สาระควรรู้ทั่วไป

คงเคยได้ยินกันมาบ้างว่าบ้านที่ได้จากการประมูลของกรมบังคับคดีนั้น ราคาถูกกว่าท้องตลาดเกือบครึ่ง และเมื่อเอามาปรับปรุงใหม่บางรายทำกำไรได้อย่างงาม ซึ่งหากไปดูขั้นตอนจากกรมบังคับคดีก็ไม่มีอะไรยุ่งยาก สนใจทรัพย์ เตรียมหลักฐานและเอกสารไปในวันที่จัดการประมูล หากให้ราคาสูงสุดก็จบ ได้บ้านราคาถูกมาครอบครองสมใจ ง่ายดายและสวยงามจริงๆ? บ้านที่ถูกนำมาเข้าสู่กระบวนการประมูลโดยกรมบังคับคดี จะเป็นบ้านที่ถูกบังคับให้ขายเพื่อใช้หนี้ จึงมีลักษณะเป็นบ้านที่ขายตามสภาพจริง ไม่มีการซ่อมแซมหรือต่อรองใดๆ อีก

ประกาศอสังหาริมทรัพย์ใหม่ บ้าน บ้าน รายการล่าสุด บ้านเดี่ยว บ้านเดี่ยว รายการล่าสุด ทาวน์เฮ้าส์ ทาวน์เฮ้าส์ รายการล่าสุด ทาวน์โฮม ทาวน์โฮม รายการล่าสุด คอนโด คอนโด รายการล่าสุด อาคารพาณิชย์ อาคารพาณิชย์ รายการล่าสุด อพาร์ทเม้นท์ อพาร์ทเม้นท์ รายการล่าสุด สำนักงาน สำนักงาน รายการล่าสุด โฮมออฟฟิศ โฮมออฟฟิศ รายการล่าสุด ธุรกิจ ธุรกิจ รายการล่าสุด โรงงาน โรงงาน รายการล่าสุด คลังสินค้า คลังสินค้า รายการล่าสุด โกดัง โกดัง รายการล่าสุด ที่ดิน ที่ดิน รายการล่าสุด ลงประกาศฟรี ผู้รับเหมา รายการล่าสุด ผู้รับเหมา ลงประกาศฟรี ผู้รับเหมา ข่าวประชาสัมพันธ์ รายการล่าสุด ข่าวประชาสัมพันธ์ พรีวิวโครงการใหม่ รายการล่าสุด พรีวิวโครงการใหม่ ตกแต่งที่อยู่อาศัย รายการล่าสุด ตกแต่งที่อยู่อาศัย สาระควรรู้ ที่อยู่อาศัย รายการล่าสุด สาระควรรู้ ที่อยู่อาศัย ฮวงจุ้ย ที่อยู่อาศัย รายการล่าสุด ฮวงจุ้ย ที่อยู่อาศัย สินเชื่อ ที่อยู่อาศัย รายการล่าสุด สินเชื่อ ที่อยู่อาศัย SME รายการล่าสุด SME สถานที่ท่องเที่ยว รายการล่าสุด สถานที่ท่องเที่ยว

เตรียมตัวอย่างไร? เพื่อเข้าประมูลบ้านจากกรมบังคับคดี บ้านที่ขายตามสภาพจริง ราคาถูกกว่าท้องตลาดเกือบครึ่ง

         หลายคนคงเคยได้ยินกันมาบ้างว่าบ้านที่ได้จากการประมูลของกรมบังคับคดีนั้น ราคาถูกกว่าท้องตลาดเกือบครึ่ง และเมื่อเอามาปรับปรุงใหม่บางรายทำกำไรได้อย่างงาม ซึ่งหากไปดูขั้นตอนจากกรมบังคับคดีก็ไม่มีอะไรยุ่งยาก สนใจทรัพย์ เตรียมหลักฐานและเอกสารไปในวันที่จัดการประมูล หากให้ราคาสูงสุดก็จบ ได้บ้านราคาถูกมาครอบครองสมใจ ง่ายดายและสวยงามจริงๆ?

