังหาริมทรัพย์ใหม่ บ้าน บ้าน รายการล่าสุด บ้านเดี่ยว บ้านเดี่ยว รายการล่าสุด ทาวน์เฮ้าส์ ทาวน์เฮ้าส์ รายการล่าสุด ทาวน์โฮม ทาวน์โฮม รายการล่าสุด คอนโด คอนโด รายการล่าสุด อาคารพาณิชย์ อาคารพาณิชย์ รายการล่าสุด อพาร์ทเม้นท์ อพาร์ทเม้นท์ รายการล่าสุด สำนักงาน สำนักงาน รายการล่าสุด โฮมออฟฟิศ โฮมออฟฟิศ รายการล่าสุด ธุรกิจ ธุรกิจ รายการล่าสุด โรงงาน โรงงาน รายการล่าสุด คลังสินค้า คลังสินค้า รายการล่าสุด โกดัง โกดัง รายการล่าสุด ที่ดิน ที่ดิน รายการล่าสุด ลงประกาศฟรี ผู้รับเหมา รายการล่าสุด ผู้รับเหมา ลงประกาศฟรี ผู้รับเหมา ข่าวประชาสัมพันธ์ รายการล่าสุด ข่าวประชาสัมพันธ์ พรีวิวโครงการใหม่ รายการล่าสุด พรีวิวโครงการใหม่ ตกแต่งที่อยู่อาศัย รายการล่าสุด ตกแต่งที่อยู่อาศัย สาระควรรู้ ที่อยู่อาศัย รายการล่าสุด สาระควรรู้ ที่อยู่อาศัย ฮวงจุ้ย ที่อยู่อาศัย รายการล่าสุด ฮวงจุ้ย ที่อยู่อาศัย สินเชื่อ ที่อยู่อาศัย รายการล่าสุด สินเชื่อ ที่อยู่อาศัย SME รายการล่าสุด SME สถานที่ท่องเที่ยว รายการล่าสุด สถานที่ท่องเที่ยว

ขั้นตอนสำหรับ การขอเลขที่บ้านใหม่

การขอใช้บริการสาธารณูปโภคต่าง ๆ ภายในบ้าน ไม่ว่าจะเป็นการขอใช้น้ำประปา ไฟฟ้า โทรศัพย์ และหลักฐานในการขอใช้บริการต่าง ๆ เหล่านั้นก็ต้องใช้หลักฐานของความเป็นบ้านยื่นประกอบกันด้วย นั่นก็คือ "ทะเบียนบ้าน" นั่นเองค่ะ

วันนี้ได้นำสาระและ ขั้นตอนการขอเลขที่บ้าน หรือ ขอบ้านเลขที่ใหม่ มาฝากกันนะคะ มาดูกันค่ะ ว่าการจะมีบ้านเลขที่สักหลังต้องมีขั้นตอนการขออย่างไร ยื่นที่ไหน และใช้เอกสารประกอบชนิดใดบ้าง

       “ บ้าน” ตามพระราชบัญญัติการทะเบียนราษฎรพ.ศ. 2534 (รวมฉบับที่แก้ไขเพิ่มเติม(ฉบับที่ 2) พ.ศ.2551)  หมายความว่า โรงเรือนหรือสิ่งปลูกสร้างสำหรับใช้เป็นที่อยู่อาศัย  ซึ่งมีเจ้าบ้านครอบครอง  และให้หมายความรวมถึงแพ    หรือเรือซึ่งจอดเป็นประจำและใช้เป็นที่อยู่ประจำ   หรือสถานที่   หรือยานพาหนะ ซึ่งใช้เป็นที่อยู่อาศัยประจำได้ด้วย

การขอเลขที่บ้าน  

        เมื่อมีการปลูกสร้างบ้าน  เจ้าบ้านจะต้องแจ้งต่อนายทะเบียนเพื่อ ขอเลขที่บ้านภายใน  15 วัน  นับแต่วันที่สร้างเสร็จ   เมื่อนายทะเบียนรับคำร้องพร้อมหลักฐานของผู้แจ้งครบถ้วนแล้ว  จะต้องตรวจสอบว่าบ้านที่ขอเลขที่นั้น  มีลักษณะเป็นโรงเรียนหรือสิ่งปลูกสร้างที่สามารถใช้เป็นที่อยู่อาศัยเป็นประจำ (มีสภาพคงทนถาวร)หรือไม่  ถ้าถูกต้องกำนัน/ผู้ใหญ่บ้านหรือนายทะเบียนจะกำหนดเลขที่บ้านให้แก่ผู้แจ้งภายใน 7 วัน(กรณีบ้านปลูกอยู่ในเขตเทศบาล)  หรือภายใน 30 วัน (กรณีบ้านปลูกอยู่นอกเขตเทศบาล)

ทะเบียนบ้าน   คือ  ทะเบียนบ้านที่นายทะเบียนออกให้บ้านแต่ละหลัง  กำหนดให้มีเลขประจำบ้าน(เลขที่บ้าน) ซึ่งปลูกสร้างโดยได้รับอนุญาตให้ก่อสร้างตามกฎหมายว่าด้วยการควบคุมอาคาร  หรือมีเอกสารสิทธิ์ในที่ดินที่ปลูกสร้างอาคาร 