         บ้านที่ถูกนำมาเข้าสู่กระบวนการประมูลโดยกรมบังคับคดี จะเป็นบ้านที่ถูกบังคับให้ขายเพื่อใช้หนี้ จึงมีลักษณะเป็นบ้านที่ขายตามสภาพจริง ไม่มีการซ่อมแซมหรือต่อรองใดๆ อีก และการซื้อขายทอดตลาดนั้นกฎหมายไม่ให้ผู้ซื้อเรียกร้องค่าเสียหายกับผู้ขายหากทรัพย์นั้นชำรุดบกพร่อง ตาม ป.พ.พ. มาตรา 473 

การประมูลทรัพย์จากกรมบังคับคดี ไม่ใช่เรื่องง่าย ขั้นตอนการเตรียมตัวสำหรับผู้ประเมินดังนี้

1. การมองหาทรัพย์ที่สนใจ ตรวจสอบราคา ก่อนการประมูล ศึกษารายละเอียดเกี่ยวกับทรัพย์สิน 

2. ตรวจสอบเจ้าของ คือควรตรวจสอบด้วยว่าผู้เป็นเจ้าของเดิมว่ามีแนวโน้มในการคัดค้านการขายหรือไม่ ซึ่งตามกฎหมาย ลูกหนี้สามารถค้านราคาได้หนึ่งครั้ง ก่อนที่เจ้าพนักงานบังคับคดีจะเคาะไม้ขายให้แก่ผู้เสนอราคาสูงสุด ลูกหนี้คัดค้านว่าราคาดังกล่าวมีจำนวนต่ำเกินควร กรณีนี้ลูกหนี้ต้องหาผู้ที่จะซื้อให้มีราคาสูงกว่านั้นมาสู้ราคา ถ้าหาไม่ได้เจ้าพนักงานบังคับคดีก็จะเคาะไม้ขายให้แก่ผู้เสนอราคาสูงสุดในการขายทอดตลาดครั้งเดิมนั้นไป ตาม ป.วิ.แพ่ง มาตรา 309 ทวิ 

3. ต้องเตรียมเงินสด ในการขอเข้าร่วมการประมูลสินทรัพย์ ต้อง เตรียมเงินสดหรือแคชเชียร์เช็คสั่งจ่ายกองจำหน่ายทรัพย์สินกรมบังคับคดีเพื่อใช้เป็นหลักประกันการเข้าสู้ราคา ซึ่งขึ้นอยู่กับราคาทรัพย์สินที่กรมบังคับคดีเขาตีราคา และจำนวนเงินประกันที่ต้องวางก่อนประมูลทรัพย์ ก็อยู่ที่ 50,000 บาทกรณีทรัพย์ที่ประมูลมีราคาต่ำกว่า 20 ล้านบาท และวางเงินประกัน 1 ล้านบาทหากทรัพย์ที่ประเมินมีราคาสูงกว่า 20 ล้านบาท เงินก้อนนี้หากประมูลแล้วไม่ได้อะไรเลย สามารถขอคืนได้ 

4. การประมูลจะจัดเป็น 3 ครั้ง ครั้งแรกราคาจะเริ่มที่ 80% ของราคาประเมินเจ้าพนักงานบังคับคดี ถ้าในการขายครั้งแรกไม่สามารถขายได้ ครั้งต่อๆไปจะเริ่มประมูลที่ราคา 50% แต่ต้องไม่น้อยกว่าราคาที่มีผู้เสนอสูงสุดในครั้งก่อนแต่ทรัพย์สินบางชิ้น มีผู้สนใจมาก ก็จะมีราคาแพงขึ้นเรื่อยๆ และอาจจะตัดจบตั้งแต่รอบแรก คู่แข่งที่ผู้ประมูลจะพบ นอกจากผู้เข้าร่วมประมูลทั่วไป นายหน้า นักเก็งกำไรแล้ว ยังมีธนาคารผู้เป็นโจทย์ และเจ้าของทรัพย์ที่กำลังจะโดนยึด ในจำนวนนี้ คู่แข่งที่น่ากลัวที่สุดคือทางธนาคารผู้เป็นโจทย์ เพราะต้องการดันราคาทรัพย์ชิ้นนี้ให้ได้มูลค่าสูงสุด 

5. เมื่อชนะการประมูล หากสามารถฝ่าด่านจนชนะการประมูลได้ ต้องชำระค่าทรัพย์ทั้งหมดโดยหักเงินประกันออกกับกรมบังคับคดีภายใน 15 วันหลังการประมูล สามารถขยายเวลาไปได้ 3 เดือน เท่านี้ก็จะได้บ้านหลังนั้นมาครอบครองสมใจ


ขอบคุณข้อมูลจาก TerraBKK.com
  • 12 ปัญหาคอนโด ถ้าอยู่แล้วต้องพบเจอแน่นอน อยากจะอยู่คอนโดควรต้องรู้ไว้สักนิด
  • 12 ต้นไม้ไม่ควรปลูกในบ้าน เพราะเป็นพิษ อาจเป็นอันตรายกับผู้อาศัย
  • 5 วิธีแก้ไขปัญหาเครื่องปรับอากาศ "เบื้องต้น" ด้วยตัวเองก่อนที่จะเปลืองเงินเรียกช่าง
  • 9 เรื่องสำคัญก่อนคิดซื้อบ้าน รู้ไว้เพื่อช่วยตัดสินใจ
  • ซัมซุงแนะ 4 วิธีจัดปาร์ตี้ปีใหม่อย่างไรให้น่าประทับใจ
  • ไขข้อสงสัย !! บ้านหลังไหนคือ บ้านเดี่ยว บ้านแฝด ทาวน์เฮ้า! ทำไมเหมือนกัน ? ต่างกันยังไง ?
  • ปัญหาฝนตกน้ำรั่วซึม จุดที่พบได้บ่อยๆ มีจุดไหนบ้างที่พบบ่อย แก้ไขอย่างไร?
  • ฉีกทุกกฎเกณฑ์กับ 4 นวัตกรรมใหม่ ที่ไม่เหมือนใครบน Samsung Galaxy S22
  • โถปัสสาวะชาย...แต่ละแบบแตกต่างกันอย่างไร
  • รัฐเวนคืนที่ดิน ต้องแจ้งสิทธิรับเงินรายได้ ภาษีที่ต้องจ่ายอะไรบ้าง
  • สาววัยเกษียณ ตั้งกระทู้ถาม สู้ราคาบ้านกรุงเทพไม่ไหว มีงบ 2-3 ล้าน ไปอยู่จังหวัดไหนดี แห่แชร์ชี้พิกัดเพียบ
  • ทาวน์โฮมดีไซน์จบปัญหา จอดรถขวางหน้าบ้าน พื้นที่จัดเต็มแบบจุกๆ สำหรับคนรถเยอะ
  • เผยเคล็ดลับ แม่บ้านใช้ "ฝาหม้อ" ทำความสะอาดโซฟา ไวรัล 80 ล้านวิวของจริงไม่จกตา
  • เช็ค! โฉนดที่ดิน กับ โฉนดเพื่อการเกษตร ต่างกันอย่างไร ข้อควรรู้ก่อนเปลี่ยน ส.ป.ก เป็นโฉนดเพื่อการเกษตร
  • ทริคง่ายๆ! ปลูกถั่วงอกทานเอง เลือกได้หลายวิธี สะอาดปลอดสารพิษ อุดมด้วยคุณค่าทางอาหาร
  • เตรียมตัวอย่างไร? เพื่อเข้าประมูลบ้านจากกรมบังคับคดี บ้านที่ขายตามสภาพจริง ราคาถูกกว่าท้องตลาดเกือบครึ่ง

    คงเคยได้ยินกันมาบ้างว่าบ้านที่ได้จากการประมูลของกรมบังคับคดีนั้น ราคาถูกกว่าท้องตลาดเกือบครึ่ง และเมื่อเอามาปรับปรุงใหม่บางรายทำกำไรได้อย่างงาม ซึ่งหากไปดูขั้นตอนจากกรมบังคับคดีก็ไม่มีอะไรยุ่งยาก สนใจทรัพย์ เตรียมหลักฐานและเอกสารไปในวันที่จัดการประมูล หากให้ราคาสูงสุดก็จบ ได้บ้านราคาถูกมาครอบครองสมใจ ง่ายดายและสวยงามจริงๆ? บ้านที่ถูกนำมาเข้าสู่กระบวนการประมูลโดยกรมบังคับคดี จะเป็นบ้านที่ถูกบังคับให้ขายเพื่อใช้หนี้ จึงมีลักษณะเป็นบ้านที่ขายตามสภาพจริง ไม่มีการซ่อมแซมหรือต่อรองใดๆ อีก

    © สงวนลิขสิทธิ์ 2567 บริษัท ไทยโฮมทาวน์ จำกัด
    @thaihometown Scroll