 

สถานที่ยื่นคำร้องขอเลขที่บ้าน

-ถ้าบ้านปลูกอยู่ในเขตเทศบาลที่ยังมีผู้ใหญ่บ้านอยู่ในเขตเทศบาล  เจ้าบ้านจะต้องแจ้งขอเลขที่บ้านต่อผู้ใหญ่บ้านเพื่อออกใบรับแจ้งเกี่ยวกับบ้าน (ท.ร.9)  สำหรับนำไปประกอบการยื่นคำร้องขอเลขที่บ้านที่งานทะเบียนราษฎรของทะเบียนท้องถิ่นเทศบาลที่บ้านปลูกสร้างเสร็จตั้งอยู่  เพื่อแจ้งขอเลขที่บ้านและสมุดทะเบียนบ้าน

-ถ้าบ้านปลูกอยู่นอกเขตเทศบาล  เจ้าบ้านจะต้องแจ้งขอเลขที่บ้านต่อผู้ใหญ่บ้าน  เพื่อออกใบรับแจ้งเกี่ยวกับบ้าน (ท.ร.9) สำหรับนำไปประกอบการยื่นคำร้องที่งานทะเบียนราษฎรของสำนักทะเบียนอำเภอที่บ้านปลูกสร้างเสร็จตั้งอยู่  เพื่อแจ้งขอเลขที่บ้านและสมุดทะเบียนบ้าน

หลักฐานที่ต้องใช้ในการขอเลขที่บ้าน หรือทะเบียนบ้านใหม่ ได้แก่

(1) ใบรับแจ้งเกี่ยวกับบ้าน (ท.ร.9) ออกโดยผู้ใหญ่บ้าน หรือกำนันท้องที่ที่บ้านที่ปลูกสร้างเสร็จตั้งอยู่

(2) สำเนาบัตรประจำตัวประชาชน  และสำเนาทะเบียนบ้านของผู้ยื่นคำร้องพร้อมรับรองสำเนาถูกต้องทุกฉบับ  จำนวน  1  ชุด

(3)   เอกสารสิทธิ์แสดงการครอบครองที่ดินของบ้านที่ปลูกสร้างนั้นตั้งอยู่  เช่น โฉนดที่ดิน  , น.ส.3 ,ส.ป.ก เป็นต้น  กรณีสิ่งปลูกสร้างตั้งอยู่บนที่ดินของผู้อื่น  ต้องมีหนังสือยินยอมให้ปลูกสร้างบ้านบนที่ดินนั้นของเจ้าของกรรมสิทธิ์ที่ดินนั้นประกอบด้วย  โดยใช้เอกสารดังนี้

          - หนังสือยินยอมให้ปลูกสร้างบ้าน  (กรณีสิ่งปลูกสร้างตั้งอยู่บนที่ดินของผู้อื่น) โดยแนบสำเนาบัตรประจำตัวประชาชน  และสำเนาทะเบียนบ้านของเจ้าของกรรมสิทธิ์ที่ดิน/ผู้ที่มีชื่อร่วมกันในกรรมสิทธิ์ที่ดินนั้นๆทุกคน  ลงลายมือชื่อพร้อมรับรองสำเนาถูกต้องเอกสารทุกฉบับ  จำนวน  1 ชุด
         
*หมายเหตุ*   กรณีเจ้าของกรรมสิทธิ์ที่ดินเสียชีวิต  แนบสำเนามรณบัตรและให้ผู้มีส่วนได้เสียในที่ดินนั้นๆทุกคน มีหนังสือยินยอมให้ปลูกสร้างบ้านบนที่ดินโดยแนบสำเนาบัตรประจำตัวประชาชน  และสำเนาทะเบียนบ้านพร้อมรับรองสำเนาถูกต้องทุกฉบับของผู้มีส่วนได้เสียแต่ละคน  จำนวนคนละ  1 ชุด

-กรณียื่นในนามบริษัท , ห้างหุ้นส่วนจำกัด  ฯลฯ ต้องมีหนังสือรับรองการจัดตั้ง  หรือหนังสือรับรองโดยแนบสำเนาทะเบียนบ้าน  และสำเนาบัตรประจำตัวประชาชนของผู้มีอำนาจลงนามทุกคน  ลงลายมือชื่อพร้อมรับรองสำเนาถูกต้องเอกสารทุกฉบับ  จำนวน  1 ชุด

(4)  ใบอนุญาตก่อสร้างอาคาร  หรือ  หนังสือรับรองสิ่งปลูกสร้าง

(5)  หนังสือมอบอำนาจ  / มอบหมายจากเจ้าของกรรมสิทธิ์ที่ดิน  กรณีไม่สามารถมาติดต่อขอเลขที่บ้านด้วยตนเอง  พร้อมสำเนาบัตรประจำตัวประชาชน  และสำเนาทะเบียนบ้านของผู้มอบอำนาจ /มอบหมายและผู้รับมอบอำนาจ/มอบหมาย  รวมทั้งพยานบุคคล จำนวน 2 คน ลงลายมือชื่อ  หรือลายพิมพ์นิ้วหัวแม่มือข้างขวาในหนังสือมอบอำนาจ/มอบหมาย  พร้อมรับรองสำเนาถูกต้องให้ครบถ้วนทุกฉบับ  จำนวน  1  ชุด

(6)  รูปถ่ายบ้านที่ปลูกสร้างเสร็จทั้ง 4 ด้าน (ด้านหน้า – ด้านหลัง - ด้านข้างซ้าย - ด้านข้างขวา) แต่สถานที่ที่รับแจ้งบางแห่งก็ไม่จำเป็นต้องใช้นะคะ

 

ข้อควรรู้เกี่ยวกับการขอเลขที่บ้าน

1.บ้านที่ปลูกสร้างนานไว้นานแล้วแต่ยังไม่มีเลขที่บ้านเจ้าบ้านสามารถขอเลขที่บ้านและสมุดทะเบียนบ้านได้

2.การปลูกสร้างบ้านในเขตท้องที่ที่ประกาศใช้กฎหมายว่าด้วยการควบคุมการก่อสร้างอาคาร  เช่น  ในเขตกรุงเทพมหานคร  เทศบาล  องค์การบริหารส่วนตำบล  เป็นต้น  จะต้องแจ้งขออนุญาตปลูกสร้างอาคาร  กรณีไม่ขออนุญาตปลูกสร้าง  นายทะเบียนจะกำหนดเลขที่บ้านและจัดทำทะเบียนบ้านชั่วคราวให้  ซึ่งการแก้ไขทะเบียนบ้านชั่วคราวให้เป็นทะเบียนบ้านปกติ  นั้น  สามารถทำได้โดยเจ้าของบ้านจะต้องไปทำเรื่องการขออนุญาตปลูกสร้างอาคารให้เรียบร้อยแล้ว  จึงนำหลักฐานไปยื่นคำร้องต่อนายทะเบียนเพื่อขอแก้ไขทะเบียนบ้าน

3.บ้านที่ปลูกสร้างโดยการบุกรุกที่สาธารณะ  หรือปลูกในพื้นที่ป่าสงวน  สามารถขอเลขที่บ้านและสมุดทะเบียนบ้านได้  แต่จะเป็นทะเบียนบ้านชั่วคราว

4.การไม่แจ้งขอเลขที่บ้านภายใน  15  วัน  นับแต่วันที่ปลูกสร้างบ้านเสร็จเป็นความผิด  มีโทษปรับไม่เกิน 1,000  บาท

5.การกำหนดเลขที่บ้านของบ้านแต่ละหลังจะกำหนดให้เพียงหมายเลขเดียว  แต่ถ้าเป็นบ้านที่ปลูกเป็นตึกแถว  ห้องแถว  หรืออาคารชุด  จะกำหนดเลขที่บ้านให้ทุกห้องโดยถือว่าห้องๆหนึ่งคือบ้านหลังหนึ่งค่ะ

หมายเหตุ : การแจ้งเกี่ยวกับบ้านไม่เสียค่าธรรมเนียมแต่อย่างใดนะคะ


ขอบคุณข้อมูลจาก baansanruk.blogspot.com
  • ระเบียบข้อบังคับจราจร การจอดรถในพื้นที่สาธารณะ ส่วนกลางหมู่บ้าน
  • เลือกอิฐแบบไหน อิฐมอญ อิฐมวลเบา อิฐบล็อก เหมาะกับสร้างบ้าน ประหยัดงบมากที่สุด
  • เช็คสิทธิ ทะเบียนราษฎร "เจ้าของบ้าน" กับ "เจ้าบ้าน" ในทะเบียนบ้าน ใครสิทธิเหนือกว่า หน้าที่ต่างกันอย...
  • เคล็ดไม่ลับ 10 วิธีซักผ้าสีตก คราบสีฝังแน่นอย่าทิ้ง ทำให้เสื้อกลับมาใส่ได้อีกครั้งดีกว่า
  • ข้อควรรู้ ซื้อบ้าน และที่ดินในโครงการจัดสรร เรื่องใดที่ควรทำหลังโอนกรรมสิทธิ์ที่ดิน
  • แอร์ยี่ห้อไหนประหยัดไฟ 2567 ลดการใช้พลังงาน ช่วยประหยัดไฟได้ดี
  • ขั้นตอนสำหรับ การขอเลขที่บ้านใหม่

    การขอใช้บริการสาธารณูปโภคต่าง ๆ ภายในบ้าน ไม่ว่าจะเป็นการขอใช้น้ำประปา ไฟฟ้า โทรศัพย์ และหลักฐานในการขอใช้บริการต่าง ๆ เหล่านั้นก็ต้องใช้หลักฐานของความเป็นบ้านยื่นประกอบกันด้วย นั่นก็คือ "ทะเบียนบ้าน" นั่นเองค่ะ

    © สงวนลิขสิทธิ์ 2567 บริษัท ไทยโฮมทาวน์ จำกัด
    @thaihometown Scroll